อำเภอเขาวง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอเขาวง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Khao Wong
คำขวัญ: 
เขาวงดงอู่ข้าว สาวผู้ไทงาม น้ำตกพริ้ว ทิวเขาเรียงราย มากมายผ้าห่ม อุดมวัฒนธรรม อ่างวังคำน้ำใส
ทฤษฎีใหม่น้ำพระทัยจากในหลวง
แผนที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เน้นอำเภอเขาวง
แผนที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เน้นอำเภอเขาวง
พิกัด: 16°42′0″N 104°5′24″E / 16.70000°N 104.09000°E / 16.70000; 104.09000
ประเทศ ไทย
จังหวัดกาฬสินธุ์
พื้นที่
 • ทั้งหมด205.1 ตร.กม. (79.2 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด33,885 คน
 • ความหนาแน่น165.21 คน/ตร.กม. (427.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 46160
รหัสภูมิศาสตร์4606
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเขาวง หมู่ที่ 16 ตำบลคุ้มเก่า อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ 46160
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เขาวง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดกาฬสินธุ์ และเป็นอำเภอที่แยกจากอำเภอกุฉินารายณ์ พื้นที่ส่วนใหญ่ทำการเกษตร ปลูกข้าวเหนียวและข้าวเจ้า ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวภูไท พูดภาษาภูไท มีอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ และหัตถกรรม ทอผ้า ทำเครื่องจักสาน และไม้กวาด

ประวัติ[แก้]

