ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ
บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะบริษัทที่ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นบริษัทในเครือของบีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTSG ชื่อเดิมคือบริษัท ธนายง) และยังเป็นผู้ดำเนินการโครงการรถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร-ราชพฤกษ์ และรถไฟฟ้าสายสีทองอีกด้วย
ประวัติและการดำเนินงาน
[แก้]บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2535 โดยนายคีรี กาญจนพาสน์ เพื่อดำเนินการตามสัมปทานของบริษัทธนายง ในการก่อสร้างและให้บริการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนยกระดับในกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นโครงการที่อยู่ในระหว่างการวางแผนในขณะนั้น ก่อตั้งขึ้นในรูปแบบของบริษัทร่วมทุน โดยมีพันธมิตรหลัก ได้แก่ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน), บริษัท ซิโต และ บริษัท ไดเคอร์ฮอฟ แอนด์ วิทแมน บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในปี พ.ศ. 2539 แต่หลังจากเกิดวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้งในปี พ.ศ. 2540 บริษัทประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนัก จึงต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการและการปรับโครงสร้างหนี้ในช่วงปี พ.ศ. 2549-2551 ในปี พ.ศ. 2553 บริษัทธนายงเปลี่ยนชื่อเป็น บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ และเข้าซื้อหุ้นในบีทีเอสซีคิดเป็นสัดส่วน 94.6% ทำให้บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบีทีเอสซี[1][2]
ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพดำเนินงานรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งเปิดให้บริการเมื่อปี พ.ศ. 2542 เป็นผู้ได้รับสัมปทานในการดำเนินงานรถไฟฟ้าบีทีเอสสายแรกของกรุงเทพฯ ครอบคลุมเส้นทางจากสถานีหมอชิตถึงสถานีอ่อนนุช (สายสุขุมวิท) และสถานีสนามกีฬาแห่งชาติถึงสถานีสะพานตากสิน (สายสีลม) ซึ่งบริษัทเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด และได้ขยายเส้นทางรถไฟฟ้าเพิ่มเติมภายใต้สัญญาสัมปทานกับกรุงเทพมหานคร (ผ่านบริษัท กรุงเทพธนาคม) และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) นอกจากนี้ยังดำเนินการรถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร-ราชพฤกษ์ ซึ่งเปิดให้บริการเพียงสายเดียวในปี 2553 และรถไฟฟ้าสายสีทอง ซึ่งเปิดให้บริการในปี 2563 อีกด้วย[3][4][5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Bangkok Mass Transit System PCL (2016). "แบบ 56-1 ปี 2558/59 แบบ 56-1 ปี 2558/59 บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ส่วนที่ 1 : การประกอบธุรกิจ" (PDF). Securities and Exchange Commission. สืบค้นเมื่อ 29 December 2020.
- ↑ Kittikanya, Charoen (19 November 2016). "Riding to the rescue". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 29 December 2020.
- ↑ Advertising partner (15 August 2018). "Mass-transit propels BTS Group's success (advertorial)". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 29 December 2020.
- ↑ ศศิวรรณ โมกขเสน (1 August 2018). "ย้อนดูสัมปทานบีทีเอส เป็นมาอย่างไรแล้วจะอยู่ด้วยกันไปอีกกี่ปี". The Momentum. สืบค้นเมื่อ 29 December 2020.
- ↑ "Gold Line set for October opening". Bangkok Post. 18 June 2020. สืบค้นเมื่อ 29 December 2020.