สถานีวิทยุศึกษา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถานีวิทยุศึกษา
สถานีวิทยุศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
สถานีวิทยุศึกษา.png
พื้นที่กระจายเสียงประเทศไทย
ความถี่FM 92.0 MHz
สัญลักษณ์ฟังวิทยุศึกษา เสริมสร้างปัญญา พัฒนาชีวิต.
แบบรายการ
ภาษาภาษาไทย
รูปแบบข่าวสาร สาระ และบันเทิง
การเป็นเจ้าของ
เจ้าของศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
กระทรวงศึกษาธิการ
ผู้ประกอบธุรกิจนายไพรัชช์ แก้วสังข์ทอง
(หัวหน้าสถานีวิทยุศึกษา)
ประวัติ
เริ่มกระจายเสียง1 มกราคม พ.ศ. 2497
ข้อมูลทางเทคนิค
พิกัดสถานีส่งศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
ลิงก์
เว็บไซต์www.moeradiothai.net

สถานีวิทยุศึกษา เป็นสถานีวิทยุของกระทรวงศึกษาธิการ นำเสนอรายการเกี่ยวกับการศึกษา ธรรมะ สุขภาพ ข่าวสาร และรายการบันเทิงต่าง ๆ

ประวัติ[แก้]

สถานีวิทยุศึกษา จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2496 โดยมติของคณะรัฐมนตรีให้กระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินโครงการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา มีที่ทำการอยู่ที่ วิทยาลัยเทคนิค ทุ่งมหาเมฆ ด้วยเครื่องส่งวิทยุ ที่วิทยาลัยประกอบขึ้นเอง มีกำลังส่ง 500 วัตต์ โดยใช้คลื่นความถี่ยาว 1,160 kHz และความถี่คลื่นสั้น 11.6 MHz โดยเริ่มกระจายเสียงวันแรกเมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2497

ในระยะแรกรายการ ที่จัดออกอากาศ ได้แก่ บทความ รายการสำหรับเด็ก ดนตรีไทยและสากล ละคร ทั้งละครไทยและละครภาษาอังกฤษ วิชาชุดครูระดับต่าง ๆ ผู้จัดรายการของสถานีวิทยุศึกษา เช่น ดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์, เปลื้อง ณ นคร, เจือ สตะเวทิน, ฉันทิชย์ กระแสสินธุ์, เจริญพัน ชุมสาย ณ อยุธยา, ฉันท์ ขำวิไล, จินตนา ยศสุนทร, หม่อมหลวงตุ้ย ชุมสาย, ครูชิ้น ศิลปบรรเลง, ครูเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล[1]

การออกอากาศ[แก้]

สถานีวิทยุศึกษาทำการออกอากาศเป็นประจำตั้งแต่เวลา 06.00 น. - 00.00 น. โดยสามารถเลือกรับฟังได้ทางคลื่น FM 92.0 MHz และ เครือข่ายดาวเทียมช่อง R31 หรือเลือกรับฟังรายการสด และย้อนหลังได้ที่ เว็บไซต์ของสถานีวิทยุศึกษา

อนึ่ง สถานีวิทยุศึกษา เคยทำการกระจายเสียงในระบบ AM 1161 kHz มาก่อน จนกระทั่งเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2564 เวลา 24:00 น. จึงได้ยุติการกระจายเสียงในระบบนี้ แต่ยังคงสามารถรับฟังการกระจายเสียงผ่านระบบ FM 92.0 MHz ได้ตามปกติ เพียงช่องทางเดียว

อ้างอิง[แก้]

  1. สถานีวิทยุศึกษา, ประวัติสถานีวิทยุศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน พ.ศ. 2559

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]