พรรคกล้าธรรม
พรรคกล้าธรรม | |
---|---|
หัวหน้า | นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ |
เลขาธิการ | สัจจวิทย์ ลีลาวณิชย์ |
เหรัญญิก | อลงกรต พรมขัตแก้ว |
นายทะเบียนสมาชิก | ศุภกิต ปัญญา |
กรรมการบริหาร | ประสิทธิ์ หนักตื้อ พนัฐดา กันทา วิชัย เป็นพนัสสัก กิจภพ กัณฑมิตร ธีระศักดิ์ สิทธิชัยธนะกิจ ธัศชล บุญแสนไชย คำแปง ทำนา |
คำขวัญ | มั่นคง มั่งคั่ง ทั้งแผ่นดิน |
ก่อตั้ง | 7 มีนาคม พ.ศ. 2563 (4 ปี 212 วัน) |
แยกจาก | พรรคพลังประชารัฐ |
ที่ทำการ |
|
สมาชิกภาพ (ปี 2565) | 27,329 คน[1] |
สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 | 18 / 500
|
การเมืองไทย รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
พรรคกล้าธรรม (อังกฤษ: Klatham Party) เป็นพรรคการเมืองของไทยที่จดทะเบียนก่อตั้งเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2563 ภายใต้ชื่อ พรรคเศรษฐกิจไทย ปัจจุบันมีนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ และสัจจวิทย์ ลีลาวณิชย์ เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรค
ประวัติ
[แก้]พรรคเศรษฐกิจไทย
[แก้]พรรคเศรษฐกิจไทยจดทะเบียนก่อตั้งเป็นลำดับที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2563 โดยมีนายประสงค์ วรารัตนกุล และนายเมธาวี เนตรไสว เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนแรก
โดยพรรคเศรษฐกิจไทยได้ปรากฏเป็นข่าวเมื่อมีกระแสออกมาว่า นาย ฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้ให้คนมาจดทะเบียนจัดตั้งไว้ โดยทางพรรคได้จัดประชุมจัดตั้งสาขาพรรคครบทั้ง 4 ภาคแล้วและมีกำหนดจัดประชุมใหญ่ของพรรคในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 แต่ด้วยสถานการณ์โควิดจึงจำเป็นต้องเลื่อนออกไปก่อน[2] ในเวลาต่อมาคณะกรรมการบริหารพรรคพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะเนื่องจากนายประสงค์ หัวหน้าพรรคได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคเมื่อวันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ทำให้พ้นจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคโดยทางพรรคได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคที่เหลืออยู่พ้นจากตำแหน่งทั้งคณะแต่ยังต้องดำรงตำแหน่งปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีการเลือกตั้งคณะกรรมบริหารพรรคชุดใหม่[3] โดย นางรัชนี ศิวะเวชช ซึ่งเป็นรองหัวหน้าพรรคได้รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าพรรค
จากนั้นในวันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2564 พันเอก สุชาติ จันทรโชติกุล อดีตประธานยุทธศาสตร์ภาคใต้และผู้ร่วมก่อตั้ง พรรคพลังประชารัฐ ได้ให้สัมภาษณ์กับนักข่าวว่าเตรียมย้ายมาสังกัดพรรคเศรษฐกิจไทยพร้อมคณะอีก 9 คนนำโดย นาย ทวี สุระบาล อดีต ส.ส. จังหวัดตรัง[4] แต่ในเวลาต่อมาพันเอกสุชาติได้ไปสมัครเป็นสมาชิก พรรคกล้า ของนาย กรณ์ จาติกวณิช
วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ทางพรรคเศรษฐกิจไทยได้จัดประชุมใหญ่เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่แทนชุดเดิมที่พ้นจากตำแหน่งซึ่งที่ประชุมมีมติเลือก นายปัญญา พุกราชวงศ์ และ นายปราโมทย์ ปรีพูล เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนใหม่[5] จากนั้นในวันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2565 ทางพรรคเศรษฐกิจไทยได้จัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ณ ที่ทำการพรรคเศรษฐกิจไทย แห่งใหม่ อาคารยูทาวเวอร์ ถนนศรีนครินทร์ เพื่อแก้ไขข้อบังคับพรรค เปลี่ยนแปลงโลโก้พรรค เปลี่ยนแปลงที่ทำการพรรค และเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือก พลเอก วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา และร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนใหม่ตามคาด โดยมีนาย บุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ เป็นนายทะเบียนสมาชิกพรรค นาง ธนพร ศรีวิราช ภรรยาของร้อยเอกธรรมนัสเป็นเหรัญญิกพรรค[6]
ในวันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2565 พรรคเศรษฐกิจไทยได้จัดการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคครั้งที่ 3/2565 ที่ที่ทำการพรรค โดยวาระการประชุมเป็นการรับทราบรายงานการประชุมใหญ่ของพรรคเมื่อวันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2565 พร้อมกับมีมติแต่งตั้งตำแหน่งต่าง ๆ เพิ่มเติม[7] จากนั้นในวันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2565 พลเอกวิชญ์ หัวหน้าพรรคเศรษฐกิจไทยได้เปิดตัว ซินแสโจ้ คมสัน พันธุ์วิชาติกุล เป็นว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. คนแรกของพรรคในเขต บางพลัด-บางกอกน้อย[8]
ต่อมาในวันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 นาย บุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ ส.ส. บัญชีรายชื่อและนายทะเบียนสมาชิกพรรคได้เปิดเผยว่าตนเองและคณะกรรมการบริหารพรรคอีก 14 คนรวมเป็น 15 คนได้ตัดสินใจยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นกรรมการบริหารพรรคต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองและ กกต. แล้วทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคชุดปัจจุบันต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะและต้องเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ภายใน 45 วันตามข้อบังคับพรรคเศรษฐกิจไทย[9] ต่อมาพลเอกวิชญ์ได้ตัดสินใจลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรคและสมาชิกพรรครวมทั้ง ซินแสโจ้ คมสัน ก็ตัดสินใจลาออกจากการเป็นรองโฆษกพรรคและสมาชิกพรรคตามพลเอกวิชญ์ ไป
จากนั้นในวันที่ 10 มิถุนายน 2565 พรรคเศรษฐกิจไทยได้จัดประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ 2/2565 เพื่อแก้ไขข้อบังคับพรรคในการเปลี่ยนแปลงที่ทำการพรรคไปอยู่ที่ 130/1 ซอยรัชดาภิเษก 54 ถนนรัชดาภิเษก แขวงลาดยาว เขตจตุจักร หรืออาคารปานศรี ซึ่งเป็นที่ทำการพรรคแห่งแรกของพรรคพลังประชารัฐ พร้อมกับเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จำนวน 24 คนซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า และนายไผ่ ลิกค์ เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนใหม่[10] ต่อมาในวันที่ 8 ตุลาคม 2565 ร้อยเอกธรรมนัสได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคโดยให้มีผลในวันเดียวกันส่งผลให้คณะกรรมการบริหารพรรคต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ[11]
ในวันที่ 10 ตุลาคม 2565 พรรคเศรษฐกิจไทยได้จัดประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ 3/2565 เพื่อแก้ไขข้อบังคับพรรคในการเปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์พรรค ย้ายที่ทำการพรรคไปอยู่ที่จังหวัดพะเยา และเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จำนวน 11 คนซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกนายเชวงศักดิ์ ใจคำ และนายสัจจวิทย์ ลีลาวณิชย์ เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนใหม่[12] จากนั้นในวันที่ 7 ธันวาคม 2565 นายสุธี พงษ์เพียรชอบ ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคเศรษฐกิจไทยทำให้พ้นจากตำแหน่งนายทะเบียนสมาชิกพรรคส่งผลให้เหลือคณะกรรมการบริหารพรรคจำนวน 10 คน[13]
พรรคกล้าธรรม
[แก้]ต่อมาในวันที่ 25 เมษายน 2566 พรรคเศรษฐกิจไทยได้จัดประชุมใหญ่สามัญ ครั้งที่ 1/2566 เพื่อแก้ไขข้อบังคับพรรคโดยเปลี่ยนแปลงชื่อพรรคเป็น พรรคกล้าธรรม เปลี่ยนตราสัญลักษณ์พรรค นโยบายพรรค คำขวัญและอุดมการณ์พรรค รวมถึงเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคแทนตำแหน่งที่ว่างจำนวน 1 ตำแหน่งซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกนายศุภกิต ปัญญา เป็นนายทะเบียนสมาชิกพรรคคนใหม่[14]
วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2567 พรรคกล้าธรรมจัดประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ 1/2567 เพื่อเลือกหัวหน้าพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ หลังจากนายเชวงศักดิ์ ใจคำ ได้ยื่นหนังสือขอลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคกล้าธรรม เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม จึงทำให้กรรมการบริหารพรรคพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ โดยผลการลงคะแนนเลือกหัวหน้าพรรคกล้าธรรมคนใหม่ ปรากฏว่า นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ผู้แทนการค้าไทยได้รับคัดเลือกเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ ส่วนเลขาธิการพรรคยังคงเป็นนายสัจจวิทย์ ลีลาวณิชย์[15]
