พูดคุย:รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
รถไฟฟ้า รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิรถไฟฟ้าและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับระบบรถไฟฟ้าและสถานีรถไฟฟ้าในเมืองสำคัญต่าง ๆ ทั่วโลก ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

จุดลดระดับของเส้นทางบางใหญ่-บางซื่อ[แก้]

(ถึงท่านผู้ใช้ที่เป็นไอพี เกรงว่าจะยังไม่ได้รับข้อความ จึงขอเอามาลงใหม่ในหน้านี้แทน)

ขอบคุณมากครับที่ช่วยเพิ่มเติมและแก้ไขหน้า รถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง เพราะข่าวโครงการรถไฟฟ้าหลายสายมีความเคลื่อนไหวอยู่ตลอด และผู้คนที่ตื่นเต้นอยากรู้ข่าวคราวก็มีไม่น้อย แต่หน้าของ wikipedia บางครั้งยังตามไปไม่ค่อยทัน ถ้ามีคนมาช่วยกันมากๆ ย่อมเป็นเรื่องที่ดีครับ

แต่ขอเรียนให้ทราบว่ามีข้อมูลบางส่วนที่ยังไม่ตรงกันคือตำแหน่งที่เส้นทางรถไฟฟ้าจากบางใหญ่จะลดระดับลงดินเข้าสู่บางซื่อ หวังว่าถ้าคุณมีข้อมูลหรือข่าวอะไรเพิ่มเติมขอเชิญนำมาแบ่งปันกันได้ครับ ถ้าสามารถลงเป็น "อ้างอิง" ได้จะดีมากเพราะจะได้ช่วยกันตรวจทานได้

- ในแง่ของข้อมูล เท่าที่ตรวจสอบได้คือเส้นทางช่วงบางใหญ่-บางซื่อจะเป็นทางยกระดับตลอดสาย และจะคร่อมแยกเตาปูนด้วย เป็นสถานีเตาปูนที่เชื่อมเส้นทางบางใหญ่-บางซื่อ กับโครงการเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ และโครงการสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระ) เมื่อไปตรวจสอบกับ EIA ของสายสีน้ำเงินที่มีอยู่ก็ตรงกัน คือสถานีเตาปูนเป็นสถานียกระดับ ชั้นชานพักผู้โดยสารสูงจากพื้น 7.85 เมตร ชั้นชานชาลาของสายสีน้ำเงินสูง 17.05 เมตร (เนื่องจากสายสีน้ำเงินเองเป็นทางยกระดับบนถนนประชาราษฎร์สาย 2 และถนนจรัญฯ ตลอดสายอยู่แล้ว สถานีเตาปูนของสายสีม่วงจึงเป็นสถานียกระดับด้วย)

ส่วนหน้าเว็บหน้านี้ [1] มีพิมพ์เขียวของสถานีเตาปูนอยู่ เป็นสถานียกระดับซ้อน 2 เส้นทางเป็นรูปกากบาทกลางแยก (สี่แยกรถไฟฟ้าบนสามแยกเตาปูน) แต่ที่ว่าโครงการบางซื่อ-บางใหญ่นั้น มันไม่ได้สร้างถึงบางซื่อครับ เพราะจะมีสายสีน้ำเงินจากบางซื่อที่ไปท่าพระมาตัดกัน

- ในแง่ความเห็นส่วนตัว พอจะทราบมาว่าจุดที่ "เขา" เตรียมการไว้แล้วคือทางระดับดินช่วงหน้าปูนซิเมนต์ไทย (อันนี้ตรงกับข้อมูลของ สนข.) โดยที่อุโมงค์รถใต้ดินปัจจุบันที่สถานีบางซื่อได้สร้างไว้ในระดับตื้นจากผิวดินกว่าสถานีอื่นๆ เพื่อให้เส้นทางที่จะสร้างต่อออกไปสามารถยกระดับได้ง่ายครับ