เมืองกุดสิมนารายณ์ และอำเภอเขาวง บรรพชนคนภูไท ได้อพยพโยกย้ายจากเมืองวังฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง เข้ามาสู่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขงสืบเนื่องมาจากการมีปัญหาทางด้านการเมืองการปกครอง ท่านผู้นำพร้อมด้วยบริวารจึงพากันโยกย้ายมาหาที่ทำกินแห่งใหม่ โดยการนำของท่านราชวงศ์กอ การตั้งเมืองกุดสิมนารายณ์ราชวงศ์กอ ท้าวด้วง และท้าวต้อพร้อมด้วยสมัครพรรคพวก ที่ได้อาศัยอยู่บนหลังเขาภูพานเป็นเวลานานพอสมควร ก็ยังเห็นว่าเป็นทำเลที่ยังไม่เหมาะสม ก็เลยพากันอพยพลงมาจากหลังเขาภูพาน จึงได้มาพบสถานที่แห่งหนึ่งเป็นบริเวณกว้างมีลำน้ำสายใหญ่สายหนึง (ลำพะยัง) และลำห้วยเล็กๆอีกหลายสาย ทั้งมีกุดหนองน้ำอีหลายแห่งที่พอจะใช้สอยบริโภค ประกอบอาชีพต่างๆ อีกทั้งยังมีป่าไม้เขียวชะอุ่มร่มรื่นน่าอยู่อาศัย จึงพร้อมใจปักหลักอยู่ตรงนี้ กุดที่พบครั้งแรกมีสิม (โบสถ์) และใบเสมาแกะสลักเป็นลายจึงได้ตั้งชื่อว่าบ้านกุดสิมนารายณ์ พ.ศ. 2388 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่สามแห่งราชวงศ์จักรี มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯให้ราชวงศ์ (กอ) ราชวงศ์เมืองวัง แต่งตั้งเป็นพระธิเบศร์วงศา เจ้าเมืองกุดสิมนารายณ์ คุมคน 3,443 คน ขึ้นกับเมืองกาฬสินธุ์ ได้รับพระราชทานเงิน 2 ชั่ง ถาดหมาก 1 คณโฑเงินหนึ่งสัปทนการ 1 เสื้อเข้มขามก้านหนึ่ง ผ้าโพกแพรขลิบหนึ่ง ผ้าดำปักทองมีชัยหนึ่ง แพรขาวห่มหนึ่ง ผ้าปูมหนึ่ง ให้ท้าวด้วงเป็นอุปฮาด รับพระราชทานเงิน 10 ตำลึง เสื้อคัดลัดดอกลาย 1 แพรสีทับทิมติดขลิบ1ผ้าห่มขาว 1 ผ้าเชิงปม 1 พระธิเบศร์วงศ์ศา (กอ) เจ้าเมืองกุดสิมนารายณ์คนที่ 1 รับราชการเป็นเจ้าเมืองรวมเวลา 17ปี มีความซื่อสัตย์สุจริตตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ ปกครองชาวบ้านอยู่ด้วยความสงบสุข ลุถึงพ.ศ. 2405 ก็ถึงแก่อนิจกรรม พระธิเบศร์วงศา (ด้วง) เจ้าเมืองกุดสิมนารายณ์คนที่ 2 (พ.ศ. 2409-พ.ศ. 2423) ทำหน้าที่เป็นอุปฮาดมาเป็นเวลา 17 ปี และรับหน้าที่รักษาการแทนเจ้าเมือง4 ปี ลุถึง พ.ศ. 2409 จศ.1228 ปีขาลอัฐศก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระบรมราชโองกาฯร โปรดเกล้าฯแต่งตั้งอุปฮาดด้วง เป็นเจ้าเมืองกุดสิมนารายณ์คนที่ 2 ท่านพระธิเบศร์วงศา (ด้วง) ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่รับราชการ ปกครองชาวเมืองมาด้วยความสงบเรียบร้อยเสมอมาเป็นเวลา 14 ปี ครั้นถึง พ.ศ. 2423 จศ.124 ปีมะโรงโทศก ท่านพระธิเบศร์วงศา ด้วงก็ถึงแก่อนิจกรรม พระธิเบศร์วงศา (กินรี) เจ้าเมืองกุดสิมนารายณ์คน ที่ 3 (2426-2451) ลุถึงพ.ศ. 2426 จศ. 1242 ปี มะแม เบญจศก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ท้าวกินรี เป็นพระธิเบศร์วงศา (ต้นตระกูล ภูไท โทธิเบศร์วงศา) เจ้าเมืองกุดสิมนาร่ายณ์ หัวเมืองชั้นตรี พร้อมแต่งตั้งท้าวเพียเป็นหัวหน้าภูไทช่วยทำการในท้าวกินรีเจ้าเมือง ได้แก่ ท้าวสาร (ต้นตระกูล ภูไท วุฒิสาร) ท้าวเสน หรือ ท้าววรเสนไชยะ (ต้นตระกูล ภูไท วรเสนไชยะ, ไชยเขตขันธุ์, ไชยขันธุ์) ท้าวหลอยหลิ่ง (ต้นตระกูล ภูไท ศรีหลิ่ง, ศรีหริ่ง) อนึ่งพระธิเบศร์วงศา (กินรี) ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ปกครองเมืองกุดสิมนารายณ์ ตั้งแต่พ.ศ. 2426-2451 รวมเป็นเวลา 25 ปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2451 เมืองกุดสิมนารายณ์ถูกยุบเป็นอำเภอกุดสิมนารายณ์ พระธิเบศร์วงศา (กินรี) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายอำเภอกุดสิมนาร่ยณ์ จนถึงพ.ศ. 2454 ท่านก็ได้ถึงแก่อนิจกรรม เป็นการสิ้นสุดระบบเจ้าเมืองภูไท

อำเภอกุดสิมนารายณ์ เมื่อครั้งที่ตั้งอยู่บ้านกุดสิม มีนายอำเภอเป็นหัวหน้าปกครองอยู่ 4 ท่านคือ

  1. พระธิเบศร์วงศา (กินรี)
  2. ขุนมาลาวินิจฉัย (ขำ พลวิจิตร)
  3. หลวงมหาดไท
  4. หลวงวิภักดิ์สถานุกุล (ลิ มัธยมนันท์)

ลุถึง พ.ศ. 2456 กลางเดือนมีนาคม ทางราชการก็ย้ายเมืองกุดสิมนารายณ์ไปตั้งอยู่ที่บ้านบัวขาว และได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอกุฉินารายณ์ ส่วนที่ตั้งอำเภอเดิมก็กลายมาเป็นตำบล ก็คือตำบลคุ้มเก่านับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2456 มาถึงวันที่1กรกฎาคม 2512 นับเป็นเวลา56 ปี ถือว่าเป็นเวลาที่นานมากจึงได้รับการยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอเขาวง โดยมีเขตปกครองรวม 5 ตำบลคือ

