ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kurino (คุย | ส่วนร่วม)
Kurino (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 226: บรรทัด 226:
* พ.ศ. 2562 อยู่ระหว่างรอการพิจารณาอนุญาตขอใช้ที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในการก่อสร้างโครงการบางส่วน จึงจะสามารถที่จะออกพรฎ เวนคืน และเตรียมเวนคืนได้ <ref>[https://www.prachachat.net/property/news-275216 ม.ค.ประมูลด่วนพระราม3เชื่อมมหาชัย ปีหมูลุยเวนคืน 2 รถไฟฟ้า 3 หมื่นล.สร้างสีส้ม-ม่วงใต้]</reF><ref>[https://www.matichonweekly.com/hot-news/article_230815 ‘ศักดิ์สยาม’ เล็งชงครม.เศรษฐกิจ 20 ต.ค.อนุมัติรถไฟฟ้าสายสีส้ม 1.2 แสนล้าน]</reF>
* พ.ศ. 2562 อยู่ระหว่างรอการพิจารณาอนุญาตขอใช้ที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในการก่อสร้างโครงการบางส่วน จึงจะสามารถที่จะออกพรฎ เวนคืน และเตรียมเวนคืนได้ <ref>[https://www.prachachat.net/property/news-275216 ม.ค.ประมูลด่วนพระราม3เชื่อมมหาชัย ปีหมูลุยเวนคืน 2 รถไฟฟ้า 3 หมื่นล.สร้างสีส้ม-ม่วงใต้]</reF><ref>[https://www.matichonweekly.com/hot-news/article_230815 ‘ศักดิ์สยาม’ เล็งชงครม.เศรษฐกิจ 20 ต.ค.อนุมัติรถไฟฟ้าสายสีส้ม 1.2 แสนล้าน]</reF>
* 20 มกราคม พ.ศ. 2563 รฟม. เตรียมเปิดประมูลงานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ภายใต้กรอบวงเงินลงทุน 124,959 ล้านบาท โดยจะแบ่งประมูลงานโยธาออกเป็น 6 สัญญา วงเงิน 77,385 ล้านบาท ประกอบด้วย งานใต้ดิน 4 สัญญา ทางยกระดับ 1 สัญญา และระบบราง 1 สัญญา ส่วนงานระบบรถไฟฟ้า 23,064 ล้านบาท ยังอยู่ในระหว่างการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เนื่องจาก บอร์ด รฟม.​ ชุดที่แล้วมีมติให้ รฟม. พิจารณาเปลี่ยนรูปแบบสัญญาเป็นแบบ PPP-Netcost แทนการจ้างเดินรถระยะยาว คาดว่าจะมีการประมูลสายนี้ภายในเดือนมีนาคม 2564<ref>[https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/426191 "ส้มตะวันตก" ลุยเวนคืนที่ดิน 500 แปลง]</ref>
* 20 มกราคม พ.ศ. 2563 รฟม. เตรียมเปิดประมูลงานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ภายใต้กรอบวงเงินลงทุน 124,959 ล้านบาท โดยจะแบ่งประมูลงานโยธาออกเป็น 6 สัญญา วงเงิน 77,385 ล้านบาท ประกอบด้วย งานใต้ดิน 4 สัญญา ทางยกระดับ 1 สัญญา และระบบราง 1 สัญญา ส่วนงานระบบรถไฟฟ้า 23,064 ล้านบาท ยังอยู่ในระหว่างการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เนื่องจาก บอร์ด รฟม.​ ชุดที่แล้วมีมติให้ รฟม. พิจารณาเปลี่ยนรูปแบบสัญญาเป็นแบบ PPP-Netcost แทนการจ้างเดินรถระยะยาว คาดว่าจะมีการประมูลสายนี้ภายในเดือนมีนาคม 2564<ref>[https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/426191 "ส้มตะวันตก" ลุยเวนคืนที่ดิน 500 แปลง]</ref>
* 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 รฟม เตรียมลงพื้นที่สำรวจอสังหาริมทรัพย์ตามแนวสายทางโครงการ อยู่ระหว่างจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา คาดการณ์จะประมูลเดือนเมษายน และก่อสร้างได้ภายในเดือนธันวาคม <reF>[https://www.khaosod.co.th/economics/news_6018906 รฟม. เคาะ เม.ย. เตรียมเปิดประมูล รถไฟฟ้าสีม่วง เตาปูน – ราษฎร์บูรณะ วงเงิน 1 แสนล้านบาท ให้ทันก่อสร้างเดือน ธ.ค. ปีนี้ ตั้งเป้าเปิดให้บริการ มี.ค.]</reF><reF>[https://www.ryt9.com/s/iq03/3202875 รฟม.สำรวจพื้นที่ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ก่อนเวนคืนเล็งเปิดประมูลปีนี้]</ref><reF>[https://www.kaohoon.com/content/426006 “รฟม.” สำรวจพื้นที่เวนคืน สร้างรถไฟฟ้า สายสีม่วงใต้ 1 แสนล้าน เล็งเปิดประมูลปีนี้ อ่านเรื่องนี้ต่อที่: https://www.kaohoon.com/content/426006]</reF>


=== โครงการส่วนเหนือ (บางใหญ่ - บางบัวทอง) ===
=== โครงการส่วนเหนือ (บางใหญ่ - บางบัวทอง) ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:57, 24 กุมภาพันธ์ 2564

รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม
ข้อมูลทั่วไป
สถานะเปิดให้บริการ
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ที่ตั้งนนทบุรี, กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ
ปลายทาง
จำนวนสถานี16 (เปิดให้บริการ) 33 (โครงการ)
เว็บไซต์รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม
การดำเนินงาน
รูปแบบรถไฟฟ้ายกระดับ และรถไฟฟ้าใต้ดิน
ระบบรถไฟฟ้ามหานคร
เส้นทาง1
ผู้ดำเนินงานบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
(สัญญาร่วมลงทุนโครงการ หมด พ.ศ. 2585)
ศูนย์ซ่อมบำรุงศูนย์ซ่อมบำรุงคลองบางไผ่
ศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยครุใน (ในอนาคต)
ขบวนรถJ-TREC Sustina (S24-EMU)
ทั้งหมด 63 ตู้ : ขบวนละ 3 ตู้ : รวม 21 ขบวน
ประวัติ
เปิดเมื่อ6 สิงหาคม พ.ศ. 2559 (ระยะที่ 1 คลองบางไผ่-เตาปูน)[1]
มีกำหนดการประมูลก่อสร้าง ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 (ระยะที่ 2 เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ-ครุใน)
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง23 กิโลเมตร
46.6 กิโลเมตร (ทั้งโครงการ)
จำนวนทางวิ่ง2
รางกว้าง1435
ระบบจ่ายไฟรางที่สาม
ความเร็ว80 กิโลเมตร/ชั่วโมง
แผนที่เส้นทาง

