พรรคไทรักธรรม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรรคไทรักธรรม
Tairaktham Party
หัวหน้าพีระวิทย์ เรื่องลือดลภาค
รองหัวหน้าชิษณุพงศ์ ไตรรัตน์รังษี
มานะ สมันตรัฐ
สหรัฐ รัตนฐากูร
วิมลลักษณ์ ไชยหานาม
สมจิต จันทิปะ
วรายุทธ เหมสงวน
สัจจา ศรีเจริญ
ทรงศักดิ์ ภูขามคม
รองเลขาธิการคมฤทธิ์ นัคเร
วิทิต แลด
พ.อ. สุพล พละสุ
สุชาดา ขวัญสกุล
เอกพงษ์ บุญจู
ชาญชัย บัวชาว
มนัส มีชาวนา
โฆษกหริธนเดชว์ คงไข่ศรี
ผู้อำนวยการพรรครณกร สกุลสุกใส
ก่อตั้ง16 สิงหาคม 2556
ถูกยุบ19 ตุลาคม 2565 (9 ปี 64 วัน)
ที่ทำการ801/145 ซอยพหลโยธิน 72 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
จำนวนสมาชิก  (ปี 2563)​83,440 คน[1]
เว็บไซต์
tairaktham.blogspot.com
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคไทรักธรรม (อังกฤษ: Tairaktham Party, ชื่อย่อ: ท.ธ. ชื่อย่อภาษาอังกฤษ: T.T.) หรือชื่อเดิม พรรคไทยรักธรรม พรรคการเมืองไทยที่ก่อตั้งตาม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นลำดับที่ 12/2556 เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2556 มีนายนราวิชญ์ ซะยะ ซึ่งในเวลาต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น พีระวิทย์ เรื่องลือดลภาค [2] และ นายกรูดิน วายาโยะ เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนแรก [3]

ประวัติ[แก้]

พรรคไทรักธรม ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.. 2556 โดยใช้ชื่อว่า "พรรคไทยรักธรรม" ต่อมาเมื่อวันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ที่ โรงแรมเซ็นทารา ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ พรรคไทรักธรรมได้จัดการประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ 1/2561 เพื่อเลือก หัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ พร้อมตั้งสภาที่ปรึกษาพรรค และคณะกรรมการสรรหาผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง ส.ส. ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือก นายพีระวิทย์ ให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคอีกสมัย พร้อมกับคณะกรรมการบริหารพรรคอีก 20 คนโดยมี วิทิต แลต และสิทธิพร นิยม เข้าร่วมเป็นกรรมการบริหารพรรค [4]

วันที่ 15 สิงหาคม 2562 ได้มีการจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 3/2562 ซึ่งได้มีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคไทรักธรรม โดยมีตำแหน่งที่สำคัญคือตำแหน่งเลขาธิการพรรค ได้มีการลงคะแนนลับ ผลปรากฏว่า นายมานะ สมันตรัฐ ได้รับคัดเลือกเป็นเลขาธิการพรรค

พรรคไทรักธรรม ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ยุบพรรค เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2565[5]

สมาชิกพรรคและบุคคลที่มีชื่อเสียง[แก้]

  • พีระวิทย์ เรื่องลือดลภาค (หัวหน้าพรรค)
  • ธณกร สกุลสุกใส (นัย สุขสกุล)[6]
  • เหมี่ยว coffee break
  • เอกพงษ์ บุญจู (เอก กอมอเก้า)
  • ชิษณุพงษ์ ไตรรัตน์รังสี (หนุ่ม จีสตาร์)[7]
  • จิรภัทร แสงจันทร์ (นุ๊ก)

การเลือกตั้ง[แก้]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 พรรคไทรักธรรมได้ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อจำนวน 148 คน และแบบแบ่งเขต จำนวน 301 คน จากการประกาศผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ปรากฏว่าพรรคไทรักธรรมมีคะแนนที่ 33,754 คะแนน ได้รับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 1 คน คือ พีระวิทย์ เรื่องลือดลภาค[8] ต่อมาคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศให้พ้นจากสภาพ ส.ส. เนื่องจากมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต 8 (เลือกตั้งใหม่) ส่งผลให้มีการคำนวณคะแนนใหม่[9]

วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 มีการเลือกตั้งซ่อมเขต 8 เชียงใหม่ ซึ่งผลการเลือกตั้ง มีการนำคะแนนมาคำนวณเพื่อหาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อใหม่ และจากการประกาศผลการคำนวณสัดส่วนบัญชีรายชื่อใหม่ในครั้งนี้ ได้ประกาศ ณ วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562[10] ทำให้นายพีระวิทย์ เรื่องลือดลภาค ได้พ้นสภาการเป็น ส.ส. หลังจากได้ปฏิบัติหน้าที่ในสภาได้เพียง 3 วันเท่านั้น จึงได้รับฉายาว่า "ส.ส. 3 วัน" หลังจากคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศให้นายพีระวิทย์ เลื่องลือดลภาพ สิ้นสภาพได้ไม่นานได้มีประชาชนได้มาเข้าปรึกษาเรื่องของคะแนน ทำให้นายพีระวิทย์ได้ตัดสินใจคัดค้านผลคะแนนเลือกตั้งโดยได้มอบหมายแก่ นายเอกพงษ์ บุญจู รองเลขาธิการพรรค ไปยื่นคำร้องเพื่อคัดค้านผลการเลือกตั้งแก่ กกต.ถึง 6 ครั้ง และครั้งที่ 7 นายพีระวิทย์ และคณะกรรมการบริหารพรรคบางส่วนได้เข้าไปยื่นคัดค้านคะแนนด้วยตนเอง และแถลงการณ์แก่สื่อมวลชนทราบด้วย แต่ก็ไม่มีผลใดๆ

หลังจากนั้นวันที่ 28 มกราคม 2563 ได้รับเลือกตั้ง 1 คน อีกครั้ง ภายหลังกกต.ปรับผลการคำนวณจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ ภายหลังนายชาติชาย วรพิพัฒน์ ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ ถูกศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งพิพากษาให้โดนใบดำ ทำให้จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของพรรคประชาธิปัตย์ ลดลง 1 ที่นั่ง ส่วนของพรรคไทรักธรรมเพิ่มขึ้น 1 ที่นั่ง

ประวัติการทำงานในรัฐสภา[แก้]

ครั้งที่ การเลือกตั้ง จำนวน ส.ส. สถานภาพพรรค นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ
1. 2562 1 คน ร่วมรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
  • ได้รับเลือกตั้ง 1 คน ต่อมา กกต. ประกาศให้พ้นจากสภาพ ส.ส. เนื่องจากการคำนวณคะแนนใหม่ หลังจากนั้นวันที่ 28 มกราคม 2563
  • ได้รับเลือกตั้ง 1 คน อีกครั้ง ภายหลังกกต.ปรับผลการคำนวณจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ ภายหลังนายชาติชาย วรพิพัฒน์ ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ ถูกศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งพิพากษาให้โดนใบดำ ทำให้จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของพรรคประชาธิปัตย์ ลดลง 1 ที่นั่ง ส่วนของพรรคไทรักธรรมเพิ่มขึ้น 1 ที่นั่ง[11]

อ้างอิง[แก้]

  1. ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 24 มกราคม 2563
  2. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงชื่อตัว ชื่อสกุล กรรมการบริหารพรรคไทยรักธรรม
  3. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคไทรักธรรม
  4. 'ไทรักธรรม'ประกาศสู้ศึกสนามเลือกตั้ง ส่งครบ350เขต
  5. ยุบ “ไทรักธรรม” ตัดสิทธิ “พีระวิทย์-กก.บห.” 10 ปี จูงใจชาวบ้านสมัครสมาชิก
  6. "นัย สุขสกุล"' อดีตนักแสดงรุ่นใหญ่ เดินสายพร้อม “พีระวิทย์” หัวหน้าพรรคไทรักธรรม ร่วมแสดง “ลิเกฮูลู” ได้ใจชาวอ.สะเดา
  7. เพศที่3 ร้องเฮ “หนุ่มจีสตาร์” นั่งแท่นรักษาการหัวหน้าพรรคไทรักธรรม
  8. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 8 พฤษภาคม 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-05-10.
  9. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (ครั้งที่ ๒) ๑. รายชื่อพรรคการเมืองและผู้พ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
  10. ประกาศผลการคำนวณสัดส่วนบัญชีรายชื่อใหม่
  11. การประกาศผลการคำนวณจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อใหม่

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]