ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 27: บรรทัด 27:
โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ก่อตั้งขึ้นโดย [[พระยาราชเดชดำรง” (ผล ศรุตานนท์)]] เมื่อ พ.ศ. 2476 ตรงกับปีที่แปดในรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] มีอายุแปดทศวรรษใน พ.ศ. 2556 ปัจจุบันมีอายุครบ 85 ปี โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ จัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษา รูปแบบสหศึกษา โดยเป็นสถานศึกษาของรัฐที่ตั้งขึ้นเป็นอันดับที่ 27 ของประเทศไทย อันดับที่ 10 ของภาคเหนือ และอันดับที่ 2 ของจังหวัดเชียงราย เป็นหน่วยงานราชการส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ประเภทสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเป็นโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดเชียงราย[1] [2] มีสถานะเป็นนิติบุคคลมหาชนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ[3] สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงราย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ก่อตั้งขึ้นโดย [[พระยาราชเดชดำรง” (ผล ศรุตานนท์)]] เมื่อ พ.ศ. 2476 ตรงกับปีที่แปดในรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] มีอายุแปดทศวรรษใน พ.ศ. 2556 ปัจจุบันมีอายุครบ 85 ปี โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ จัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษา รูปแบบสหศึกษา โดยเป็นสถานศึกษาของรัฐที่ตั้งขึ้นเป็นอันดับที่ 27 ของประเทศไทย อันดับที่ 10 ของภาคเหนือ และอันดับที่ 2 ของจังหวัดเชียงราย เป็นหน่วยงานราชการส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ประเภทสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเป็นโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดเชียงราย[1] [2] มีสถานะเป็นนิติบุคคลมหาชนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ[3] สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงราย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ


ปัจจุบันพื้นที่ของโรงเรียนที่ถนนอุตรกิจ มีจำนวน 13 ไร 2 งาน 49.4 ตารางวา เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6
ปัจจุบันพื้นที่ของโรงเรียนที่ถนนอุตรกิจ มีจำนวน 13 ไร 2 งาน 49.4 ตารางวา เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 อุอิอิอิอิอิิอิอิ


== รายนามผู้บริหารโรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ ==
== รายนามผู้บริหารโรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:51, 9 สิงหาคม 2561

โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์
Damrongrat Songkroh School
ไฟล์:DS Logo (Color).png
ข้อมูล
ชื่ออื่นด.ส. (D.S.)
ประเภทรัฐบาล
คำขวัญนิมิตตํ สาธุรูปานํ กตญญูกตเวทิตา
(ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายแห่งคน)
สถาปนา17 พฤษภาคม พ.ศ. 2476
เขตการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษา เขต 36
สำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
รหัส57012002
ผู้อำนวยการนายอดุลย์ นันท์บัญชา
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1—6 สหศึกษา
จำนวนนักเรียน2,797 คน
สี███ น้ำเงิน
███ เหลือง
เว็บไซต์www.damrong.ac.th

โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ (อักษรย่อ: ด.ส., D.S.) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ประเภทสหศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตั้งอยู่ที่ 554 หมู่ 2 ถนนอุตรกิจ ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ก่อตั้งขึ้นโดย“พระยาราชเดชดำรง” (ผล ศรุตานนท์) เมื่อ พ.ศ. 2476 ตรงกับปีที่แปดในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันมีอายุ 85 ปี

ประวัติ

โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ แต่เดิมเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดหญิงมีชื่อว่า “บำรุงกุมารี” โดยเปิดสอนในสถานที่เดียวกับโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม ในชั้นเตรียมประถมศึกษา ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ต่อมาเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 “พระยาราชเดชดำรง” (ผล ศรุตานนท์) ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายคนที่ 11 (พ.ศ. 2460 - 2479) และราษฎรได้ดำเนินการให้แยกมาตั้ง ณ ที่ตั้งในปัจจุบัน ซึ่งเป็นคุ้มเจ้าหลวงเชียงราย พระยารัตนาณาเขต (เจ้าหลวงน้อยเมืองไชย) ที่ถนนอุตรกิจ เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดเชียงราย “ดำรงราษฎร์สงเคราะห์” โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ก่อตั้งขึ้นโดย พระยาราชเดชดำรง” (ผล ศรุตานนท์) เมื่อ พ.ศ. 2476 ตรงกับปีที่แปดในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีอายุแปดทศวรรษใน พ.ศ. 2556 ปัจจุบันมีอายุครบ 85 ปี โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ จัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษา รูปแบบสหศึกษา โดยเป็นสถานศึกษาของรัฐที่ตั้งขึ้นเป็นอันดับที่ 27 ของประเทศไทย อันดับที่ 10 ของภาคเหนือ และอันดับที่ 2 ของจังหวัดเชียงราย เป็นหน่วยงานราชการส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ประเภทสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเป็นโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดเชียงราย[1] [2] มีสถานะเป็นนิติบุคคลมหาชนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ[3] สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงราย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

