ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2)
ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง 2 (SARS-CoV-2) | |
---|---|
ภาพของวิริออน SARS-CoV-2 จากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน แสดงให้เห็นสไปก์ | |
ภาพจำลองวิริออน SARS-CoV-2 | |
การจำแนกชนิดไวรัส | |
Group: | Group IV ((+)ssRNA) |
อันดับ: | Nidovirales |
วงศ์: | Coronaviridae |
วงศ์ย่อย: | Coronavirinae |
สกุล: | Betacoronavirus |
สกุลย่อย: | Sarbecovirus[1][2][3] |
สปีชีส์: | Severe acute respiratory syndrome-related coronavirus (สายพันธุ์: Severe acute respiratory syndrome-related coronavirus 2) |
นครอู่ฮั่น ประเทศจีน จุดเริ่มต้นรายงานการแพร่ระบาด | |
ชื่อพ้อง | |
|
ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง 2 (อังกฤษ: severe acute respiratory syndrome coronavirus 2: SARS-CoV-2)[6][7] หรือชื่อที่องค์การอนามัยโลกเคยใช้คือ ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (2019-nCoV)[8][9] และชื่อลำลองที่ใช้เมื่อโรคจากไวรัสนี้เริ่มระบาดว่า "ไวรัสโคโรนาอู่ฮั่น" หรือ "ไวรัสปอดอักเสบอู่ฮั่น"[10] (จีนตัวย่อ: 武汉冠状病毒; จีนตัวเต็ม: 武漢冠狀病毒) เป็นไวรัสติดต่อที่ทำให้เกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นสาเหตุของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในปี พ.ศ. 2562–2563[11] การจัดลำดับจีโนมแสดงให้เห็นว่า เป็นไวรัสอาร์เอ็นเอชนิดสายเดี่ยว ที่มีลำดับสารพันธุกรรมเหมือนเอ็มอาร์เอ็นเอ (Positive-sense single-stranded RNA virus)[12][13][14] มีการแจ้งกรณีต้องสงสัยกรณีแรกให้องค์การอนามัยโลกทราบในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562[15] ผู้ป่วยรายแรกมีอาการเจ็บป่วยปรากฏขึ้นเมื่อสามสัปดาห์ก่อนหน้านั้น คือ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2562[16] ไวรัสได้รับการลำดับจีโนมหลังจากการทดสอบกรดนิวคลีอิกในตัวอย่างผู้ป่วยที่เป็นบวกในผู้ป่วยที่เป็นโรคปอดอักเสบ ในช่วงระหว่างการระบาดของไวรัสโคโรนา พ.ศ. 2562–2563[17][18]
กรณีผู้ป่วยในช่วงแรกหลายกรณีมีความเชื่อมโยงกับตลาดขนาดใหญ่ซึ่งจำหน่ายอาหารทะเลและสัตว์ และเชื้อไวรัสนี้เชื่อว่ามีต้นกำเนิดจากสัตว์[19][20] การเปรียบเทียบลำดับทางพันธุกรรมของไวรัสนี้และตัวอย่างไวรัสอื่น ๆ ได้แสดงความคล้ายคลึงกับ SARS (79.5%)[21] และไวรัสโคโรนาในค้างคาว (96%),[21] ซึ่งทำให้ต้นกำเนิดในค้างคาวเป็นไปได้มากที่สุด[22][23]
ประวัติการค้นพบ
[แก้]ในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 สำนักงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รับแจ้งอย่างเป็นทางการจากทางการจีนว่ามีกรณีของโรคปอดบวมรุนแรงหลายกรณี ในนครอู่ฮั่นเกิดขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 จากสาเหตุของการติดเชื้อที่ไม่เคยถูกตรวจพบมาก่อน เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2563 มีรายงานผู้ป่วย 44 คนต่อองค์การอนามัยโลก ซึ่งประกอบด้วยผู้ป่วยหนัก 11 รายและอีก 33 รายมีอาการทรงตัว ผู้ป่วยบางรายเป็นผู้ขายหรือผู้ค้าในตลาดขายส่งปลาและอาหารทะเลหฺวาหนาน (จีน: 华南海鲜批发市场; พินอิน: Huánán hǎixiān pīfā shìchǎng) ในนครอู่ฮั่น[24] หน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบได้ทำการปิดตลาดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 โฆษกขององค์การอนามัยโลก กล่าวในขณะนั้นว่ามีความเป็นไปได้ว่าแหล่งที่มาของการติดเชื้อจะพบได้ในตลาด ยังไม่พบการติดต่อจากคนสู่คน[25] การประกาศดังกล่าวดึงดูดความสนใจทั่วโลก เพราะเป็นการย้อนความทรงจำของโรคระบาดซาร์สที่เกิดขึ้นในภาคใต้ของจีนในปี พ.ศ. 2545-2546 ซึ่งมีผู้ติดเชื้อในเวลานั้นมากกว่า 700 คนทั่วโลก[26]
เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2563 นักวิทยาไวรัสชาวจีน สฺวี เจี้ยนกั๋ว (จีน: 徐建国; พินอิน: Xú jiànguó) ซึ่งรับผิดชอบในการระบุชนิดไวรัสได้ประกาศว่าเชื้อโรคนั้นเป็นไวรัสโคโรนาชนิดใหม่ ซึ่งเป็นผลจากการทดสอบตัวอย่างเลือดและสารคัดหลั่งในคอจากผู้ป่วย 15 ราย สิ่งนี้ได้รับการยืนยันในแถลงการณ์อย่างเป็นทางการจากองค์การอนามัยโลก ในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2563[27][28] และในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2563 ลำดับจีโนมที่สมบูรณ์ของไวรัสโคโรนาชนิดใหม่ถูกบันทึกลงในฐานข้อมูล NCBI GenBank (หมายเลข GenBank MN908947)
การบัญญัติชื่อ
[แก้]ข้อเสนอแนะในการตั้งชื่อ เพื่อตั้งชื่อไวรัสตามนครอู่ฮั่นซึ่งเป็นสถานที่ที่ไวรัสได้รับการยืนยันครั้งแรกว่า ไวรัสโคโรนาระบบทางเดินหายใจอู่ฮั่น (WRS-CoV) ไม่ได้รับการพิจารณา เหตุผลหนึ่งที่เป็นไปได้ที่ได้รับจากผู้เชี่ยวชาญก็คือ การร้องเรียนในอดีตเมื่อไวรัสถูกตั้งชื่อตามแต่ละประเทศหรือภูมิภาค (ตัวอย่างเช่น ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์กลุ่มอาการโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง MERS-CoV)[29] ข้อมูลไวรัสได้ถูกรวมอยู่ในฐานข้อมูลอนุกรมวิธานของ NCBI (ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับชื่อไวรัสและการจำแนกประเภท) ภายใต้ชื่อ Wuhan seafood market pneumonia virus[30]
ในช่วงที่มีการระบาดอย่างต่อเนื่อง การกล่าวโดยทั่วไปถึงไวรัสมักใช้คำสามัญคือ "ไวรัสโคโรนา", "ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่" และ "ไวรัสโคโรนาอู่ฮั่น"[31][32] ในขณะที่องค์การอนามัยโลก ได้แนะนำการกำหนดชื่อของไวรัสชั่วคราวคือ "2019-nCoV" ท่ามกลางความกังวลว่าการไม่มีชื่ออย่างเป็นทางการอาจนำไปสู่การใช้ชื่อที่ไม่เป็นทางการที่มีอคติ ตามแนวปฏิบัติขององค์การอนามัยโลก ฉบับปี พ.ศ. 2558[32][33] คณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยอนุกรมวิธานของไวรัส (International Committee on Taxonomy of Viruses, ICTV) จะเป็นผู้แนะนำชื่ออย่างเป็นทางการที่เหมาะสมของไวรัส[31]
เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 องค์การอนามัยโลกได้ระบุชื่อของโรคที่เกิดจากไวรัสนี้ว่า "COVID-19" ซึ่งย่อมาจาก "coronavirus disease 2019" หรือ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019[34][35]
และต่อมาในวันเดียวกัน (11 กุมภาพันธ์) คณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยอนุกรมวิธานของไวรัส (ICTV) ประกาศว่าตามกฎที่มีอยู่ซึ่งคำนวณความสัมพันธ์แบบสายลำดับชั้นของไวรัสโคโรนา บนพื้นฐานของลำดับของกรดนิวคลีอิกที่เหมือนกันห้าตำแหน่ง ทำให้ความแตกต่างของสายพันธุ์ (strain) ไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้จาก สายพันธุ์ไวรัสจากการระบาดของโรคซาร์สในปี พ.ศ. 2546 ไม่เพียงพอที่จะทำให้เป็นสปีชีส์ของไวรัสที่แยกจากกัน ดังนั้นคณะกรรมการจึงระบุว่า 2019-nCoV เป็นสายพันธุ์ของไวรัสโคโรนาที่เกี่ยวข้องกับโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS-CoV)[36]
วิทยาไวรัส
[แก้]สายวิวัฒนาการและอนุกรมวิธาน
[แก้]สมมุติฐานโครงสร้างจีโนมของ SARS-CoV-2 ( Open reading frame) | |
รหัสจีโนมของ NCBI | MN908947 |
---|---|
ขนาดจีโนม | 29,903 เบส |
ปีที่ทำเสร็จ | พ.ศ. 2563 |
SARS-CoV-2 เป็นไวรัสในกลุ่มขนาดใหญ่ที่รู้จักกันในชื่อ ไวรัสโคโรนา "nCoV" เป็นคำมาตรฐานที่ใช้ในการอ้างถึงไวรัสโคโรนาใหม่จนกว่าจะมีการเลือกการกำหนดที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น ไวรัสโคโรนาอื่นมีความสามารถในการก่อให้เกิดความเจ็บป่วย ตั้งแต่โรคไข้หวัดธรรมดาไปจนถึงโรคที่รุนแรงมากขึ้นเช่น โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (MERS) และ กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS) แต่มีเพียงหกชนิดก่อนหน้านี้เท่านั้นที่ติดเชื้อในมนุษย์ (229E, NL63, OC43, HKU1, MERS-CoV และ SARS-CoV) ทำให้ SARS-CoV-2 เป็นชนิดที่เจ็ด[37]
