ถนนเพชรบุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บทความนี้เกี่ยวกับถนนในกรุงเทพมหานคร สำหรับแขวงในเขตราชเทวี ดูที่ แขวงถนนเพชรบุรี
ถนนเพชรบุรีช่วงแยกประตูน้ำบริเวณหน้าห้างแพลทินัมแฟชันมอลล์
ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ช่วงหน้าโรงเรียนเซนต์ดอมินิก

ถนนเพชรบุรี (อักษรโรมัน: Thanon Phetchaburi) เป็นเส้นทางจราจรสำคัญสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร

ระยะทาง[แก้]

ถนนเพชรบุรีมีระยะทางประมาณ 9 กิโลเมตรเศษ เริ่มจากบริเวณถนนพิษณุโลกตัดกับถนนสวรรคโลกและถนนหลานหลวงที่ทางแยกยมราชในพื้นที่เขตดุสิต ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตัดผ่านทางรถไฟสายเหนือเข้าพื้นที่เขตราชเทวี ตัดกับถนนพระรามที่ 6 และผ่านใต้ทางพิเศษศรีรัชที่ทางแยกอุรุพงษ์ ตัดกับถนนบรรทัดทองที่ทางแยกเพชรพระราม ตัดกับถนนพญาไทที่ทางแยกราชเทวี ตัดกับถนนราชปรารภและถนนราชดำริที่ทางแยกประตูน้ำ ถนนจะมุ่งไปทางทิศตะวันออกตัดกับถนนชิดลมที่ทางแยกชิดลม-เพชรบุรี ตัดกับกับถนนวิทยุที่ทางแยกวิทยุ-เพชรบุรี ผ่านใต้ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ตัดกับถนนนิคมมักกะสันและซอยสุขุมวิท 3 (นานาเหนือ) ที่ทางแยกมิตรสัมพันธ์ ตัดกับถนนอโศก-ดินแดงและถนนอโศกมนตรีที่ทางแยกอโศก-เพชรบุรีและเข้าพื้นที่เขตห้วยขวาง ข้ามคลองบางกะปิ ตัดกับซอยเพชรบุรี 38/1 ที่ทางแยกพร้อมพงษ์ ตัดกับซอยสุขุมวิท 63 (เอกมัย) ที่ทางแยกเอกมัยเหนือ ข้ามคลองแสนแสบเข้าพื้นที่เขตสวนหลวง ก่อนไปสิ้นสุดที่สี่แยกคลองตัน ตัดกับถนนรามคำแหง และถนนสุขุมวิท 71 (ปรีดี พนมยงค์) โดยมีถนนที่ตรงต่อเนื่องต่อไปคือถนนพัฒนาการ

ประวัติ[แก้]

ถนนเพชรบุรีช่วงตั้งแต่ทางแยกยมราชถึงทางแยกประตูน้ำเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้กรมสุขาภิบาลตัดขึ้นตั้งแต่ริมคลองขื่อหน้า ปลายถนนคอเสื้อ (ปัจจุบันคือถนนพิษณุโลก) ไปบรรจบถนนราชดำริ เริ่มก่อสร้างในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2448[1] โดยได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ยืมเงินพระคลังข้างที่มาทดลองทำการ ระหว่างดำเนินการตัดถนน เกิดปัญหาแนวถนนตัดผ่านหมู่บ้านของคนในบังคับต่างประเทศ 2-3 แห่ง จึงต้องเจรจากันเรื่องค่าที่ดิน รัฐบาลได้มอบหมายให้นายเอ็ดเวิร์ด สโตรเบล ที่ปรึกษาราชการชาวอเมริกัน เป็นผู้ดำเนินการเจรจา เมื่อสร้างเสร็จโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อถนนว่า ถนนประแจจีน ซึ่งเป็นชื่อลวดลายของเครื่องลายครามแบบจีนชนิดหนึ่ง ต่อมาในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อถนนประแจจีนเป็น ถนนเพชรบุรี[1] ตามพระนามทรงกรมของสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร[2]

ปี พ.ศ. 2505 ทางการได้เวนคืนตลาดเฉลิมลาภเก่าบริเวณสามแยกประตูน้ำ (ปัจจุบันคือสี่แยกประตูน้ำ) โดยตัดถนนต่อออกจากสามแยกประตูน้ำไปจรดซอยสุขุมวิท 71 โดยได้เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2506 คนทั่วไปนิยมเรียกถนนเพชรบุรีช่วงนี้ว่า "ถนนเพชรบุรีตัดใหม่"

รายชื่อทางแยก[แก้]

