อำเภอพระประแดง
อำเภอพระประแดง | |
---|---|
![]() | |
คำขวัญ: ป้อมแผลงไฟฟ้า ราชานุสาวรีย์ ประเพณีสงกรานต์ หมู่บ้านชาวมอญ สวนศรีนครเขื่อนขันธ์ งามตระการวัดหลวง มะม่วงน้ำดอกไม้ ติดใจข้าวเม่าทอด สุดยอดกะละแม | |
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°39′30″N 100°32′2″E / 13.65833°N 100.53389°E | |
อักษรไทย | อำเภอพระประแดง |
อักษรโรมัน | Amphoe Phra Pradaeng |
จังหวัด | สมุทรปราการ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 73.370 ตร.กม. (28.328 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2562) | |
• ทั้งหมด | 193,580 คน |
• ความหนาแน่น | 2,638.40 คน/ตร.กม. (6,833.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10130 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1104 |
ที่ตั้ง ที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอพระประแดง ถนนนครเขื่อนขันธ์ ตำบลตลาด อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ 10130 |
![]() |
พระประแดง เป็นอำเภอที่มีขนาดพื้นที่เล็กที่สุดในจังหวัดสมุทรปราการ ในอดีตมีฐานะเป็นศูนย์กลางของจังหวัดพระประแดง แต่ต่อมาถูกยุบรวมเข้ากับจังหวัดสมุทรปราการดังเช่นปัจจุบัน
ที่มาของชื่อ[แก้]
คำว่า "พระประแดง" บ้างว่ามาจากคำว่า "ประแดง" หรือ "บาแดง" แปลว่า คนเดินหมายหรือ คนนำข่าวสาร แต่เดิมเมืองพระประแดงเป็นเมืองหน้าด่านเมื่อมีเหตุการณ์ใด ๆ เกิดขึ้น จะต้องแจ้งข่าวสารไปให้เมืองหลวง (ละโว้) ทราบโดยเร็ว[1]
ส่วนจิตร ภูมิศักดิ์ อธิบายว่า "พระประแดง" มาจากชื่อ "พระแผดง" ซึ่งเป็นชื่อเทวรูปสำคัญที่ขุดพบสององค์ที่คลองสำโรงต่อคลองทับนางเมื่อปี พ.ศ. 2061 ซึ่งคำว่า "แผดง" มาจากคำเขมรว่า "เผฺดง" ផ្ដេង ที่ใช้เรียกเทวรูปหรือตำแหน่งยศขุนนาง โดยเชื่อว่าชื่อเมืองน่าจะเรียกตามศาลพระแผดงที่พวกขอมเคยสร้างไว้[2]
ส่วนรุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล สันนิษฐานว่า "พระประแดง" มาจากคำว่า "กมรเตง" ที่หมายถึงเทวรูปศักดิ์สิทธิ์สององค์ดังกล่าว[3]
ประวัติศาสตร์[แก้]
อำเภอพระประแดง เป็นเมืองโบราณสมัยขอมมีชื่อเรียกว่า "พระประแดง" เดิมตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านซ้ายคืออยู่ทางฝั่งตะวันออก เดิมเป็นเมืองหน้าด่านทางทะเล สมัยนั้นเรียกว่า "ปากน้ำพระประแดง" โดยตำแหน่งที่ตั้งเมืองพระประแดงเดิมช่วงศตวรรษที่ 23 นั้น ปัจจุบันตั้งอยู่ในบริเวณท่าเรือคลองเตย กรุงเทพมหานคร[3] ส่วนเมืองนครเขื่อนขันธ์ที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยนั้น มิได้มีความเกี่ยวข้องกับเมืองพระประแดงเดิมแต่อย่างใด ครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการเปลี่ยนชื่อเมืองนครเขื่อนขันธ์เป็นเมืองพระประแดง[3]
ตรงนี้เป็นประวัติศาสตร์รายปี
- พ.ศ. 2464 ตั้งจังหวัดพระประแดง
- วันที่ 21 สิงหาคม 2470 แก้ไขเขตจังหวัดพระนคร จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดพระนคร (1,2)[4]
- (1) โอนพื้นที่ตำบลช่องนนทรี ตำบลบางโพงพาง ของอำเภอพระประแดง ไปขึ้นอำเภอพระโขนง และโอนอำเภอพระโขนง จังหวัดพระประแดง มาขึ้นกับจังหวัดพระนคร เป็น อำเภอพระโขนง จังหวัดพระโขนง
- (2) โอนพื้นที่ตำบลบางนา ตำบลสำโรงเหนือ ตำบลสำโรงใต้ ตำบลบางหญ้าแพรก ตำบลบางหัวเสือ ของอำเภอพระประแดงจังหวัดพระประแดง มาขึ้นกับอำเภอสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