การแยกจีโนมสายพันธุ์ Wuhan-Hu-1 (GenBank หมายเลข MN908947) จาก SARS-CoV-2 แสดงให้เห็นว่ามีความคล้ายคลึงกันมากที่สุดกับไวรัสโคโรนาที่แยกได้จากค้างคาวจากประเทศจีน ซึ่งถูกวิเคราะห์ในปี พ.ศ. 2558 และ 2560[38]แม้กระนั้นไวรัสชนิดนี้มีความแตกต่างทางพันธุกรรมจากไวรัสโคโรนาอื่น ๆ เช่นไวรัสโคโรนาที่เกี่ยวกับกลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS)และไวรัสโคโรนาที่เกี่ยวกับโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (MERS)[5] ไวรัสชนิดนี้เป็นสมาชิกของสกุล Beta-CoV สาย B เช่นเดียวกับ SARS-CoV[39][2] (ซึ่งเป็นสมาชิกของ ซับจีนัส Sarbecovirus[3]) จีโนมจำนวนสิบแปดตัวอย่าง[40] ของไวรัสโคโรนาใหม่ถูกแยกและรายงานรวมถึง BetaCoV/Wuhan/IVDC-HB-01/2019, BetaCoV/Wuhan/IVDC-HB-04/2020, BetaCoV/Wuhan/IVDC-HB-05/2019, BetaCoV/Wuhan/WIV04/2019 และ BetaCoV/Wuhan/IPBCAMS-WH-01/2019 ซึ่งรายงานโดยสถาบันแห่งชาติเพื่อการควบคุมและป้องกันโรคไวรัส ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (CCDC; จีน: 中国疾病预防控制中心), สถาบันชีววิทยาก่อโรค และโรงพยาบาลอู่ฮั่นจินหวินถาน (จีน: 武汉市金银潭医院)[41] ลำดับอาร์เอ็นเอ ของไวรัสชนิดนี้มีความยาวนิวคลีโอไทด์ทั้งหมด 29,903 คู่เบส ประกอบด้วย 29,410 คู่เบส กับ 265 คู่เบสและ 228 คู่เบส ที่ไม่สามารถแปลได้บริเวณปลาย 5 'และ 3' ตามลำดับ สมมุติฐานพื้นที่สร้างรหัสของไวรัสแบ่งออกเป็น 10 ส่วน ประกอบด้วย ORF1ab โพลิโปรตีนยาว 7096 เบส, ไกลโคโปรตีนส่วนเปลือก (S) ยาว 1282 เบส, โปรตีนเอนเวโลป (E) ยาว 75 เบส, ไกลโคโปรตีนเมมเบรน (M) ยาว 222 เบส, นิวคลีโอแคปซิด ฟอสโฟโปรตีน ยาว 419 เบส และยีนอีก 5 ส่วน (ORF3a, ORF6, ORF7a, ORF8 และ ORF10) ลำดับของยีนสอดคล้องกับไวรัสโรคซาร์สและไวรัสโคโรนาชนิดอื่นทั้งหมด[5] นอกจากลำดับจีโนมที่ GenBank แล้ว ลำดับจีโนมยังถูกรวบรวมโดย GISAID และการวิเคราะห์สายวิวัฒนาการจากตัวอย่างไวรัสได้รับการเผยแพร่โดย Nextstrain[42]
ชนิดย่อย
[แก้]มีชนิดย่อยของ SARS-CoV-2 อยู่หลายพันชนิด ซึ่งสามารถจัดกลุ่มเครือบรรพบุรุษ (clade) ได้หลายกลุ่ม[43] มีการเสนอระบบการเรียกชื่อกลุ่มเครือบรรพบุรุษเหล่านี้อยู่หลายระบบ โดย Nextstrain แบ่งเอาไว้ 5 กลุ่มเครือบรรพบุรุษ (19A, 19B, 20A, 20B, และ 20C) ในขณะที่ GISAID แบ่งไว้ 7 กลุ่ม (L, O, V, S, G, GH, และ GR)[44]
ในช่วงปลายปี 2020 มีชนิดย่อยที่สำคัญและเป็นที่กล่าวถึงบ่อยครั้งดังต่อไปนี้
- ชนิดย่อยอันพึงระวัง 202012/01 (Variant of Concern 202012/01) หรือ VOC 202012/01 เชื่อว่าเกิดขึ้นในประเทศอังกฤษช่วงเดือนกันยายน 2020 ผลการประเมินตัวชี้วัดทางวิทยาการระบาดเบื้องต้นบ่งชี้ว่าชนิดย่อยนี้อาจจะติดต่อได้ง่ายกว่าเดิม แต่ยังไม่มีหลักฐานว่าจะมีผลต่อความรุนแรงของโรคหรือประสิทธิภาพของวัคซีน ชนิดย่อยนี้มีการกลายพันธุ์อยู่หลายตำแหน่ง และหนึ่งในนั้นเป็นการกลายพันธุ์ที่โดเมนของโปรตีนหนามผิวไวรัสสำหรับจับกับรีเซพเตอร์ ซึ่งที่ตำแหน่ง 501 มีการเปลี่ยนจากแอสพาราจีนเป็นไทโรซีน (N501Y) การกลายพันธุ์นี้อาจทำให้ไวรัสจับกับตัวรับ ACE2 ได้แน่นหนายิ่งขึ้น[45][46]
โครงสร้างทางชีววิทยา
[แก้]การถอดรหัสจีโนมของไวรัสได้นำไปสู่การทดลองสร้างแบบจำลองโปรตีนหลายอย่างเพื่อจับกับโปรตีนตัวรับ (RBD) ของโปรตีน SARS-CoV-2 สไปก์ (S) ในวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2563 นักวิจัยชาวจีนสองคณะเชื่อว่าโปรตีนสไปก์ มีความเป็นไปได้ที่สัมพันธ์กับตัวรับ SARS (เอนไซม์ angiotensin-converting enzyme 2, ACE2) เพื่อใช้เป็นกลไกในการเข้าสู่เซลล์[47] ในวันที่ 22 มกราคม กลุ่มในประเทศจีนที่ทำงานกับไวรัสโดยสมบูรณ์ และกลุ่มในสหรัฐอเมริกาที่ทำงานกับพันธุศาสตร์ย้อนกลับ แสดงผลการทดลองให้เห็นโดยอิสระว่า ACE2 เป็นตัวรับสำหรับ SARS-CoV-2[48][49][50]
เพื่อค้นหายาที่มีศักยภาพในการรักษา เอนไซม์ C30 Endopeptidase (3CLpro) จากโพลิโปรตีน ORF1a ของไวรัสถูกนำมาสร้างแบบจำลองสำหรับการทดลองเชื่อมต่อกับยา ทีมวิจัยจาก Innophore ผลิตแบบจำลองการคำนวณสองรูปแบบโดยใช้เอนไซม์โปรตีเอสของไวรัสซาร์ส[51] และสถาบันวิทยาศาสตร์จีน (จีน: 中国科学院) ได้สร้างโครงสร้างทดลองที่ไม่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ของรีคอมบิแนนต์เอนไซม์โปรตีเอสของ 2019-nCoV[52] นอกจากนี้นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยมิชิแกนยังได้จำลองโครงสร้างของเปปไทด์ที่สมบูรณ์แล้วทั้งหมดในจีโนมของ SARS-CoV-2 โดยใช้ I-TASSER[53]
การติดต่อ
[แก้]การติดต่อจากมนุษย์สู่มนุษย์ได้รับการยืนยันในมณฑลกวางตุ้งประเทศจีน ตามการแถลงของ จง หนานชาน (จีน: 钟南山) หัวหน้าคณะกรรมาธิการสาธารณสุขซึ่งได้ทำการสอบสวนการระบาด[54] พบการติดเชื้อไวรัสแม้ในช่วงระยะฟักตัว[55][56] ซึ่งต่อมาได้รับการยืนยันจากผลการศึกษา[57][58] แต่องค์การอนามัยโลกระบุว่า "การแพร่เชื้อจากผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการน่าจะไม่ใช่ตัวขับเคลื่อนสำคัญของการแพร่กระจาย" ในเวลานี้[59] ไวรัสโคโรนาส่วนใหญ่แพร่กระจายผ่านการสัมผัสอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านทางเดินหายใจ ละอองจากอาการไอและจาม ในระยะประมาณ 6 ฟุต (1.8 ม.)[60][61] อาร์เอ็นเอของไวรัสตรวจพบในตัวอย่างอุจจาระจากผู้ป่วยที่ติดเชื้อด้วย[62]
ไวรัสได้รับการประเมินค่าระดับการติดเชื้อพื้นฐาน (R0) ระหว่าง 3 ถึง 5[63] หมายความว่าโดยทั่วไปจะมีผู้ติดเชื้อ 3 ถึง 5 คนต่อสถานการณ์การติดเชื้อ กลุ่มวิจัยอื่น ๆ ได้ประมาณจำนวนค่าระดับการติดเชื้อพื้นฐานระหว่าง 1.4 และ 3.9[64][65][66][67][68] หมายความว่าเมื่อไม่ได้มีการตรวจสอบ ไวรัสจะส่งผลให้เกิดผู้ป่วยรายใหม่ 1.4 ถึง 3.9 รายต่อการติดเชื้อ ซึ่งได้รับการยอมรับว่าไวรัสสามารถส่งผ่านห่วงโซ่ของคนอย่างน้อยสี่คน[69] เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดต่อไปการแพร่เชื้อจะต้องลดลงมากถึง 60% โดยมาตรการที่เหมาะสม จำนวนการเจ็บป่วยและเสียชีวิตที่พิสูจน์แล้วก่อนหน้านี้ส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 2.9% (80/2744)[18][70]
แหล่งรังโรค
[แก้]มีข้อสงสัยว่าสัตว์ที่ขายเป็นอาหารนั้นจะเป็นแหล่งรังโรคหรือเป็นพาหะ เพราะผู้ติดเชื้อรายแรกที่ยืนยันเป็นคนงานในตลาดอาหารทะเลหฺวาหนาน พวกเขาจึงต้องสัมผัสกับสัตว์จำนวนมาก[2] ตลาดขายสัตว์ที่มีชีวิตเป็นอาหาร ก็ถูกตำหนิในการแพร่ระบาดของโรคซาร์สในปี พ.ศ. 2546 ตลาดเช่นนี้ถือว่าเป็นศูนย์บ่มเพาะที่สมบูรณ์แบบสำหรับเชื้อโรคที่แปลกใหม่[71] การระบาดของโรคทำให้เกิดการสั่งห้ามการค้าและการบริโภคสัตว์ป่าในประเทศจีนเป็นการชั่วคราว[72] อย่างไรก็ตามนักวิจัยบางคนตั้งข้อสังเกตว่าตลาดอาหารทะเลหฺวาหนาน อาจไม่ใช่แหล่งที่มาของการแพร่เชื้อไวรัสสู่มนุษย์[73][74]
ด้วยจำนวนที่เพียงพอของข้อมูลลำดับจีโนม เป็นไปได้ที่จะสร้างแผนภาพต้นไม้วิวัฒนาการชาติพันธุ์ของประวัติการกลายพันธุ์ของตระกูลไวรัส ในช่วง 17 ปีของการวิจัยเกี่ยวกับต้นกำเนิดของการแพร่ระบาดของโรคซาร์ส พ.ศ. 2546 ไวรัสโคโรนาจากค้างคาวที่มีลักษณะคล้ายโรคซาร์สจำนวนมากได้ถูกแยกและเรียงลำดับจีโนม ไวรัสโคโรนาจากอู่ฮั่นพบว่าตกอยู่ในประเภทของ ไวรัสโคโรนาที่เกี่ยวข้องกับโรคซาร์ส ลำดับจีโนมสองลำดับจาก "ค้างคาวมงกุฎจีน (Rhinolophus sinicus)" ที่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2558 และ พ.ศ. 2560 แสดงความคล้ายคลึงกันถึง 80% กับ SARS-CoV-2[75][76] ลำดับจีโนมไวรัสตัวอย่างที่สาม ("RaTG13") จาก "ค้างคาวมงกุฎเทาแดง (Rhinolophus affinis)" มีความคล้ายคลึงกับของ SARS-CoV-2 ถึง 96%[77][78] สำหรับการเปรียบเทียบจำนวนของการแปรผันของไวรัสนี้ มีความคล้ายคลึงกับปริมาณการกลายพันธุ์ที่สังเกตได้จากระยะเวลานานกว่าสิบปีในเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H3N2[79]
พยาธิวิทยาคลินิก
[แก้]อาการที่แสดงออกทางคลินิก
[แก้]มีรายงานว่ากรณีผู้ป่วยมีอาการไข้ 90%[2] มีอาการอ่อนเพลียและไอแห้ง 80%[2][80] และหายใจถี่ 20% โดยหายใจลำบาก 15%[80] การถ่ายภาพรังสีเอกซ์ช่องอกได้แสดงสัญญาณในปอดทั้งสองข้าง ซึ่งสามารถนำไปสู่อาการปอดบวม ไตวาย และเสียชีวิตจากการติดเชื้อรุนแรง[81] ในแถลงการณ์เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2563 นาย Tedros Adhanom Ghebreyesus ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกระบุว่า หนึ่งในสี่ของผู้ที่ติดเชื้อนั้นมีอาการหนัก และหลายรายที่เสียชีวิตมีอาการอื่นที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่นความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ[82] โดยทั่วไปแล้วสัญญาณชีพนั้นมีความเสถียรในเวลาที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล[80] ผลตรวจเลือดมีจำนวนเม็ดเลือดขาวโดยรวมต่ำ (leucopenia) โดยเฉพาะเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ต่ำ (lymphopenia) [2]
