พรรคอธิปัตย์
พรรคอธิปัตย์ | |
---|---|
![]() | |
หัวหน้าพรรค | พลตำรวจโท ประชา บูรณธนิต |
เลขาธิการพรรค | บุญเกิด หิรัญคำ |
ก่อตั้ง | 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 |
ยุบพรรค | พ.ศ. 2519 |
ที่ทำการพรรค | 700/1 ถนนดินแดง แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ |
สภาผู้แทนราษฎร | 2 / 269 |
การเมืองไทย รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
พรรคอธิปัตย์ พรรคการเมืองของไทยในอดีตที่จดทะเบียนก่อตั้งตาม พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2517 เมื่อปี พ.ศ. 2517 โดยมีพลตำรวจโท ประชา บูรณธนิต เป็นหัวหน้าพรรคและนาย บุญเกิด หิรัญคำ เป็นเลขาธิการพรรค[1]
ประวัติ[แก้]
พรรคอธิปัตย์ จดทะเบียนจัดตั้งเแนพรรคการเมืองลำดับที่ 27/2517 เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 โดยมีพลตำรวจโท ประชา บูรณธนิต เป็นหัวหน้าพรรค และมีนายบุญเกิด หิรัญคำ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ พรรคประชาธิปัตย์ เป็นเลขาธิการพรรค และมีแกนนำที่สำคัญ อาทิ สมพร จุรีมาศ ส.ส.ร้อยเอ็ด อ่ำ รองเงิน ส.ส.พัทลุง ศิระ ปัทมาคม ส.ส.จังหวัดพระนคร
พรรคอธิปัตย์ มีแนวนโยบายภายใต้หลักประชาธิปไตย และสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีการปกครองตนเองอย่างแท้จริง
การเลือกตั้ง[แก้]
ใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 พรรคอธิปัตย์ได้ ส.ส. เข้าไปในสภาเพียง 2 คน[2] คือ อ่ำ รองเงิน จังหวัดพัทลุง และ บุญเกิด หิรัญคำ จังหวัดชัยภูมิ
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2519 พรรคอธิปัตย์ได้ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งแต่กลับไม่ได้ ส.ส. เข้าสภาแม้แต่คนเดียว
การยุบพรรค[แก้]
คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน นำโดย พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ได้มีคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 6 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พุทธศักราช 2517 บรรดาพรรคการเมืองที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติดังกล่าวให้เป็นอันสิ้นสุดลง และห้ามตั้งพรรคการเมือง[3] แต่ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524 ยกเลิกคำสั่งฉบับดังกล่าว[4] แต่ก็ไม่ได้มีการฟื้นฟูพรรคอธิปัตย์ แต่อย่างใด
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งพรรคการเมืองราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 193 วันที่ 18 กันยายน 2517
- ↑ https://library2.parliament.go.th/ebook/content-er/28_2.pdf
- ↑ คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 6
- ↑ พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524