บทบาททางการเมือง
[แก้]การย้ายเข้ามาของกลุ่มร้อยเอกธรรมนัส
[แก้]ครั้งที่หนึ่ง
[แก้]ต่อมาในวันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2565 พรรคเศรษฐกิจไทยได้ปรากฏเป็นข่าวอีกครั้งว่า ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า ส.ส. พะเยา และอดีตเลขาธิการ พรรคพลังประชารัฐ พร้อม ส.ส. ในกลุ่มอีก 20 คนได้เตรียมย้ายเข้ามาสังกัดพรรคเศรษฐกิจไทย ซึ่งมีกระแสข่าวที่ยังไม่ได้รับการยืนยันชัดเจนว่าปรากฏชื่อของ บิ๊กน้อย พลเอก วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นหัวหน้าพรรค นาย อภิชัย เตชะอุบล ส.ส. บัญชีรายชื่อ และอดีตเหรัญญิก พรรคประชาธิปัตย์ เป็นเลขาธิการพรรค และ พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีต ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พลเรือเอก ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ น้องชายของ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นที่ปรึกษาพรรค จากนั้นในวันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2565 นาย ไผ่ ลิกค์ ส.ส. กำแพงเพชร เขต 1 ซึ่งโดนขับออกจาก พรรคพลังประชารัฐ เช่นเดียวกับ ร้อยเอกธรรมนัส ได้โพสต์เฟซบุ๊กยืนยันว่า กลุ่ม ส.ส. ทั้ง 21 คนจะย้ายเข้าไปสังกัดพรรคเศรษฐกิจไทยเพราะแนวทางเข้ากันได้[16]
กระทั่งวันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2565 นางจอมขวัญ กลับบ้านเกาะ ส.ส. สมุทรสาคร ซึ่งได้ย้ายเข้ามาเป็นสมาชิกพรรคเศรษฐกิจไทยได้ประชุมจัดตั้งตัวแทนสาขาพรรคเศรษฐกิจไทย เขต 3 ที่ วัดบางพลี ตำบลบางโทรัด อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร[17] จากนั้นในวันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ เวลา 11.30 น. พลเอก วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ประธานยุทธศาสตร์ พรรคพลังประชารัฐ ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคต่อ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรค ทำให้พ้นจากตำแหน่งประธานยุทธศาสตร์พรรคพลังประชารัฐ โดยแอดมินเพจ อาน้อย วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กว่า เตรียมเข้ารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคเศรษฐกิจไทย ซึ่งต่อมาแอดมินได้ออกมายอมรับว่าเกิดจากรับข้อมูลคลาดเคลื่อนและตีเจตนารมณ์ผิดต่อมาจึงได้แก้ไขข้อความให้ถูกต้องและแอดมินได้กล่าวขอโทษต่อลูกเพจและประชาชน แต่อย่างไรก็ดีภายในเวลาไม่กี่นาทีแรกนักข่าวได้แคปโพสท์ของแอดมินไปทำข่าวและตีความพร้อมตั้งคำถามไปหลายทิศทางจึงทำให้เกิดกระแสข่าวออกมาค่อนข้างสับสนเนื่องจาก[18] หลังจากนั้นเพียงวันเดียวพล.อ.วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ก็ยังคงลงพื้นที่ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ที่ศูนย์กักกัน (OQ) แรงงานต่างด้าวตาม MOU โรงแรมอินโดจีน แกรนด์ เรสซิเด้นซ์ ตำบลป่าไร่ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เพื่อหารือ วางแนวทาง เรื่อง การขาดแคลนแรงงาน,ปัญหาด้านแรงานต่างด้าวลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย (ซึ่งอาจเกี่ยวโยงถึงการค้ามนุษย์), ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด19 จากแรงงานต่างด้าวเข้าสู่ไทย พร้อมกับพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ตามปกติ[19]
พรรคเศรษฐกิจไทยได้แจ้งต่อสภาผู้แทนราษฏรว่า ได้ทำการรับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ถูกขับออกจากพรรคพลังประชารัฐ จำนวน 18 คน เข้าสังกัดพรรคเศรษฐกิจไทย[20] จากนั้นในวันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ส.ส. ในสังกัดพรรคเศรษฐกิจไทยก็ได้เข้าร่วมประชุมเป็นครั้งแรก
ต่อมานาย บุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ ส.ส. บัญชีรายชื่อ ได้แจ้งข่าวหลังจากประชุม ส.ส. ของพรรคว่าพรรคเศรษฐกิจไทยเตรียมจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปีในวันศุกร์ที่ 18 มีนาคม เพื่อแก้ไขข้อบังคับพรรคเปลี่ยนแปลงที่ทำการพรรคมาอยู่ที่ อาคารยูทาวเวอร์ แขวงศรีนครินทร์ เขตสวนหลวง และเปลี่ยนแปลงตราโลโก้พรรค เลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จำนวน 26 คนโดยตามกระแสข่าว พลเอก วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ซึ่งลาออกจากพรรคพลังประชารัฐอย่างเป็นทางการและเข้าร่วมประชุมกับพรรคอย่างเป็นทางการในวันนี้จะดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคส่วนเลขาธิการพรรคจะเป็นร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า[21]