วิธีการตรวจสอบ
[แก้]ไวรัสสามารถตรวจพบได้โดยตรงโดยใช้ปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสแบบย้อนกลับ (RT-PCR) (จากเสมหะ สารคัดหลั่งจากหลอดลม น้ำล้างหลอดลม การเก็บสิ่งส่งตรวจป้ายโพรงจมูก) สำหรับผู้ที่สงสัยว่าเป็นโรคปอดอักเสบและอยู่ในพื้นที่เสี่ยง 14 วันก่อนการระบาดของโรค และสำหรับผู้ที่มีอาการซึ่งเคยติดต่อกับผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันแล้ว เป็นวิธีการที่แนะนำ จนกว่าจะมีการพัฒนาวิธีการตรวจจับทางอ้อม (การตรวจหาแอนติบอดี) และแนะนำให้เก็บซีรัมจากผู้ป่วยด้วย[83] (ณ วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2563)
การวิจัยการรักษา
[แก้]โรคที่เกิดจากไวรัส SARS-CoV-2 ได้รับการกำหนดชื่อไว้ชั่วคราวว่า "โรคทางเดินหายใจเฉียบพลัน 2019-nCoV" โดยองค์การอนามัยโลก[84] ไม่มีการรักษาที่ได้รับการยืนยันโดยมาตรฐานการวิจัยทางการแพทย์ (ในแง่ของการตรวจสอบอย่างเป็นระบบของการทดลองทางคลินิกแบบสุ่มที่มีการตรวจสอบแบบพิชญพิจารณ์) ในขณะนี้ (กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563) ดังนั้นการรักษาจึงมุ่งเน้นไปที่การบรรเทาอาการ[85] ซึ่งประกอบด้วยอาการไข้, ไอแห้ง ๆ และหายใจถี่[2][86]
ในอีกทางหนึ่งการวิจัยเชิงสำรวจในหลายแนวทาง ได้เริ่มต้นเพื่อหาวิธีการรักษาโรคที่มีศักยภาพในเดือนมกราคม พ.ศ. 2563[87] ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของจีนเริ่มทำการทดสอบกระบวนการรักษาโรคปอดอักเสบที่มีอยู่แล้ว เพื่อพิจารณาประสิทธิภาพในการรักษาโรคปอดบวมที่เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนา ในปลายเดือนมกราคม[88] มีการตรวจสอบประสิทธิภาพของยาต้านไวรัสที่มีอยู่[89] รวมทั้งสารยับยั้งเอนไซม์โปรตีเอสเช่น อินดินาเวียร์, ซาควินาเวียร์ และ โลปินาเวียร์/ริโทนาเวียร์ ก็เริ่มขึ้นในปลายเดือนมกราคมด้วยเช่นกัน[90] การทดสอบสารยับยั้งเอนไซม์อาร์เอ็นเอโพลิเมอเรส Remdesivir,[91][92][93] อินเตอร์เฟียรอน-เบตา,[93] และ สารภูมิต้านทานโมโนโคลน (mAbs) ที่ระบุไว้ได้ก่อนหน้านี้ ซึ่งการรักษาที่เป็นไปได้ก็เริ่มขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน[94] โครงการศึกษาประสิทธิภาพของการรักษาโรคจากไวรัสตับอักเสบซี โดยใช้ Sofosbuvir ซึ่งเป็นสารยับยั้งเอนไซม์อาร์เอ็นเอโพลีเมอเรสซึ่งขึ้นอยู่กับอาร์เอ็นเอ ก็เริ่มขึ้นในปลายเดือนมกราคม พ.ศ. 2563[95]
เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 มีรายงานจากประเทศไทยว่าประสบความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยรายหนึ่ง นพ.เกรียงศักดิ์ อติพรวณิช จากโรงพยาบาลราชวิถี ในกรุงเทพมหานครกล่าวในระหว่างการบรรยายสรุปของกระทรวงสาธารณสุขว่า ผู้หญิงชาวจีนอายุ 71 ปีจากอู่ฮั่นมีผลทดสอบอาการติดเชื้อไวรัสโคโรนาเป็นลบ 48 ชั่วโมงหลังจากแพทย์ทำการรักษาด้วยยาต้านไวรัส เอชไอวี โลปินาเวียร์ และริโทนาเวียร์ ร่วมกับยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ โอเซลทามิเวียร์[96][97]
โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันเช่นโรคซาร์ส, ไข้หวัดใหญ่และโรคปอดอักเสบจากไวรัส SARS-CoV-2 สันนิษฐานว่าเป็นอันตรายถึงชีวิตเนื่องจากปฏิกิริยาตอบสนองที่รุนแรงของภูมิคุ้มกันที่เรียกว่า "Cytokine storm"[98]
วัคซีน
[แก้]วัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นวัคซีนที่มุ่งสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 ในช่วงก่อนเกิดการระบาดทั่วของโควิด-19 งานพัฒนาวัคซีนสำหรับโรคไวรัสโคโรนาต่าง ๆ รวมทั้งกลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (ซาร์ส หรือ SARS) และโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (เมอร์ส หรือ MERS) ได้สะสมความรู้พอสมควรเกี่ยวกับโครงสร้างและการทำงานของไวรัสโคโรนา ซึ่งได้ช่วยเร่งการพัฒนาเทคโนโลยีวัคซีนโควิดต่าง ๆ เมื่อต้นปี 2020
จนถึงเดือนมกราคม 2021 มีวัคซีนแคนดิเดตซึ่งได้เข้าสู่การวิจัยเพื่อใช้รักษาแล้ว 69 ชนิด ในจำนวนนี้ 19 ชนิดกำลังทดลองในระยะที่ 1, 24 ชนิดในระยะที่ 1-2, 6 ชนิดในระยะที่ 2 และ 20 ชนิดในระยะที่ 3[99] โดยวัคซีนซึ่งทดลองในระยะที่ 3 หลายอย่างได้แสดงประสิทธิศักย์ (efficacy) ป้องกันการติดเชื้อแบบแสดงอาการถึงอัตราร้อยละ 95 จนถึงเดือนมกราคม 2021 มีวัคซีน 10 อย่างที่องค์กรควบคุมทางสาธารณสุขของรัฐอย่างน้อย 1 แห่งได้อนุมัติให้ฉีดแก่ประชาชนแล้วรวมทั้งวัคซีนอาร์เอ็นเอ 2 ชนิด (Tozinameran ของบริษัทไฟเซอร์-ไบโอเอ็นเทคและ mRNA-1273 ของโมเดิร์นา), วัคซีนซึ่งใช้ไวรัสโควิด-19 ที่ฆ่าแล้ว 4 ชนิด (BBIBP-CorV ของไซโนฟาร์ม, BBV152 ของ Bharat Biotech, โคโรนาแว็กของไซโนแว็ก และ WIBP ของไซโนฟาร์ม), วัคซีนที่ใช้ไวรัสเป็นเวกเตอร์ 3 ชนิด (Gam-COVID-Vac หรือ สปุตนิก 5 ของ Gamaleya Research Institute, AZD1222 ของมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด/แอสตราเซเนกา และ Ad5-nCoV ของแคนไซโนไบโอลอจิกส์) และวัคซีนเพปไทด์ 1 ชนิด (EpiVacCorona )[99]
ประเทศต่าง ๆ มีแผนแจกจำหน่ายวัคซีนโดยจัดลำดับการให้ตามกลุ่มที่เสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ผู้สูงอายุ และกลุ่มที่เสี่ยงติดแล้วแพร่โรค เช่น บุคลากรทางแพทย์[100] จนถึงวันที่ 30 มกราคม 2021 องค์กรสาธารณสุขรวม ๆ กันทั่วโลกรายงานว่า ได้ฉีดวัคซีนโควิด-19 ถึง 94.91 ล้านโดสแล้ว[101] ผู้ผลิต 3 รายซึ่งมีกำลังผลิตมากที่สุดคือ ไฟเซอร์ โมเดิร์นา และแอสตราเซเนการะบุว่าจะสามารถผลิตวัคซีนได้ 5,300 ล้านโดสในปี 2021 ซึ่งสามารถให้แก่คน 3,000 ล้านคนทั่วโลกโดยแต่ละคนจะต้องได้สองโดสเพื่อให้สามารถป้องกันโรค[102] แต่จนถึงเดือนธันวาคม ประเทศต่าง ๆ ก็ได้สั่งวัคซีนล่วงหน้าเกิน 10,000 ล้านโดสแล้ว[102] โดยครึ่งหนึ่งเป็นประเทศรายได้สูงแม้จะมีประชากรเพียงร้อยละ 14 ของโลก[103] เพราะความต้องการวัคซีนสูงเยี่ยงนี้ในช่วงปี 2020-21[103] ประชาชนของประเทศกำลังพัฒนาที่จัดว่ามีรายได้น้อยอาจไม่ได้รับวัคซีนจากผู้ผลิตเหล่านี้จนถึงปี 2023 หรือ 2024 จึงทำให้โปรแกรมโคแว็กซ์จำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้ส่งวัคซีนได้ทั่วถึงกันทั่วโลก[102][103]
วิทยาการระบาด
[แก้]การติดเชื้อในมนุษย์ครั้งแรกที่ทราบกันอยู่ในช่วงต้นเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562[104][73] จุดเริ่มต้นการระบาดของโรคที่เป็นที่ทราบเพียงแห่งเดียวถูกโยงไปยังตลาดอาหารทะเลหฺวาหนาน ในนครอู่ฮั่นประเทศจีนในช่วงกลางเดือนธันวาคม ซึ่งอาจเรื่มจากสัตว์ที่ติดเชื้อเพียงตัวเดียว[73] ในเวลาต่อมาไวรัสดังกล่าวแพร่กระจายไปยังทุกจังหวัดของประเทศจีน และมากกว่ายี่สิบประเทศในเอเชีย, ยุโรป, อเมริกาเหนือ และโอเชียเนีย[105] การแพร่กระจายจากคนสู่คนได้รับการยืนยันในประเทศจีน,[106][107] เยอรมนี,[108] ไทย,[109] เวียดนาม, ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา[110]
เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2563 การระบาดของไวรัส SARS-CoV-2 ได้รับการกำหนดให้เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพระดับโลกโดยองค์การอนามัยโลก (WHO)[111][112][113] จนถึงปัจจุบันประมาณหนึ่งในห้าของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยอยู่ในภาวะวิกฤต [114] เกือบทุกกรณีนอกประเทศจีนเกิดขึ้นกับคนที่เดินทางจากนครอู่ฮั่น หรือติดต่อสัมผัสกับคนที่เดินทางจากพื้นที่โดยตรง[115][116]
