คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2549
คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ที่ตั้งขึ้นในปี 2549 นั้นเป็นคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดหนึ่งของไทย
ประวัติ
[แก้]ภายหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และสั่งให้ศาลรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลงพร้อมกับรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี แต่ให้ศาลอื่น ๆ คงอยู่ต่อไป
ต่อมารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 มาตรา 35 ให้ตั้งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา เป็นประธาน, ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นรองประธาน, ผู้พิพากษาในศาลฎีกา ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา โดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวน 5 คน เป็นตุลาการ และตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ซึ่งได้รับเลือกโดยทีประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดโดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวน 2 คน เป็นตุลาการ โดยให้ทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ
ครั้นเมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 แล้ว ได้จัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญขึ้นอีกครั้ง และในบทเฉพาะกาล มาตรา 300 ให้คณะตุลาการดังกล่าวทำหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นการชั่วคราว จนกว่าตุลาการคณะใหม่จะเข้ารับหน้าที่
สมาชิกคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ
[แก้]คณะตุลาการรัฐธรรมนูญประกอบด้วย[1]
- นายปัญญา ถนอมรอด ประธานคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ
- นายอักขราทร จุฬารัตน รองประธานคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ
- หม่อมหลวงไกรฤกษ์ เกษมสันต์ ตุลาการรัฐธรรมนูญ
- นายสมชาย พงษธา ตุลาการรัฐธรรมนูญ
- นายนุรักษ์ มาประณีต ตุลาการรัฐธรรมนูญ
- นายกิติศักดิ์ กิติคุณไพโรจน์ ตุลาการรัฐธรรมนูญ
- นายธานิศ เกศวพิทักษ์ ตุลาการรัฐธรรมนูญ
- นายจรัญ หัตถกรรม ตุลาการรัฐธรรมนูญ
- นายวิชัย ชื่นชมพูนุท ตุลาการรัฐธรรมนูญ
อ้างอิง
[แก้]- รายชื่อคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เก็บถาวร 2008-12-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ [https://web.archive.org/web/20121107174834/http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9500000062040 เก็บถาวร 2012-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน พลิกประวัติ-ผลงาน ‘9 ตุลาการรัฐธรรมนูญ’ ผู้ตัดสินคดีประวัติศาสตร์ จากผู้จัดการออนไลน์]