ปัจจุบันพื้นที่ของโรงเรียนที่ถนนอุตรกิจ มีจำนวน 13 ไร 2 งาน 49.4 ตารางวา เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 อุอิอิอิอิอิิอิอิ

รายนามผู้บริหารโรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์

ลำดับ รายนาม ตำแหน่ง ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 นางลออง สิโรรส ครูใหญ่ พ.ศ. 2476 - 2478
2 นางหอมหวน สุริยคำ อาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2478 - 2505
3 นางปทิน โสภณ อาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2505 - 2515
4 นางกาญจนา ทองสวัสดิ์ ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2515 - 2520
นายบุญธัญ ไชยรินทร์ รักษาการผู้อำนวยการ พ.ศ. 2520 - 30 ส.ค. 2521 , 30 ก.ย. 2521 - 30 พ.ค. 2521
5 นางดวงดาว นุกุลการ ผู้อำนวยการ 1 ก.ย. 2521 - 30 ก.ย. 2521
6 นางแฉล้ม จำเดิมเผด็จศึก ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2522 - 2524
7 นางสาวเจียร ดุษณีย์วงศ์ ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ พ.ศ. 2525 - 2532
8 นางอรทัย หนองขุ่นสาร ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ พ.ศ. 2532 - 2541
9 นายอุดมศักดิ์ มุนิกานนท์ ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ พ.ศ. 2541 - 2542
10 นายประเสริฐ สุวรรณจิตต์ ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2543 - 2543
11 นายปรีชา พัวนุกุลนนท์ ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ พ.ศ. 2543 - 2549
12 นายทวีศักดิ์ พิพัฒนาศักดิ์ ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ พ.ศ. 2550 - 2551
13 นางกัลยาณีย์ สินสกุล ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ พ.ศ. 2551 - 2552
14 นายสมบัติ ประมวน ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ พ.ศ. 2552 - 2557
15 นายอดุลย์ นันท์บัญชา ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ พ.ศ. 2557 - ปัจจุบัน

สัญลักษณ์

  • คติธรรม “นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา” (แปลว่า “ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายแห่งคนดี”)
  • ปรัชญา “ความรู้ดี มีวินัย ใฝ่คุณธรรม”
  • ภาษิต “ตัวอย่างที่ดีมีค่ากว่าคำสอน”
  • เอกลักษณ์ “คุณธรรมนำชีวิต พัฒนาศิษย์ด้วยจริยะธรรม”
  • อัตลักษณ์ “ลูกดำรง รักศักดิ์ศรี กิริยาวาจาดี มีน้ำใจ ไหว้งดงาม”
  • ตรา อักษรย่อของโรงเรียนรูปหยดน้ำ
    • น้ำ เป็นปัจจัยหนึ่งในการดำรงชีวิตทุกชีวิตขาดไม่ได้สามารถแทนทุกๆส่วนของโลกเปรียบเสมือนการศึกษาซึ่งกระจายไปสู่ประชากรโลก
    • เสมาธรรมจักรเครื่องหมายประจำกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นต้นสังกัดของโรงเรียน
    • หัวลูกศรรูป ทรงภายในของเสมาปรับให้มีลักษณะคล้ายหัวลูกศรแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าของโรงเรียนพัฒนาจังหวัดเชียงรายและจังหวัดใกล้เคียงให้มีพัฒนาการศึกษาที่ดีขึ้น พัฒนาอย่างไม่มีหยุดยั้ง
    • ตัวหนังสือ ด.ส.เป็นอักษรย่อของโรงเรียนได้เคยใช้เป็นเครื่องหมายของโรงเรียนมาเป็นเวลาช้านานแล้วจึงจัดเป็นส่วนหนึ่งของตราประจำโรงเรียนด้ว
  • เพลง มีอยู่ 3 เพลง คือ
    • “เพลงมาร์ชดำรงราษฎร์สงเคราะห์” เรียกโดยย่อว่า "มาร์ชดำรงฯ"
      • “เพลงมาร์ชดำรงฯ1 เพลงมาร์ชดำรงฯ2” ใช้เป็นเพลงเตือนนักเรียนลงมาเข้าแถวตอนเช้า ใช้เป็นเพลงเชียร์กีฬา แข่งเชียร์หลีดเดอร์ Finale แข่งเชียร์หลีดเดอร์ Uniform และเพลงเชียร์กีฬาทั่วไป
      • “เพลงสดุดีดำรงฯ” ใช้เป็นเพลงเชียร์กีฬา แข่งเชียร์หลีดเดอร์ Finale แข่งเชียร์หลีดเดอร์ Uniform และเพลงเชียร์กีฬาทั่วไป