- พ.ศ. 2475 ยุบจังหวัดพระประแดง ทำให้อำเภอพระประแดง ขึ้นกับจังหวัดสมุทรปราการ
- วันที่ 15 มีนาคม 2480 จัดตั้งเทศบาลเมืองพระประแดง ในท้องที่บางส่วนของตำบลเชียงใหม่ ตำบลทรงคนอง และตำบลตลาด (ในปัจจุบันรวมกันเป็นตำบลตลาด)[5]
- วันที่ 1 มกราคม 2486 จังหวัดสมุทรปราการได้ยุบลงเนื่องจากขณะนั้นในช่วง สงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อำเภอพระประแดง จึงย้ายไปขึ้นกับจังหวัดพระนคร
- วันที่ 10 พฤษภาคม 2489 ตั้งจังหวัดสมุทรปราการ ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง จึงทำให้อำเภอพระประแดง กลับมาขึ้นกับจังหวัดสมุทรปราการ เหมือนเดิม[6]
- วันที่ 20 กันยายน 2505 ตั้งตำบลบางกระสอบ แยกออกจากตำบลบางน้ำผึ้ง[7]
- วันที่ 22 สิงหาคม 2506 จัดตั้งสุขาภิบาลพระประแดง ในท้องที่ตำบลบางพึ่ง ตำบลบางครุ ตำบลบางจาก ตำบลบางหญ้าแพรก ตำบลบางหัวเสือ และตำบลสำโรงใต้[8]
- วันที่ 6 พฤศจิกายน 2531 ตั้งตำบลสำโรง แยกออกจากตำบลสำโรงใต้[9]
- วันที่ 1 กรกฎาคม 2533 ตั้งตำบลสำโรงกลาง แยกออกจากตำบลสำโรงใต้ [10]
- วันที่ 13 มีนาคม 2535 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลพระประแดง ใหม่ โดยให้ สุขาภิบาลพระประแดง ครอบคลุมในท้องที่ตำบลบางพึ่ง ตำบลบางครุ และตำบลบางจาก และ ให้จัดตั้งสุขาภิบาลสำโรงใต้ ในท้องที่ ตำบลบางหญ้าแพรก ตำบลบางหัวเสือ ตำบลสำโรงใต้ ตำบลสำโรงกลาง และตำบลสำโรง[11]
- วันที่ 24 เมษายน 2537 จัดตั้งเทศบาลตำบลลัดหลวง โดย ยกฐานะจากสุขาภิบาลพระประแดง[12]
- วันที่ 16 มีนาคม 2540 จัดตั้งเทศบาลตำบลสำโรงใต้ โดย ยกฐานะจากสุขาภิบาลสำโรงใต้ [13]
- วันที่ 21 กันยายน 2545 จัดตั้งเทศบาลเมืองลัดหลวง โดย ยกฐานะจากเทศบาลตำบลลัดหลวง[14]
- วันที่ 20 สิงหาคม 2552 ยกฐานะจากเทศบาลตำบลสำโรงใต้ เป็น เทศบาลเมืองสำโรงใต้ [15]
- วันที่ 17 กันยายน 2553 เปลี่ยนชื่อเทศบาลเมืองสำโรงใต้ เป็น เทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย [16]
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัด
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตยานนาวา เขตคลองเตย เขตพระโขนง และเขตบางนา (กรุงเทพมหานคร) มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมืองสมุทรปราการ มีถนนทางรถไฟเก่า (สายปากน้ำ) เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองสมุทรปราการและอำเภอพระสมุทรเจดีย์ คลองขุด คลองบางฝ้าย กึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา คลองท่าเกวียน และคลองบางจาก เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตทุ่งครุและเขตราษฎร์บูรณะ (กรุงเทพมหานคร) คลองรางใหญ่ คลองขุดเจ้าเมือง ลำรางสาธารณะ คลองบางพึ่ง คลองแจงร้อน เป็นเส้นแบ่งเขต
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอพระประแดงแบ่งเขตการปกครองย่อย เป็น 15 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน รวม 67 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | ตลาด | (Talat) | 9. | บางกะเจ้า | (Bang Kachao) | 9 หมู่บ้าน | |||||||
2. | บางพึ่ง | (Bang Phueng) | 10. | บางน้ำผึ้ง | (Bang Namphueng) | 11 หมู่บ้าน | |||||||
3. | บางจาก | (Bang Chak) | 11. | บางกระสอบ | (Bang Krasop) | 11 หมู่บ้าน | |||||||
4. | บางครุ | (Bang Khru) | 12. | บางกอบัว | (Bang Ko Bua) | 13 หมู่บ้าน | |||||||
5. | บางหญ้าแพรก | (Bang Ya Phraek) | 13. | ทรงคนอง | (Song Khanong) | 13 หมู่บ้าน | |||||||
6. | บางหัวเสือ | (Bang Hua Suea) | 14. | สำโรง | (Samrong) | 10 หมู่บ้าน | |||||||
7. | สำโรงใต้ | (Samrong Tai) | 15. | สำโรงกลาง | (Samrong Klang) | 10 หมู่บ้าน | |||||||
8. | บางยอ | (Bang Yo) |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
อำเภอพระประแดงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองพระประแดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตลาดทั้งตำบล
- เทศบาลเมืองลัดหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางพึ่ง ตำบลบางจาก และตำบลบางครุทั้งตำบล
- เทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางหญ้าแพรก ตำบลบางหัวเสือ ตำบลสำโรงใต้ ตำบลสำโรง และตำบลสำโรงกลางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางยอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางยอทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางกะเจ้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางกะเจ้าทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำผึ้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางน้ำผึ้งทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางกระสอบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางกระสอบทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางกอบัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางกอบัวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลทรงคนอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทรงคนองทั้งตำบล
การคมนาคม[แก้]
อำเภอพระประแดงมีถนนสายหลัก ได้แก่
- ถนนสุขสวัสดิ์
- ถนนนครเขื่อนขันธ์
- ถนนพระราชวิริยาภรณ์
- ถนนเพชรหึงษ์
- ถนนปู่เจ้าสมิงพราย
- ถนนทางรถไฟเก่า (สายปากน้ำ)
- ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านใต้)
นอกจากนี้ยังมีสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 2 แห่ง
- สะพานภูมิพล (วงแหวนอุตสาหกรรม)
- สะพานกาญจนาภิเษก
สำหรับการคมนาคมในแม่น้ำเจ้าพระยา ได้แก่ แพขนานยนต์ และ เรือโดยสารข้ามฟาก ของ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เภตรา และ บริษัท นาวาสมุทร จำกัด เรือโดยสารข้ามฟาก และ เรือหางยาวบริเวณวัดบางน้ำผึ้งนอก (ฝั่งตรงข้ามกับวัดบางนานอก เขตบางนา กรุงเทพมหานคร) เรือหางยาวบริเวณปลายถนนเพชรหึงษ์ (ฝั่งตรงข้ามกับท่าเรือกรุงเทพ เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร)
สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]
- ป้อมแผลงไฟฟ้า
- ตลาดบางน้ำผึ้ง
- สวนศรีนครเขื่อนขันธ์ (สวนบางกระเจ้า)
ประเพณี[แก้]
ประเพณีแห่หงส์ ธงตะขาบ[แก้]
ประเพณีแห่หงส์ ธงตะขาบ กำเนิดขึ้นใน จ.สมุทรปราการ ชาวพระประแดง (มอญปาก-ลัด) ปกติมักมีขึ้นในช่วงเวลา วันที่ 13 เมษายนของทุกปี หรือวันสงกรานต์ ความเป็นมาหรือสาระสำคัญของประเพณีไทยแห่หงส์ ธงตะขาบ ก็เพื่อเป็นการระลึกถึง และเป็นการบูชา รวมไปถึงการเฉลิมฉลองให้กับครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับลงจากชั้นภพดาวดึงส์ เป็นการถือปฏิบัติสืบทอดกันมาจนปัจจุบันนี้ โดยการร่วมงานเฉลิมฉลองประเพณีไทยนี้ ผู้คนต่าง ๆ มักจะนำเสาหงส์ และ ธงตะขาบ มาใช้คู่กัน
สถานศึกษา[แก้]
สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6[แก้]