อัตราการเสียชีวิตและอัตราการเจ็บป่วยโดยรวมเนื่องจากการติดเชื้อจากเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด เนื่องจากอัตราการตายอาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาในระหว่างการระบาดของโรคในปัจจุบัน และเนื่องจากจำนวนผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อยและผู้ที่ไม่มีอาการซึ่งไม่ได้รับการวินิจฉัยนั้นไม่ชัดเจน[117][118] อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยเบื้องต้นประเมินว่าอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 2-3% ของผู้ติดเชื้อ[119][120] และองค์การอนามัยโลกได้เสนอว่าอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ประมาณ 3%[121] จำนวนผู้เสียชีวิตจากไวรัส ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 (02:00 UTC) มีทั้งหมด 362 ราย[105][122]
ลำดับเหตุการณ์ในช่วงต้น
[แก้]จากข้อมูลของทางการจีนในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2563 มีการบันทึกยืนยันผู้ป่วยจากไวรัสมีจำนวน 40 ราย และในวันเดียวกันหนึ่งในผู้ป่วยชายอายุ 61 ปีได้เสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัส[123] กรณีแรกนอกประเทศจีนเป็นที่ทราบกันในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2563 โดยเป็นผู้ป่วยหญิงชาวจีนวัย 61 ปีในกรุงเทพฯ ที่มีประวัติเดินทางเข้าสู่นครอู่ฮั่นเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2563[124][125] ผู้ป่วยชายอายุ 69 ปีเสียชีวิตเป็นรายที่สอง เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2563 และจำนวนผู้ป่วยนอกประเทศจีนเพิ่มขึ้นเป็นสามรายในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2563 (สองรายในประเทศไทย หนึ่งรายในประเทศญี่ปุ่น)[126] จากที่มีการยืนยันผู้ป่วยหลายกรณีในต่างประเทศ นักวิทยาการระบาดสรุปว่าจำนวนผู้ติดเชื้อในอู่ฮั่นจะต้องสูงกว่าจำนวนผู้ป่วยที่ยืนยันอย่างเป็นทางการ 41 ราย ผู้เชี่ยวชาญประเมินจำนวนผู้ติดเชื้อในอู่ฮั่นประมาณ 1,700 คนในวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2563[127]
ในขั้นแรกสุด มาตรการรักษาความปลอดภัยถูกดำเนินการที่ท่าอากาศยานในสิงคโปร์และฮ่องกง ผู้โดยสารที่เดินทางมาจากนครอู่ฮั่นจะถูกตรวจสอบ โดยเฉพาะสำหรับผู้มีอุณหภูมิร่างกายที่สูงขึ้นและสอบถามเกี่ยวกับอาการของโรคปอดอักเสบ ท่าอากาศยานหลายแห่งในประเทศไทย เกาหลีใต้ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ออกมาตรการที่คล้ายคลึงกันตามมา และตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2563 การควบคุมเช่นเดียวกันจะมีผลบังคับใช้ที่ท่าอากาศยานหลักสามแห่งของสหรัฐ คือท่าอากาศยานนานาชาติซานฟรานซิสโก (SFO), ท่าอากาศยานนานาชาติลอสแอนเจลิส (LAX) และท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดี ในนิวยอร์ก (JFK)[128]
เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2563 ทางการจีนรายงานว่ามีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยมีผู้ป่วยใหม่ 139 คนในวันที่ 18-19 มกราคม พ.ศ. 2563 บางรายอยู่นอกนครอู่ฮั่น คือในเชินเจิ้นและปักกิ่ง มีรายงานผู้เสียชีวิตจากไวรัสอีกหนึ่งราย และการรายงานผู้ป่วยรายแรกจากเกาหลีใต้[129] ทางการจีนยืนยันว่าการติดเชื้อนั้นสามารถเกิดจากคนสู่คน[130] ในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2563 การติดเชื้อ 2019-nCoV ครั้งแรกนอกเอเชียได้รับการวินิจฉัยในชาวอเมริกันที่เดินทางกลับจากอู่ฮั่นมายังสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2563 ในนครซีแอตเทิล[131]
องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้มีการประชุมคณะกรรมการฉุกเฉินเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2563 เพื่อชี้แจงว่าการแพร่กระจายของไวรัสโคโรนาเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพระหว่างประเทศ ซึ่งไม่ได้ชี้แจงไว้ในตอนแรก การดำเนินการต่อไปจะต้องมีการหารือกันอีกครั้งในวันที่ 23 มกราคม[132]
มาตรการกักกันในอู่ฮั่น
[แก้]ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2563 การเชื่อมต่อรถไฟและเที่ยวบินทั้งหมดจากอู่ฮั่น เมืองที่มีประชากรประมาณ 9 ล้านคน รวมถึงการเชื่อมต่อรถบัส รถไฟใต้ดิน และเรือข้ามฟาก ชาวอู่ฮั่นได้รับคำสั่งไม่ให้ออกจากเมือง ห้องสมุดพิพิธภัณฑ์และโรงละครยกเลิกกิจกรรมและการแสดง อู่ฮั่นเป็นศูนย์ประสานงานสำหรับมาตรการในการยับยั้งการแพร่ระบาดของโรค ณ จุดนี้มีการยืนยันการติดเชื้อ 500 ครั้งอย่างเป็นทางการและมีผู้เสียชีวิต 17 ราย (ทั้งหมดในหวู่ฮั่นและหูเป่ย์) นักระบาดวิทยาประเมินว่าจำนวนผู้ติดเชื้อจะอยู่ที่ประมาณ 4,000 คนในวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2563[133]
รายงานจากหนังสือพิมพ์ "ไชนาเดลี่" ในอู่ฮั่นถนนสายหลักจะถูกปิดกั้นในวันพฤหัสบดี มีมาตรการสวมหน้ากากป้องกันในที่สาธารณะ ทุกคนที่ไม่สวมหน้ากากในโรงแรม ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า และสวนสาธารณะจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าในพื้นที่
มาตรการกักกันในเมืองอื่น
[แก้]เมืองหวงกัง (จีน: 黄冈) ซึ่งมีประชากร 7.5 ล้านคน อยู่ทางตะวันออกของอู่ฮั่นประมาณ 70 กม. ก็ถูกตัดขาดจากระบบขนส่งสาธารณะ ตั้งแต่เที่ยงคืนวันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2563 ตามเวลาท้องถิ่น (UTC+8) โรงภาพยนตร์ทั้งหมด ร้านอินเทอร์เน็ต และตลาดกลางของเมืองนี้ถูกปิด ผลกระทบที่คล้ายคลึงกันกำลังเกิดขึ้นในเมืองเอ้อโจว (จีน: 鄂州) ที่อยู่ใกล้เคียงหลังจากสถานีรถไฟหลักถูกปิดในวันที่ 23 มกราคม ประชาชนรวมทั้งหมดเกือบ 20 ล้านคนได้รับผลกระทบจากข้อจำกัด ซึ่งนับเป็นเหตุการณ์เฉพาะในขอบเขตของประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน[134]
ในปักกิ่งเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม มีการประกาศให้การเฉลิมฉลองตรุษจีนในช่วงสุดสัปดาห์ และงานประเพณีแบบดั้งเดิมในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ถูกยกเลิกเป็นเวลาสองสัปดาห์หลังจากปีใหม่ และสถานที่ท่องเที่ยวบางแห่งถูกปิด
หลังจากที่ผู้ป่วยเป็นรายที่สองได้รับการยืนยันในเขตปกครองพิเศษมาเก๊าของจีน การเฉลิมฉลองวันปีใหม่ระหว่างวันที่ 25 มกราคมถึงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ก็ถูกยกเลิกเช่นกัน
จีนใช้มาตรการกักกันโดยไม่ปรึกษากับองค์การอนามัยโลก ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก Tedros Adhanom Ghebreyesus เห็นด้วยกับการดำเนินการเพราะ "มวลชนที่มาสะสมรวมตัวกันเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการแพร่กระจาย" เขาสัญญาว่าจะให้คำแนะนำในการเดินทางที่ชัดเจนยิ่งขึ้น เมื่อสิ้นสุดการพิจารณาของคณะกรรมการฉุกเฉินในเจนีวาในเย็นวันพฤหัสบดี
หลังจากเมืองเอ้อโจว รถไฟก็ได้หยุดดำเนินการในเมืองเซียนเถา (จีน: 仙桃), ชื่อปี้ (จีน: 赤壁) และลี่ชวน (จีน: 利川)[135]
จำนวนผู้ป่วย
[แก้]ตำแหน่งของนครอู่ฮั่น ประเทศจีน จุดศูนย์กลางของการระบาด | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วันที่ | 1 ธันวาคม พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน (5 ปี 5 วัน) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ที่ตั้ง | ต้นกำเนิด: อู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน
|
การระบาดของไวรัส SARS-CoV-2 ทั่วโลก
[แก้]-
การระบาดของไวรัสทั่วโลก ในวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2563ประเทศต้นกำเนิด (จีนแผ่นดินใหญ่)เคสที่ได้รับการยืนยันเคสที่อยู่ระหว่างการเฝ้าดู
ดูเพิ่ม
[แก้]- การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ พ.ศ. 2562–2563
- ไวรัสโคโรนา
- กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง
- เครื่องช่วยพยุงการทำงานของหัวใจและปอด
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Phylogeny of SARS-like betacoronaviruses". nextstrain. สืบค้นเมื่อ 2020-01-18.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 Hui DS; I Azhar E; Madani TA; และคณะ (2020-01-14). "The continuing 2019-nCoV epidemic threat of novel coronaviruses to global health – The latest 2019 novel coronavirus outbreak in Wuhan, China". Int J Infect Dis (91): 264–266. doi:10.1016/j.ijid.2020.01.009. PMID 31953166.
