พรรคเสรีประชาธิปไตย (ประเทศไทย)
พรรคเสรีประชาธิปไตย | |
---|---|
หัวหน้า | เมธ รัตนประสิทธิ์ |
เลขาธิการ | บุญคุ้ม จันทรศรีสุริยวงศ์ |
ก่อตั้ง | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2498 |
ถูกยุบ | 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 (3 ปี 19 วัน) |
สภาผู้แทนราษฎร ก.พ. พ.ศ. 2500 | 11 / 160 |
สภาผู้แทนราษฎร ธ.ค. พ.ศ. 2500 | 5 / 160 |
การเมืองไทย รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
พรรคเสรีประชาธิปไตย พรรคการเมืองของไทยในอดีตที่จดทะเบียนก่อตั้งขึ้นครั้งแรกตาม พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2498 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2498 และได้รับการฟื้นฟู จดทะเบียนอีกครั้งในปี พ.ศ. 2511
ยุคก่อตั้ง พ.ศ. 2498
[แก้]พรรคเสรีประชาธิปไตย จดทะเบียนก่อตั้งตาม พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2498 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2498[1] โดยมีนาย เมธ รัตนประสิทธิ์ เป็นหัวหน้าพรรค มีร้อยโท จารุบุตร เรืองสุวรรณ บิดาของนาย จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ อดีต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และอดีตหัวหน้า พรรคเพื่อไทย เป็นเลขาธิการพรรค ต่อมาในปี พ.ศ. 2500 ได้มีการเปลี่ยนแปลงในตำแหน่งเลขาธิการพรรค เมื่อร้อยโท จารุบุตร ได้ลาออกจากตำแหน่ง และได้แต่งตั้งให้ บุญคุ้ม จันทรศรีสุริยวงศ์ ดำรงตำแหน่งแทน[2]
ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 พรรคเสรีประชาธิปไตยได้ ส.ส. เข้าสภาทั้งสิ้น 11 คนนับเป็นพรรคการเมืองที่ได้ ส.ส. เข้าสภามากที่สุดเป็นอันดับ 3 เป็นรองแค่ พรรคเสรีมนังคศิลา ที่ได้ 83 คน และ พรรคประชาธิปัตย์ ที่ได้ 30 คน
ต่อมาในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2500 พรรคเสรีประชาธิปไตยได้ ส.ส. เข้าสภาเพียง 5 คนลดลงจากการเลือกตั้งครั้งก่อนถึง 6 คน
พรรคเสรีประชาธิปไตยถูกยุบตามคำสั่งของ คณะปฏิวัติ พร้อมกับพรรคการเมืองอื่น ๆ เมื่อคืนวันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501[3]
การฟื้นฟูพรรคในปี พ.ศ. 2511
[แก้]พรรคเสรีประชาธิปไตย ได้รับการฟื้นฟูขึ้นในปี พ.ศ. 2511 โดยจดทะเบียนตาม พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2511 เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2511 เป็นลำดับที่ 8/2511 โดยมีร้อยโท จารุบุตร เรืองสุวรรณ เป็นหัวหน้าพรรคและพันเอก สมคิด ศรีสังคม เป็นเลขาธิการพรรคโดยมีนาย จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ อดีตหัวหน้า พรรคเพื่อไทย และอดีต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย บุตรชายของร้อยโทจารุบุตรเป็นหนึ่งในคณะกรรมการบริหารพรรค [4]
คณะกรรมการบริหารพรรค
[แก้]พรรคเสรีประชาธิปไตย มีคณะกรรมการบริหารพรรคชุดแรก ประกอบด้วย
- หัวหน้าพรรค คือ ร้อยโท จารุบุตร เรืองสุวรรณ
- เลขาธิการพรรค คือ พันเอก สมคิด ศรีสังคม
- กรรมการบริหารพรรค จำนวน 15 คน ได้แก่
ต่อมาในปี พ.ศ. 2513 ร้อยโท จารุบุตร เรืองสุวรรณ หัวหน้าพรรค และ พันเอก สมคิด ศรีสังคม เลขาธิการพรรค ได้ลาออกจากตำแหน่ง[5]
การเลือกตั้ง
[แก้]ใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 พรรคเสรีประชาธิปไตยได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เข้าสภา จำนวน 1 คน คือ พันเอก สมคิด ศรีสังคม เลขาธิการพรรค สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี
การยุบพรรค
[แก้]พรรคเสรีประชาธิปไตยถูกยุบพร้อมกับพรรคการเมืองอื่น ๆ ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 9 ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 [6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมืองเสรีประชาธิปไตย" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-05-01. สืบค้นเมื่อ 2018-04-24.
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเลขาธิการพรรคเสรีประชาธิปไตย
- ↑ "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๘ (มีสถานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ ยกเลิกพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๔๙๘ ให้บรรดาพรรคการเมืองที่ได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นอันสิ้นสุดลงไป)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-14. สืบค้นเมื่อ 2016-05-26.
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 81 ตอน 5 ง หน้า 115 21 มกราคม พ.ศ. 2512
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคเสรีประชาธิปไตย
- ↑ ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 9 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 88 ตอน 126 ก พิเศษ หน้า 3 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514