และจากกายภาพเท่าที่ลองสังเกต คิดว่าเส้นทางยกระดับที่มาจากนนท์ไม่สามารถลงใต้ดินที่เส้นกรุงเทพฯ-นนท์ได้ครับ เว้นแต่จะมีการเวนคืนตามแนวถนนแถวบางซ่อนเพิ่มเติม ซึ่งต้องใช้พื้นที่ค่อนข้างยาวให้เหมาะสมกับความลาดชัน หมายความว่าสายสีน้ำเงินเองก็ไม่สามารถลงดินจากแถวบางโพเข้ามาเตาปูนได้เช่นกัน เว้นแต่จะเวนคืนที่ดินตามแนวถนนประชาราษฎร์สาย 2 เพิ่มอีก ซึ่งหากต้องเวนคืนเช่นนี้จะเป็นการเวนคืนครั้งใหญ่ไม่ต่างจากตอนประท้วงใหญ่ที่เตาปูนเมื่อปี 48 เลย และหลังจากประท้วงคราวนั้นก็ไม่เคยได้ข่าวว่า รฟม. จะยอมให้สถานีเตาปูนอยู่ใต้ดินเลยครับ จึงคาดว่าจุดที่รถไฟฟ้าจะลงดิน "เขา" ไม่น่าเปลี่ยนแปลงจากเดิมอีก

ดังนั้น ผมขอแก้ไขเนื้อหาในประเด็นนี้ล่วงหน้าเลยนะครับ เว้นแต่ถ้าคุณมีข้อมูลดีๆ มายืนยันก็สามารถย้อนการแก้ไขกลับไปได้อีก

ปล. ขอให้คงแม่แบบ "ลิงก์ไปภาษาอื่น" ไว้ด้วยครับ เพราะผมเอาหน้าของ สมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติ ซึ่งไม่มีในภาษาไทยมาลงไว้ เพื่อให้เข้าใจคำว่ามาตรฐาน NFPA มากขึ้น แม่แบบ "อนาคต" ก็ด้วยครับ อย่างที่เรียนไปแล้วว่าเขายังถกเถียงเรื่องราคากันอยู่ ยังไม่ได้ลงพื้นที่ตอกเสาเข็มแม้แต่ต้นเดียว ความไม่แน่นอนยังมีอยู่มากครับโครงการนี้ -- ส่วนเนื้อหาตรงไหนที่เอามาลงแล้วยังไม่มีแหล่งอ้างอิง ก็ขอให้คงแม่แบบ "ต้องการอ้างอิงตรงนี้" ไว้เถิดครับ อันไหนถ้าลงแล้วมันไม่มีข้อมูลอยู่ในนั้นจริงก็อย่าเพิ่งเอาลงเลย ส่วนตัวพอจะเข้าใจว่าแหล่งข้อมูลหาได้ไม่ง่ายนัก ก็เอาไว้เพื่อนๆ ท่านอื่นที่เขามีแหล่งอ้างอิงอยู่จะได้สังเกตเห็นแล้วช่วยเอามาลงให้เองเถิดครับ ขอบคุณอีกครั้งครับ. Nomsen 17:06, 10 พฤษภาคม 2552 (ICT)

ชื่อทางการของรถไฟฟ้าสายสีม่วง[แก้]

ชื่อทางการของรถไฟฟ้าสายสีม่วงนั้นยังไม่มีการเผยแพร่เป็นทางการนะครับการที่นำข้อมูลมาเผยแพร่อย่างนี้จะเป็นการถูกต้องหรือไม่ เพราะข้อมูลยังคงเป็นความลับของทางราชการอยู่นะครับ Wsupadirekkul (พูดคุย) 08:43, 24 มิถุนายน 2559 (ICT)