ครั้งที่สอง
[แก้]จากนั้นในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2567 หลังจากที่ร้อยเอกธรรมนัสประกาศแยกทางเดินกับพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ จากกรณีที่ไม่มีชื่อของร้อยเอกธรรมนัสในโผคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ของแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ก็มีกระแสข่าวว่าร้อยเอกธรรมนัสเตรียมนำ ส.ส. ในสังกัดของตนเองออกจากพรรคพลังประชารัฐมาสังกัดพรรคกล้าธรรม[22] และในการเสนอชื่อผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในสัดส่วนของร้อยเอกธรรมนัสนั้น มีชื่อของนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ถูกเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แทนร้อยเอกธรรมนัส[23] กระทั่งวันที่ 3 กันยายน ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ โดยมีรัฐมนตรีในโควต้าของร้อยเอกธรรมนัสในนามพรรคกล้าธรรมจำนวน 2 คน คือ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ อิทธิ ศิริลัทธยากร ในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
บุคลากร
[แก้]หัวหน้าพรรค
[แก้]ลำดับ | รูป | ชื่อ | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | หมายเหตุ |
1 | ประสงค์ วรารัตนกุล | 7 เมษายน พ.ศ. 2563 | 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 | ลาออกจากหัวหน้าพรรคและสมาชิกพรรค | |
- | รัชนี ศิวะเวช | 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 | 12 ธันวาคม พ.ศ. 2564 | รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าพรรค | |
2 | ปัญญา พุกราชวงศ์ | 12 ธันวาคม พ.ศ. 2564 | 18 มีนาคม พ.ศ. 2565 | - | |
3 | พลเอก วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา | 18 มีนาคม พ.ศ. 2565 | 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 | ลาออกจากหัวหน้าพรรคและสมาชิกพรรค | |
4 | ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า | 10 มิถุนายน พ.ศ. 2565 | 8 ตุลาคม พ.ศ. 2565[24] | ลาออกจากตำแหน่ง | |
5 | เชวงศักดิ์ ใจคำ | 10 ตุลาคม พ.ศ. 2565 | 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 | ||
6 | นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ | 6 สิงหาคม พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน | - |
เลขาธิการพรรค
[แก้]ลำดับ | รูป | ชื่อ | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | หมายเหตุ |
1 | เมธาวี เนตรไสว | 7 เมษายน พ.ศ. 2563 | 12 ธันวาคม พ.ศ. 2564 | รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการพรรค | |
2 | ปราโมทย์ ปรีพูล | 12 ธันวาคม พ.ศ. 2564 | 18 มีนาคม พ.ศ. 2565 | - | |
3 | ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า | 18 มีนาคม พ.ศ. 2565 | 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 | - | |
4 | ไผ่ ลิกค์ | 10 มิถุนายน พ.ศ. 2565 | 8 ตุลาคม พ.ศ. 2565 | - | |
5 | สัจจวิทย์ ลีลาวณิชย์ | 10 ตุลาคม พ.ศ. 2565 | 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 | – | |
6 สิงหาคม พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน | - |
การเลือกตั้ง
[แก้]พรรคเศรษฐกิจไทยส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งครั้งแรกคือการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง เขต 4 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2565 ซึ่งทางพรรคได้ส่งนายวัฒนา สิทธิวัง สส.ในพื้นที่เดิม ลงสมัครรับเลือกตั้ง หลังจากที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากศาลฎีกามีคำสั่งให้เลือกตั้งใหม่[25] ปรากฎว่าไม่ได้รับเลือกตั้ง
ต่อมาพรรคเศรษฐกิจไทย และได้เปลี่ยนชื่อเป็นพรรคกล้าธรรมในเวลาต่อมา ไม่ได้ส่งผู้สมัครใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2567
- ↑ "อนาคต "ปลัดฉิ่ง" กับพรรคเศรษฐกิจไทย". คมชัดลึกออนไลน์. 2021-07-14.