อาณาบริเวณ

โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ตั้งอยู่กลางใจเมืองเชียงราย และมีสถานบำบัดความต้องการพื้นฐานหลายประเภทตั้งอยู่รายรอบ ทั้งร้านอาหาร หอพักนักเรียน โรงแรม ตลอดจนวัดพุทธศาสนาและศาสนสถานของลัทธิอื่น

โรงเรียนมีเนื้อที่ประมาณ 13 ไร่ 2 งาน 49.4 ตารางวา ประกอบด้วยอาคารเรียน 10 หลัง เป็นห้องเรียนทั้งหมด 72 ห้อง และห้องปฏิบัติการทางวิชาการ 37 ห้อง อาคารหลักมี ดังต่อไปนี้

  • อาคาร 1 (อาคารบำรงกุมารี) เดิมเป็นที่ตั้งกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์สิบหกห้อง ห้องเรียนสีเขียวและห้องสืบค้นทางไกลภายในการสนับสนุนของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ปัจุบันรอรื้อถอนเพื่อสร้างอาคารหลังใหม่
  • อาคาร 2 (อาคารศรีรัตนาณาเขต) เป็นที่ตั้งกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศที่ 1 (ภาษาอังกฤษ) กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพละศึกษา ห้องกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
  • อาคาร 3 (อาคารราชเดชดำรง)
    • ชั้นหนึ่ง เป็นที่ตั้งสำนักงานผู้อำนวยการ สำนักงานฝ่ายอำนวยการ สำนักงานฝ่ายกิจการนักเรียน สำนักฝ่ายวิชาการ สำนักงานนโยบายและแผนงาน สำนักงานการเงิน และห้องรับรองพิเศษ
    • ชั้นสอง เป็นที่ตั้งกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีที่ 1 (คอมพิวเตอร์) ห้องเรียนคอมพิวเตอร์
    • ชั้นสาม เป็นห้องสืบค้นข้อมูล (Resource Center) และห้องเรียนคอมพิวเตอร์
    • ชั้นสี่ เป็นห้องเรียนประจำของนักเรียน Mini English Program (MEP) จำนวน 3 ห้อง คือ ห้อง ม.1.12, ม.2.12 และ ม.3.12
  • อาคาร 4 (อาคารพิทักษ์พงษ์เชียงมั่น) เป็นที่ตั้งสำนักงานฝ่ายบริหารทั่วไป กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ศูนย์การเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
  • อาคาร 5 (อาคารพันธุมติรัตนา) เป็นที่กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างประเทศที่ 2 (ฝั่งเศส จีน ญี่ปุ่น) ห้องปฏิบัติการ GHP
  • อาคาร 6 (พระยอดเชียงราย) เป็นอาคารเรียนแบบพิเศษ วิทยาศาสตร์ 3 ชั้นใต้ถุนโล่ง เป็นที่ตั้งกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ห้องเรียนวิทยาศาสตร์จำนวน 12 ห้อง ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 3 ห้อง ห้องเตรียมอุปกรณ์ปฏิบัติการจำนวน 3 ห้อง ห้องสืบค้นและห้องสมุดวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 ห้อง ห้องนิทรรศการทางธรณีวิทยา โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ จำนวน 1 ห้องห้องพักครู จำนวน 4 ห้อง และห้องประชุมสารภี รองรับผู้เข้าร่วมประชุมได้ประมาณ 120 คน
  • อาคารคหกรรม เป็นที่ตั้งของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีที่ 2 (การงานอาชีพ) กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี)
  • อาคารอเนกประสงค์ เป็นที่ตั้งห้องประชุมอเนกประสงค์ ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติ โรงอาหาร 2 (ใช้เป็นที่รับประทานอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 - 6)
  • อาคารศิลปะ เป็นที่ตั้งกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะศึกษา (ศิลปะ และ นาฏศิลป์) ที่ทำการชมรมทูบีนัมเบอร์วัน
  • ห้องประชุมโครงการอาหารกลางวัน ใช้เป็นห้องประชุม เป็นที่รับประทานอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และนักเรียนทุนโครงการอาหารกลางวัน
  • เรือนพิพิธภัณฑ์ เป็นอาคารไม้ครึ่งปูน ชั้นบนจัดเป็นห้องสักการะ พระยารัตนาณาเขต (เจ้าหลวงน้อยเมืองไชย) และส่วนจัดแสดงผ้าโบราณ ชั้นล่างเป็นห้องหมอภาษา
  • เรือนพยาบาล เป็นอาคารไม้ครึ่งปูน เป็นที่ตั้งของห้องพยาบาล
  • ศาลาดำรงธรรม