เข้าใจว่าชื่อที่แก้ไขกันเมื่อหลายวันก่อน เป็นชื่อที่ได้มาจากสปอตโฆษณาที่มีการออกอากาศผ่านช่องทางโทรทัศน์ไปแล้วนะครับ เพราะถ้ามันเป็นเช่นนี้ก็ไม่ถือว่าเป็นความลับทางราชการ เนื่องจากช่องทางดังกล่าวเป็นการเปิดเผยต่อสาธารณชนไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และส่วนตัวเข้าใจว่ามันมีลิงค์ YouTube ที่ถูกโพสต์ในเว็บไซต์ Skyscrapercity ซึ่งตอนแรกเป็น Public Video แต่ถูกเปลี่ยนมาเป็น Private Video ในตอนหลัง อันนี้ไม่รู้ว่าเป็นความผิดพลาดในองค์กรหรือไม่ และมันไม่ใช่หน้าที่ของผู้รับสารอย่างเราที่ต้องรับทราบถึงความผิดพลาดขององค์กรในครั้งนี้ครับ และถ้าเกิดว่ามันมีข้อผิดพลาดในการสื่อสารเรื่องชื่ออย่างเป็นทางการขึ้นมาจริง ผมเชื่อว่า รฟม. หรือ บ.ทางด่วนฯ ต้องมีการเปิดแถลงข่าวพิเศษเหมือนครั้งบีทีเอสที่มีข่าวปฏิเสธการเปลี่ยนชื่อสถานีพร้อมพงษ์เมื่อปีที่แล้วอย่างแน่นอนครับ แต่นี่ทุกอย่างกลับเงียบ เลยยิ่งทำให้มั่นใจเข้าไปได้อีกว่าชื่อดังกล่าวน่าจะเป็นชื่อที่ถูกพระราชทานจริง เพียงแต่เรายังไม่มีข้อมูลว่าพระองค์ใดเป็นผู้พระราชทาน และความหมายของนามมีความหมายว่าอย่างไรครับ--Magnamonkun (พูดคุย) 13:19, 26 มิถุนายน 2559 (ICT)

แต่สปอตตัวนั้นก็ไม่มีออกอีกเลยส่วนสปอตล่าสุดเป็นสปอตที่ไม่มีชื่อใช่ไหมครับผมเข้าใจดีว่าความผิดพลาดขององค์กรนั้นมันไม่ใช่หน้าที่ที่เราจะรับผิดชอบแต่การท่่เขาเปลี่ยนเนื้อหาในสปอตโฆษณาก็เป็นการท่่เขาแก้ไขไม่ใช่หรือและก็มีการแก้ไขพยายามไม่ให้มีการเผยแพร่ชื่อซึ่งทาง บริษัททราบตัวผู้เผยแพร่แล้วแต่ทางผู้เผยแพร่ไม่มีการแก้ไขนี่ครับ และการที่เขาแก้ไขอต่พวกคุณมาขุดและเผยแพร่ทำให้คนที่รับผิดชอบได้รับความเดือดร้อนกับหน้าที่การงานเนี่ยผมก็ไม่เข้าใจว่าทำแล้วมันจะได้อะไรที่ดีขึ้นนอกจากการที่คุณเป็นผู้ที่ทราบก่อนแล้วเผยแพร่คนแรก. อีกอย่างมันดูเหมือนการเหยียบคนที่ผิดพลาดซ้ำมากกว่า

ส่วนที่นำออกจากบทความ[แก้]

  • สาเหตุ : เพราะเปิดให้บริการแล้ว รายละเอียดโครงการบางอย่างจึงไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป --≠ Mr.GentleCN ≠ (พูดคุย) 21:39, 6 กันยายน 2559 (ICT)
เนื้อหาที่นำออกจากบทความ

ผลกระทบต่อผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ก่อสร้าง[แก้]

โครงการนี้จะมีการเวนคืนที่ดินเฉพาะที่จำเป็นสำหรับการก่อสร้างโครงการ เพื่อจัดทำทางขึ้น-ลงของสถานีต่างๆ อาคารจอดรถ ศูนย์ซ่อมบำรุงรักษา และสิ่งจำเป็นอื่นๆ โดยเป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อกิจการขนส่งมวลชน พ.ศ. 2540 ที่จะกำหนดราคาเวนคืนที่ดิน และค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นธรรม มีการตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาราคาที่ดินจากปัจจัยต่างๆ เช่น ทำเลที่ตั้งของที่ดิน ราคาประเมินของกรมที่ดิน รวมทั้งราคาซื้อขายในบริเวณนั้น เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้ถูกเวนคืนถือว่าเป็นผู้เสียสละ จะมีการจัดทำชื่อไปติดประกาศเกียรติคุณ ณ สถานีปลายทางที่สถานีคลองบางไผ่และเตาปูน[1]

