ข้ามไปเนื้อหา

สถานีรถไฟด่านพรมแดนบ้านคลองลึก

พิกัด: 13°39′46″N 102°32′53″E / 13.6627351°N 102.5479638°E / 13.6627351; 102.5479638
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถานีรถไฟด่านพรมแดนบ้านคลองลึก
ป้ายสถานีรถไฟด่านพรมแดนบ้านคลองลึก ทางทิศตะวันตก
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งตำบลอรัญประเทศ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว 27120
เจ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย
สาย
ชานชาลา1
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างระดับดิน
ระดับชานชาลา3
ที่จอดรถด้านหลังสถานีรถไฟ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานี3130
เขตค่าโดยสารสถานีรถไฟด่านพรมแดนบ้านคลองลึก
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ22 เมษายน พ.ศ. 2562 (5 ปี)
ผู้โดยสาร
ไม่ต่ำกว่ำ 50 คน
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า การรถไฟแห่งประเทศไทย สถานีต่อไป
อรัญประเทศ สายตะวันออก ปอยเปต
สถานีปลายทาง
ด่านพรมแดนบ้านคลองลึก
Ban Klong Luk Border
กิโลเมตรที่ 260.23
อรัญประเทศ
Aranyaprathet
−5.73 กม.
ปอยเปต
Poipet
+1.02 กม.
ดูเพิ่ม: รายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันออก

สถานีรถไฟด่านพรมแดนบ้านคลองลึก เป็นสถานีรถไฟลำดับที่ 445 ของการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยเป็นสถานีรถไฟในโครงการก่อสร้างฟื้นฟูเส้นทางช่วงอรัญประเทศ–ปอยเปต[1][2][3] เป็นสถานีรถไฟระดับ 3 บนเส้นทางรถไฟสายตะวันออก (กรุงเทพ–ด่านพรมแดนบ้านคลองลึก) ซึ่งเป็นสถานีสุดท้าย[4][5] ก่อนจะออกจากอาณาเขตประเทศไทย มีจำนวนย่านทางรถไฟในสถานี 2 ทาง เป็นทางหลัก 1 ทาง ทางหลีก 1 ทาง และเป็นทางที่ติดชานชาลาสถานี 1 ทาง

ตารางเวลาเดินรถ

[แก้]
ณ วันที่ 2 พฤษภาคม 2565

เที่ยวไป

[แก้]
ขบวนรถ ต้นทาง ด่านพรมแดนบ้านคลองลึก ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ธ275 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 05.55 ปลายทาง ด่านพรมแดนบ้านคลองลึก 11.17
ธ279 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 13.05 ปลายทาง ด่านพรมแดนบ้านคลองลึก 17.27
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

เที่ยวกลับ

[แก้]
ขบวนรถ ต้นทาง ด่านพรมแดนบ้านคลองลึก ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ธ280 ด่านพรมแดนบ้านคลองลึก 06.58 ต้นทาง กรุงเทพ (หัวลําโพง) 12.05
ธ276 ด่านพรมแดนบ้านคลองลึก 13.53 ต้นทาง กรุงเทพ (หัวลําโพง) 19.40
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

ประวัติ

[แก้]

ยุคแรก

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2448 กรมรถไฟหลวงได้มีการจัดซื้อที่ดินเพื่อก่อสร้างเส้นทางรถไฟจากมณฑลกรุงเทพสู่มณฑลปราจิณบุรี กระทั่งในปี พ.ศ. 2462 มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสร้างรถไฟหลวงจากจังหวัดฉะเชิงเทราถึงอารัญประเทศ จังหวัดกระบินทร์บุรี และสามารถเปิดการเดินรถจากสถานีรถไฟกระบินทร์บุรีถึงสถานีรถไฟอรัญประเทศเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469

ในช่วงปี พ.ศ. 2484–2489 ไทยได้ดินแดนเขมรเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ส่งผลให้ไทยได้เมืองพระตะบอง, ศรีโสภณ, มงคลบุรี และเสียมราฐ (ยกเว้นนครวัดและนครธม) กลับมาอีกครั้ง และได้ทำการเชื่อมเส้นทางรถไฟระหว่างสถานีรถไฟอรัญประเทศกับสถานีรถไฟมงคลบุรีโดยมีทหารญี่ปุ่นบุกเบิกเส้นทางให้ เรียกว่าทางรถไฟสายอรัญญประเทศ–มงคลบุรี เส้นทางรถไฟสายนี้จะสิ้นสุดบริเวณแม่น้ำสังแกตามข้อตกลงไทย-ฝรั่งเศสในขณะนั้น รวมระยะทางตั้งแต่สถานีอรัญประเทศถึงปลายทางเป็นระยะทาง 117 กิโลเมตร[6] แต่หลังจักรวรรดิญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้สงครามในปี พ.ศ. 2489 รัฐบาลไทยจึงต้องคืนดินแดน รวมทั้งเส้นทางรถไฟที่เคยสร้างไว้ด้วย

หลังกัมพูชาได้รับเอกราชเมื่อปี พ.ศ. 2493 กรมรถไฟของไทยได้เจรจากับคณะผู้แทนรถไฟกรุงกัมพูชาเรื่องการเชื่อมทางรถไฟกัมพูชากับรถไฟไทยเมื่อปี พ.ศ. 2496 และเปิดเดินรถไฟระหว่างประเทศครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2498 ขบวนรถอรัญประเทศ–ปอยเปต–พระตะบอง โดยช่วงแรกได้ใช้รถดีเซลรางของกัมพูชาเดินรถทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ ช่วงเวลาเช้า-เย็น ภายหลังได้เพิ่มรถจักรไอน้ำของไทย อันประกอบไปด้วยรถชั้นสองและสาม มีพ่วงตู้สินค้า เดินรถทุกเช้าวันอังคารและเสาร์[7]

หลังเดินรถได้ 4 ปี กัมพูชาประกาศตัดความสัมพันธ์กับไทย และยุติการเดินรถเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501 ต่อมาได้เปิดพรมแดนชั่วคราวเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 จึงเดินรถตามตารางเดิมที่เคยใช้เมื่อวันที่ 6 มีนาคมปีเดียวกัน

ต่อมากัมพูชาตัดความสัมพันธ์กับไทยอีกครั้งเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2504 จึงงดการเดินรถข้ามประเทศ ต่อมาการรถไฟแห่งประเทศไทยเริ่มเดินรถข้ามประเทศอีกครั้งเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 แต่ลดจำนวนเที่ยวเพียงวันอังคารและพฤหัสบดี

ในช่วงเหตุการณ์พนมเปญแตก การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงยุติการเดินรถข้ามพรมแดนเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 หลังยุติการเดินรถทางฝั่งกัมพูชาได้มีการรื้อถอนรางออกไป โดยมากรางจะถูกงัดไปขาย และย่านสถานีรวมทั้งเส้นทางรถไฟในปอยเปตได้แปรสภาพเป็นบ่อนกาสิโน โรงแรม และร้านค้า[7] คงเหลือเพียงสะพานข้ามคลองพรหมโหดที่ติดกับพรมแดนไทยเท่านั้น[7] ส่วนเส้นทางรถไฟฝั่งไทยก็ถูกกลบหายไปจากการสร้างตลาดโรงเกลือ[7]

การบูรณะ

[แก้]

ธนาคารพัฒนาแห่งเอเชียให้กัมพูชากู้ยืมเงินสำหรับบูรณะเส้นทางรถไฟช่วงศรีโสภณปอยเปตเป็นระยะทาง 48 กิโลเมตรเพื่อเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟกับประเทศไทยที่อรัญประเทศ การรถไฟแห่งประเทศไทยเคยเสนอของงบประมาณในปี พ.ศ. 2555 แต่ถูกตัดงบประมาณ ต่อมาชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้กล่าวว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยมีการปรับปรุงรางและอื่น ๆ ในเส้นทางชุมทางคลองสิบเก้าอรัญประเทศ และอรัญประเทศ–คลองลึก รวมถึงสะพานข้ามคลองพรหมโหดในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556 เพราะเบื้องต้นเส้นทางดังกล่าวมีปัญหาคือเส้นทางเดิมขาด และมีน้ำท่วมขัง ใช้งบประมาณ 2,808 ล้านบาท โดยบริษัทอิตาเลียนไทยชนะประมูลการก่อสร้าง พ.ศ. 2557 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาได้เยือนประเทศกัมพูชา พร้อมทั้งเจรจากับฮุน เซนเกี่ยวกับโครงการระบบรางและร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ

พ.ศ. 2559 รัฐบาลกัมพูชาเวนคืนที่ดินซึ่งเป็นกาสิโนจำนวนสามแห่งรวมทั้งสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองออกเพื่อสร้างทางรถไฟเชื่อมระหว่างอรัญประเทศ–ปอยเปต ทว่ามีตึกกาสิโนและโรงแรมกีดขวางทางรถไฟ กัมพูชาจึงแก้ปัญหาด้วยการสร้างทางรถไฟผ่านใต้ตึก โดยฝังรางรถไฟไว้ใต้คอนกรีต ทางรถไฟจะผ่านตึกทะลุไปถึงสถานีรถไฟปอยเปตที่ถูกบูรณะใหม่[8]

บริเวณที่หยุดรถไทยเดิม ก่อนก่อสร้างสถานีด่านพรมแดนบ้านคลองลึก [8]

วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2558 การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ทำการรื้อถอนสะพานข้ามคลองพรหมโหดเดิมที่มีอายุ 120 ปี เพื่อสร้างใหม่ เพื่อเชื่อมเส้นทางไปยังพรมแดนกัมพูชา โดยทางรัฐบาลไทยได้ก่อสร้างเส้นทางรถไฟจากอรัญประเทศจนถึงสะพานข้ามคลองพรหมโหดแล้วเสร็จตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2561 และกำลังก่อสร้างสถานีรถไฟใหม่บริเวณบ้านดงงู อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ในปีเดียวกัน การรถไฟแห่งประเทศไทยวางแผนจะมอบรถดีเซลรางฮิตาชิรีโนเวตจำนวน 4 คันแก่กิจการรถไฟกัมพูชา พร้อมกับอบรมพนักงานขับรถของกัมพูชา เป็นของขวัญแก่กัมพูชา เบื้องต้นจะมีการเดินรถระหว่างประเทศโดยมุ่งเน้นขนส่งประชาชนเป็นหลัก

28 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ทางการไทยสร้างสถานีรถไฟด่านพรมแดนบ้านคลองลึกใกล้ตลาดโรงเกลือใกล้แล้วเสร็จ ทั้งนี้ก็เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนโดยไม่ต้องเดินทางไปขึ้นรถไฟที่สถานีรถไฟอรัญประเทศ คาดว่าจะมีการเดินรถสปรินเตอร์ในต้นปี พ.ศ. 2562 ส่วนการเดินรถระหว่างประเทศนั้น ยังติดขัดปัญหาบางประการของทางการกัมพูชา จึงยังไม่มีการเดินรถข้ามพรมแดนระหว่างกัน ซึ่งถูกเลื่อนมาแล้วหลายครั้ง

เปิดใช้งาน

[แก้]
การกล่าวรายงาน โดยนายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย

22 เมษายน พ.ศ. 2562 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และสมเด็จอัคคมหาเสนาบดีเดโชฮุน เซน นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นประธานร่วมเป็นประธานพิธีเฉลิมฉลองความสำเร็จในการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย - กัมพูชา (บ้านหนองเอี่ยน - สตึงบท) พร้อมด้วยนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวง ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงคมนาคม และนางอัมพวัน วรรณโก อธิบดีกรมท่าอากาศยาน เข้าร่วมพิธีฯ[4] นอกจากนี้ ในช่วงบ่ายวันเดียวกัน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดสถานีรถไฟด่านพรมแดนบ้านคลองลึก พิธีลงนามความตกลงการเดินรถไฟร่วมกันระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาและพิธีส่งมอบรถดีเซลรางร่วมกับสมเด็จอัคคมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา[9] เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งทางรถไฟระหว่างไทย - กัมพูชา ตลอดจนความร่วมมือต่างๆ ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น[3][10]

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่าทางรถไฟสายนี้ใช้ความเร็วได้เพียง 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และต้องพัฒนาระบบการดูแลเส้นทาง ระบบสัญญาณ และทางร่วมแยกที่ถูกปิดมากว่า 40 ปี มีโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายจากสถานีรถไฟปอยเปตถึงสถานีรถไฟศรีโสภณระยะทาง 48 กิโลเมตร ในอนาคตยังมีแผนที่จะฟื้นฟูเส้นทางไปยังสถานีรถไฟพระตะบอง และก่อสร้างเส้นทางเชื่อมยังสถานีรถไฟพนมเปญ[3] ซึ่งการรถไฟฯ ได้จัดพิธีลงนามความตกลงการเดินรถไฟร่วมกัน ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา พิธีมอบรถดีเซลราง และพิธีเปิดสถานีรถไฟด่านพรมแดนบ้านคลองลึก โดยมีสาระสำคัญและความเป็นมาของทั้ง 3 พิธี ดังนี้[9][10]

  1. พิธีลงนามข้อตกลงการเดินรถ
    ความตกลงการเดินรถไฟร่วมกันระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ในอดีตฝ่ายไทย – กัมพูชา เคยมีการเดินรถใน ปี 2485 ซึ่งมีการปิด – เปิด การเดินรถหลายครั้ง และมีการเดินรถครั้งสุดท้ายในเดือนกรกฎาคม 2517 ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยการเชื่อมโยงเครือข่ายทางรถไฟ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2557 ฝ่ายไทยและกัมพูชาได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อจัดทำร่างความตกลงฯ และได้ร่วมกันหารือเพื่อพัฒนาร่างความตกลงฯ มาอย่างต่อเนื่อง และในการหารือครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2562 ณ กรุงพนมเปญ ทั้งสองฝ่ายได้ข้อสรุปต่อร่างดังกล่าวและปรารถนาที่จะให้มีการลงนามความตกลงฯ ก่อนพิธีส่งมอบรถไฟดีเซลราง และในวันนี้ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นผู้แทนประเทศไทย และ นายซุน จัน ทอล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและการขนส่ง เป็นผู้แทนประเทศกัมพูชา เป็นผู้ลงนามความตกลงการเดินรถไฟร่วมกันระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งสาระสำคัญของความตกลงได้ครอบคลุมทั้งการโดยสารและการขนส่งสินค้าทางรถไฟ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความเชื่อมโยงด้านรถไฟระหว่างไทย - กัมพูชา ทั้งทางด้านกายภาพ ด้านกฎระเบียบ ตลอดจนความร่วมมือต่าง ๆ ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นด้วย[10][9]
  2. การส่งมอบรถดีเซลรางจากผลการหารือทวิภาคี ในการประชุมสุดยอดกรอบความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue: ACD Summit) ครั้งที่ 2 ในปี 2559 ระหว่างนายกรัฐมนตรีไทย - กัมพูชา ซึ่งได้ตกลงที่จะส่งเสริมการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟไทย - กัมพูชา พร้อม สนับสนุนตู้โดยสารรถไฟให้กับประเทศกัมพูชา เพื่อสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างกันสำหรับรถไฟที่การรถไฟฯ จะส่งมอบให้ประเทศกัมพูชา เป็นรถดีเซลราง หรือ Diesel Multiple Unit (DMU) ผลิตโดย บริษัท ฮิตาชิ จำกัด ประเทศญี่ปุ่น เป็นรถกำลังดีเซลรางมีห้องขับ (กซข.) หมายเลข 1035 และ 1038 และรถพ่วงดีเซลรางมีห้องขับ (พซข.) หมายเลข 40 และ 45 เข้าประจำการที่การรถไฟฯ ในปี 2513 - 2514 และมีการปรับปรุงในปี 2534 - 2537 โดยทำการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์และเครื่องถ่ายทอดกำลัง รวมถึงการปรับปรุงระบบเครื่องทำลมอัด ทำให้มีประสิทธิภาพในการเดินขบวนรถได้ดียิ่งขึ้น และมีการปรับปรุงครั้งล่าสุด เมื่อปลายปี 2559 ปัจจุบัน การรถไฟฯ ได้ดำเนินการปรับปรุงรถดีเซลราง จำนวน 4 คัน ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน นอกจากนี้ การรถไฟฯ ได้ทำการฝึกอบรมการขับรถและซ่อมบำรุงรถให้แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายกัมพูชา โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ช่วงที่ 1 การฝึกขับรถและตรวจเช็คเบื้องต้น ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 20 - 26 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงรถพ่วงแก่งคอย จังหวัดสระบุรี และช่วงที่ 2 จะจัดขึ้นภายหลังจากที่มีการส่งมอบรถแล้วที่ประเทศกัมพูชา มีเนื้อหาเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงรถ และการอบรมเทคนิคการขับเคลื่อน ระยะเวลา 15 วัน และในพิธีส่งมอบวันนี้เจ้าหน้าทีฝ่ายกัมพูชาที่ได้รับการอบรมจะเป็นผู้ขับรถไฟขบวนดังกล่าว[10][9]
  3. สถานีด่านพรมแดนบ้านคลองลึกสืบเนื่องจากความสำเร็จในการก่อสร้างสะพานรถไฟมิตรภาพ ระหว่างไทย – กัมพูชา ในปี 2559 โดยการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลไทย การรถไฟแห่งประเทศไทยได้รับการอนุมัติงบประมาณในการก่อสร้างสถานีชั่วคราว สถานีด่านพรมแดนบ้านคลองลึก เป็นสถานีสุดท้ายของทางรถไฟสายตะวันออก (อรัญประเทศ) ตั้งอยู่บริเวณบ้านคลองลึก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ห่างจากสะพานรถไฟมิตรภาพฯ ประมาณ 200 เมตร มีพื้นที่โดยประมาณ 13,000 ตารางเมตร ประกอบด้วย อาคารสถานี เส้นทางรถไฟทางหลักและทางหลีก ปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินงานจัดซื้อครุภัณฑ์พร้อมติดตั้ง ภายในอาคารสถานีแบ่งออกเป็น 6 ห้อง ประกอบด้วย ห้องหน่วยงานความมั่นคง ห้องตรวจปล่อย/ด่านศุลกากร ห้องตรวจคนเข้าเมือง ห้องด่านตรวจพืช ห้องด่านตรวจสัตว์น้ำ และห้องงานสถานีรถไฟ[10][9]

ในโอกาสนี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้ขึ้นรถดีเซลรางขบวนดังกล่าว จากสถานีด่านพรมแดนบ้านคลองลึกไปยังสถานีปอยเปต เพื่อส่งมอบรถอย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ จากความร่วมมือกันของทั้งสองประเทศ จะส่งเสริมให้การเดินรถไฟสายตะวันออก (อรัญประเทศ) มีความสะดวกสบายมากขึ้น สนับสนุนการค้าชายแดนระหว่างไทยและกัมพูชา ทั้งยังเป็นส่วนสำคัญที่เชื่อมโยงโครงข่ายทางรถไฟตามแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก - ตะวันตก East - West Corridor ส่งเสริมการพัฒนาด้านเศรษฐกิจของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ที่สำคัญ ยังเป็นการแสดงถึงความร่วมมืออันเกิดจากมิตรภาพของรัฐบาลไทยและรัฐบาลกัมพูชา ที่ต้องการสร้างความสุข ยกระดับคุณภาพชีวิตและความกินดีอยู่ดีให้กับประชาชนทั้ง 2 ประเทศ สร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ เพิ่มศักยภาพของภูมิภาคอาเซียนให้สามารถแข่งขันบนเวทีโลกได้อย่างเต็มภาคภูมิ[10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. สถานีรถไฟด่านพรมแดนบ้านคลองลึก สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2562
  2. "สถานีคลองลึก เตรียมเปิดรถไฟเชื่อม"อรัญฯ - ปอยเปต"". สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 3.2 ทางรถไฟสายอรัญประเทศ–ปอยเปต สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2562
  4. 4.0 4.1 รายชื่อสถานีรถไฟสายตะวันออก สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2562
  5. ทางรถไฟสายตะวันออก สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2562
  6. อาทิตย์ ทรงกลด. เรื่องลับเขมร ที่คนไทยควรรู้. กรุงเทพฯ : สยามบันทึก, 2552, หน้า 140-143
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 วัชรินทร์ ยงศิริ (28 กรกฎาคม 2559). "ปัญหาของเส้นทางรถไฟสายอรัญประเทศ-ปอยเปต". ศูนย์โลกสัมพันธ์ไทย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  8. 8.0 8.1 ไทย-กัมพูชากลับมาเชื่อมทางรถไฟอีกครั้ง สานฝันทางรถไฟสายคุนหมิง - สิงคโปร์ https://readthecloud.co/thailand-cambodia-rail-link/ สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2562
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 นายกฯ ไทย-กัมพูชา สานสัมพันธ์ 2 ประเทศ ผ่านพิธีเปิดสะพานมิตรภาพไทย-กัมพูชา เชื่อมอรัญประเทศ สระแก้ว กับ ปอยเปต กัมพูชา พร้อมเปิดสถานีรถไฟด่านพรมแดนบ้านคลองลึก จุดผ่านแดนเชื่อมต่อทางบก ทางรถไฟ ฝั่งไทยลงนามความตกลงการเดินรถไฟร่วม 2 ประเทศ ฟาก รฟท.ส่งมอบรถไฟดีเซลรางให้กัมพูชา สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2562
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 10.5 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เปิดสถานีรถไฟด่านพรมแดนบ้านคลองลึก และมอบรถดีเซลรางให้กับนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ผสานโครงข่ายระบบราง สานสัมพันธ์สองประเทศ[ลิงก์เสีย] สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2562

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°39′46″N 102°32′53″E / 13.6627351°N 102.5479638°E / 13.6627351; 102.5479638