  1. ตำบลคุ้มเก่า
  2. ตำบลสงเปลือย
  3. ตำบลนาคู
  4. ตำบลภูแล่นช้าง
  5. ตำบลหนองผือ

ต่อมากิ่งอำเภอเขาวงได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอเขาวง เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2517 ตามพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเขาวง และเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2538 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศ เรื่องแบ่งเขตท้องที่อำเภอเขาวง จัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอนาคู โดยแยกตำบลนาคู ตำบลภูแล่นช้าง ตำบลบ่อแก้ว ตำบลโนนนาจาน และตำบลสายนาวังรวม 5 ตำบล ทำให้อำเภอเขาวงเดิมมีเขตปกครอง 11 ตำบล เหลือเขตปกครอง 6 ตำบล ได้แก่ตำบลคุ้มเก่า ตำบลกุดปลาค้าว สระพังทอง หนองผือ กุดสิมคุ้มใหม่ และตำบลสงเปลือย

ภูมิประเทศและภูมิอากาศ[แก้]

ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ส่วนใหญเป็นที่ราบบริเวณกว้าง มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ มีภูเขาล้อมรอบ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ระดับสูงสุด 262 เมตร ต่ำสุด 168 เมตร ลักษณะภูมิอากาศ สภาพภูมิอากาศเป็นแบบมรสุมเมืองร้อน เนื่องจากที่ตั้งอำเภอมีภูเขาล้อมรอบ อากาศจึงค่อนข้างหนาวและลมค่อนข้างแรงตามบริเวณเชิงเขา เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน อุณหภูมิสูงสุด เดือนเมษายนประมาณ 38.5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด เดือนมกราคม ประมาณ 12 องศาเซลเซียส

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอเขาวงตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด บริเวณเทือกเขาภูพาน ห่างจากตัวเมืองกาฬสินธุ์ 91 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอเขาวงแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 6 ตำบล 71 หมู่บ้าน

1. คุ้มเก่า (Khum Kao)
2. สงเปลือย (Song Plueai)
3. หนองผือ (Nong Phue)
4. กุดสิมคุ้มใหม่ (Kut Sim Khum Mai)
5. สระพังทอง (Saphang Thong)
6. กุดปลาค้าว (Kut Pla Khao)

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอเขาวงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลกุดสิม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกุดปลาค้าวทั้งตำบล รวมถึงบางส่วนของตำบลคุ้มเก่าและตำบลกุดสิมคุ้มใหม่
  • เทศบาลตำบลสระพังทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสระพังทองทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลสงเปลือย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสงเปลือยทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลกุดสิมคุ้มใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกุดสิมคุ้มใหม่ (นอกเขตเทศบาลตำบลกุดสิม)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคุ้มเก่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคุ้มเก่า (นอกเขตเทศบาลตำบลกุดสิม)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองผือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองผือทั้งตำบล

สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]

  • วัดป่าพุทธบุตร เป็นแหล่งอบรมจริยธรรม มีพิพิธภัณฑ์ปลาหิน 160 ล้านปี และแหล่งรวบรวมฟอสซิลไม้ ที่เรียกว่า ต้นไม้กลายเป็นหิน
  • อ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
  • น้ำตกตาดทอง
  • วัดวังคำ
  • อุโมงค์ผันน้ำ ภูมิพัฒน์
  • ถนนดิสโก้

สถานที่สำคัญอื่น ๆ[แก้]

  • สถานศึกษา : โรงเรียนอนุบาล 2 แห่ง โรงเรียนประถมศึกษา 17 แห่ง โรงเรียนมัธยมศึกษา 3 แห่ง วิทยาลัยอาชีวศึกษา 1 แห่ง
  • สถานพยาบาล : โรงพยาบาล 1 แห่งขนาด 90 เตียง สถานีอนามัย 5 แห่ง
  • ประชากรส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา มีจำนวนวัด 25 แห่ง

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]