กรมโรงงานอุตสาหกรรม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรมโรงงานอุตสาหกรรม
Department of Industrial Works
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง5 พฤษภาคม 2485
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่75/6 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
งบประมาณประจำปี325,682,700 ล้านบาท (พ.ศ. 2561)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • จุลพงษ์ ทวีศรี[2], อธิบดี
  • พรยศ กลั่นกรอง, รองอธิบดี
  • วีรพงษ์ เอี่ยมเจริญชัย, รองอธิบดี
ต้นสังกัดหน่วยงานกระทรวงอุตสาหกรรม
เว็บไซต์http://www.diw.go.th/

กรมโรงงานอุตสาหกรรม (อังกฤษ: Department of Industrial Works) เป็นหน่วยงานส่วนราชการระดับกรม สังกัด กระทรวงอุตสาหกรรม[3] โดยมีหน้าที่ในการบริหาร จัดการ และกำกับดูแลธุรกิจอุตสาหกรรม โดยยึดแนวทางการรักษาสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย สุขอนามัย และประหยัดพลังงาน รวมไปถึงสนับสนุนข้อมูล และ องค์ความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรม[4]

ประวัติกรม[แก้]

สืบเนื่องจาก พระราชกำหนด แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พุทธศักราช 2484 พุทธศักราช 2485 ลงวันที่ 5 พฤษภาคม 2485[5] ได้มีการจัดตั้ง กระทรวงการอุตสาหกรรม ขึ้น และได้จัดตั้งกรมในปีเดียวกัน โดยมีหน้าที่ในการดูแลโรงงานต่างๆ ของรัฐ ให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการปรับปรุงมาตรฐาน คุณภาพและปริมาณ รักษาระดับราคาของผลิตภัณฑ์ที่โรงงานต่างๆ ผลิตจำหน่ายแก่ประชาชน พร้อมทั้งสนับสนุนส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เห็นว่ามีความจำเป็นแก่ประเทศในยามสงคราม[6]


ตราสัญลักษณ์ของกรม[แก้]

ตราสัญลักษณ์เดิมของกรม[แก้]

ตราเดิมของกรม

ตราเดิมของกรมมีความหมายดังนี้[7]:

  • รูปโลก หมายถึง แบบมาตรฐานสากล รวมถึงสภาพแวดล้อมรอบโลก ในที่นี้คือ ตัวแทนสิ่งแวดล้อมของภาคอุตสาหกรรมโดยรวม
  • เฟืองสีแดงเลือดหมู หมายถึง ตัวแทนภาคอุตสาหกรรม เครื่องจักรกล สีแดงอีกนัยหนึ่งคือ การตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา รวมถึงความแข็งแกร่งอีกด้วย
  • ใบไม้สีเขียว หมายถึง ตัวแทนความร่มรื่น ความเป็นธรรมชาติที่ภาครัฐโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมต้องคงอยู่ และควบคู่ไปกับการพัฒนาอุตสาหกรรม
  • เครื่องหมายความปลอดภัย หมายถึง ตัวแทนด้านความปลอดภัย สุขอนามัยของโรงงานอุตสาหกรรม

ตราสัญลักษณ์ปัจจุบันของกรม[แก้]

ตราปัจจุบันของกรม

ตราปัจจุบันของกรมมีความหมายดังนี้[8]:

  • ความเป็นไทย หน้าจั่ว ลายไทย ลายกนก โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ตราสัญลักษณ์ แสดงถึงความเรียบง่าย แสดงความเป็นไทยสมัยใหม่ ลักษณะคล้ายเปลวไฟเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรมอันหมายถึงความรุ่งเรือง ความเจริญ การงาน ฯลฯ
  • ด้านนอกเป็นรูปเฟือง หมายถึง อุตสาหกรรม
  • ภายในเป็นรูปวงกลมเป็นรูปพระนารายณ์ หมายถึง การปกป้องดูแลความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ และยังหมายถึงการสร้างเสริมและพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมของประเทศให้ก้าวหน้าสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้
  • สีธงชาติ หมายถึง อุตสาหกรรมไทย ที่มีความมั่งคง ความก้าวหน้า การสงเสริมอุตสาหกรรมไทยให้เจริญยิ่งๆขึ้น

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, "พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561". เล่ม 134 ตอนที่ 101ก หน้า 7 วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2560.
  2. มติคณะรัฐมนตรี 3 ตุลาคม 2565
  3. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พุทธศักราช 2545 เก็บถาวร 2011-11-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนที่ 99ก วันที่ 2 ตุลาคม 2545
  4. พันธกิจและวิสัยทัศน์กรม เก็บถาวร 2018-09-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กรมโรงงานอุตสาหกรรม
  5. พระราชกำหนด แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พุทธศักราช 2484 พุทธศักราช 2485 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 59 ตอนที่ 31 วันที่ 5 พฤษภาคม 2485
  6. ประวัติกรม เก็บถาวร 2018-09-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กรมโรงงานอุตสาหกรรม
  7. ประวัติกรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม (เว็บไซต์เดิม)
  8. ตราสัญลักษณ์กรม เก็บถาวร 2020-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กรมโรงงานอุตสาหกรรม

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]