อย่างไรก็ตาม เมื่อปี พ.ศ. 2548 ที่ประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) นนทบุรี สมัยวิสามัญ สมัยที่ 1 ได้มีมติเพื่อเสนอต่อไปยังรัฐบาลให้ก่อสร้างรถไฟฟ้าในพื้นที่นนทบุรีเป็นระบบใต้ดิน ต่อมาประชาชนส่วนหนึ่งที่อาศัยอยู่บริเวณถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรีได้รวมตัวคัดค้านการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้ายกระดับ และได้ขึ้นป้ายผ้าประท้วงหน้าอาคารพาณิชย์ตลอดแนวถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี โดยเฉพาะย่านการค้าบริเวณแยกเตาปูน ซึ่งกำหนดให้เป็นสถานีร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เนื่องจากถนนมีความกว้างจำกัด เกรงจะมีผลกระทบต่อการค้าขาย ทัศนียภาพ และปัญหามลภาวะ จึงมีข้อเสนอให้ตลอดแนวถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี สร้างเป็นระบบรถไฟฟ้าใต้ดินแทน[2] ในครั้งนั้น ทาง รฟม. ได้เจรจาและทำความเข้าใจกับผู้คัดค้านจนได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และยังคงยืนยันถึงข้อดีของการก่อสร้างในรูปแบบเส้นทางยกระดับ

การปรับเปลี่ยนเส้นทาง[แก้]

สัญญาการก่อสร้าง[แก้]

สัญญาที่ เนื้องาน มูลค่า
(ล้านบาท)
ผู้ชนะการประมูล หมายเหตุ ความคืบหน้า
(ภาพรวม 100.00% ณ 30 มิถุนายน 2559 [4])
1 โครงสร้างทางยกระดับตะวันออก ช่วงบางซื่อ-เตาปูน-สะพานพระนั่งเกล้า
ระยะทาง 12 กม. (7.46 ไมล์)
14,842 กิจการร่วมค้าซีเคทีซี
(ช.การช่าง และ โตคิว คอนสตรัคชั่น)
100%
2 โครงสร้างยกระดับส่วนตะวันตก ช่วงสะพานพระนั่งเกล้า-คลองบางไผ่
ระยะทาง 11 กม. (6.84 ไมล์)
และงานก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
13,050 ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น 100%
3 งานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดรถ 5,050 กิจการร่วมค้าพีเออาร์
(บมจ.เพาเวอร์ไลน์-บมจ.แอสคอน-บจ.รวมนครก่อสร้าง)
100%
4 งานระบบรถไฟฟ้า (บางใหญ่ - เตาปูน) 93,475 บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) PPP-Gross Cost เวลาดำเนินงาน 30 ปี 100%
5 งานระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน 1กม. (เตาปูน - บางซื่อ) ย้ายสัญญาไปรวมอยู่ในสัญญาที่ 6 งานระบบรถไฟฟ้า ของโครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
6 งานวางระบบราง 3,585 บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) 100.00%
7 ที่ปรึกษาทำการศึกษาความเหมาะสมออกแบบรายละเอียด และจัดทำเอกสารประกวดราคา กลุ่มที่ปรึกษา BBML
8 ที่ปรึกษาบริหารโครงการและควบคุมงาน กลุ่มที่ปรึกษา PCPL
(บริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด,
บริษัท พีซีบีเค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด,
บริษัท โชติจินดา มูเชล คอนซัลแตนท์ จำกัด,
บริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จำกัด,
โมห์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์ อิงค์,
บริษัท ดี ทู คอนซัลท์ เอเชีย จำกัด,
บริษัท ดี ทู คอนซัลท์ อินจิเนียร์ แซทที-จีเอ็มบีเอช,
บริษัท ไทยเอนยิเนียริ่งคอนซัลแตนทส์ จำกัด,
บริษัท วิชชากร จำกัด, บริษัท ดีบี อินเตอร์เนชั่นแนล จีเอ็มบีเอช,
บริษัท วิสิทธิ์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนส์ จำกัด)

หมายเหตุ : สัญญาที่ 5 ได้เปลี่ยนเป็นส่วนหนึ่งในส่วนต่อขยาย บางซื่อ - เตาปูน - ท่าพระ และเปลี่ยนจากใต้ดินเป็นยกระดับแทน

การเวนคืนที่ดิน[แก้]

“การเวนคืนที่ดิน” จะเวนคืนที่ดิน เฉพาะที่จำเป็นที่ใช้ในการก่อสร้างโครงการฯ เพื่อจัดทำทางขึ้น-ลงของสถานีต่างๆ อาคารจอดรถ ศูนย์ซ่อมบำรุงรักษา และสิ่งจำเป็นอื่นๆ เท่านั้น โดยต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อกิจการขนส่งมวลชน พ.ศ. 2540 ที่จะกำหนดราคาเวนคืนที่ดิน และค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นธรรม โดยจะมีการตั้ง คณะกรรมการเพื่อพิจารณาราคาที่ดิน โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น ทำเลที่ตั้งของที่ดิน ราคาประเมินของกรมที่ดิน รวมทั้งราคาซื้อขายในบริเวณนั้น เป็นต้น

“ผู้ถูกเวนคืน” ถือว่าเป็น “ผู้เสียสละ” จะจัดทำชื่อไปติดประกาศเกียรติคุณ ณ สถานีปลายทาง ที่คลองบางไผ่ และเตาปูนด้วย

ความคืบหน้าของโครงการช่วงเตาปูน (บางซื่อ) - บางบัวทอง[แก้]

  • การประชุมคณะกรรมการ รฟม. วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ได้พิจารณาวงเงินจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อออกแบบโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ ในส่วนที่เป็นทางยกระดับ โดยส่วนที่เป็นใต้ดินจะออกแบบไปพร้อมกับการก่อสร้างในเวลาเดียวกัน[5]
  • พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ร.ต.ต.เกรียงศักดิ์ โลหะชาละ ประธานกรรมการ รฟม. เป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาเออีซี เป็นที่ปรึกษาดำเนินงานโครงการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 และปรับปรุงเอกสารประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ วงเงินค่าจ้าง 52,927,015 บาท มีระยะเวลาดำเนินงาน 4 เดือน[6]
  • กันยายน พ.ศ. 2550 คณะกรรมการ รฟม. สรุปแนวทางการลงทุนด้านการเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วง โดยให้รัฐบาลและเอกชนลงทุนร่วมกัน (Public private Partnership; PPP) และเลือกรูปแบบที่รัฐลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน และจัดเก็บค่าโดยสาร แล้วให้เอกชนลงทุนระบบรถไฟฟ้า ทำหน้าที่เดินรถ โดยจ่ายเป็นเงินค่าจ้างแบบกำหนดราคาคงที่ (Gross Cost Concession; GC) แนวทางนี้เป็นการว่าจ้างเอกชน ไม่ได้แบ่งส่วนแบ่งรายได้ จึงสามารถทำได้โดยไม่ต้องเข้าสู่ขบวนการตาม พรบ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 [7]
  • กันยายน พ.ศ. 2550 คณะกรรมการมีมติให้ รฟม. หารือกับบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีเอ็ม เพื่อให้เป็นผู้ลงทุนและรับสิทธิ์ว่าจ้างเดินรถในช่วงบางซื่อ-เตาปูน ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตรนั้น แต่ รฟม. จะเปิดให้มีการแข่งขันในการลงทุนระบบและการเดินรถช่วงจากเตาปูน-บางใหญ่[7]
  • 28 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ที่ประชุม รฟม. มีมติให้เลื่อนการเปิดซองเอกสารด้านเทคนิคก่อสร้างงานโยธาออกไปเพื่อพิจารณารายละเอียดข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม เนื่องจากมีผู้ร้องเรียนไปยังสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ว่าอาจเข้าข่ายความผิดต่อ พ.ร.บ. ว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ ในประเด็นการปรับราคาค่าก่อสร้างจาก 31,000 ล้านบาทเป็น 36,000 ล้านบาท หลังจากปิดการขายเอกสารประกวดราคาไปแล้ว และการเปลี่ยนเงื่อนไขในทีโออาร์ให้บริษัทที่เข้าร่วมมีรายรับทั้งปี 3 ปีติดต่อกันเฉลี่ยจากปีละไม่น้อยกว่า 5,000 ล้านบาทเป็น 10,000 ล้านบาท ซึ่งทาง รฟม. ชี้แจงการปรับเพิ่มวงเงินว่าเกรงจะเป็นปัญหาหากผู้รับเหมารายเล็กเกินไป[8]
  • 13 มกราคม พ.ศ. 2552 รฟม. ได้เปิดซองประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางซื่อ-บางใหญ่ สัญญาที่ 1 (โครงสร้างยกระดับส่วนตะวันออก ระยะทาง 12 กิโลเมตร จากเตาปูน-สะพานพระนั่งเกล้า และงานก่อสร้างทางวิ่งช่วงบางซื่อ-เตาปูน) วงเงิน 13,441 ล้านบาท ซึ่งกลุ่มซีเคทีซี จอยท์เวนเจอร์ เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด 16,724.50 ล้านบาท และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) เสนอราคา 17,100.00 ล้านบาท เป็นอันดับที่ 2[9]
  • 16 เมษายน พ.ศ. 2552 คณะกรรมการผลการประกวดราคาเจรจาลดราคาค่าก่อสร้างสัญญาที่ 1 กับกลุ่มซีเคทีซี จอยท์เวนเจอร์เป็นผลสำเร็จ เหลือ 14,985 ล้านบาท[10] จากราคาที่เข้าร่วมประกวดราคาเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งเป็นช่วงที่ราคาเหล็กและน้ำมันเชื้อเพลิงยังสูง[11] คาดว่าจะสามารถลงนามในสัญญาได้ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552[12]
  • กรกฎาคม พ.ศ. 2552 รฟม. ต่อรองราคาสัญญาที่ 2 และ 3 ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงแล้วเสร็จ คาดว่าค่าก่อสร้างรวมทั้งหมดในสัญญาที่ 1, 2 และ 3 จะไม่เกินกรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้ที่ 36,055 ล้านบาท และยังเหลือเงินอีกส่วนหนึ่งสำหรับดำเนินงานวางระบบรางในสัญญาที่ 6[13]
  • 26 สิงหาคม พ.ศ. 2552 รฟม. ลงนามในสัญญาก่อสร้างสัญญาที่ 1 จากเตาปูน-สะพานพระนั่งเกล้า ระยะทาง 12 กิโลเมตร กับกลุ่มกิจการ ร่วมค้า CKTC (ช.การช่าง-โตคิว) วงเงิน 14,292 ล้านบาท โดยตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม จนสิ้นเดือนมีนาคม 2553 ผู้รับเหมาจะเจาะหน้าดินลงเสาเข็มต้นแรก
  • 28 ธันวาคม พ.ศ. 2552 รฟม. ลงนามสัญญาว่าจ้างที่ปรึกษาโครงการ (Project Consultant) โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่ – บางซื่อ กับกลุ่มบริษัท Asian Engineering Consultants Corp,Ltd (AEC) [14]
  • 20 มกราคม พ.ศ. 2553 รฟม. ลงนามในสัญญาก่อสร้างสัญญาที่ 2 งานโครงสร้างยกระดับ (ฝั่งตะวันตก) ระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร รวมสถานี 8 แห่ง ช่วงสะพานพระนั่งเกล้า-คลองบางไผ่ และงานก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา กับ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น วงเงิน 13,100 ล้านบาท[15]
  • 26 มกราคม พ.ศ. 2553 รฟม. ลงนามในสัญญาก่อสร้างสัญญาที่ 3 งานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดรถ กับกลุ่มกิจการร่วมค้า PAR (เพาเวอร์ไลน์-แอสคอน-รวมนครก่อสร้าง) วงเงิน 5,025 ล้านบาท[16]
  • มีนาคม พ.ศ. 2554 รฟม. เปิดซองประกวดราคาสัญญาที่ 4 งานระบบรถไฟฟ้า และคัดเลือกผู้ดำเนินการรถไฟฟ้า โดยยื่นข้อเสนอให้เอกชนทั้งหมด 7 ราย แต่มีผู้ยื่นข้อเสนอและผ่านเงื่อนไขเพียงแค่ 2 รายคือ บมจ. ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ ผู้ให้บริการและผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าบีทีเอส และรถโดยสารด่วนพิเศษบีอาร์ที จากกรุงเทพมหานคร และบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด และ บมจ. ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ ผู้ให้บริการและผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
  • 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 รฟม. เปิดซองประมูลสัญญาที่ 4 งานระบบรถไฟฟ้า ซึ่ง บมจ. ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ ชนะการประมูลด้วยการเสนอราคาต่ำสุดที่ 93,475 ล้านบาท ทิ้งห่าง บมจ. ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ ที่เสนอราคา 109,949 ล้านบาท ถึง 16,474 ล้านบาท [17]
  • 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 รฟม. เปิดเผยต่อสื่อมวลชนว่า ข้อเสนอที่ บมจ. ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ ผู้เสนอราคาต่ำสุดในการประมูลสัญญาที่ 4 งานระบบรถไฟฟ้า เสนอมานั้น มีความคลุมเครือในเรื่องของความปลอดภัยต่อผู้โดยสาร ซึ่งมีสิทธิ์ที่จะถูกเพิกถอนสิทธิ์ในการเดินรถได้ หากข้อเสนอของบมจ. ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ มีความชัดเจนกว่า[18]