คลองบางไผ่
ศูนย์ซ่อมบำรุงคลองบางไผ่
ตลาดบางใหญ่
สามแยกบางใหญ่
บางพลู
บางรักใหญ่
บางรักน้อย-ท่าอิฐ
ไทรม้า
แม่น้ำเจ้าพระยา
สะพานพระนั่งเกล้า
แยกนนทบุรี 1
บางกระสอ
จุฬาเกษม
ศูนย์ราชการนนทบุรี
แคราย
กระทรวงสาธารณสุข
แยกติวานนท์
วงศ์สว่าง
บางบำหรุ – กรุงเทพอภิวัฒน์
บางซ่อน สายใต้
เตาปูน
บางโพ – บางซื่อ (กรุงเทพอภิวัฒน์)
รัฐสภา
ศรีย่าน
วชิรพยาบาล
หอสมุดแห่งชาติ
บางขุนพรหม
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
สนามหลวง – หลานหลวง
สามยอด
สนามไชย – วัดมังกร
แม่น้ำเจ้าพระยา
สะพานพุทธ
ตลาดพลู – คลองสาน
วงเวียนใหญ่ สายแม่กลอง
โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า
ดาวคะนอง
บางปะแก้ว
บางปะกอก
แยกประชาอุทิศ
ราษฎร์บูรณะ
พระประแดง
ครุใน

รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (บางใหญ่-เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) หรือ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง ซึ่งเรียกตามสีที่กำหนดในแผนแม่บทโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในระบบรถไฟฟ้ามหานคร โดย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม. หรือ MRTA)

เส้นทางรถไฟฟ้าสายนี้เกิดขึ้นจากการปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง พ.ศ. 2538 ที่นำเอาเส้นทางรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) ส่วนต่อขยายเดิมช่วงเตาปูน-บางใหญ่, สายสีม่วงเดิม ช่วงหอสมุดแห่งชาติ-เตาปูน และสายสีส้มเดิม ช่วงสามเสน (หอสมุดแห่งชาติ)-ราษฎร์บูรณะ มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน กลายเป็นรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่ที่กำหนดให้เป็นสายสีม่วง บรรจุในแผนแม่บทฯ ของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2547

นาม ฉลองรัชธรรม เป็นชื่อที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเพื่อเป็นชื่ออย่างเป็นทางการของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง ระยะแรก สายคลองบางไผ่-นนทบุรี-เตาปูน มีความหมายว่า “เฉลิมฉลองพระราชาที่ปกครองโดยธรรม” โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้ยื่นเรื่องขอพระราชทานชื่อเส้นทาง เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในโอกาสพระราชพืธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เพื่อเป็นเกียรติและสิริมงคลแก่โครงการฯ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และแก่ประชาชนผู้เข้ามาใช้บริการ[2]

ปัจจุบันโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ได้แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ส่วน คือเส้นทางช่วงเตาปูน-บางใหญ่ (สถานีคลองบางไผ่) ที่เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เวลา 14.30 น. โดยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์ ทรงเป็นประธานในพิธีเปิดการเดินรถ และกดปุ่มเปิดระบบรถไฟฟ้าอย่างเป็นทางการ[3] และเส้นทางช่วงเตาปูน-ครุใน[4][5] มีกำหนดการประมูลก่อสร้างภายในปี พ.ศ. 2563

ภาพรวม

เป็นระบบรถไฟฟ้าที่มีทั้งโครงสร้างใต้ดินและยกระดับ ดำเนินการโดย บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในลักษณะของการจ้างเดินรถจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย มีแนวเส้นทางที่เชื่อมโยงการเดินทางในแนวเหนือ-ใต้ เริ่มต้นจาก อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี ชานเมืองด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงเทพมหานคร ผ่าน อ.บางใหญ่ และเมืองนนทบุรี เข้าสู่ใจกลางกรุงเทพฯ ย่านบางซื่อ ผ่านย่านที่สำคัญในพื้นที่เมืองเก่าเขตดุสิต และเขตพระนคร เช่น โครงการก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ที่เกียกกาย ย่านถนนสามเสน, บางลำพู, ผ่านฟ้า, วังบูรพา จากนั้นลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา มายังใจกลางพื้นที่ฝั่งธนบุรี ที่วงเวียนใหญ่, ผ่านย่านสำเหร่, จอมทอง, ดาวคะนอง, บางปะกอก, แยกประชาอุทิศ, ผ่านเขตราษฎร์บูรณะ ชานเมืองด้านทิศใต้ของกรุงเทพฯ ก่อนเข้าสู่ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ สิ้นสุดที่บริเวณถนนกาญจนาภิเษก (ใกล้สะพานกาญจนาภิเษก) รวมระยะทาง 46.6 กิโลเมตร[4][5] นับเป็นเส้นทางที่ผ่านสถานที่สำคัญมากมายทั้งในพื้นที่ จ.นนทบุรี และกรุงเทพฯ ทั้งยังช่วยเชื่อมต่อการเดินทางจากชานเมืองทั้งด้าน จ.นนทบุรี และ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ให้สามารถเข้าสู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร ได้อย่างสะดวกสบาย และรวดเร็ว

พื้นที่เส้นทางผ่าน

แขวง/ตำบล เขต/อำเภอ จังหวัด
บางรักพัฒนา บางบัวทอง นนทบุรี
บางรักใหญ่
เสาธงหิน บางใหญ่
บางรักน้อย / ไทรม้า / บางกระสอ / ตลาดขวัญ / บางเขน เมืองนนทบุรี
วงศ์สว่าง / บางซื่อ บางซื่อ กรุงเทพมหานคร
ถนนนครไชยศรี / ดุสิต / วชิรพยาบาล/สวนจิตรลดา ดุสิต
วัดสามพระยา / บางขุนพรหม / บ้านพานถม / ตลาดยอด / บวรนิเวศ / สำราญราษฎร์ / วังบูรพาภิรมย์ พระนคร
สมเด็จเจ้าพระยา / คลองต้นไทร คลองสาน
วัดกัลยาณ์ / หิรัญรูจี / บางยี่เรือ / บุคคโล / ดาวคะนอง ธนบุรี
จอมทอง / บางมด จอมทอง
บางปะกอก / ราษฎร์บูรณะ ราษฎร์บูรณะ
บางพึ่ง / บางครุ พระประแดง สมุทรปราการ

แนวเส้นทาง

สถานีคลองบางไผ่ เป็นสถานีปลายทาง

เป็นโครงสร้างยกระดับ เริ่มต้นจากสถานีเตาปูน ซึ่งเป็นสถานีร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ที่แยกเตาปูน ตามแนวถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี มุ่งหน้าไปทางทิศเหนือ ผ่านจุดตัดทางรถไฟบางซ่อนซึ่งเชื่อมต่อกับรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อนที่สถานีรถไฟบางซ่อน ผ่านแยกวงศ์สว่าง จนสุดเขตกรุงเทพมหานคร เข้าสู่เขต ต.บางเขน อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี เลี้ยวขวาที่แยกติวานนท์ เข้าสู่ถนนติวานนท์ ผ่านทางเข้ากระทรวงสาธารณสุข เลี้ยวซ้ายก่อนถึงแยกแคราย เข้าสู่ถนนรัตนาธิเบศร์ มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก เชื่อมต่อกับจุดเริ่มต้นของเส้นทางรถไฟฟ้าโมโนเรล สายสีชมพู (แคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี) ที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี[6] ผ่านศาลากลางจังหวัดและศูนย์ราชการนนทบุรี จากนั้นข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะพานคู่ขนานฝั่งทิศใต้ของสะพานพระนั่งเกล้า เข้าสู่พื้นที่ อ.บางใหญ่ ผ่านทางแยกต่างระดับบางรักน้อย (จุดตัดถนนราชพฤกษ์) และแยกบางพลู เลี้ยวขวาที่ทางแยกต่างระดับบางใหญ่มุ่งหน้าไปทางทิศเหนือตามถนนกาญจนาภิเษก ผ่านชุมชนตลาดบางใหญ่ ไปสิ้นสุดเส้นทางบริเวณคลองบางไผ่ พื้นที่ ต.บางรักพัฒนา อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี รวมระยะทางทั้งสิ้น 23 กิโลเมตร[7]

