ข้ามไปเนื้อหา

พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2517)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรรคพลังประชาชน
หัวหน้าบุญคุ้ม จันทรศรีสุริยวงศ์
ก่อตั้ง21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517
สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2518
2 / 269
สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2519
3 / 279
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2517) พรรคการเมืองไทยที่ก่อตั้งขึ้นตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517

ประวัติ

[แก้]

พรรคพลังประชาชน จดทะเบียนก่อตั้งขึ้นตาม พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พุทธศักราช 2517 เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517[1] โดยมีนาย บุญคุ้ม จันทรศรีสุริยวงศ์ เป็นหัวหน้าพรรค

การเลือกตั้ง 26 มกราคม 2518

[แก้]

ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2518 ซึ่งถือได้ว่าเป็นการลงเลือกตั้งครั้งแรกของพรรคปรากฏว่าทางพรรคได้ที่นั่งทั้งสิ้น 2 ที่นั่ง[2] จากทั้งหมด 269 ที่นั่ง คือ นายบุญคุ้ม จันทรศรีสุริยวงศ์ จังหวัดอุดรธานี และนายพีร์ บุนนาค จังหวัดสุพรรณบุรี

ต่อมาทางพรรคพลังประชาชนได้เป็น 1 ใน 12 พรรคที่เข้าร่วมรัฐบาล หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช หัวหน้า พรรคกิจสังคม ที่ขึ้นดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี แทน หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช หัวหน้า พรรคประชาธิปัตย์ ผู้เป็นพี่ชายที่ประกาศลาออกจากตำแหน่งกลางสภาเนื่องจากรวบรวมเสียงได้ไม่ถึงกึ่งหนึ่งของสภาทำให้การแถลงนโยบายไม่ผ่านความเห็นชอบ

ในการเข้าร่วมรัฐบาลครั้งนั้น นายบุญคุ้ม จันทรศรีสุริยวงศ์ หัวหน้าพรรค ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม[3]

การเลือกตั้ง 4 เมษายน 2519

[แก้]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 พรรคพลังประชาชน ได้รับเลือกตั้ง จำนวน 3 ที่นั่ง คือ นิสิต เวทย์ศิริยานันท์ และชุมพล อรุณยะเดช จังหวัดศรีสะเกษ และญวง เอี่ยมศิลา จังหวัดอุดรธานี

การยุบพรรค

[แก้]

คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน นำโดย พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ได้มีคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 6 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พุทธศักราช 2517 บรรดาพรรคการเมืองที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติดังกล่าวให้เป็นอันสิ้นสุดลง และห้ามตั้งพรรคการเมือง[4] แต่ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524 ยกเลิกคำสั่งฉบับดังกล่าว[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งพรรคการเมือง เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 193 วันที่ 18 กันยายน 2517
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-21. สืบค้นเมื่อ 2020-05-12.
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
  4. คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 6
  5. พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524