สภาพน้ำท่วมศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดรถ ทำให้ต้องหยุดก่อสร้างชั่วคราว เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554
  • 19 ตุลาคม พ.ศ. 2554 บริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างทั้งหมดได้ส่งหนังสือขอหยุดการก่อสร้างชั่วคราวทั้งสาย 100% ต่อการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เนื่องจากเหตุน้ำท่วม อย่างไม่มีกำหนด และได้ลงนามอนุมัติรวมถึงประกาศเลื่อนวันเปิดให้บริการจากปลายปี 2558 เป็นช่วงปี 2559
  • เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556 การก่อสร้างในสัญญาที่ 1-3 โดยรวม คืบหน้าไปได้ 81.62% ล่าช้าจากแผนงานที่กำหนดไว้ 82.29% (ล่าช้า 0.67%) [19]
  • เดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 การก่อสร้างคืบหน้าไปได้ 99% โดยได้ปรับกรอบเวลาการเปิดทดลองเร็วกว่ากำหนด 6 เดือนจากเดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 เป็นกลางปี พ.ศ. 2558 จากนั้นจะทดลองเดินรถเสมือนจริงในเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 คาดว่าจะเปิดใช้บริการในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2559
  • 21 กันยายน พ.ศ. 2558 รมว.คมนาคม เป็นประธานในพิธีรับมอบขบวนรถไฟฟ้าสายสีม่วงบางใหญ่-เตาปูน ลอตแรก 2 ขบวน 6 ตู้จากญี่ปุ่นถึงไทยแล้ว เตรียมให้บริการปลายปี 2559. เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 21 ก.ย ที่ท่าเรือแหลมฉบัง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในพิธีรับรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่ – เตาปูน 2 ขบวนแรกจากประเทศญี่ปุ่น โดยมีนายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชลแห่งประเทศไทย ร่วมงานในครั้งนี้ด้วย ขบวนรถไฟฟ้า 2 ขบวนแรก ที่จะนำมาให้บริการในระบบรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางใหญ่-เตาปูน ถูกขนส่งโดยเรือ TMN Progress โดยบริษัท บทด จำกัด จากท่าเรือเมืองโยโกฮาม่า ถึงท่าเรือแหลมฉบัง และหลังจากนี้ ขบวนรถที่เหลือจะทยอยเดินทางถึงประเทศไทยจนครบ 21 ขบวนภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ซึ่งขบวนรถไฟฟ้าแต่ละขบวนจะมีตู้โดยสาร 3 ตู้รองรับผู้โดยสารได้ขบวนละ 921 คน ต่อขบวน ตัวรถไฟฟ้าทำจากสเตนเลสปิดทับด้วยไวนิล มีความแข็งแรง ปลอดภัยได้มาตรฐานสากล ผลิตโดยบริษัท J-TREC ซึ่งเป็นผู้ผลิตรถไฟฟ้าความเร็วสูงอันดับหนึ่งของญี่ปุ่น ที่มีประสบการณ์ในการผลิตขบวนรถไฟฟ้า รถไฟฟ้า และรถไฟความเร็วสูงมานาน 67 ปี นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล กล่าวว่า ขบวนรถไฟฟ้าลอตแรกที่เดินทางมาถึงประเทศไทยนี้ ถือเป็นสิ่งที่ยืนยันถึงความก้าวหน้าในการเร่งรัดและดำเนินการระบบรถไฟฟ้า สายสีม่วง ที่จะเปิดให้บริการเร็วกว่ากำหนด โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง นับเป็นระบบรถไฟฟ้ายกระดับสายแรกของ รฟม.และมีเส้นทางเดินรถที่ครอบคลุมถึง เขตปริมณฑล ระหว่างกรุงเทพมหานครและนนทบุรี โดยขอยืนยันรถไฟฟ้าสายสีม่วงจะพร้อมให้บริการเชิงพาณิชย์ภายในเดือนสิงหาคม 2559.
  • 14 ธันวาคม พ.ศ 2558 เปิดทดสอบเดินรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง
  • 10 พฤษภาคม พ.ศ 2559 ทดลองเปิดใช้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วงเสมือนจริง
  • 30 มิถุนายน พ.ศ 2559 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานนาม "ฉลองรัชธรรม" อันแปลความหมายได้ว่า "การเฉลิมฉลองพระราชาที่ปกครองโดยธรรม"
  • 6 สิงหาคม พ.ศ 2559 กำหนดเปิดให้บริการ รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม [20]