ส่วนเส้นทางช่วงบางซื่อ-เตาปูนในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่ดำเนินการก่อสร้างพร้อมกันนั้น มีเส้นทางเริ่มต้นจากอุโมงค์ใต้ดินของสถานีบางซื่อในปัจจุบัน ขึ้นสู่ระดับดินบริเวณหน้าที่ทำการบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) และยกระดับมุ่งหน้าสะพานสูงบางซื่อ และถนนประชาราษฎร์ สาย 2 ก่อนเข้าสู่ชานาชาลาชั้นล่างของสถานีเตาปูนตามแนวทิศตะวันตก-ตะวันออก ระยะทางประมาณ 1.2 กิโลเมตร ดังนั้นรถไฟฟ้าสายสีม่วงจึงไม่ได้เข้าสู่สถานีบางซื่อโดยตรง แต่เชื่อมต่อกับสายสีน้ำเงินช่วงดังกล่าวโดยเข้าสู่ชานชาลาชั้นบนของสถานีเตาปูนตามแนวทิศเหนือ-ใต้ ซึ่งเป็นเส้นทางต่อเนื่องกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ส่วนต่อขยายช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ทางทิศใต้

รายชื่อสถานี

สถานี รหัสสถานี จุดเปลี่ยนเส้นทาง วันที่เปิดให้บริการ ที่ตั้ง
คลองบางไผ่ PP01 6 สิงหาคม พ.ศ. 2559 นนทบุรี
ตลาดบางใหญ่ PP02
สามแยกบางใหญ่ PP03
บางพลู PP04
บางรักใหญ่ PP05
บางรักน้อยท่าอิฐ PP06 สายสีลม สถานีบางรักน้อยท่าอิฐ (โครงการ)
ไทรม้า PP07
สะพานคู่ขนานพระนั่งเกล้า 3 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
สะพานพระนั่งเกล้า PP08  เรือด่วนเจ้าพระยา  ธงเขียว,เรือโดยสารสาธารณะ ไมน์ สมาร์ท เฟอร์รี่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2559 นนทบุรี
แยกนนทบุรี 1 PP09
บางกระสอ PP10
ศูนย์ราชการนนทบุรี PP11 สายสีชมพู สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี
สายสีน้ำตาล สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี (โครงการ)
กระทรวงสาธารณสุข PP12
แยกติวานนท์ PP13
วงศ์สว่าง PP14 กรุงเทพมหานคร
บางซ่อน PP15 สายสีแดงอ่อน สถานีบางซ่อน
เตาปูน PP16 สายสีน้ำเงิน (สถานีร่วม)

การเชื่อมต่อ

รถไฟฟ้ามหานคร

สถานีเตาปูน เป็นสถานีเชื่อมต่อระหว่างสายฉลองรัชธรรม กับสายเฉลิมรัชมงคล

ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังเส้นทางอื่นๆ ในระบบรถไฟฟ้ามหานครได้ที่สถานีดังต่อไปนี้

รถไฟฟ้าชานเมือง

ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟฟ้าชานเมืองได้ที่สถานีดังต่อไปนี้

เส้นทางการคมนาคมทางน้ำ

ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังเส้นทางเรือโดยสารต่างๆ ได้ที่สถานีดังต่อไปนี้

ทางเดินเข้าอาคารข้างเคียง

ในบางสถานี ผู้โดยสารสามารถเดินเข้าสู่อาคารข้างเคียงผ่านทางเชื่อมได้ดังนี้

รูปแบบของโครงการ

ที่นั่งภายในขบวนรถไฟฟ้า
  • เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดหนัก (heavy rail transit)
  • ทางวิ่ง ช่วงคลองบางไผ่-เตาปูน และดาวคะนอง-ราษฎร์บูรณะ เป็นแบบยกระดับ สูงประมาณ 17-19 เมตรจากผิวถนน เพื่อให้สามารถข้ามผ่านสะพานลอยคนข้ามถนน, สะพานลอยรถยนต์ และสะพานลอยกลับรถได้ มีตอม่ออยู่กลางถนน ระยะห่างตอม่อสูงสุด 40 เมตร เพื่อลดผลกระทบต่อการจราจรทั้งในระหว่างก่อสร้างและเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ตอม่อมีลักษณะโปร่งบาง, สวยงาม, ไม่เทอะทะ และไม่ปิดบังอาคารบริเวณริมถนน[8] ส่วนช่วงรัฐสภา - สำเหร่ เป็นแบบใต้ดิน ส่วนใหญ่เป็นอุโมงค์คู่ตีขนานตลอดทาง ยกเว้นช่วงที่มีเนื้อที่จำกัดและมีประชาชนอาศัยหนาแน่นจะเป็นอุโมงค์เดี่ยวซ้อนกัน
  • ขนาดราง 1.435 เมตร (standard guage) โดยมีรางที่ 3 ขนานไปกับรางวิ่งสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับตัวรถ[7]
  • ตัวรถใช้ระบบรถไฟฟ้าที่ผลิตจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพได้เซ็นต์สัญญาว่าจ้าง มารุเบนิ และ โตชิบา เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดหาขบวนรถไฟฟ้า โดยได้ทำการผลิตจากโรงงาน J-TREC ในโยโกฮามะ ประเทศญี่ปุ่น [9] มีทั้งหมด 63 ตู้ 21 ขบวน ต่อพ่วงแบบ 3 ตู้ ต่อ 1 ขบวนและสามารถเพิ่มได้สูงสุด 6 ตู้ ต่อ 1 ขบวนในอนาคต[10] โดยมีความจุประมาณ 320 คนต่อตู้[8] สามารถรองรับผู้โดยสารได้ไม่น้อยกว่า 50,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง[7]
  • ใช้ระบบอาณัติสัญญาณเดินรถด้วยระบบอัตโนมัติจากศูนย์ควบคุมการเดินรถ โดยรองรับการเดินรถทั้งแบบกึ่งอัตโนมัติโดยมีผู้ควบคุมประจำการ (Semi-automated Operation: STO) และแบบอัตโนมัติโดยไม่มีผู้ควบคุมประจำการ (Unattended Train Operation :UTO) และใช้ระบบเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ เช่นเดียวกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน[7]

ศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถ

โครงการมีศูนย์ซ่อมบำรุงทั้งหมดสองแห่ง ได้แก่ศูนย์ซ่อมบำรุงคลองบางไผ่ ตั้งอยู่บริเวณถนนกาญจนาภิเษก ในพื้นที่ตำบลบางรักพัฒนา อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ใกล้กับสถานีคลองบางไผ่ และศูนย์ซ่อมบำรุงครุใน ตั้งอยู่บริเวณถนนสุขสวัสดิ์ ในพื้นที่ตำบลบางพึง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ระบบเดินรถทั้งระบบมีศูนย์ควบคุมการเดินรถกลางอยู่ที่ศูนย์ซ่อมบำรุงคลองบางไผ่

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีอาคารจอดแล้วจร (Park and Ride) ทั้งหมด 6 แห่ง ประกอบด้วยอาคารที่เปิดให้บริการแล้ว 4 แห่ง ได้แก่สถานีคลองบางไผ่ (ภายในบริเวณศูนย์ซ่อมบำรุงคลองบางไผ่) สถานีสามแยกบางใหญ่ สถานีบางรักน้อย-ท่าอิฐ และสถานีแยกนนทบุรี 1 (ด้านหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัล รัตนาธิเบศร์) [7] และอีกสองแห่งในอนาคต ได้แก่สถานีบางปะกอก และสถานีราษฎร์บูรณะ

สถานี

มีทั้งหมด 33 สถานี แบ่งเป็นสถานียกระดับ 23 สถานี (คลองบางไผ่ - เตาปูน/ดาวคะนอง - ครุใน) มีความยาวประมาณ 250 เมตร กว้าง 18 เมตร รูปแบบชานชาลากลางมีประตูกั้นชานชาลาความสูงแบบ Half-Height ออกแบบให้หลบเลี่ยงสาธารณูปโภคใต้ดินและบนดิน และรักษาสภาพผิวจราจรบนถนนมากที่สุด สถานีโดยรวมมีเสายึดสถานีอยู่บริเวณเกาะกลางถนน และสถานีใต้ดิน 10 สถานี (รัฐสภา - สำเหร่) มีความยาวประมาณ 250 เมตร กว้าง 20 เมตร มีประตูกั้นชานชาลาแบบเต็มความสูงทุกสถานี ออกแบบให้มีความคงทนแข็งแรงรองรับต่อการทรุดตัวของผิวดิน และรองรับต่อแรงสั่นสะเทือนหากเกิดเหตุแผ่นดินไหวโดยไม่เกิดความเสียหายต่อโครงสร้าง ทางเข้าสถานีถูกออกแบบให้มีความสูงจากผิวดินประมาณ 1 เมตรเพื่อรองรับต่อเหตุการณ์น้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยวัดจากสถิติความสูงที่สูงที่สุดของเหตุการณ์น้ำท่วมในกรุงเทพมหานคร สถานีทั้งหมดของโครงการได้รับการออกแบบตามมาตรฐาน NFPA 101 และ NFPA 130 ที่เน้นในเรื่องความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน ความสะดวกสบายของผู้โดยสาร ผู้สัญจรไปมา ผู้อยู่อาศัยบริเวณสถานี รวมถึงการคำนึงถึงสภาพแวดล้อมของพื้นที่นั้นๆ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ไว้คอยให้บริการ อาทิ ลิฟต์, บันไดเลื่อน และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ

เหตุการณ์สำคัญ

เหตุการณ์อื่นๆ

  • วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 เวลา 8.21 น. บมจ. ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ ผู้รับจ้างเดินรถไฟฟ้า ประกาศปิดให้บริการ สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี เป็นการชั่วคราว เนื่องจากในช่วงเช้ามีการพบว่าพนักงาน บมจ. ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ ติดเชื้อ SARS-CoV-2 โรคไวรัสโควิด-19 1 ราย รฟม. และ BEM จึงสั่งพักงานพนักงานบนสถานีศูนย์ราชการนนทบุรีทั้งหมด และให้กักตัวดูอาการเป็นระยะเวลา 14 วัน เป็นเหตุให้สถานีศูนย์ราชการนนทบุรีต้องปิดให้บริการชั่วคราวเพื่อทำความสะอาดใหญ่และฆ่าเชื้อไวรัสในพื้นที่ และจัดการเดินรถใหม่โดยไม่หยุดจอดที่สถานี[11][12] และได้จัดพนักงานชุดใหม่เพื่อมาประจำการที่สถานี ก่อนเปิดให้บริการใหม่ในเวลา 16.00 น. ในวันเดียวกัน[13][14]
  • วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2563 รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม ประกาศปรับเวลาปิดให้บริการเวลาจากเดิมเป็น 21.30 น. ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2563 โดยรถขบวนสุดท้ายจะออกจากปลายทางในวันจันทร์ถึงศุกร์ จากสถานีคลองบางไผ่เวลา 20.52 น. และสถานีเตาปูนเวลา 20.54 น. ในวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ จากสถานีคลองบางไผ่เวลา 20.53 น. และสถานีเตาปูนเวลา 20.52 น. รวมถึงปิดให้บริการอาคารจอดแล้วจรในเวลา 21.30 น. เช่นกัน โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป[15][16][17]
  • วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม ประกาศปรับเวลาปิดให้บริการเวลาจากเดิมเป็น 22.30 น. ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
  • วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2563 รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม ประกาศปิดให้บริการรถไฟฟ้าทั้งสายเป็นการชั่วคราวตั้งแต่เวลา 14.30 น. ถึง 20.30 น. เนื่องจากมีการนัดชุมนุมใหญ่ของกลุ่มคณะราษฎร พ.ศ. 2563 และเป็นไปตามคำสั่งของกองอำนวยการร่วมแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง (กอร.ฉ.)

ส่วนต่อขยาย

โครงการส่วนใต้ (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ-ครุใน) (อยู่ระหว่างเวนคืนที่ดิน)

โครงการช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ-ครุใน เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากการปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง พ.ศ. 2538 มาสู่แผนแม่บทฯ พ.ศ. 2547 โดยแก้ไขแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มเดิม (บางกะปิ-สามเสน-ราษฎร์บูรณะ) ช่วงสามเสน (หอสมุดแห่งชาติ)-ราษฎร์บูรณะ และแนวเส้นทางสายสีม่วงเดิม (หอสมุดแห่งชาติ-เตาปูน-บางพูด) ช่วงเตาปูน-หอสมุดแห่งชาติ นำมารวมกันเป็นเส้นทางสายสีม่วงที่เกิดขึ้นใหม่ และไปเชื่อมต่อกับเส้นทางสายสีม่วงส่วนแรกในช่วงบางใหญ่-เตาปูน