การศึกษา

การจัดการศึกษา

โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์เปิดให้การศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 (ช่วงชั้นที่ 3-4) ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน แผนการศึกษาแห่งชาติ นโยบายของรัฐบาล กับทั้งมติคณะรัฐมนตรีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และยังจัดโครงการพิเศษนอกเหนือไปจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อให้สอดคล้องกับความหลากหลายทางสมรรถภาพของผู้เรียน

  • ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จัดระดับชั้นละ 12 ห้อง รวม 36 ห้อง ในแต่ละระดับชั้นแบ่งห้องเรียนตามการจัดการศึกษา ดังนี้
    • ห้องที่ 1-3 : สำหรับนักเรียนในโครงการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยนักเรียนเหล่านี้จะได้รับการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในขั้นสูงเป็นพิเศษกว่าระดับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
    • ห้องที่ 4-10 : จัดการศึกษาทั่วไปตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
    • ห้องที่ 11 : สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถและความสนใจพิเศษทางภาษาจีน
    • ห้องที่ 12 : สำหรับนักเรียนในโครงการหลักสูตรพิเศษภาคภาษาอังกฤษ (MEP : Mini English Program) ที่จัดการศึกษาทุกรายวิชาเป็นภาษาอังกฤษ ยกเว้นวิชาภาษาไทย โรงเรียนได้จ้างชาวต่างประเทศผู้ทรงคุณวุฒิเป็นครูสอน มีสถานะเป็นลูกจ้างชั่วคราว
  • ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จัดระดับชั้นละ 12 ห้อง รวม 36 ห้อง ในแต่ละระดับชั้นแบ่งห้องเรียนตามแผนการเรียนรู้ ดังนี้
    • ห้องที่ 1-5  : แผนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยใช้หลักสูตรพิเศษเพื่อการพัฒนาผู้มีความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยแบ่งโครงการต่างๆ ดังนี้
      • ห้องที่ 1 : โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (ห้องเรียนพิเศษ สพฐ.)
      • ห้องที่ 2 : โครงการเพาะพันธุ์ปัญญา
      • ห้องที่ 3 : โครงการส่งเสริมความสามารถพิเศษภาษาอังกฤษ
      • ห้องที่ 4 : โครงการส่งเสริมความสามารถพิเศษคอมพิวเตอร์
      • ห้องที่ 5 : โครงการส่งเสริมความสามารถพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (gifted)
    • ห้องที่ 6  : แผนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
    • ห้องที่ 7 และ 12 : :แผนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และสังคมศึกษา
    • ห้องที่ 8  : แผนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์
    • ห้องที่ 9  : แผนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส
    • ห้องที่ 10 : แผนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษและภาษาจีน
    • ห้องที่ 11 : แผนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่น

การดำเนินโครงการ เริ่มจากคัดกรองนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษทางสาขาวิชานั้นมารับการศึกษาระดับสูงและรอบด้านเพื่อให้แตกฉานในสาขาวิชาดังกล่าวอย่างแท้จริง ผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการนี้เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 โดยจะมีการจัดการศึกษารูปแบบพิเศษดังกล่าวตลอดทั้งสามปี และผู้สำเร็จการศึกษาจากโครงการนี้จะได้รับอนุมัติประกาศนียบัตรรับรองเป็นรายปีจากสภาการศึกษา

โครงการนี้มักเรียกกันโดยชื่อภาษาอังกฤษว่า “กิฟเต็ด” (gifted) ซึ่งแปลว่า “มีพรสวรรค์” หรือ “ผู้มีพรสวรรค์” และมักเรียกนักเรียนในโครงการว่า “เด็กกิฟเต็ด” เช่น นักเรียนในโครงการดังกล่าวฝ่ายภาษาไทยว่า “เด็กกิฟเต็ดไทย” ฝ่ายวิทยาศาสตร์ว่า “เด็กกิฟเต็ดวิทย์”