- ↑ 3.0 3.1 Antonio C. P. Wong, Xin Li, Susanna K. P. Lau, Patrick C. Y. Woo: Global Epidemiology of Bat Coronaviruses, in: Viruses. 2019 Feb; 11(2): 174, doi:10.3390/v11020174
- ↑ Fox, Dan (2020). "What you need to know about the Wuhan coronavirus". Nature. doi:10.1038/d41586-020-00209-y. ISSN 0028-0836.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Zhang, Y.-Z.; และคณะ (12 January 2020). "Wuhan seafood market pneumonia virus isolate Wuhan-Hu-1, complete genome". GenBank. Bethesda, Maryland, United States: National Institutes of Health. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 January 2020. สืบค้นเมื่อ 13 January 2020.
- ↑ Gorbalenya, Alexander E. (2020-02-11). "Severe acute respiratory syndrome-related coronavirus – The species and its viruses, a statement of the Coronavirus Study Group". bioRxiv: 2020.02.07.937862. doi:10.1101/2020.02.07.937862.
- ↑ "Coronavirus disease named Covid-19". BBC News. 2020-02-11. สืบค้นเมื่อ 2020-02-11.
- ↑ World Health Organization (2020). Surveillance case definitions for human infection with novel coronavirus (nCoV): interim guidance v1, January 2020 (Report). World Health Organization. hdl:10665/330376. WHO/2019-nCoV/Surveillance/v2020.1.
- ↑ "Novel coronavirus (2019-nCoV), Wuhan, China". United States: Centers for Disease Control and Prevention (CDC). 10 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 January 2020. สืบค้นเมื่อ 16 January 2020.
- ↑ "โคโรนาสายพันธุ์ใหม่ มารู้จักไวรัสที่ทำให้เกิดโรคปอดอักเสบระบาดในจีน". บีบีซี. 13 มกราคม 2563.
- ↑ "2019 Novel Coronavirus (2019 nCoV): Frequently Asked Questions | IDPH". www.dph.illinois.gov. สืบค้นเมื่อ 27 January 2020.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "中国疾病预防控制中心" (ภาษาจีน). People's Republic of China: CCDC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-06. สืบค้นเมื่อ 9 January 2020.
- ↑ "New-type coronavirus causes pneumonia in Wuhan: expert". People's Republic of China. Xinhua. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 January 2020. สืบค้นเมื่อ 9 January 2020.
- ↑ "CoV2020". platform.gisaid.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2020. สืบค้นเมื่อ 12 January 2020.
- ↑ "Pneumonia of unknown cause – China. Disease outbreak news". World Health Organization. 5 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 January 2020. สืบค้นเมื่อ 6 January 2020.
- ↑ Schnirring, Lisa (14 January 2020). "Report: Thailand's coronavirus patient didn't visit outbreak market". CIDRAP. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 January 2020. สืบค้นเมื่อ 15 January 2020.
- ↑ "新型冠状病毒感染的肺炎". www.chinacdc.cn (ภาษาจีน). 中国疾病预防控制中心. สืบค้นเมื่อ 2020-01-21.
- ↑ 18.0 18.1 "New-type coronavirus causes pneumonia in Wuhan: expert – Xinhua | English.news.cn". www.xinhuanet.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-09. สืบค้นเมื่อ 2020-01-09.
- ↑ Perlman, Stanley (24 January 2020). "Another Decade, Another Coronavirus". The New England Journal of Medicine. doi:10.1056/NEJMe2001126. PMID 31978944.
- ↑ Wu, Joseph T.; Leung, Kathy; Leung, Gabriel M. (31 January 2020). "Nowcasting and forecasting the potential domestic and international spread of the 2019-nCoV outbreak originating in Wuhan, China: a modelling study". The Lancet. doi:10.1016/S0140-6736(20)30260-9. สืบค้นเมื่อ 2 February 2020.
- ↑ 21.0 21.1 Zhou, Peng; Yang, Xing-Lou; Wang, Xian-Guang; Hu, Ben; Zhang, Lei; Zhang, Wei; Si, Hao-Rui (23 January 2020). "Discovery of a novel coronavirus associated with the recent pneumonia outbreak in humans and its potential bat origin". bioRxiv: 2020.01.22.914952. doi:10.1101/2020.01.22.914952 – โดยทาง www.biorxiv.org.
- ↑ Benvenuto, Domenico; Giovannetti, Marta; Ciccozzi, Alessandra; Spoto, Silvia; Angeletti, Silvia; Ciccozzi, Massimo (2020). "The 2019 new Coronavirus epidemic: evidence for virus evolution". bioRxiv: 2020.01.24.915157. doi:10.1101/2020.01.24.915157.
- ↑ Callaway, Ewen; Cyranoski, David (23 January 2020). "Why snakes probably aren't spreading the new China virus". Nature. doi:10.1038/d41586-020-00180-8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 January 2020. สืบค้นเมื่อ 27 January 2020.
- ↑ "Pneumonia of unknown cause – China". WHO. 2020-01-05. สืบค้นเมื่อ 2020-01-14.
- ↑ "Wuhan pneumonia: World Health Organisation links China virus outbreak to single seafood market in Wuhan and says it's not spreading". South China Morning Post. 2020-01-13. สืบค้นเมื่อ 2020-01-14.
- ↑ "China pneumonia outbreak: Mystery virus probed in Wuhan". BBC News. 2020-01-03. สืบค้นเมื่อ 2020-01-14.
- ↑ "WHO Statement Regarding Cluster of Pneumonia Cases in Wuhan, China". WHO. 2020-01-09. สืบค้นเมื่อ 2020-01-14.
- ↑ "Informationen des RKI zu Pneumonien durch ein neuartiges Coronavirus in Wuhan, China" (ภาษาเยอรมัน). Robert Koch Institut. 2020-01-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-11. สืบค้นเมื่อ 2020-01-21.
- ↑ Ching-Tse Cheng (2020-01-14). "WHO declines to name new pneumonia after 'China' or 'Wuhan'". Taiwan News. สืบค้นเมื่อ 2020-01-14.
- ↑ "Wuhan seafood market pneumonia virus". NCBI Taxonomy Browser. สืบค้นเมื่อ 2020-01-22.
- ↑ 31.0 31.1 Taylor-Coleman, Jasmine (5 February 2020). "How the new coronavirus will finally get a proper name". BBC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 February 2020. สืบค้นเมื่อ 6 February 2020.
- ↑ 32.0 32.1 Stobbe, Mike (2020-02-08). "Wuhan coronavirus? 2019 nCoV? Naming a new disease". Fortune. สืบค้นเมื่อ 2020-02-08.
- ↑ World Health Organization Best Practices for the Naming of New Human Infectious Diseases. World Health Organization. May 2015.
- ↑ "WHO Director-General's remarks at the media briefing on 2019-nCoV on 11 February 2020". www.who.int. สืบค้นเมื่อ 2020-02-11.
- ↑ "Coronavirus disease named Covid-19". BBC. 11 February 2020. สืบค้นเมื่อ 11 February 2020.
- ↑ Zhu, Na; Zhang, Dingyu; Wang, Wenling; และคณะ (24 January 2020). "A Novel Coronavirus from Patients with Pneumonia in China, 2019". New England Journal of Medicine. 0. doi:10.1056/NEJMoa2001017. ISSN 0028-4793.
- ↑ "Novel coronavirus complete genome from the Wuhan outbreak now available in GenBank". NCBI Insights. 2020-01-13. สืบค้นเมื่อ 2020-01-14.
- ↑ "Phylogeny of SARS-like betacoronaviruses". nextstrain. สืบค้นเมื่อ 18 January 2020.
- ↑ Trevor Bedford and Richard Neher. "Genomic epidemiology of novel coronavirus (nCoV) using data generated by Fudan University, China CDC, Chinese Academy of Medical Sciences, Chinese Academy of Sciences, Zhejiang Provincial Center for Disease Control and Prevention and the Thai National Institute of Health shared via GISAID". nextstrain.org. สืบค้นเมื่อ 22 January 2020.
- ↑ "Initial genome release of novel coronavirus". Virological. 2020-01-11. สืบค้นเมื่อ 2020-01-12.
- ↑ Bedford, Trevor; Neher, Richard. "Genomic epidemiology of novel coronavirus (nCoV) using data generated by Fudan University, China CDC, Chinese Academy of Medical Sciences, Chinese Academy of Sciences, Zhejiang Provincial Center for Disease Control and Prevention and the Thai National Institute of Health shared via GISAID". nextstrain.org. สืบค้นเมื่อ 26 January 2020.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อKoyama2020June
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อAlm2020Aug
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อCDC2020_emerge
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อCDC2020_UKvariant
- ↑ "Evolution of the novel coronavirus from the ongoing Wuhan outbreak and modeling of its spike protein for risk of human transmission". SCIENCE CHINA Life Sciences. doi:10.1007/s11427-020-1637-5. สืบค้นเมื่อ 23 January 2020.
- ↑ Letko, Michael; Munster, Vincent (22 January 2020). "Functional assessment of cell entry and receptor usage for lineage B β-coronaviruses, including 2019-nCoV". BiorXiv. doi:10.1101/2020.01.22.915660. สืบค้นเมื่อ 24 January 2020.
- ↑ Zhou, Peng; Shi, Zheng-Li (2020). "Discovery of a novel coronavirus associated with the recent pneumonia outbreak in humans and its potential bat origin". BiorXiv. doi:10.1101/2020.01.22.914952. สืบค้นเมื่อ 24 January 2020.
- ↑ Gralinski, Lisa E.; Menachery, Vineet D. (2020). "Return of the Coronavirus: 2019-nCoV". Viruses. 12 (2): 135. doi:10.3390/v12020135.
- ↑ Gruber, Christian; Steinkellner, Georg (23 January 2020). "Wuhan coronavirus 2019-nCoV - what we can find out on a structural bioinformatics level". Innophore Enzyme Discovery. Innophore GmbH. doi:10.6084/m9.figshare.11752749.
