สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส)
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) | |
---|---|
![]() | |
คำนำหน้าชื่อ | ท่านเจ้าประคุณ |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 21 มีนาคม พ.ศ. 2410 (88 ปี 311 วัน ปี) |
มรณภาพ | 26 มกราคม พ.ศ. 2499 |
นิกาย | ธรรมยุติกนิกาย |
การศึกษา | นักธรรมชั้นเอก บาเรียนโท (เทียบเท่า ป.ธ. 5) |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดสุปัฏนารามวรวิหาร วัดสุทธจินดาวรวิหาร วัดบรมนิวาส วัดพระศรีมหาธาตุ อุบลราชธานี |
อุปสมบท | 20 มีนาคม พ.ศ. 2430 |
พรรษา | 68 |
ตำแหน่ง | รองแม่กองธรรมสนามหลวง กรรมการมหาเถระสมาคม กรรมการมหามกุฎราชวิทยาลัย รองเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุต เจ้าคณะตรวจการภาค 3 , 4 , 5 ประธานคณะวินัยธร สังฆนายกรูปแรก |
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ นามเดิม อ้วน แสนทวีสุข ฉายา ติสฺโส (21 มีนาคม พ.ศ. 2410 - 26 มกราคม พ.ศ. 2499) อดีตเจ้าอาวาสวัดสุปัฏนารามวรวิหาร อำเภอเมืองอุบลราชธานี วัดสุทธจินดาวรวิหาร มณฑลนครราชสีมา วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร กรุงเทพฯ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ แม่กองธรรมสนามมณฑลตลอดระยะที่ยังมิได้ยุบมณฑล รองแม่กองธรรมสนามหลวง กรรมการตรวจข้อสอบพระปริยัติธรรมสนามหลวง กรรมการมหาเถระสมาคม กรรมการมหามกุฎราชวิทยาลัย กรรมการฝ่ายศึกษาประชาบาล เขตปทุมวัน เจ้าคณะใหญ่ผู้ช่วยธรรมยุต เจ้าคณะตรวจการภาค 3 , 4 , 5 องค์ประธานคณะวินัยธร ชั้นฎีกาตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 และสังฆนายกรูปแรกแห่งประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484
ประวัติ
[แก้]สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ มีนามเดิมว่า “อ้วน แสนทวีสุข” เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พุทธศักราช 2410 ณ บ้านแคน ตำบลดอนมดแดง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี โยมบิดาเป็นกรมการเมืองชื่อเพี้ยเมืองกลาง (เคน แสนทวีสุข) โยมมารดาชื่อบุตสี แสนทวีสุข [1]
บรรพชาและอุปสมบท
[แก้]บรรพชา เป็นสามเณรสังกัดมหานิกาย เมื่อ พ.ศ. 2429 ขณะที่อายุได้ 19 ปี ที่วัดสว่าง ตำบลสว่าง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี แล้วแปลงเป็นธรรมยุติกนิกายที่วัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม ในปัจจุบัน) อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี และอุปสมบท เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2430 ณ พัทธสีมา วัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม ในปัจจุบัน) อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระอาจารย์ม้าว เทวธมฺมี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ทา โชติปาโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) เป็นพระอนุสาวนาจารย์
การศึกษา
[แก้]สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ได้ศึกษาเล่าเรียน หลังจากอุปสมบทแล้ว ก็ได้เล่าเรียนอักษรสมัย และพระปริยัติธรรมที่สำนักเรียนวัดศรีทอง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ในปี พ.ศ. 2433 ได้ย้ายสำนักเข้ามาศึกษาเล่าเรียนในกรุงเทพฯ โดยศึกษาเล่าเรียนอยู่ในสำนักพระสาสนโสภณ (อ่อน อหึสโก) แล้วเข้าสอบพระปริยัติธรรมตามหลักสูตรของมหามกุฎราชวิทยาลัยได้เป็นบาเรียนตรี (เทียบ 4 ประโยค) ใน พ.ศ. 2439 และสอบได้บาเรียนโท (เทียบ 5 ประโยค) ใน พ.ศ. 2440
ตำแหน่งงานปกครองคณะสงฆ์
[แก้]การปกครองวัด (เจ้าอาวาส)
[แก้]ท่านได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสต่าง ๆ ดังนี้
- พ.ศ. 2446 เจ้าอาวาสวัดสุปัฏนาราม จังหวัดอุบลราชธานี
- พ.ศ. 2470 เจ้าอาวาสวัดสุทธจินดา จังหวัดนครราชสีมา
- พ.ศ. 2475 เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2485 เจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน กรุงเทพมหานคร
การปกครองมณฑล
[แก้]ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะมณฑลต่าง ๆ ดังนี้
- พ.ศ. 2442 ปฏิบัติหน้าที่ผู้ช่วยเจ้าคณะมณฑลอีสาน
- พ.ศ. 2446 ปฏิบัติหน้าที่แทนเจ้าคณะมณฑลอีสาน
- พ.ศ. 2447 ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะมณฑลอีสาน[2]
- พ.ศ. 2454 ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะมณฑลอุบล
- พ.ศ. 2465 ผู้รั้งตำแหน่งเจ้าคณะมณฑลร้อยเอ็ด[3] (พ.ศ. 2454 โปรดเกล้าฯ ให้แยกมณฑลอีสานออกเป็นมณฑลอุบลและมณฑลร้อยเอ็ด)
- พ.ศ. 2469 รวมมณฑลอุบลราชธานีและมณฑลร้อยเอ็จเข้ากับมณฑลนครราชสีมา โดยมีท่านเป็นเจ้าคณะมณฑล[4]
ตำแหน่งพิเศษ
[แก้]- แม่กองธรรมสนามมณฑลตลอดระยะที่ยังมิได้ยุบมณฑล
- รองแม่กองธรรมสนามหลวง
- กรรมการตรวจข้อสอบพระปริยัติธรรมสนามหลวง
- กรรมการมหาเถรสมาคม
