ประยุทธ มหากิจศิริ
ประยุทธ มหากิจศิริ | |
---|---|
![]() | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 ธันวาคม พ.ศ. 2488 |
คู่สมรส | สุวิมล มหากิจศิริ |
ศาสนา | พุทธ |
ประยุทธ มหากิจศิริ (1 ธันวาคม พ.ศ. 2488 - ) นักธุรกิจชาวไทย ประธานกรรมการกลุ่มบริษัท พีเอ็มส์ กรุ๊ปส์ เจ้าของบริษัทไทยน็อคซ์ สเตนเลส และไทย คอปเปอร์ เป็นเจ้าของสนามกอล์ฟเลควูด จากฉายา"เจ้าพ่อเนสกาแฟ" [1][2]
ชีวิตส่วนตัว สมรสกับ สุวิมล มหากิจศิริ มีบุตร 3 คน คือ อุษณีย์ มหากิจศิริ เฉลิมชัย มหากิจศิริ และอุษณา มหากิจศิริ นายประยุทธ มหากิจศิริ มีความสนิทสนมกับทักษิณ ชินวัตร โดยมีลูกชายคือ เฉลิมชัย มหากิจศิริ เป็นเพื่อนสนิทในกลุ่มเดียวกับ พานทองแท้ ชินวัตร
คนทั่วไปเข้าใจว่าเขาเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์เนสกาแฟ และ บริษัท เนสท์เล่ (ไทย)จำกัด แต่ความจริงเขาเป็นผู้ถือหุ้นโรงงานผลิตเนสกาแฟ (ควอลิตี้ คอฟฟี่ โปรดักท์ส จำกัด) โดยถือหุ้นอยู่ 51% มิได้มีความเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์เนสกาแฟหรือบริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด โดยตรงแต่อย่างใด
การเมือง[แก้]
นายประยุทธ มหากิจศิริ เคยเป็นสมาชิกวุฒิสภา เมื่อปี พ.ศ. 2540[3] ต่อมาได้เข้ารับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย แต่ต่อมาถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี เนื่องจากแจ้งบัญชีทรัพย์สินเป็นเท็จ โดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ในปี พ.ศ. 2545 มีผลตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543[4] - 21 มีนาคม พ.ศ. 2548 ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[5] เขาว่างเว้นจากงานการเมืองไประยะหนึ่่ง จนกระทั่งก่อนเมื่อปลายปี 2561 ปรากฏชื่อเป็นหนึ่งในผู้ร่วมบริจาคงานระดมทุนโต๊ะจีนพรรคพลังประชารัฐ จำนวน 10 ล้านบาท[1]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2546 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2540 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[7]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 ผ่าอาณาจักรหมื่นล.“มหากิจศิริ”-ป.ป.ช.ฟัน“ประยุทธ”ออกเอกสารสิทธิมิชอบ?
- ↑ ประยุทธ มหากิจศิริ บวงสรวง สวนป่าสักทีคคาร์บอน ลุยธุรกิจไม้สักพร้อมส่งออก
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภาราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอนพิเศษ 62ง วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2540
- ↑ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยที่ 19/2544
- ↑ "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๒๔, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๒๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
![]() |
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2488
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์
- นักธุรกิจชาวไทย
- มหาเศรษฐีชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- พรรคไทยรักไทย
- แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง