สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
ETV Logo.jpg
ประเทศไทย ไทย
พื้นที่แพร่ภาพไทย ประเทศไทย
เครือข่ายช่องโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่
คำขวัญบ้านหลังใหญ่แห่งการเรียนรู้
เพื่อนเรียนรู้ตลอดชีวิต
สำนักงานใหญ่ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา
ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท
เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
แบบรายการ
ระบบภาพ576ไอ (16:9 คมชัดมาตรฐาน[1]) 1080ไอ (16:9 คมชัดสูง)
ความเป็นเจ้าของ
เจ้าของศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
กระทรวงศึกษาธิการ
บุคลากรหลักวรภร ประสมศรี ผู้อำนวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
ประวัติ
เริ่มออกอากาศ12 สิงหาคม พ.ศ. 2537 (28 ปี)
ลิงก์
เว็บไซต์www.etvthai.tv
ออกอากาศ
เคเบิลทีวี
ทรูวิชันส์ช่อง 371
เจริญเคเบิลทีวีช่อง 76
ทีวีดาวเทียม
ดาวเทียมไทยคม 6 เคยู-แบนด์12687 V 30000
ทรูวิชันส์ช่อง 371 HD
พีเอสไอ[2]
จีเอ็มเอ็มแซท
ดีทีวี
ช่อง 201 HD
สื่อสตรีมมิง
EtvThaihttp://www.etvthai.tv

สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา หรือ อีทีวี เป็นสถานีโทรทัศน์ของศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กระทรวงศึกษาธิการ นำเสนอรายการเกี่ยวกับการศึกษา ทั้งระดับประถมศึกษา, มัธยมศึกษา และการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) มีคำขวัญประจำสถานีว่า บ้านหลังใหญ่แห่งการเรียนรู้ และ เพื่อนเรียนรู้ตลอดชีวิต

ประวัติ[แก้]

เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2537 คณะรัฐมนตรีลงมติอนุมัติให้กระทรวงศึกษาธิการ จัดทำโครงการทดลองจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เพื่อขยายโอกาส พัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับมาตรฐานทางการศึกษา หลังจากนั้น กระทรวงศึกษาธิการ มีคำสั่งมอบหมายให้ กรมการศึกษานอกโรงเรียน (ปัจจุบันคือ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย) รับผิดชอบโครงการทดลองดังกล่าว มีกำหนดระยะเวลาระหว่างวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2537 จนถึงวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2542 โดยมูลนิธิไทยคมให้การสนับสนุน ในการจัดตั้งสถานีส่งแพร่ภาพ จนกระทั่งเริ่มทดลองออกอากาศ อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2537 [3] และเริ่มออกอากาศจริงอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2542

การออกอากาศและช่องทางการรับชม[แก้]

อีทีวี (ETV) [3] ออกอากาศเป็นประจำทุกวัน ระหว่างเวลา 06:00 - 24:00 น. (เช่นเดียวกับสถานีวิทยุศึกษา) ผ่านสัญญาณดาวเทียมไทยคม 5 ด้วยระบบออกอากาศดิจิทัล ในความถี่เคยู-แบนด์ สามารถรับชมได้ทางบริการโทรทัศน์บอกรับเป็นสมาชิก ทรูวิชั่นส์ ช่อง 180 ในอนาคต อีทีวี เตรียมที่จะขยายช่องทางการออกอากาศผ่านทีวีดิจิตอล บริการสาธารณะ หมายเลขที่ 1 ให้บริการทีวีสาธารณะประเภทที่ 1 สำหรับการออกอากาศในการส่งเสริมความรู้ การศึกษา วิทยาศาสตร์ โดยรอการจัดสรรคลื่นความถี่จากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เครือข่ายโทรทัศน์ผ่านสายเคเบิลส่วนท้องถิ่น และทางออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ของอีทีวี [4][5] และในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2561 อีทีวี ได้ทำการออกอากาศด้วยความคมชัดละเอียดสูง(HD) แทนการออกอากาศความคมชัดละเอียดปกติ(SD) ซึ่งการรับชมอีทีวีหลังจากนี้ต่อไป จะต้องติดตั้งและรับสัญญาณจากกล่องรับสัญญาณโทรทัศน์ความคมชัดสูง(Set-top box)ที่รองรับแต่เพียงระบบดิจิตอล โดยจะต้องสังเกตด้านหลังของกล่องดังกล่าว ซึ่งจะมีช่องต่อสายที่รองรับการออกอากาศจากระบบส่งสัญญาณมัลติมีเดียความละเอียดสูง(HDMI) เป็นต้น โดยเริ่มออกอากาศตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป การออกอากาศในระบบ SD 576i เช่นเดียวกับที่ใช้ออกอากาศทางโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล

เวลาออกอากาศ[แก้]

  • พ.ศ. 2538 เปิดสถานีเวลา 14.00 ปิดสถานีเวลา 21.00
  • พ.ศ. 2546 เปิดสถานีเวลา 09.00 ปิดสถานีเวลา 22.00
  • พ.ศ. 2547 เปิดสถานีเวลา 07.00 ปิดสถานีเวลา 22.00
  • พ.ศ. 2549 เปิดสถานีเวลา 06.00 ปิดสถานีเวลา 22.00 ตามข้อเสนอของผู้รับชม
  • พ.ศ. 2551 เปิดสถานีเวลา 06.00 ปิดสถานีเวลา 00.00
  • พ.ศ. 2551 (กลางปี) เปิดสถานี 24 ชั่วโมงผ่านดาวเทียม Thaicom 2/5 KU band
  • พ.ศ. 2552 เปิดสถานีเวลา 06.00 ปิดสถานีเวลา 00.00
  • พ.ศ. 2563 (ครึ่งปี) เปิดสถานี 24 ชั่วโมงผ่านดาวเทียมและดิจิทัล
  • พ.ศ. 2563 (ปลายปี) เปิดสถานีเวลา 06.00 ปิดสถานีเวลา 00.00
  • พ.ศ. 2564 เปิดสถานีเวลา 06.00 ปิดสถานีเวลา 00.00 ผ่านดาวเทียมและเคเบิลทีวีท้องถิ่นทั่วประเทศ

รายการต่างๆ จากสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา[แก้]

  • ติวเตอร์แชนเนล ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 กระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินโครงการ ติวเตอร์ แชนเนล (Tutor Channel ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น สติวเดนท์ แชนแนล (Student Channel) ปัจจุบันใช้ชื่อ ติวเข้มเติมเต็มความรู้ เพื่อนำไปสู่การออกอากาศผ่านโครงข่าย โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ประเภทบริการสาธารณะ โดยกำหนดระยะเวลาดำเนินงานโครงการ ในระหว่างปี พ.ศ. 2552 - พ.ศ. 2555 ด้วยงบประมาณราว 6,000 ล้านบาท[ต้องการอ้างอิง] หลังจากนั้นจะมีความพร้อมในการออกอากาศภาคพื้นดิน ผ่านคลื่นความถี่ยูเอชเอฟ โดยระยะแรก เริ่มออกอากาศในรูปรายการโทรทัศน์ เป็นครั้งแรกเมื่อวันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2552 ระหว่างเวลา 10:00 - 12:00 น. ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย และคู่ขนานทางอีทีวี[ต้องการอ้างอิง]
  • ครูจอแก้ว รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 - ประถมศึกษาปีที่ 6 ดำเนินรายการ ครูเอฟ พงษ์พันธ์ จันทร์เพ็ง[6]
  • ข่าวการศึกษา รายการข่าวสารแวดวงการศึกษาไทย โดยทีมข่าวจาก ETV
  • สวัสดีภาษาจีน รายการการสอนภาษาจีนแบบละเอียด ในรูปแบบบทสนทนาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน พร้อมกับช่วงเล่าสู๋กันฟัง เป็นการเล่าประวัติศาสตร์ และ วัฒนธรรมของชาวจีน ดำเนินรายการโดย อ. วิโรจน์ ตั้งวานิช

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ออกอากาศในลักษณะ Letter Box ในอัตราส่วน 4:3 โดยมีแถบสีดำที่บริเวณด้านบนและล่างของหน้าจอ
  2. บริษัท PSI จะดำเนินการเปลี่ยนแปลงลำดับการรับชมช่องรายการ ETV ระบบ KU-Band หมายเลขช่อง 110 เป็น หมายเลขช่อง 201 ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2564 เป็นต้นไป
  3. 3.0 3.1 "ประวัติความเป็นมา". www.ceted.org. สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-25. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "การเผยแพร่รายการ". www.ceted.org. สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-23. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "ความเป็นมา". www.ETVThai.tv. สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "รายการครูจอแก้ว" http://www.etvthai.tv/Front_ETV/FETV_Article_detailOFWeek.aspx?eminent_id=152&v=1&p=5