- ↑ "上海药物所和上海科技大学联合发现一批可能对新型肺炎有治疗作用的老药和中药". Chinese Academy of Sciences. 25 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 January 2020. สืบค้นเมื่อ 25 January 2020.
- ↑ "Chengxin Zhang, Eric W. Bell, Xiaoqiang Huang, Yang Zhang (2020): 2019-nCoV". zhanglab.ccmb.med.umich.edu.
- ↑ "China confirms human-to-human transmission of new coronavirus". CBC News. 20 January 2020. สืบค้นเมื่อ 21 January 2020.
- ↑ "【武漢肺炎】衛健委︰新型冠狀病毒傳播力增強 潛伏期最短僅1天". 明報新聞網.
- ↑ "专家:病毒潜伏期有传染性 有人传染同事后才发病".
- ↑ Rothe, Camilla; Schunk, Mirjam; Sothmann, Peter; และคณะ (2020). "Transmission of 2019-nCoV Infection from an Asymptomatic Contact in Germany". The New England Journal of Medicine. doi:10.1056/NEJMc2001468.
- ↑ "'There's no doubt': Top US infectious disease doctor says Wuhan coronavirus can spread even when people have no symptoms". CNN. สืบค้นเมื่อ 2 February 2020.
- ↑ Novel Coronavirus (2019-nCoV) Situation Report - 12 1 February 2020 (PDF) (Report). World Health Organization (WHO). 1 February 2020. สืบค้นเมื่อ 2 February 2020.
- ↑ "How does coronavirus spread?". NBC News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 January 2020. สืบค้นเมื่อ 29 January 2020.
- ↑ "Transmission of Novel Coronavirus (2019-nCoV) | CDC". www.cdc.gov. 27 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 January 2020. สืบค้นเมื่อ 29 January 2020.
- ↑ Holshue, Michelle L.; DeBolt, Chas; Lindquist, Scott; และคณะ (2020-01-31). "First Case of 2019 Novel Coronavirus in the United States". New England Journal of Medicine. doi:10.1056/NEJMoa2001191. ISSN 0028-4793.
- ↑ Zhao, Shi; Ran, Jinjun; Musa, Salihu Sabiu; Yang, Guangpu; Lou, Yijun; Gao, Daozhou; Yang, Lin; He, Daihai (2020-01-24). "Preliminary estimation of the basic reproduction number of novel coronavirus (2019-nCoV) in China, from 2019 to 2020: A data-driven analysis in the early phase of the outbreak". bioRxiv: 2020.01.23.916395. doi:10.1101/2020.01.23.916395.
- ↑ "The Deceptively Simple Number Sparking Coronavirus Fears". The Atlantic. 28 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 January 2020. สืบค้นเมื่อ 29 January 2020.
- ↑ Li, Qun; Guan, Xuhua; Wu, Peng; Wang, Xiaoye (29 January 2020). "Early Transmission Dynamics in Wuhan, China, of Novel Coronavirus–Infected Pneumonia". New England Journal of Medicine. doi:10.1056/NEJMoa2001316. PMID 31995857.
- ↑ Riou, Julien; Althaus, Christian L. (2020). "Pattern of early human-to-human transmission of Wuhan 2019 novel coronavirus (2019-nCoV), December 2019 to January 2020". Eurosurveillance. 25 (4). doi:10.2807/1560-7917.ES.2020.25.4.2000058.
- ↑ Liu, Tao; Hu, Jianxiong; Kang, Min; Lin, Lifeng (25 January 2020). "Transmission dynamics of 2019 novel coronavirus (2019-nCoV)". bioRxiv: 2020.01.25.919787. doi:10.1101/2020.01.25.919787.
- ↑ Read, Jonathan M.; Bridgen, Jessica RE; Cummings, Derek AT; Ho, Antonia; Jewell, Chris P. (28 January 2020). "Novel coronavirus 2019-nCoV: early estimation of epidemiological parameters and epidemic predictions". MedRxiv: 2020.01.23.20018549. doi:10.1101/2020.01.23.20018549.
- ↑ Saey, Tina Hesman (24 January 2020). "How the new coronavirus stacks up against SARS and MERS". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 January 2020. สืบค้นเมื่อ 25 January 2020.
- ↑ Coronavirus-Ausbruch im News-Ticker. Focus, 27. January 2020. (in German)
- ↑ Myers, Steven Lee (January 25, 2020). "China's Omnivorous Markets Are in the Eye of a Lethal Outbreak Once Again". The New York Times.
- ↑ McNeil, Sam; Wang, Penny Yi; Kurtenbach, Elaine (27 January 2020), China temporarily bans wildlife trade in wake of outbreak, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 January 2020, สืบค้นเมื่อ 28 January 2020
- ↑ 73.0 73.1 73.2 Cohen, Jon (January 2020). "Wuhan seafood market may not be source of novel virus spreading globally". Science. doi:10.1126/science.abb0611. ISSN 0036-8075.
- ↑ Eschner, Kat (2020-01-28). "We're still not sure where the Wuhan coronavirus really came from". Popular Science. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-30. สืบค้นเมื่อ 2020-01-30.
- ↑ Sample CoVZC45 and CoVZXC21, see there for an interactive visualisation
- ↑ "The 2019 new Coronavirus epidemic: evidence for virus evolution".
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ Wuhan Institue of Virology (23 January 2020). "Discovery of a novel coronavirus associated with the recent pneumonia outbreak in humans and its potential bat origin". bioRxiv. สืบค้นเมื่อ 24 January 2020.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ "Bat coronavirus isolate RaTG13, complete genome". NCBI. 29 Jan 2020.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ "auspice". nextstrain.org.
- ↑ 80.0 80.1 80.2 "Experts explain the latest bulletin of unknown cause of viral pneumonia". Wuhan Municipal Health Commission. 11 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2020. สืบค้นเมื่อ 11 January 2020.
- ↑ "Q&A on coronaviruses". www.who.int (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-01-27.
- ↑ "WHO Director-General's statement on the advice of the IHR Emergency Committee on Novel Coronavirus". www.who.int.
- ↑ "2019-nCoV: Verdachtsabklärung und Maßnahmen - Orientierungshilfe für Ärztinnen und Ärzte" (PDF) (ภาษาเยอรมัน). Robert-Koch-Institut. 23 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-01-26. สืบค้นเมื่อ 26 January 2020.
- ↑ Novel Coronavirus (2019-nCoV): Situation Report - 10 (30 January 2020) (PDF) (Report). World Health Organization (WHO). 30 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 31 January 2020. สืบค้นเมื่อ 30 January 2020.
- ↑ "Clinical management of severe acute respiratory infection when novel coronavirus (nCoV) infection is suspected". World Health Organization (WHO). สืบค้นเมื่อ 3 February 2020.
- ↑ "Q&A on coronaviruses". World Health Organization (WHO). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 January 2020. สืบค้นเมื่อ 27 January 2020.
- ↑ Lu H. Drug treatment options for the 2019-new coronavirus (2019-nCoV). Biosci Trends. 28 Jan 2020. doi:10.5582/bst.2020.01020
- ↑ "China CDC developing novel coronavirus vaccine". Xinhua. 26 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 January 2020. สืบค้นเมื่อ 28 January 2020.
- ↑ "China Testing HIV Drug as Treatment for New Coronavirus, AbbVie Says". The New York Times. 26 January 2020.
- ↑ "Anti-novel coronavirus drug under clinical trial: official". Xinhuanet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-03. สืบค้นเมื่อ 3 February 2020.
- ↑ Xu, Zhijian; Peng, Cheng; Shi, Yulong; และคณะ (28 January 2020). "Nelfinavir was predicted to be a potential inhibitor of 2019 nCov main protease by an integrative approach combining homology modelling, molecular docking and binding free energy calculation". bioRxiv: 2020.01.27.921627. doi:10.1101/2020.01.27.921627 – โดยทาง www.biorxiv.org.
- ↑ 93.0 93.1 Paules, Catharine I.; Marston, Hilary D.; Fauci, Anthony S. (23 January 2020). "Coronavirus Infections—More Than Just the Common Cold". JAMA. doi:10.1001/jama.2020.0757. PMID 31971553.
- ↑ "Coronavirus: Vir Biotechnology and Novavax announce vaccine plans-GB". สืบค้นเมื่อ 26 January 2020.
- ↑ Elfiky, Abdo (28 January 2020). "Sofosbuvir Can Inhibit the Newly Emerged Coronavirus (2019-nCoV) in Wuhan, China". (Preprints with the Lancet, Powered by SSRN). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 February 2020.
- ↑ "Coronavirus: Thailand has apparent treatment success with antiviral drug cocktail". South China Morning Post. 2 February 2020. สืบค้นเมื่อ 3 February 2020.
- ↑ "Thai doctors have been using a cocktail of flu and HIV drugs to treat coronavirus cases". Business Insider. 2 February 2020. สืบค้นเมื่อ 3 February 2020.
- ↑ Liu, Qiang; Zhou, Yuan-hong; Yang, Zhan-qiu (January 2016). "The cytokine storm of severe influenza and development of immunomodulatory therapy". Cellular & Molecular Immunology. 13 (1): 3–10. doi:10.1038/cmi.2015.74. ISSN 2042-0226. PMC 4711683. PMID 26189369.
{{cite journal}}
: CS1 maint: PMC format (ลิงก์) - ↑ 99.0 99.1 "COVID-19 vaccine development pipeline (Refresh URL to update)". Vaccine Centre, London School of Hygiene and Tropical Medicine. 2021-01-18.
- ↑ Beaumont, Peter (2020-11-18). "Covid-19 vaccine: who are countries prioritising for first doses?". The Guardian. ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2020-12-26.
- ↑ "Coronavirus (COVID-19) Vaccinations". Our World in Data.
- ↑ 102.0 102.1 102.2 Mullard, Asher (2020-11-30). "How COVID vaccines are being divvied up around the world Canada leads the pack in terms of doses secured per capita". Nature. doi:10.1038/d41586-020-03370-6. PMID 33257891. S2CID 227246811. สืบค้นเมื่อ 2020-12-11.
- ↑ 103.0 103.1 103.2 So, Anthony D; Woo, Joshua (2020-12-15). "Reserving coronavirus disease 2019 vaccines for global access: cross sectional analysis". BMJ: m4750. doi:10.1136/bmj.m4750. ISSN 1756-1833.
- ↑ "WHO | Novel Coronavirus – China". WHO. สืบค้นเมื่อ 2020-02-01.
- ↑ 105.0 105.1 "Operations Dashboard for ArcGIS". gisanddata.maps.arcgis.com. 2020-02-02. สืบค้นเมื่อ 2020-02-02.
- ↑ Chan, Jasper Fuk-Woo; Yuan, Shuofeng; Kok, Kin-Hang; และคณะ (24 January 2020). "A familial cluster of pneumonia associated with the 2019 novel coronavirus indicating person-to-person transmission: a study of a family cluster". The Lancet. 0. doi:10.1016/S0140-6736(20)30154-9. PMID 31986261 – โดยทาง www.thelancet.com.