ปัจจุบัน องค์กรหลักของสถานศึกษาที่มีหน้าที่จัดการเรียนรู้ ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ รวม 10 กลุ่มสาระการเรียนรู้ คือ

1. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

2. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศที่ 1 (ภาษาอังกฤษ)

3. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศที่ 2 (ฝรั่งเศส จีน ญี่ปุ่น)

4. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

5. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

6. กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

7. กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพละศึกษา

8. กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

9. กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีที่ 1 (คอมพิวเตอร์)

10. กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีที่ 2 (การงานอาชีพ)

การรับบุคคลเข้าศึกษา

ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1

  • ผู้มีสิทธิเข้าศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า
  • การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา ใช้การสอบคัดเลือก โดยผู้มีสิทธิเข้าศึกษาจะเข้ารับการทดสอบทางวิชาการในสาขาวิชาและตามวัน เวลา และพฤติการณ์ที่โรงเรียนกำหนด เครื่องมือในการทดสอบนั้นโรงเรียนจัดทำขึ้นตามมาตรฐานของกระทรวงศึกษาธิการ และสำหรับห้องเรียนพิเศษ (ห้องที่ 1-3 และห้องที่ 11-12) ผู้ผ่านการทดสอบยังต้องเข้ารับการสอบสัมภาษณ์อีกชั้นหนึ่งด้วย โดยเฉพาะห้องที่ 12 (โครงการหลักสูตรพิเศษภาคภาษาอังกฤษ : MEP) การสอบสัมภาษณ์จะใช้ภาษาอังกฤษ และผู้ปกครองจะต้องเข้ารับการสัมภาษณ์ด้วย

ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4

  • ผู้มีสิทธิเข้าศึกษาในระดับนี้เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือเทียบเท่า
  • การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา สถานศึกษาดำเนินการสามวิธี ดังต่อไปนี้
    • ห้องที่ 1-12 : ใช้การสอบคัดเลือก ผู้มีสิทธิเข้าศึกษาสมัครเข้าทดสอบทางวิชาการ เครื่องมือในการทดสอบนั้นโรงเรียนจัดทำขึ้นตามมาตรฐานที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด และเมื่อผ่านการทดสอบตามประกาศของสถานศึกษา และผู้ผ่านการทดสอบเข้ารายงานตัวแล้ว ก็ถือเป็นนักเรียนของโรงเรียนโดยสมบูรณ์
    • นักเรียนเก่าของสถานศึกษา : ใช้วิธีการคัดเลือก โดยนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์มีสิทธิยื่นคะแนนเฉลี่ยของการศึกษา (Grade Point Average) ที่ผ่านมาโดยต้องมีเกรดเฉลี่ย 2.75 ขึ้นไปจึงจะมีสิทธิยื่นต่อคณะกรรมการที่โรงเรียนแต่งตั้งเพื่อให้พิจารณาคัดเลือก และต้องระบุแผนการเรียนรู้ที่ตนประสงค์ 3 แผนการเรียนตามลำดับความสนใจมากน้อย เมื่อผ่านการคัดเลือกตามประกาศและเข้ารายงานตัวแล้ว ก็ถือเป็นนักเรียนของโรงเรียนโดยสมบูรณ์ ในกรณีนี้ ผู้ที่ไม่ผ่านก็มักไปสอบคัดเลือกต่อไป
    • นักเรียนทั่วไป : ใช้วิธีการสอบคัดเลือก

ในแต่ละปีมักมีผู้สมัครเข้าคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาต่อทั้งระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 และปีที่ 4 จำนวนหลายพันคน แต่สถานศึกษาสามารถรับได้เพียงระดับชั้นละ 470 คนเท่านั้น

การสำเร็จการศึกษา

ผู้เรียนสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จะได้รับอนุมัติประกาศนียบัตรรับรองการสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จะได้ประกาศนียบัตรรับรองการสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

  • วีรินทร์ทิรา นาทองบ่อจรัส : ผู้ประกาศข่าวในพระราชสำนัก สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  • รัตนา จงสุทธนามณี : อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  • ปริม อินทวงศ์ : อดีตวอลเลย์หญิงทีมชาติไทย
  • บัวบาน ผามั่ง : นักกรีฑา ที่ได้รับรางวัลเหรียญทองพุ่งแหลนในเอเชียนเกมส์ 2006และซีเกมส์ 3 สมัย



แหล่งข้อมูลอื่น