แนวเส้นทาง

เส้นทางส่วนใหญ่เป็นโครงสร้างอุโมงค์ใต้ดินผสมผสานกับโครงสร้างยกระดับ เริ่มต้นจากโครงสร้างยกระดับของสถานีเตาปูนที่แยกเตาปูนตามแนวถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดเส้นทางช่วงเตาปูน-บางใหญ่ และเป็นจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ส่วนต่อขยายบางซื่อ-ท่าพระ จากนั้นมุ่งหน้าลงมาทางทิศใต้โดยลดระดับลงมาใต้ดิน แล้วเบี่ยงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เข้าใกล้แนวถนนประชาราษฎร์ สาย 1 เข้าสู่แนวถนนสามเสนที่แยกเกียกกาย ลงมาทางทิศใต้ ผ่านแยกบางกระบือ, แยกศรีย่าน เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน โครงข่ายในเมือง ช่วงบางบำหรุ-มักกะสันที่สถานีสามเสน, (แยกซังฮี้) ผ่านหอสมุดแห่งชาติ, แยกเทเวศร์, แยกบางขุนพรหม เลี้ยวซ้ายที่แยกบางลำพูเข้าสู่ถนนพระสุเมรุ เลียบคลองรอบกรุงไปเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ที่สถานีผ่านฟ้าลีลาศ เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ก่อนเข้าสู่ถนนมหาไชย ผ่านแยกสำราญราษฎร์ (ประตูผี), แยกเรือนจำ เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-ท่าพระ ที่สถานีสามยอด ก่อนเข้าสู่ถนนจักรเพชร ผ่านย่านการค้าสะพานหัน และพาหุรัด จากนั้นเส้นทางจะลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาในแนวเดียวกับสะพานพระปกเกล้าเข้าสู่ถนนประชาธิปก ผ่านวงเวียนใหญ่ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม ที่สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ และรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ที่สถานีวงเวียนใหญ่ แล้วมุ่งหน้าไปตามถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ผ่านสำเหร่ แยกมไหสวรรย์ จากนั้นจะยกระดับขึ้นเหนือผิวดินเข้าสู่แยกดาวคะนอง, ถนนสุขสวัสดิ์ ผ่านแยกบางปะแก้ว ซึ่งเป็นจุดตัดถนนพระรามที่ 2, ผ่านย่านบางปะกอก, แยกประชาอุทิศ (กม.9) ไปสิ้นสุดเส้นทางบนถนนสุขสวัสดิ์ ก่อนเข้าเขตอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ผ่านหน้าห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีสาขาสุขสวัสดิ์ สิ้นสุดที่ครุใน (บริเวณใต้สะพานกาญจนาภิเษก) รวมระยะทางทั้งสิ้น 23.6 กิโลเมตร เป็นเส้นทางใต้ดินประมาณ 12.6 กิโลเมตร และเส้นทางยกระดับประมาณ 11 กิโลเมตร[18]

รายละเอียด

  • สถานี มี 17 สถานี (ไม่รวมสถานีเตาปูน)
    • สถานีใต้ดิน 10 สถานี (ตั้งแต่สถานีรัฐสภาถึงสถานีสำเหร่) ยาวประมาณ 250 เมตร กว้าง 20 เมตร มีประตูกั้นชานชาลา (Platform Screen Doors)
    • สถานียกระดับ 7 สถานี (ตั้งแต่สถานีดาวคะนองถึงสถานีครุใน) ยาวประมาณ 250 เมตร กว้าง 18 เมตร มีประตูกั้นชานชาลา (Platform Screen Doors) ที่สูงขึ้นมาจากพื้นระดับหนึ่ง (half height)
  • ระบบรถไฟฟ้า เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดหนัก (Heavy Rail Transit) มีความจุประมาณ 320 คนต่อตู้ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ไม่น้อยกว่า 50,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง[7]
  • ขนาดราง 1.435 เมตร (European Standard Gauge) โดยมีรางที่ 3 ขนานไปกับรางวิ่งสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับตัวรถ[7]

รายชื่อสถานี

ตัวตรง คือโครงการก่อสร้าง

รหัส ชื่อสถานี โครงสร้าง เชื่อมต่อกับ ที่ตั้ง
PP16 เตาปูน ยกระดับ แม่แบบ:BTS Lines (สถานีร่วม) กรุงเทพมหานคร
PP17 รัฐสภา ใต้ดิน
PP18 ศรีย่าน
PP19 วชิรพยาบาล
PP20 หอสมุดแห่งชาติ
PP21 บางขุนพรหม
PP22 ผ่านฟ้า แม่แบบ:BTS Lines สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย (โครงการ)
แม่แบบ:BTS Lines ท่าผ่านฟ้าลีลาศ
PP23 สามยอด แม่แบบ:BTS Lines (สถานีร่วม)
อุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา
PP24 สะพานพุทธ ใต้ดิน แม่แบบ:BTS Lines ประชาธิปก (โครงการ) กรุงเทพมหานคร
PP25 วงเวียนใหญ่ แม่แบบ:BTS Lines วงเวียนใหญ่ (โครงการ)
แม่แบบ:BTS Lines วงเวียนใหญ่
PP26 สำเหร่
PP27 ดาวคะนอง ยกระดับ
PP28 บางปะแก้ว
PP29 บางปะกอก
PP30 สะพานพระราม 9
PP31 ราษฎร์บูรณะ
PP32 พระประแดง สมุทรปราการ
PP33 ครุใน

ความคืบหน้า

  • วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2548 นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยการโครงการระบบขนส่งมวลชนได้ยืนยันว่าจะนำเส้นทางช่วงบางซื่อ-วังบูรพาออกจากแผนงาน ส่วนช่วงวังบูรพา-ราษฎร์บูรณะยังไม่มีความชัดเจน ต้องใช้เวลาศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม ส่วนแนวทางเลือกโครงการทดแทนรถไฟฟ้าสายสีม่วงด้วยระบบบีอาร์ทีที่รัฐมนตรีฯ ได้เสนอไว้ก่อนหน้านี้ ในเส้นทางสะพานพระราม 7ถนนสามเสน-สนามหลวง และเส้นทางวงเวียนใหญ่-ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน-ถนนสุขสวัสดิ์-ราษฎร์บูรณะ ที่ได้เสนอพร้อมกับเส้นทางบางใหญ่-รัตนาธิเบศร์-งามวงศ์วาน-บางเขน ไม่มีปรากฏในแผนงานอื่นอีก
  • พ.ศ. 2551 นายกรัฐมนตรีนายสมัคร สุนทรเวชพยายามปรับเปลี่ยนแผนแม่บท โดยต่อขยายเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ ออกไปเป็นบางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ-ป้อมพระจุลฯ แต่ส่วนต่อขยายดังกล่าวยังไม่เคยมีการศึกษาความเหมาะสมมาก่อน และทาง สนข. ยังไม่เห็นความเหมาะสมจึงไม่บรรจุไว้ในแผนการศึกษาโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า[19]
  • 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ครั้งที่ 1/2553 ได้เห็นชอบแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตามที่ สนข. เสนอ โดยให้เส้นทางสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ อยู่ในแผนโครงข่ายเพิ่มเติมระยะ 15 ปี
  • พ.ศ. 2556 มีการปรับเปลี่ยนแนวเส้นทางช่วงต้น จากเดิมที่ผ่านหมู่บ้านเสริมสิน ไปใช้แนวโครงการถนน ง.8 ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ฉบับ พ.ศ. 2556) ตัดผ่านเขตทหาร เพื่อมุ่งหน้าสู่ สถานีรัฐสภา และทำการขยายปลายทางและย้ายศูนย์ซ่อมบำรุง จากเดิมบริเวณตำบลบางพึ่ง ไปเป็นบริเวณครุใน (บริเวณถนนวงแหวนด้านใต้ข้างด่านเก็บค่าผ่านทางบางพลี-สุขสวัสดิ์ด้านขาเข้าเมือง) และทำการเพิ่มสถานีอีก 2 สถานีคือ สถานีพระประแดง และสถานีครุใน
  • 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการดำเนนโครงการ รถไฟฟ้าสายสีม่วง ส่วนต่อขยาย ระยะทาง 23.6 กิโลเมตร กรอบวงเงินงบประมาณ 101,112 ล้านบาท คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ใน พ.ศ. 2561 และเปิดให้บริการได้ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2567
  • ตุลาคม พ.ศ. 2561 บอร์ด รฟม.เปิดให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP) ในสายสีม่วงใต้ รูปแบบเดียวกับสายสีม่วง เตาปูน-คลองบางไผ่ [20][21]
  • พ.ศ. 2562 อยู่ระหว่างรอการพิจารณาอนุญาตขอใช้ที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในการก่อสร้างโครงการบางส่วน จึงจะสามารถที่จะออกพรฎ เวนคืน และเตรียมเวนคืนได้ [22][23]
  • 20 มกราคม พ.ศ. 2563 รฟม. เตรียมเปิดประมูลงานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ภายใต้กรอบวงเงินลงทุน 124,959 ล้านบาท โดยจะแบ่งประมูลงานโยธาออกเป็น 6 สัญญา วงเงิน 77,385 ล้านบาท ประกอบด้วย งานใต้ดิน 4 สัญญา ทางยกระดับ 1 สัญญา และระบบราง 1 สัญญา ส่วนงานระบบรถไฟฟ้า 23,064 ล้านบาท ยังอยู่ในระหว่างการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เนื่องจาก บอร์ด รฟม.​ ชุดที่แล้วมีมติให้ รฟม. พิจารณาเปลี่ยนรูปแบบสัญญาเป็นแบบ PPP-Netcost แทนการจ้างเดินรถระยะยาว คาดว่าจะมีการประมูลสายนี้ภายในเดือนมีนาคม 2564[24]
  • 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 รฟม เตรียมลงพื้นที่สำรวจอสังหาริมทรัพย์ตามแนวสายทางโครงการ อยู่ระหว่างจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา คาดการณ์จะประมูลเดือนเมษายน และก่อสร้างได้ภายในเดือนธันวาคม [25][26][27]