- โรงเรียนสุขสวัสดิ์
- โรงเรียนฉัตรทิพย์เทพวิทยา
- โรงเรียนบางครุ
- โรงเรียนบ้านบางจาก
- โรงเรียนพลอยจาตุรจินดา
- โรงเรียนราชประชาสมาสัย ฝ่ายมัธยม รัชดาภิเษก ในพระบรมราชูปถัมภ์
- โรงเรียนวัดกลาง
- โรงเรียนวัดกองแก้ว
- โรงเรียนวัดครุนอก
- โรงเรียนวัดครุใน
- โรงเรียนวัดคันลัด
- โรงเรียนวัดชมนิมิตร
- โรงเรียนวัดทรงธรรม
- โรงเรียนวัดท้องคุ้ง
- โรงเรียนวัดบางกระสอบ
- โรงเรียนวัดบางกอบัว
- โรงเรียนวัดบางกะเจ้ากลาง
- โรงเรียนวัดบางขมิ้น
- โรงเรียนวัดบางน้ำผึ้งนอก
- โรงเรียนวัดบางน้ำผึ้งใน
- โรงเรียนวัดบางฝ้าย
- โรงเรียนวัดบางหญ้าแพรก
- โรงเรียนวัดบางหัวเสือ
- โรงเรียนวัดปุณหังสนาวาส
- โรงเรียนวัดป่าเกด (ดิษวิทยาคาร)
- โรงเรียนวัดมหาวงษ์
- โรงเรียนวัดรวก
- โรงเรียนวัดราษฎร์รังสรรค์
- โรงเรียนวัดสวนส้ม
- โรงเรียนวัดสำโรงเหนือ
- โรงเรียนวัดแหลม
- โรงเรียนวัดโยธินประดิษฐ์
- โรงเรียนวิสุทธิกษัตรี
- โรงเรียนวัดโยธินประดิษฐ์
- โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สมุทรปราการ
สถานศึกษาระบบเอกชน[แก้]
- โรงเรียนกาญจนวิทยา
- โรงเรียนณัฎฐเวศม์
- โรงเรียนประชานาถ (เซนต์แมรี่ st-mary)
- โรงเรียนปัญจนะวิทย์
- โรงเรียนป้อมปู่เจ้าสมิงพราย
- โรงเรียนศิริวิทยา
- โรงเรียนสันติดรุณ
- โรงเรียนสายอนุสรณ์
- โรงเรียนสำราญวิทยา
- โรงเรียนอนุบาลบัวขาว
- โรงเรียนอนุบาลบ้านพุทธรักษา
- โรงเรียนอนุบาลมารดา
- โรงเรียนอนุบาลศิริวิทย์
- โรงเรียนอนุบาลสดุดี
- โรงเรียนอนุบาลเจริญวัย
- โรงเรียนอนุบาลเซ็นดาณี
- โรงเรียนอาษาวิทยา
- โรงเรียนอำนวยวิทย์
- โรงเรียนเยาวนารีคริสเตียน
บุคคลที่มีชื่อเสียงของเมืองพระประแดง[แก้]
- นายแช่ม พรหมยงค์ อดีตจุฬาราชมนตรีคนแรกของเมืองพระประแดง
- พระช่วงเกษตรศิลปการ (ช่วง โลจายะ) ผู้ร่วมก่อตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, อดีตรัฐมนตรีกระทรวงเกษตราธิการ และอดีตผู้ก่อตั้งพรรคสัมมาชีพ-ช่วยชาวนา
- พระครูสังฆวุฒาจารย์ (เย่อ โฆสโกมหาเถระ) อดีตเจ้าอาวาสวัดอาษาสงคราม พระอารามหลวง
- พระครูสมุทรวราภรณ์ (พระมหาวารี จนฺทปุตฺโต) อดีตรองเจ้าคณะอำเภอพระประแดง, อดีตเจ้าคณะตำบลตลาด, อดีตรักษาการเจ้าคณะตำบลบางกะเจ้า, อดีตเลขานุการคณะกรรมการสงฆ์อำเภอพระประแดง และอดีตรองเจ้าอาวาสวัดทรงธรรมวรวิหาร
- อาจารย์คล้าย พงษ์เวช ผู้ก่อตั้งโรงเรียนวัดทรงธรรม, โรงเรียนวิสุทธิกษัตรี และโรงเรียนอำนวยวิทย์
- อาจารย์จินดา เตชะเสน อดีตผู้ทรงคุณวุฒิแห่งเมืองพระประแดง
- ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์สุเอ็ด คชเสนี อดีตนายกสมาคมไทย-รามัญ
- อาจารย์ฉวีวรรณ ควรแสวง ประธานสภาวัฒนธรรมเมืองพระประแดง และผู้บริหารโรงเรียนอำนวยวิทย์
- นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ อดีตองคมนตรี, อดีตประธานศาลฎีกา, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และอดีตผู้พิพากษาอาวุโส
- นายสมโพธิ แสงเดือนฉาย ผู้สร้างยอดมนุษย์อุลตร้าแมน และผู้กำกับภาพยนตร์
- นายเอกไชย สนธิขันธ์ อดีตนักฟุตบอลอาชีพคนแรกของประเทศไทย
- นายยรรยง โอฬาระชิน ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ปี 2550
- นายประชา ประสพดี อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย จังหวัดสมุทรปราการ และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นายสนิท กุลเจริญ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชากรไทย จังหวัดสมุทรปราการ และอดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสมุทรปราการ
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "ภาคผนวก ตามหาเมืองพระประแดงในพงศาวดาร". 3king.lib.kmutt.ac.th/. สืบค้นเมื่อ 5 December 2014.
- ↑ จิตร ภูมิศักดิ์. ความเป็นมาของคำสยาม, ไทย ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : ชนนิยม, 2556, หน้า 414-415
- ↑ 3.0 3.1 3.2 รุ่งโรจน์ อภิรมย์อนุกูล (2556). "เมืองพระประแดง: จากคลองเตย มานครเขื่อนขันธ์จบที่อำเภอพระประแดง". ดำรงวิชาการ. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2557. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ [1]พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง แก้ไขเขตจังหวัดพระนคร ธนบุรี พระประแดง สมุทรปราการ และมีนบุรีในมณฑลกรุงเทพ ฯ กับธัญบุรี ในมณฑลอยุธยา
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ พุทธศักราช 2480" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0 ก): 1878–1881. 14 มีนาคม 2480. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 63 (29 ก): 315–317. 9 พฤษภาคม 2489. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ และอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (90 ง): 2080–2084. 2 ตุลาคม 2505. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลพระประแดง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (90 ง): 2099–2101. 10 กันยายน 2506. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (พิเศษ 234 ง): 65–68. 27 ธันวาคม 2531. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ และอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (พิเศษ 174 ง): 17–24. 16 กันยายน 2533. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลพระประแดงและจัดตั้งสุขาภิบาลสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (พิเศษ 126 ง): 85–88. 30 กันยายน 2535. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลลัดหลวง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2537" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (10 ก): 62–65. 25 มีนาคม 2537. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2540" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (2 ก): 1–4. 14 กุมภาพันธ์ 2540. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองลัดหลวง พ.ศ. 2545" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 119 (93 ก): 4–6. 20 กันยายน 2545. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นเทศบาลเมืองสำโรงใต้" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 126 (พิเศษ 145 ง): 21. 1 ตุลาคม 2552. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อเทศบาลเมืองสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นเทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 127 (พิเศษ 128 ง): 27. 5 พฤศจิกายน 2553. Check date values in:
|date=
(help)
![]() |
เขตราษฎร์บูรณะ | เขตยานนาวาและเขตคลองเตย แม่น้ำเจ้าพระยา |
เขตพระโขนง แม่น้ำเจ้าพระยา |
![]() |
เขตทุ่งครุ | ![]() |
เขตบางนา แม่น้ำเจ้าพระยา | ||
| ||||
![]() | ||||
อำเภอพระสมุทรเจดีย์ | อำเภอเมืองสมุทรปราการ |
|