รายชื่อทางแยกบน ถนนเพชรบุรี ทิศทาง: แยกยมราช – คลองตัน
จังหวัด เขต กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
Seal Bangkok Metropolitan Admin (green).svg ถนนเพชรบุรี (แยกยมราช - คลองตัน)
กรุงเทพมหานคร ดุสิต แยกยมราช เชื่อมต่อจาก: Seal of Bangkok Metro Authority.png ถนนพิษณุโลก จากเทเวศร์
Seal of Bangkok Metro Authority.png ถนนสวรรคโลก ไปถนนศรีอยุธยา Seal of Bangkok Metro Authority.png ถนนหลานหลวง ไปถนนกรุงเกษม, สะพานผ่านฟ้าลีลาศ
ราชเทวี ทางขึ้น Thailand road sign Expressway.svg ทางพิเศษศรีรัช ไป แจ้งวัฒนะ, บางนา, ดาวคะนอง ไม่มี
แยกอุรุพงษ์ Seal of Bangkok Metro Authority.png ถนนพระรามที่ 6 ไปถนนศรีอยุธยา Seal of Bangkok Metro Authority.png ถนนพระรามที่ 6 ไปถนนพระรามที่ 1
แยกเพชรพระราม ไม่มี Seal of Bangkok Metro Authority.png ถนนบรรทัดทอง ไปถนนพระรามที่ 1, ถนนพระรามที่ 4
แยกราชเทวี Seal of Bangkok Metro Authority.png ถนนพญาไท ไปถนนศรีอยุธยา, อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ Seal of Bangkok Metro Authority.png ถนนพญาไท ไปถนนพระรามที่ 1, สามย่าน
แยกประตูน้ำ Seal of Bangkok Metro Authority.png ถนนราชปรารภ ไปแยกสามเหลี่ยมดินแดง Seal of Bangkok Metro Authority.png ถนนราชดำริ ไปแยกราชประสงค์, ถนนสีลม
แยกชิดลม-เพชรบุรี ไม่มี ซอยชิดลม ไปถนนเพลินจิต
แยกวิทยุ-เพชรบุรี ไม่มี Seal of Bangkok Metro Authority.png ถนนวิทยุ ไปถนนเพลินจิต, ถนนสาทร
แยกทางด่วนเพชรบุรี Thailand road sign Expressway.svg ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ไปดินแดง, แจ้งวัฒนะ Thailand road sign Expressway.svg ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ไปบางนา, ดาวคะนอง
แยกมิตรสัมพันธ์ Seal of Bangkok Metro Authority.png ถนนนิคมมักกะสัน ไปสถานีรถไฟมักกะสัน, ถนนราชปรารภ ซอยสุขุมวิท 3 (นานาเหนือ) ไปถนนสุขุมวิท
แยกอโศก-เพชรบุรี Seal of Bangkok Metro Authority.png ถนนอโศก-ดินแดง ไปแยกพระราม 9 Seal of Bangkok Metro Authority.png ถนนอโศกมนตรี ไปถนนสุขุมวิท, คลองเตย
ห้วยขวาง Seal of Bangkok Metro Authority.png ถนนเพชรอุทัย ไปถนนพระราม 9 ไม่มี
แยกพร้อมพงษ์ ไม่มี ซอยเพชรบุรี 38/1 (พร้อมพงษ์) ไปถนนสุขุมวิท
แยกศูนย์วิจัยใต้ ซอยเพชรบุรี 47 (ศูนย์วิจัย) ไปถนนพระราม 9 ไม่มี
แยกทองหล่อเหนือ ไม่มี ซอยสุขุมวิท 55 (ทองหล่อ) ไปถนนสุขุมวิท
แยกเอกมัยเหนือ ซอยสุขุมวิท 63 (เอกมัย) ไปถนนพระราม 9, ถนนลาดพร้าว ซอยสุขุมวิท 63 (เอกมัย) ไปถนนสุขุมวิท
แยกเพชรบุรีตัดใหม่ Seal of Bangkok Metro Authority.png ถนนเพชรพระราม ไปถนนพระราม 9 ไม่มี
สวนหลวง แยกคลองตัน Seal of Bangkok Metro Authority.png ถนนรามคำแหง ไปมหาวิทยาลัยรามคำแหง, มีนบุรี Seal of Bangkok Metro Authority.png ถนนสุขุมวิท 71 (ปรีดี พนมยงค์) ไปถนนสุขุมวิท
ตรงไป: Seal of Bangkok Metro Authority.png ถนนพัฒนาการ ไปถนนศรีนครินทร์
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

สถานที่สำคัญ[แก้]

สถานศึกษา[แก้]

  • วิทยาลัยเทคนิคพณิชยการเจ้าพระยา
  • โรงเรียนอนุบาลอิ่มเอม
  • โรงเรียนสอนดนตรีสยาม เพชรเก้า
  • โรงเรียนประเทืองวิทย์อุรุพงษ์
  • โรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย
  • โรงเรียนกิ่งเพชร
  • โรงเรียนเซนต์ดอมินิก
  • โรงเรียนมักกะสันพิทยา
  • วิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโก

ธนาคาร[แก้]

  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาประตูน้ำ
  • ธนาคารกสิกรไทย สาขากิ่งเพชรและสาขาถนนเพชรบุรี 17
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาถนนเพชรบุรี
  • ธนาคารธนชาต สาขาถนนเพชรบุรี ซอย 20
  • ธนาคารออมสิน สาขาอุรุพงษ์

เหตุการณ์สำคัญ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 กนกวลี ชูชัยยะ. พจนานุกรมวิสามานยนามไทย : วัด วัง ถนน สะพาน ป้อม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า .
  2. สำนักงานเขตราชเทวี. "ถนนเพชรบุรี." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://office.bangkok.go.th/ratchathewi/index.php?option=com_content&view=article&id=74:2012-06-03-00-52-09&catid=52:2012-06-03-00-50-50&Itemid=101 เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 30 มิถุนายน 2558.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°45′02″N 100°33′37″E / 13.750436°N 100.560374°E / 13.750436; 100.560374