โครงการส่วนเหนือ (บางใหญ่ - บางบัวทอง)

โครงการช่วงบางใหญ่ - บางบัวทอง เป็นแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่ได้รับการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อบรรจุลงในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง ระยะที่ 2 หรือ M-Map Phase 2 ซึ่งโครงการส่วนนี้จะมีระยะทาง 3.7 กิโลเมตร ต่อขยายจากปลายสายบริเวณสถานีคลองบางไผ่ ให้ไปบรรจบกับรถไฟฟ้า ช่วงปากเกร็ด - กาญจนาภิเษก บนถนนกาญจนาภิเษก ทั้งนี้เส้นทางดังกล่าวเคยได้รับการพิจารณาในช่วงสมัยที่ นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นการรองรับการขยายตัวของเมืองในพื้นที่อำเภอบางบัวทอง

ส่วนต่อขยายอื่นๆ

แต่หลังจากที่นายสมัคร สุนทรเวช พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ส่วนต่อขยายเพิ่มเติมทั้ง 2 ช่วงก็ไม่มีความคืบหน้า มีความเคลื่อนไหวเฉพาะช่วงคลองบางไผ่-บางซื่อ เท่านั้น

  • เส้นทางช่วง เตาปูน-วังบูรพา ระยะทาง 8 กิโลเมตร รองรับการเดินทางไปยังอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ย่านเกียกกาย และไปเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ซึ่งล่าสุดคาดว่าเส้นทางนี้มีแนวโน้มสูงสุดที่จะได้รับเลือกเป็นส่วนต่อขยาย โดยคาดว่าจะใช้วงเงินประมาณ 20,000-24,000 ล้านบาท และจะเสนอ ครม.เพื่ออนุมัติภายในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2553
  • เส้นทางช่วงถนนบางกรวย-ไทรน้อย ระยะทาง 2 กิโลเมตรจากสถานีคลองบางไผ่ ตามข้อเสนอของ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรีในเวลานั้นเพื่อรองรับประชาชนอำเภอไทรน้อย อำเภอบางเลน และจังหวัดสุพรรณแต่ภายหลังก็ถูกพับโครงการไป[28][29][30]

การให้บริการ

ผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้า

ผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม คือ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM (บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เดิม) ซึ่งเป็นบริษัทที่ชนะการประมูลโครงการสายสีม่วงตามสัญญาที่ 4 งานระบบรถไฟฟ้า หลังจากที่เสนอราคางานเดินรถต่ำกว่า บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ถึง 16,000 ล้านบาท โดยขอบเขตงานตามสัญญาดังกล่าว BEM ต้องรับผิดชอบในการจัดหาขบวนรถไฟฟ้า ซึ่ง BEM ได้ว่าจ้างกิจการร่วมค้ามารุเบนิและโตชิบา จัดหาขบวนรถไฟฟ้าเจเทรค ซัสตินา จำนวน 21 ขบวน และว่าจ้าง บริษัท บอมบาร์ดิเอร์ ทรานสปอร์เทชัน ซิกแนล (ประเทศไทย) จำกัด ติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณที่เกี่ยวข้อง อันได้แก่ระบบ Cityflo 650 และระบบ Optiflo เพื่อส่งมอบให้ทาง รฟม. ใช้ประกอบการเดินรถไฟฟ้าอย่างเป็นทางการ

อย่างไรก็ตามในช่วงแรกของการเปิดให้บริการ กลับเกิดข้อกังขาขึ้นในส่วนของการเดินรถระหว่างสถานีบางซื่อ-เตาปูน เนื่องจากผู้รับสัมปทานเดิมของสายเฉลิมรัชมงคลคือ BEM ไม่ยอมรับข้อเสนอในการรวมสถานีเตาปูนเข้าเป็นสถานีตามสัญญาสัมปทานและให้หมดอายุสัมปทานพร้อมกันที่ พ.ศ. 2572 เนื่องจาก BEM มองว่าระยะเวลาดังกล่าวไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนเปลี่ยนระบบ ทำให้เกิดช่องโหว่ของการเชื่อมต่อระบบขึ้น เพื่อเป็นการแก้ปัญหา คณะรัฐมนตรีจึงเสนอให้เปิดประมูลงานระบบรถไฟฟ้าของส่วนต่อขยายขึ้น โดยให้รวมสถานีเตาปูนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญานี้ และกำหนดว่าเมื่อได้ผู้ชนะการประมูลแล้ว ผู้ชนะจะต้องวางระบบเพื่อเดินรถ และเปิดระบบให้ BEM สามารถเดินรถในช่วง บางซื่อ-เตาปูน ภายในปีแรกตามสัญญาก่อน แล้วจึงเดินรถทั้งสายเมื่อเสร็จสิ้นโครงการในปี พ.ศ. 2562 ต่อไป

