ข้ามไปเนื้อหา

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
Department of Primary Industries and Mines
ตรากรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง3 ตุลาคม พ.ศ. 2545
สำนักงานใหญ่75/10 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
งบประมาณต่อปี501.2623 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • อดิทัต วะสีนนท์, อธิบดี[2]
  • ว่าง[3]
เว็บไซต์http://www.dpim.go.th

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) (Department of Primary Industries and Mines - DPIM) เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม[4] มีภารกิจหลักในการสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมเหมืองแร่โลหกรรม อุตสาหกรรมพื้นฐาน และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง[5]

ประวัติ

[แก้]

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ แต่เดิมเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตราธิการ ก่อตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ในชื่อว่า "กรมราชโลหกิจและภูมิวิทยา" เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2434 ทำหน้าที่ดูแลการทำเหมืองแร่ การออกใบอนุญาตเกี่ยวกับการตรวจหาแร่และทำเหมืองตลอดทั่วราชอาณาจักร

ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อกรมอีกหลายครั้ง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2485 จึงได้มีการจัดตั้งกระทรวงอุตสาหกรรม และโอนกิจการของกรมราชโลหกิจและภูมิวิทยา เข้ามาสังกัดในชื่อว่า "กรมโลหกิจ" ในปี พ.ศ. 2506 ได้โอนมาสังกัดกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ในชื่อ"กรมทรัพยากรธรณี" และโอนมาสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมอีกครั้งในปี พ.ศ. 2516 จนถึงการปฏิรูประบบราชการ พ.ศ. 2545 เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ได้แยกตัวออกมาตั้งเป็นกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งคนทั่วไปจะเรียกชื่อกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่สั้นๆ ว่า "กรมเหมืองแร่"

หน่วยงานในสังกัด

[แก้]

ส่วนกลาง

[แก้]
  • สำนักงานเลขานุการกรม
  • กองกฎหมาย
  • กองนวัตกรรมวตถุดิบและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
  • กองบริหารงานอนุญาต
  • กองบริหารจัดการวัตถุดิบอุตสาหกรรม
  • กองบริหารสิ่งแวดล้อม
  • กองยุทธศาสตร์และแผนงาน
  • กองวิศวกรรมบริการ
  • ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ส่วนกลางที่ตั้งอยู่ในภูมิภาค

[แก้]
  • สำนักงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เขต 1 สงขลา
  • สำนักงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เขต 2 อุดรธานี
  • สำนักงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เขต 3 เชียงใหม่
  • สำนักงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เขต 4 ภูเก็ต
  • สำนักงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เขต 5 พิษณุโลก
  • สำนักงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เขต 6 นครราชสีมา
  • สำนักงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เขต 7 ราชบุรี

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]