- ↑ "China confirms human-to-human transmission of new coronavirus". CBC. 20 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 January 2020. สืบค้นเมื่อ 21 January 2020.
- ↑ Rothe, Camilla (2020). "Transmission of 2019-nCoV Infection from an Asymptomatic Contact in Germany". NEJM: Correspondence to the Editor Page. doi:10.1056/NEJMc2001468.
- ↑ "Human transmission of coronavirus confirmed in Thailand". Bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ 2020-02-01.
- ↑ "The Coronavirus Is Now Infecting More People Outside China". Wired. 30 January 2020. สืบค้นเมื่อ 30 January 2020.
- ↑ "Coronavirus declared global health emergency". BBC News Online. 30 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 January 2020. สืบค้นเมื่อ 30 January 2020.
- ↑ Wee, Sui-Lee; McNeil Jr., Donald G.; Hernández, Javier C. (30 January 2020). "W.H.O. Declares Global Emergency as Wuhan Coronavirus Spreads". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 30 January 2020.
- ↑ "Statement on the second meeting of the International Health Regulations (2005) Emergency Committee regarding the outbreak of novel coronavirus (2019-nCoV)". World Health Organization (WHO). 30 January 2020. สืบค้นเมื่อ 30 January 2020.
- ↑ "Novel Coronavirus (2019-nCoV) situation reports no.8". www.who.int. สืบค้นเมื่อ 2020-02-01.
- ↑ Novel Coronavirus (2019-nCoV) Situation Report - 5 25 January 2020 (PDF) (Report). World Health Organization (WHO). 25 January 2020. สืบค้นเมื่อ 26 January 2020.
- ↑ "Germany confirms seventh coronavirus case". Reuters. February 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-02-02.
- ↑ "Limited data on coronavirus may be skewing assumptions about severity". STAT. 2020-01-30. สืบค้นเมื่อ 2020-02-01.
- ↑ Sparrow, Annie. "How China's Coronavirus Is Spreading—and How to Stop It". Foreign Policy. สืบค้นเมื่อ 2020-02-02.
- ↑ "Wuhan Coronavirus Death Rate - Worldometer". www.worldometers.info. สืบค้นเมื่อ 2020-02-02.
- ↑ Wang, Chen; Horby, Peter W; Hayden, Frederick G; Gao, George F (2020-01-24). "A novel coronavirus outbreak of global health concern". The Lancet. doi:10.1016/S0140-6736(20)30185-9. PMID 31986257.
- ↑ "WHOが"致死率3%程度" 専門家「今後 注意が必要」". NHK. 24 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-26. สืบค้นเมื่อ 3 February 2020.
- ↑ "全国新型肺炎疫情实时动态 - 丁香园·丁香医生". 3g.dxy.cn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-30. สืบค้นเมื่อ 2020-01-31.
- ↑ Amy Qin; Javier C. Hernández (2020-01-10). "China Reports First Death From New Virus". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2020-01-14.
- ↑ "Wuhan pneumonia outbreak: First case reported outside China". BBC News. 2020-01-14. สืบค้นเมื่อ 2020-01-14.
- ↑ "Neue Lungenkrankheit auch in Thailand" (ภาษาเยอรมัน). Deutsche Welle. 2020-01-13. สืบค้นเมื่อ 2020-01-14.
- ↑ "Behörden ich China melden zweiten Toten durch Lungenkrankheit" (ภาษาเยอรมัน). Tagesschau. 2020-01-17. สืบค้นเมื่อ 2020-01-17.
- ↑ Natsuko Imai; Ilaria Dorigatti; และคณะ (2020-01-17). "Estimating the potential total number of novel Coronavirus cases in Wuhan City, China". MRC Centre for Global Infectious Disease Analysis. สืบค้นเมื่อ 2020-01-18.
- ↑ "Coronavirus: what airport measures are in place to detect sick passengers?". The Guardian. 2020-01-18. สืบค้นเมื่อ 2020-01-18.
- ↑ "New China virus: Cases triple as infection spreads to Beijing and Shanghai". BBC News. 2020-01-20. สืบค้นเมื่อ 2020-01-20.
- ↑ "Informationen des RKI zu Pneumonien durch ein neuartiges Coronavirus (2019-nCoV) in Wuhan, China" (ภาษาเยอรมัน). Robert Koch Institut. 2020-01-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-11. สืบค้นเมื่อ 2020-01-21.
- ↑ "New China virus: US announces first case". BBC News. 2020-01-21. สืบค้นเมื่อ 2020-01-21.
- ↑ "Corona-Virus – China stoppt Verkehr von und nach Wuhan" (ภาษาเยอรมัน). deutschlandfunk.de. 2020-01-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-24. สืบค้นเมื่อ 2020-01-23.
- ↑ "Report 2: Estimating the potential total number of novel Coronavirus cases in Wuhan City, China". Imperial College London. 2020-01-22. สืบค้นเมื่อ 2020-01-23.
- ↑ "Peking sagt wegen Coronavirus große Neujahrsfeiern ab" (ภาษาเยอรมัน). Frankfurter Allgemeine Zeitung. 2020-01-23. สืบค้นเมื่อ 2020-01-24.
- ↑ "Coronavirus : Peking sagt Neujahrsfeiern ab" (ภาษาเยอรมัน). 23 January 2020. สืบค้นเมื่อ 23 January 2020.
- ↑ Lau, Hien; Khosrawipour, Veria; Kocbach, Piotr; และคณะ (March 2020). "Internationally lost COVID-19 cases". Journal of Microbiology, Immunology, and Infection [Wei Mian Yu Gan Ran Zia Zhi]. 53 (3): 454–458. doi:10.1016/j.jmii.2020.03.013. PMC 7102572. PMID 32205091.
- ↑ • “Situation reports”. WHO. • “Coronavirus COVID-19 Global Cases by Johns Hopkins CSSE”. Johns Hopkins University. • “Coronavirus Update (Live)”. worldometer.info.
- ↑ "Cases in U.S." CDC. 7 May 2020.
- ↑ 139.0 139.1 "COVID-19/Coronavirus Real Time Updates With Credible Sources in US and Canada | 1Point3Acres". coronavirus.1point3acres.com.
- ↑ 140.0 140.1 140.2 140.3 "Coronavirus COVID-19 Global Cases by the Center for Systems Science and Engineering (CSSE) at Johns Hopkins University (JHU)". ArcGIS. Johns Hopkins CSSE. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ 截至9月21日24时新型冠状病毒肺炎疫情最新情况 (ภาษาChinese (China)). National Health Commission. 22 September 2020. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ "Home – Ministry of Health and Family Welfare – GOI". mohfw.gov.in (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
- ↑ "info coronavirus covid-19". Gouvernement.fr (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "COVID-19 : bilan et chiffres clés en France". www.santepubliquefrance.fr (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "Corona-Karte Deutschland: COVID-19 live in allen Landkreisen und Bundesländern". Tagesspiegel (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "Wie sich das Coronavirus in Ihrer Region ausbreitet" [How the coronavirus affects your region] (ภาษาเยอรมัน). Zeit Online. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "Painel Coronavírus" (ภาษาโปรตุเกส). Ministry of Health (Brazil). สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "Brasil passa de 137 mil mortes por Covid-19; média móvel é de 748 na última semana". G1 (ภาษาโปรตุเกสแบบบราซิล). 21 September 2020. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ 新型コロナウイルス感染症の現在の状況と厚生労働省の対応について(令和2年9月22日版). Ministry of Health, Labour and Welfare (Japan) (ภาษาญี่ปุ่น). 22 September 2020. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ "Coronavirus Disease-19, Republic of Korea". ncov.mohw.go.kr (ภาษาอังกฤษ). Ministry of health and welfare. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
- ↑ 보도자료 [Press releases] (ภาษาเกาหลี). 질병관리본부 (KCDC).
- ↑ "Italy blasts virus panic as it eyes new testing criteria". AP NEWS. February 27, 2020.
- ↑ Perrone, Alessio (March 14, 2020). "How Italy became the ground zero of Europe's coronavirus crisis" – โดยทาง www.wired.co.uk.
- ↑ "COVID-19 ITALIA" [COVID-19 ITALY]. opendatadpc.maps.arcgis.com (ภาษาอิตาลี). Protezione Civile. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "Ministero della Salute – Nuovo coronavirus". www.salute.gov.it (ภาษาอิตาลี). สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
- ↑ "Historic data". Public Health England. สืบค้นเมื่อ 4 April 2020.
- ↑ "Coronavirus (COVID-19) in the UK". coronavirus.data.gov.uk. Public Health England. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ "First death from coronavirus registered in Moscow". TASS. 19 March 2020. สืบค้นเมื่อ 19 March 2020.
- ↑ "О подтвержденных случаях новой коронавирусной инфекции COVID-2019 в России". Rospotrebnadzor. 19 March 2020. สืบค้นเมื่อ 19 March 2020.
- ↑ "Оперштаб заявил об отсутствии в России летальных исходов от коронавируса". RBC (ภาษารัสเซีย). 19 March 2020. สืบค้นเมื่อ 19 March 2020.
- ↑ Оперативные данные. По состоянию на 22 сентября 10:30. Стопкоронавирус.рф (ภาษารัสเซีย). 22 September 2020. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ "T.C Sağlık Bakanlığı Türkiye Genel Koronavirüs Tablosu". covid19.saglik.gov.tr. 22 September 2020.
- ↑ "La pandemia del coronavirus, en datos, mapas y gráficos". RTVE (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ "TRANG TIN VỀ DỊCH BỆNH VIÊM ĐƯỜNG HÔ HẤP CẤP COVID-19" (ภาษาเวียดนาม). BỘ Y TẾ (Ministry of Health). สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
- ↑ McGowan, Mark (2020-05-06). "WA COVID-19 update for Wednesday 6 May 2020". @MarkMcGowanMP (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-05-06.
- ↑ "Coronavirus (COVID-19) current situation and case numbers". Australian Government Department of Health. 15 August 2020. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
- ↑ "Información epidemiológica" (ภาษาสเปน). Ministerio de Salud. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "REPORTE DIARIO MATUTINO NRO 371 SITUACIÓN DE COVID-19 EN ARGENTINA" (PDF) (ภาษาสเปน). Ministerio de Salud. 16 September 2020. สืบค้นเมื่อ 16 September 2020.
- ↑ "首頁-衛生福利部疾病管制署" (ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน). Taiwan Centres for Disease Control. สืบค้นเมื่อ 13 August 2020.
- ↑ "Coronavirus in the Netherlands: the questions you want answered". Dutch News. 2020-03-12.