แต่อย่างไรก็ตามกลับมีการใช้มาตราที่ 44 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ในการออกคำสั่งให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยดำเนินการเจรจาโดยตรงกับ BEM ว่าด้วยเรื่องของการมอบสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายทั้งสองส่วน และเร่งดำเนินการในส่วนบางซื่อ-เตาปูน ให้เร็วที่สุด โดยผลการเจรจาเป็นอันว่า BEM ตกลงรับสัมปทานโครงการในรูปแบบ PPP-Net Cost ทั้งสองส่วน และคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติผลการเจรจาเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2560 และได้มีการลงนามในสัญญาสัมปทานฉบับใหม่เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560 ก่อนเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในส่วนบางซื่อ-เตาปูน เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2560

การให้บริการปกติ

รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม เปิดให้บริการเดินรถในแต่ละสถานีไม่เท่ากัน โดยเริ่มเดินรถขบวนแรกในเวลา 05.30 น. จากสถานีคลองบางไผ่ และในเวลา 06.00 น. จากสถานีเตาปูน โดยความถี่การเดินรถจะขึ้นอยู่กับเวลา และความหนาแน่นของผู้โดยสาร แต่เวลาปิดให้บริการจะยึดจากรถไฟฟ้าขบวนสุดท้ายมุ่งหน้าสถานีคลองบางไผ่เคลื่อนออกจากสถานี กล่าวคือเมื่อรถไฟฟ้าขบวนสุดท้ายออกจากสถานีเตาปูนในเวลา 23.24 น. ก็จะเป็นเวลาปิดสถานี ไล่ไปจนถึงสถานีตลาดบางใหญ่เป็นสถานีสุดท้าย ก็จะเป็นเวลาปิดให้บริการของระบบ

คนพิการ

รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม เป็นหนึ่งในโครงการรถไฟฟ้าที่สนับสนุนโยบายภาครัฐในการลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางของผู้ถือบัตรผู้พิการ โดยไม่คิดค่าโดยสารกับผู้ถือบัตรผู้พิการที่ออกโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ทั้งนี้ผู้โดยสารจะต้องแจ้งความประสงค์ในการใช้บริการผ่านระบบโทรศัพท์ภายในบริเวณทางเข้าสถานี หรือผ่านศูนย์ข้อมูลผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า เพื่อให้พนักงานในสถานีส่งเจ้าหน้าที่ขึ้นมารับผู้โดยสาร จากนั้นผู้โดยสารจะต้องแจ้งสถานีปลายทางที่จะเดินทาง เพื่อประสานงานในการรับส่งผู้โดยสาร ณ สถานีปลายทางต่อไป หากแต่ผู้โดยสารประสงค์ที่จะเปลี่ยนสถานีกลางคัน ก็พึงทำได้โดยแจ้งพนักงานขับรถไฟฟ้าผ่านระบบอินเตอร์คอมภายในขบวนรถไฟฟ้า

ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐฯ

รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม สนับสนุนนโยบายลดค่าครองชีพของผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐฯ โดยสามารถโดยสารรถไฟฟ้ามหานครได้ฟรีโดยมีงบค่าโดยสารภายในบัตร 500 บาทต่อเดือน ผู้ที่ถือบัตรเวอร์ชัน 2.5 (มีตราสัญลักษณ์แมงมุมที่ด้านหลังบัตร) สามารถนำบัตรดังกล่าวไปเปิดใช้งานได้ที่ห้องจำหน่ายบัตรโดยสารของรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม หรือสายเฉลิมรัชมงคล เพียงครั้งเดียว ก็สามารถนำบัตรสวัสดิการแห่งรัฐฯ ใบนั้นไปแตะเข้าสู่ระบบได้ทันที ทั้งนี้วงเงินดังกล่าวสามารถติดลบได้เหมือนกับบัตรแมงมุมทั่วไป และจะหักออกจากงบ 500 บาท เมื่อถึงวันตัดรอบบัญชี แต่สำหรับผู้ถือบัตรเวอร์ชัน 3.0 และ 4.0 (มีตราสัญลักษณ์พร้อมท์การ์ดที่ด้านหลังบัตร) สามารถนำบัตรดังกล่าวไปออกเหรียญโดยสารเที่ยวเดียวได้ที่ห้องจำหน่ายบัตรโดยสาร หากใช้บริการเกินวงเงิน เจ้าหน้าที่จะออกเหรียญโดยสารมูลค่าต่ำสุด (14 บาท) ให้ใช้เดินทาง และต้องชำระส่วนต่างที่สถานีปลายทางก่อนออกจากระบบ

อัตราค่าโดยสาร

รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม มีอัตราค่าโดยสารเรียกเก็บตามปกติที่ 14 - 42 บาท คิดตามระยะทางจากสถานีต้นทางไปยังสถานีปลายทาง (ยกเว้นสถานีเตาปูนที่มีอัตราค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 16 บาท ตามอัตราค่าโดยสารของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน)) และมีส่วนลดพิเศษสำหรับบัตรโดยสารประเภทนักเรียน นักศึกษา 10% จากราคาปกติที่ 13 - 38 บาท และส่วนลดพิเศษสำหรับบัตรและเหรียญโดยสารประเภทเด็ก และผู้สูงอายุ 50% จากราคาปกติที่ 7 - 21 บาท

อนึ่ง รฟม. มีตัวเลือกอัตราค่าโดยสารแบบเที่ยวเดินทางให้เลือกใช้สำหรับผู้ที่ใช้บริการ โดยมีอัตราเหมาจ่ายเป็นจำนวนเที่ยวตั้งแต่ 15 - 60 เที่ยว ในราคา 450 - 1,200 บาท เฉลี่ยอยู่ที่เที่ยวละ 20-30 บาท เที่ยวเดินทางมีอายุการใช้งาน 30 วัน สำหรับราคา 450 - 1,100 บาท และ 60 วัน สำหรับราคา 1,200 บาท และมีอายุก่อนการใช้งาน 45 วันนับจากวันที่ซื้อเที่ยวเดินทาง ทั้งนี้เที่ยวเดินทางดังกล่าวไม่สามารถใช้เดินทางในสายเฉลิมรัชมงคลได้ โดยผู้โดยสารที่ใช้เที่ยวเดินทางของสายฉลองรัชธรรม จะต้องชำระค่าโดยสารของสายเฉลิมรัชมงคลนับจากสถานีเตาปูนไปยังสถานีปลายทางในระยะทางสั้นที่สุดแบบเต็มจำนวนโดยไม่ได้รับการหักลบค่าธรรมเนียมแรกเข้า เช่น เดินทางจากสถานีคลองบางไผ่ ไปยังสถานีสวนจตุจักร จะต้องชำระค่าโดยสารเป็นจำนวน 1 เที่ยวเดินทาง และเงินสด 21 บาท