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคเศรษฐกิจไทย
- ↑ ""เพื่อนนายกฯ"เข้าพรรคเศรษฐกิจไทย ของ "ปลัดฉิ่ง"มั่นใจ "บิ๊กตู่"อยู่พรรคไหน พรรคนั้นขายได้". เดลินิวส์. 29 Sep 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง - ข้อมูลพรรคการเมือง - พรรคเศรษฐกิจไทย". party.ect.go.th.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ตามคาด! "พล.อ.วิชญ์" คุมพรรคเศรษฐกิจไทย "ธรรมนัส" นั่งเลขาฯ". posttoday.com. 2022-03-18.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "พรรคเศรษฐกิจไทยประชุมจัดทัพ จับตา 'ลูกชายชูวิทย์' โผล่สังเกตการณ์!". เดลินิวส์. 24 Mar 2022.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""เศรษฐกิจไทย" เปิดตัว "ซินแสโจ้" เป็นว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. คนแรกใน กทม". www.thairath.co.th. 2022-03-30.
- ↑ "ด่วน ! 15 กก.บห. "พรรคเศรษฐกิจไทย"ลาออกล้างไพ่ จับตา"ธรรมนัส" หัวหน้าใหม่". bangkokbiznews. 2022-05-24.
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคเศรษฐกิจไทย
- ↑ ด่วน! 'ธรรมนัส' ทิ้งเก้าอี้หัวหน้าพรรคเศรษฐกิจไทย
- ↑ "เศรษฐกิจไทยเลือกกรรมการบริหารชุดใหม่-เปลี่ยนโลโก้ หลังธรรมนัสทิ้งเก้าอี้หัวหน้าพรรค ไร้เงา ส.ส. นั่งกรรมการบริหาร". เดอะสแตนดาร์ด.
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคเศรษฐกิจไทย
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคกล้าธรรม (เดิมชื่อพรรคเศรษฐกิจไทย)
- ↑ M, Sirikanya. "บิ๊กเซอร์ไพร้ส์! 'นฤมล ภิญโญสินวัฒน์' ผงาดนั่งหัวหน้า 'พรรคกล้าธรรม' คนใหม่". เดลินิวส์.
- ↑ ""ไผ่ ลิกค์" ลั่น ไม่มีการต่อรองตำแหน่งรมต. พร้อมย้ายไป "พรรคเศรษฐกิจไทย" เผย แนวทางเข้ากันได้". สยามรัฐ. 2022-01-20.
- ↑ "'ธรรมนัส' เดินหน้าตั้งตัวแทน 'พรรคเศรษฐกิจไทย' ทั่วปท. นำร่อง 'สมุทรสาคร'". ThaiPost. 2022-01-23.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "อาน้อย วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา". www.facebook.com.
- ↑ "'บิ๊กป้อม' ลงพื้นที่สระแก้ว ตรวจความพร้อม ศูนย์กักกันแรงงานต่างด้าว". มติชนออนไลน์. 2022-02-04.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""พรรคเศรษฐกิจไทย" แจ้ง "สภาฯ" 18ส.ส. ที่ถูก "พปชร." ขับ ย้ายเข้าสังกัดแล้ว". bangkokbiznews. 2022-01-28.
- ↑ ""เศรษฐกิจไทย" ได้ฤกษ์ประชุมใหญ่ 18 มี.ค.เคาะเก้าอี้ "หัวหน้า-เลขาฯ"". www.thairath.co.th. 2022-03-08.
- ↑ ""ธรรมนัส พรหมเผ่า" จ่อขน สส. เข้า พรรคกล้าธรรม หลังแยกทางเดิน "บิ๊กป้อม"". ฐานเศรษฐกิจ.
- ↑ "อัปเดต "โผครม.แพทองธาร" ลงตัวแล้ว คาดจบ 15 ก.ย." Thai PBS.
- ↑ "ธรรมนัส" ลาออกหัวหน้า "พรรคเศรษฐกิจไทย" แล้ว ปัดดีลคนแดนไกล แต่อนาคตไม่แน่
- ↑ ""ศาลฎีกา"สั่งเลือกตั้งซ่อมส.ส.เขต4ลำปาง-พบ"วัฒนา"ได้รับเลือกไม่สุจริต". bangkokbiznews. 2022-05-27.