- ↑ "Actuele informatie over het nieuwe coronavirus (COVID-19)" (ภาษาดัตช์). RIVM. 21 September 2020. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "Statistieken over het Coronavirus en COVID-19". allecijfers.nl. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "اخبار کرونا ویروس" [Corona virus news]. Ministry of Health and Medical Education.
- ↑ "COVID-19 kills 178 more Iranians over past 24 hours". IRNA (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ "Covid-19 Mexico" (ภาษาสเปน). Instituciones del Gobierno de México. 18 September 2020. สืบค้นเมื่อ 19 September 2020.
- ↑ "Peta Sebaran" (ภาษาอินโดนีเซีย). COVID-19 Response Acceleration Task Force. สืบค้นเมื่อ 13 August 2020.
- ↑ Ministerstwo Zdrowia [@MZ_GOV_PL] (22 September 2020). "W ciągu doby wykonano ponad 22,5 tys. testów na #koronawirus" (ทวีต) (ภาษาโปแลนด์) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ "CORONAVIRUS (COVID-19)". covid19.minsalud.gov.co. 21 September 2020. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "Bundesministerium für Inneres: Aktuelle Zahlen zum Corona-Virus" (ภาษาเยอรมัน). Innenministerium. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
- ↑ "covid19 Ελλάδα". Υπουργείο Υγείας (ภาษากรีก). 11 August 2020.
- ↑ "Ponto de Situação Atual em Portugal" (ภาษาโปรตุเกส). Direção-Geral da Saúde. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ "Já se encontra disponível o relatório de situação de hoje, 22 de setembro" (ภาษาโปรตุเกส). Direção-Geral da Saúde. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ "Оперативна інформація про поширення коронавірусної інфекції 2019-nCoV" [Operational information on the spread of coronavirus infection 2019-nCoV] (ภาษายูเครน). Ministry of Healthcare (Ukraine). สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ "МОЗ повідомляє". Ministry of Healthcare (Ukraine). 19 September 2020. สืบค้นเมื่อ 19 September 2020 – โดยทาง Facebook.
- ↑ "Casos confirmados COVID-19". Gobierno de Chile (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "Covid-19 (Latest Updates)". Ministry of Health of Malaysia. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
- ↑ "נגיף הקורונה בישראל - תמונת מצב כללית" [Corona virus in Israel]. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "Coronavirus COVID-19". info-coronavirus.be (ภาษาดัตช์). สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "COVID-19 - Epidemiologische situatie". Sciensano (ภาษาดัตช์). สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)". ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
- ↑ "COVID-19 Outbreak". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
- ↑ "Tracking every case of COVID-19 in Canada". CTV News. 21 September 2020. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "Maladie à coronavirus (COVID-19) : Mise à jour sur l'éclosion" (ภาษาฝรั่งเศส - แคนาดา). Gouvernement du Canada. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "COVID-19 | Onemocnění aktuálně od MZČR" (ภาษาเช็ก). en:Ministry of Health (Czech Republic). สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ Ministry of Health (Peru) (21 September 2020). "Sala Situactional COVID-19 Perú" (ภาษาสเปน).
- ↑ "Minsa: Casos confirmados por coronavirus Covid-19 ascienden a 772 896 en el Perú (Comunicado N°247)". gob.pe (ภาษาสเปน - ละตินอเมริกา). 21 September 2020. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ "Current situation in Switzerland". Federal Office of Public Health. สืบค้นเมื่อ 23 September 2020.
- ↑ "Cas d'infection au Sars-CoV-2 en Suisse". Tribune de Genève (ภาษาฝรั่งเศส - สวิส). สืบค้นเมื่อ 23 September 2020.
- ↑ 전국적인 전염병전파 및 치료상황 통보 [Nationwide spread of infectious diseases and notification of treatment status]. kcna.kp. 9 June 2022.
- ↑ "COVID-19 CASE BULLETIN". Department of Health (Philippines). สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ "COVID-19 Tracker". Department of Health (Philippines). สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ "COVID-19 Statistics in South Africa". sacoronavirus.co.za (ภาษาอังกฤษ). 21 September 2020. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ Dr Zweli Mkhize [@DrZweliMkhize] (16 September 2020). "As of today, the total number of confirmed #COVID19 cases is 653 444, the total number of deaths is 15 705 and the total number of recoveries is 584 195" (ทวีต) (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 16 September 2020 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ name. "Epidemiologiske overvågningsrapporter om COVID-19". www.ssi.dk (ภาษาเดนมาร์ก). สืบค้นเมื่อ 2020-03-21.
- ↑ "Tal og overvågning af COVID-19" (ภาษาเดนมาร์ก). Sundhedsstyrelsen (Danish Health Authority). 14 August 2020. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
- ↑ 206.0 206.1 206.2 "Overvågning af COVID-19" (ภาษาเดนมาร์ก). Statens Serum Institut (State Serum Institute). 14 August 2020. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
- ↑ "Comunicate de presă". Ministry of Internal Affairs (ภาษาโรมาเนีย). สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ "Comunicate de presă". Ministry of Health (ภาษาโรมาเนีย). สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ "Coronavirus Disease (COVID-19) in HK". Hong Kong: Department of Health. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
- ↑ "Antal fall av covid-19 i Sverige - data uppdateras 11:30 och siffrorna är tillgängliga 14:00". Public Health Agency of Sweden – Official statistics at arcgis (ภาษาสวีเดน). สืบค้นเมื่อ 18 September 2020.
Data updated daily at 11:30 [CEST]
- ↑ "COVID-19". covid19.rs. Ministry of Health (Serbia). สืบค้นเมื่อ 14 August 2020.
- ↑ "The daily epidemiological situation of registered infections of the emerging coronavirus in Iraq" (ภาษาอังกฤษ). Ministry of Health of Iraq. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020 – โดยทาง Facebook.
- ↑ "Updates on COVID-19 (Coronavirus Disease 2019) Local Situation". Ministry of Health (Singapore). สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "COVID-19 (Coronavirus Disease 2019)". Ministry of Health (Singapore). 21 September 2020.
- ↑ "COVID-19 – current cases". Ministry of Health (New Zealand). สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
- ↑ "Tájékoztató oldal a koronavírusról Aktualis". koronavirus.gov.hu. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
- ↑ "করোনা ভাইরাস ইনফো ২০১৯". corona.gov.bd. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ "কোভিড-১৯ ট্র্যাকার | বাংলাদেশ কম্পিউটার কাউন্সিল (বিসিসি)" [COVID-19 Tracker]. covid19tracker.gov.bd. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ "Coronavirus in Slovakia". korona.gov.sk (ภาษาอังกฤษ). National Health Information Center. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
- ↑ კორონავირუსის საქართველოში გავრცელების პრევენცია [Prevention of Coronavirus spread in Georgia] (ภาษาจอร์เจีย). Government of Georgia. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
- ↑ "فيروس كورونا المستجد (كوفيد-١٩)". corona.moh.gov.jo. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
- ↑ "Latest updates on COVID-19 (Coronavirus)". Department of Health (Ireland). 15 August 2020.
- ↑ "200 more cases of Covid-19 'deeply concerning', says Glynn". RTÉ News and Current Affairs. 15 August 2020.
- ↑ "COVID-19 Health Advisory Platform by Ministry of National Health Services Regulations and Coordination". covid.gov.pk. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ Ситуация с коронавирусом официально. coronavirus2020.kz (ภาษารัสเซีย). Kazinform. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ "Қазақстан Республикасы Денсаулық сақтау министрлігі" (ภาษาคาซัค). Kazakhstan Ministry of Healthcare. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ "Total COVID-19 tests performed per million people". Our World in Data.
- ↑ Nilsen AS, Skjetne OL, Sfrintzeris Y, Røset HH, Hunshamar C, Fraser S, Løkkevik O. "Live: Corona-viruset sprer seg i Norge og verden". VG Nett. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
- ↑ "Åland Islands confirms first coronavirus cases, recommends quarantine for visitors from Finland". Yle. 22 March 2020. สืบค้นเมื่อ 22 March 2020.
- ↑ Särkkä H (2020-04-01). "HUS:n ylilääkäri: Suomessa satoja koronasta parantuneita – vanhimmat yli 80-vuotiaita". Ilta-Sanomat (ภาษาฟินแลนด์). สืบค้นเมื่อ 2020-04-17.
- ↑ "Varmistetut koronatapaukset Suomessa (COVID-19)". experience.arcgis.com (ภาษาฟินแลนด์). สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
- ↑ "Statistični pregled koronavirusa v Sloveniji". www.rtvslo.si. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
- ↑ "Coronavirus disease COVID-19". Ministry of Health. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
- ↑ "Relevant information about Coronavirus (COVID-19)". Government of the Republic of Lithuania. 15 August 2020. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
- ↑ "14069 са общо доказаните у нас случаи на COVID-19 според Националната информационна система" (ภาษาบัลแกเรีย). Ministry of Health (Bulgaria). สืบค้นเมื่อ 14 August 2020.
- ↑ "COVID-19 in Bulgaria". สืบค้นเมื่อ 13 August 2020.
- ↑ "Covid-19: 3,426 Recoveries in 24 Hours, A Record [ⴰⴼⵉⵔⵓⵙ "ⴽⵓⵕⵓⵏⴰ" : ⵜⵜⵓⵣⵎⵎⴻⵎⵏ 1.376 ⵓⵎⴷⵢⴰ ⴰⵎⴰⵢⵏⵓ ⴳ 24 ⵜⵙⵔⴰⴳⵜ ⵉⵣⵔⵉⵏ, ⴷ 3.426 ⵓⵎⴷⵢⴰ ⵏ ⵜⵊⵊⵉⵜ]". Maghreb Arabe Press. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "Službena stranica Vlade". Croatian Institute of Public Health. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
- ↑ "Coronavirus" (ภาษาสเปน). Ministerio de Salud Pública (Guatemala). สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "الجمهورية اللبنانية – وزارة اﻹعلام – الموقع الرسمي لمتابعة أخبار فيروس الكورونا في لبنان" (ภาษาอาหรับ). Lebanese Ministry of Information. สืบค้นเมื่อ 12 August 2020.
- ↑ "Situacion Nacional Covid-19" (ภาษาสเปน). Ministerio de Salud (Costa Rica). สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "Datos Oficiales". Bolivia Segura (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ "Ministère de la santé وزارة الصحة" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 11 August 2020 – โดยทาง Facebook.
- ↑ "RESULTADO DE PRUEBAS PARA COVID-19 EN PUERTO RICO" (ภาษาสเปน). Departamento de Salud de Puerto Rico. สืบค้นเมื่อ 13 August 2020.
- ↑ "Puerto Rico COVID-19" (ภาษาสเปน). Departamento de Salud. สืบค้นเมื่อ 15 August 2020.
- ↑ "Infecciones por coronavirus – COVID-19". temas.sld.cu (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
- ↑ "UAE CORONAVIRUS (COVID-19) UPDATES". UAE's national emergency crisis and disaster management authority. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.