วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์
ศาสตราจารย์วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์.png
เกิด3 มกราคม พ.ศ. 2495 (71 ปี)
นครราชสีมา
สัญชาติไทย
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยฮาวาร์ด
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โรงเรียนอัสสัมชัญ
โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
โรงเรียนคงวิทยา
อาชีพอาจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มีชื่อเสียงจากบุคคลดีเด่นของชาติ สาขาพัฒนาสังคม (กฎหมาย)

ศาสตราจารย์ วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ เป็นอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรรมการในคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา กรรมการอำนวยการ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และเป็นกรรมการในหน่วยงานต่างๆ อีกหลายหน่วยงาน เขาเป็นผู้พิการทางสายตา ที่มีบทบาทในการเป็นแกนนำรณรงค์เพื่อประโยชน์ของผู้พิการในหลายด้าน และได้รับรางวัลและการยกย่องจากหลายๆ หน่วยงาน

ประวัติ[แก้]

วิริยะเกิดเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2495 เดิมทีในช่วงวัยเด็ก เขาไม่ได้มีความพิการแต่อย่างใด แต่ด้วยความคึกคะนองในวัยเด็ก เป็นคนที่ชอบค้นคว้าและทดลองวิทยาศาสตร์ จนเกิดอุบัติเหตุขึ้นในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ 2510 ทำให้ดวงตาของเขาทั้งสองข้างบอดสนิท[1] ภายหลังจากที่เกิดเหตุการณ์ เขาเสียใจเป็นอย่างมากคิดว่าเมื่อเป็นผู้พิการก็คงไม่สามารถที่จะทำหรือปฏิบัติงานอะไรได้เหมือนที่เคยตาดีอยู่ แต่เขาก็ได้รับการแนะนำในทางที่ถูกต้องจากผู้คนรอบข้าง โดยเฉพาะ Miss. Jenivieve Caulfield (สตรีตาบอดชาวอเมริกัน ผู้ก่อตั้งโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพฯ) ซิสเตอร์โรสมัวร์ แม่อธิการโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ จึงทำให้เกิดมีกำลังใจในการใช้ชีวิตต่อมาในฐานะผู้พิการ

สมรสกับ มณี นามศิริพงศ์พันธุ์ มีบุตรด้วยกัน 3 คน

ประวัติการศึกษา[แก้]

การทำงาน[แก้]

วิริยะรับราชการตำแหน่งศาสตราจารย์ระดับ 10 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นับเป็นผู้พิการไทยคนแรกที่ได้เข้ารับราชการ[2] เคยเป็นพระอาจารย์ของพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภาในช่วงที่พระองค์ทรงศึกษาอยู่ เขาเป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ

วิริยะเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งพรรคไทยรักไทย จากจำนวน 23 คน[3] และเมื่อพรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2544 และ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีด้านคนพิการ และเป็นประธานกรรมการที่ปรึกษาด้านคนพิการ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี[4] โดยดำรงตำแหน่งทั้งสอง ตั้งแต่ พ.ศ. 2544 - 2549 จนกระทั่งเกิดรัฐประหาร พ.ศ. 2549

หลังจากการรัฐประหาร วิริยะได้รับการแต่งตั้งจากคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ให้เป็นที่ปรึกษาในคณะที่ปรึกษาฝ่ายการเสริมสร้างสมานฉันท์และความเป็นธรรมในสังคม ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิชาการอีกจำนวนหลายคน[5] ต่อมาในวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2549 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[6] รวมถึงเป็นรองประธานกรรมมาธิการกิจการ เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายู ผู้พิการและความมั่นคงแห่งชาติ ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และเป็นประธานอนุกรรมาธิการด้านผู้พิการ

รางวัล[แก้]

  • รางวัล บุคคลดีเด่นของชาติ สาขาพัฒนาสังคม (กฎหมาย)
  • รางวัลหอเกียรติยศ บุคคลคนพิการต้นแบบ พ.ศ. 2551
  • รางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่กระทรวงศึกษาธิการ 3 สมัยติดต่อกัน ระหว่าง พ.. 2545 - 2547
  • รางวัล พ่อดีเด่นแห่งขาติ
  • รางวัล ค่าของแผ่นดิน ประจำปีพุทธศักราช 2561 ด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน มอบให้แก่มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ ซึ่งศาสตราจารย์วิริยะเป็นประธานมูลนิธิ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ศาสตราจารย์ วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ นักสู้ผู้วิริยะ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-22. สืบค้นเมื่อ 2011-12-14.
  2. "โครงการผลิตรายการโทรทัศน์ ประชาสัมพันธ์ด้านคนพิการ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2011-12-16.
  3. ปิดตำนาน8ปีทรท.ไปไม่ถึงฝันสถาบันการเมือง[ลิงก์เสีย]
  4. คณะกรรมการส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศของคนพิการ[ลิงก์เสีย]
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2011-12-16.
  6. "พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-11. สืบค้นเมื่อ 2011-12-14.
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๖, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๔, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๒๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๓๓๑, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