ทั้งนี้ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม เป็นระบบรถไฟฟ้าที่เก็บค่าโดยสารโดยคิดอัตราค่าธรรมเนียมแรกเข้าเพียงครั้งเดียวเมื่อผู้โดยสารเดินทางข้ามระหว่างสาย โดยผู้โดยสารที่เดินทางข้ามสายจะต้องชำระค่าโดยสารโดยคำนวณจากอัตราค่าโดยสารของสายเฉลิมรัชมงคล บวกกับอัตราค่าโดยสารของสายฉลองรัชธรรม (จากสถานีต้นทางและปลายทางจนถึงสถานีเตาปูน ซึ่งเป็นสถานีเปลี่ยนเส้นทาง) หักลบด้วยค่าธรรมเนียมแรกเข้า 14 บาท ทำให้อัตราค่าโดยสารสูงสุดอยู่ที่ 70 บาท เมื่อผู้โดยสารเดินทางข้ามสาย และยังมีค่าโดยสารแบบเที่ยวเดินทาง Multiline Pass ในอัตราเหมาจ่ายเป็นจำนวนเที่ยวตั้งแต่ 15 - 50 เที่ยว ในราคา 810 - 2,250 บาท เฉลี่ยอยู่ที่เที่ยวละ 45 - 54 บาท มีอายุการใช้งาน 30 วัน และมีอายุก่อนการใช้งาน 45 วัน เช่นเดียวกับเที่ยวเดินทางของสายฉลองรัชธรรม

สิทธิประโยชน์เพิ่มเติม

  1. สำหรับเด็กที่มีอายุไม่เกิน 14 ปี และ/หรือ ไม่เกินวันเกิดอายุครบ 14 ปี และมีช่วงความสูงไม่เกิน 90 ซม. ได้รับการยกเว้นค่าโดยสาร
  2. ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และ/หรือตั้งแต่วันเกิดอายุครบ 60 ปี จะได้รับสิทธิลดหย่อนค่าโดยสารเช่นเดียวกับผู้สูงอายุทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ถึง 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
  3. สำหรับประชาชนทุกคนในโอกาสวันสำคัญทางราชการเช่นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2554 ฯลฯ โดยสารรถไฟฟ้าโดย ได้รับการยกเว้นค่าโดยสาร ตามเวลา ที่ประกาศกำหนด
  4. สำหรับประชาชนทุกคนในพิธีการสำคัญระดับประเทศ เช่น พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ฯลฯ โดยสารรถไฟฟ้าโดย ได้รับการยกเว้นค่าโดยสาร ตามเวลา ที่ประกาศกำหนด
  5. สำหรับประชาชนที่เป็นบิดาหรือมารดาในวันพ่อแห่งชาติ และวันแม่แห่งชาติ
  6. ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปได้รับการยกเว้นค่าโดยสารช่วงวันสงกรานต์ 13-15 เมษายน

บริการอื่นๆ

และในอนาคต เมื่อมีการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วงส่วนต่อขยายด้านใต้ จะมีเพิ่มอีก 2 แห่ง คือ บริเวณสถานีบางปะกอก (1,800 คัน) และสถานีราษฎร์บูรณะ 2 อาคาร ได้แก่ อาคาร 1 (800 คัน) และอาคาร 2 (900 คัน) (รวม 2 อาคาร 1,700 คัน) รวมมีอาคารจอดแล้วจรทั้งสิ้น 6 แห่ง

  • โทรศัพท์ มีบริการโทรศัพท์จาก ทีโอที

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1462201042
  2. ในหลวงพระราชทานชื่อรถไฟฟ้าสายสีม่วง "ฉลองรัชธรรม"
  3. http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1462201042
  4. 4.0 4.1 เอกสารโครงการศึกษาปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล : การสัมมนารับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 3 วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 จัดโดย สนข.
  5. 5.0 5.1 รื้อแนวรถไฟฟ้าสีม่วงใต้ เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ คาดสร้าง ปี58 เสร็จ ปี62
  6. โครงการระบบขนส่งมวลชนสายสีชมพู โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 7.6 โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
  8. 8.0 8.1 11 คำถาม - คำตอบ เกี่ยวกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงฯ ช่วงบางใหญ่ - บางซื่อ โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
  9. Bangkok Purple Line E&M contract signed
  10. Japan group to build train system in Bangkok: report
  11. ด่วน! ปิด MRT สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี สายสีม่วง พนักงานติดโควิด-19
  12. ด่วน!! รถไฟฟ้าสายสีม่วงปิด ‘สถานีศูนย์ราชการนนฯ’ หลังพบพนักงาน MRT ติดไวรัส
  13. MRT สายสีม่วงเปิดสถานีศูนย์ราชการนนทบุรี หลังฆ่าเชื้อแล้ว
  14. รถไฟฟ้าสายสีม่วงฉีดฆ่าเชื้อเสร็จ เปิดให้บริการ ‘สถานีศูนย์ราชการนนท์’ แล้ว
  15. MRTเปลี่ยนเวลาปิดให้บริการรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงินและสายสีม่วง เวลา 21.30 น.
  16. รฟม.-BEM ปรับเวลาปิดให้บริการรถไฟฟ้าสีน้ำเงิน-ม่วง เป็น 21.30 น.
  17. [MRT ปิดกี่โมง] ปรับเวลาโควิด-19 เปิด 06.00 – ปิด 21.30 น. มีผลวันที่ 3 เมษายน 2563
  18. https://www.facebook.com/photo.php?fbid=564049827022320&set=a.454958234598147.1073741829.454736764620294&type=1&relevant_count=1
  19. หั่นเส้นทางรถไฟฟ้าใยแมงมุม ที่ปรึกษาชี้ไม่มีข้อมูลรองรับ หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ วันที่ 5-7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
  20. “สมคิด” เร่ง รฟม.เปิดประมูลก่อสร้างสีม่วงใต้ ปิดดีลเซ็นสัญญาในรัฐบาลนี้
  21. รฟม.ชงบอร์ด 30 พ.ย.นี้เคาะ PPP เดินรถไฟฟ้าสีม่วงใต้
  22. ม.ค.ประมูลด่วนพระราม3เชื่อมมหาชัย ปีหมูลุยเวนคืน 2 รถไฟฟ้า 3 หมื่นล.สร้างสีส้ม-ม่วงใต้
  23. ‘ศักดิ์สยาม’ เล็งชงครม.เศรษฐกิจ 20 ต.ค.อนุมัติรถไฟฟ้าสายสีส้ม 1.2 แสนล้าน
  24. "ส้มตะวันตก" ลุยเวนคืนที่ดิน 500 แปลง
  25. รฟม. เคาะ เม.ย. เตรียมเปิดประมูล รถไฟฟ้าสีม่วง เตาปูน – ราษฎร์บูรณะ วงเงิน 1 แสนล้านบาท ให้ทันก่อสร้างเดือน ธ.ค. ปีนี้ ตั้งเป้าเปิดให้บริการ มี.ค.
  26. รฟม.สำรวจพื้นที่ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ก่อนเวนคืนเล็งเปิดประมูลปีนี้
  27. “รฟม.” สำรวจพื้นที่เวนคืน สร้างรถไฟฟ้า สายสีม่วงใต้ 1 แสนล้าน เล็งเปิดประมูลปีนี้ อ่านเรื่องนี้ต่อที่: https://www.kaohoon.com/content/426006
  28. สายสีม่วงจ่อถึงบางกรวย-ไทรน้อย งบสร้างรถไฟฟ้าสีเขียวบานเท่าตัว-ชงครมอีกรอบ
  29. ไทรน้อยลุ้น รฟมขยายเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วง
  30. รฟม.เผยรถไฟฟ้าสีม่วงคืบหน้า 50% ลุ้นเสร็จตามแผน รับศึกษาถึงไทรน้อย

แหล่งข้อมูลอื่น