- กรรมการมหามกุฎราชวิทยาลัย
- กรรมการฝ่ายศึกษาประชาบาล เขตปทุมวัน
- รองเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุต
- เจ้าคณะตรวจการภาค 3 , 4 , 5
- องค์ประธานคณะวินัยธร ชั้นฎีกาตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484
- สังฆนายกรูปแรกแห่งประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484
ลำดับสมณศักดิ์
[แก้]- พ.ศ. 2447 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระสาสนดิลก[5]
- พ.ศ. 2454 เป็นพระราชาคณะเสมอชั้นราชในราชทินนามเดิม[6]
- พ.ศ. 2455 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชมุนี ตรีปิฎกาลังการ ไวยัติญาณ ยติคณิศร บวรสังฆาราม คามวาสี[7]
- พ.ศ. 2464 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพเมธี ศรีวิบุลยนายก ตรีปิฎกธาดา มหาคณฤศร บวรสังฆาราม คามวาสี[8]
- พ.ศ. 2468 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพพิเศษที่ พระโพธิวงศาจารย์ ญาณวิสุทธจริยาปริณายก ตรีปิฎกธรรมสุนทร ยติคณิศร บวรศีลาทิขันธ์ อรัณยวาสี[9]
- พ.ศ. 2472 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมปาโมกข์ ยุตโยคญาณดิลก ไตรปิฎกธารี ธรรมวาทียติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[10]
- พ.ศ. 2475 เป็นพระราชาคณะมัชฌิมมหาคณิศวรานุนายก (เจ้าคณะรองคณะกลาง) ที่ พระพรหมมุนี ศรีวิสุทธิญาณนายก ตรีปิฎกธรรมาลังการวิภูษิต มัชฌิมคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[11]
- พ.ศ. 2482 เป็นสมเด็จพระราชาคณะผู้ช่วยคณะธรรมยุติกนิกายที่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ จาตุรงคประธานวิสสุต พุทธพจนมธุรสธรรมวาที คัมภีรญาณปริยัติโกศล วิมลศีลาจารวัตร เวไนยบริษัทประสาทกร ธรรมยุตติกคณิสสร มหาสังฆนายก[12]
มรณภาพ
[แก้]สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ท่านได้มรณภาพอย่างสงบด้วยโรคชราเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2499 ณ วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร สิริอายุได้ 89 ปี นับเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ของวงการบริหาร การปกครอง คณะสงฆ์ และพุทธศาสนิกชนทั่วไป โดยเฉพาะชาวจังหวัดอุบลราชธานี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "บุคคลสำคัญท้องถิ่น" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-08-22. สืบค้นเมื่อ 2014-01-12.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรตำแหน่ง เจ้าคณะมณฑล, เล่ม ๒๑, วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๗, หน้า ๗๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกรมธรรมการ เรื่องตั้งผู้รั้งตำแหน่งเจ้าคณะมณฑล, เล่ม ๓๙, ๐ ง, ๗ พฤษภาคม ๒๔๖๕, หน้า ๓๑๗-๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกกรมวิสามัญศึกษา เรื่อง ตั้งเจ้าอาวาสพระอารามหลวงและเจ้าคณะ, เล่ม ๔๓, ตอน ๐ ง, ๒๓ พฤษภาคม ๒๔๖๙, หน้า ๘๙๑-๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, รายนามพระสงฆ์ที่รับตำแหน่งสมณศักดิ์, เล่ม ๒๑, ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๗, หน้า ๗๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, การตั้งตำแหน่งสมณศักดิ์และเปลี่ยนพัดยศ, เล่ม ๒๘, ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๔, หน้า ๖๑๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศตั้งพระราชาคณะ, เล่ม ๒๙, หน้า ๒๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, รายนามพระสงฆ์ที่รับตำแหน่งสมณศักดิ์, เล่ม ๓๘, วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๗, หน้า ๑๘๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๔๒, ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๘, หน้า ๓๕๑๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรสมณศักดิ์, เล่ม ๔๖, ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๒, หน้า ๒๖๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม ๔๙, ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๕, หน้า ๔๘๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม ๕๖, ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๒, หน้า ๓๕๒๓
ข้อมูลเพิ่มเติ่ม
[แก้]หนังสือและบทความ
[แก้]เว็บไซต์
[แก้]- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2410
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2499
- สมเด็จพระมหาวีรวงศ์
- ภิกษุในสังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย
- เปรียญธรรม 5 ประโยค
- กรรมการมหาเถรสมาคม
- สังฆนายก
- เจ้าอาวาสวัดสุทธจินดาวรวิหาร
- เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาสราชวรวิหาร
- เจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร
- บุคคลจากอำเภอเมืองอุบลราชธานี
- ภิกษุจากจังหวัดอุบลราชธานี