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสถานีบางซื่อ และสถานีเตาปูน[แก้]

ในอดีต โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ามหานคร ส่วนต่อขยายช่วงบางซื่อ-เตาปูนเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เช่นเดียวกันกับช่วงเตาปูน-บางใหญ่ แต่ในภายหลังได้มีการปรับปรุงแผนแม่บทฯ ทำให้เส้นทางช่วงเตาปูน-บางใหญ่เป็นส่วนหนึ่งของรถไฟฟ้าสายสีม่วงแทน ขณะที่เส้นทางช่วงบางซื่อ-เตาปูนกลายเป็นส่วนหนึ่งของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายช่วงเตาปูน-ท่าพระ ดังนั้น สถานีบางซื่อในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินปัจจุบัน ซึ่งเดิมได้เตรียมชานชาลาที่ 2 ไว้สำหรับเดินรถมุ่งหน้าสู่สถานีปลายทางคลองบางไผ่ (บางใหญ่) จึงเปลี่ยนไปเป็นสถานีปลายทางท่าพระแทน ขณะที่การเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วงระยะแรกนี้จะดำเนินการจากบางใหญ่มาสิ้นสุดเพียงแค่สถานีเตาปูนเท่านั้น ไม่ได้เข้าไปยังสถานีบางซื่อโดยตรง

แต่ในการก่อสร้างรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วงที่ดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ถือเป็นการก่อสร้างเส้นทางช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ เนื่องจากในสัญญาที่ 1 ของการก่อสร้างได้รวมเอาเส้นทางช่วงบางซื่อ-เตาปูน-บางใหญ่ไว้ด้วยกันทั้งหมด เพื่อให้เส้นทางที่สร้างขึ้นใหม่นี้สามารถให้บริการเชื่อมต่อกับการเดินรถในปัจจุบันได้ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Mr.BuriramCN (พูดคุยหน้าที่เขียน) 21:39, 6 กันยายน 2559 (ICT)

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ mrta2
  2. ฮือต้านรถไฟลอยฟ้ารฟม. ขึ้นป้ายค้านริมกรุงเทพนนท์-แฉ รฟม. เวนคืนทุก 700 ม. ไทยรัฐ วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2548
  3. กลับมาแล้ว !!! รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วง 'บางใหญ่-บางซื่อ' เหมือนเดิม ฐานเศรษฐกิจ วันที่ 16-19 ตุลาคม พ.ศ. 2548
  4. https://mrta.co.th/th/MRTAproject/overAllProject/th_201602.pdf
  5. รฟม.จ้างเอกชนผุดส่วนต่อ 3 เส้นทาง กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
  6. รฟม.จรดปากกาจ้างที่ปรึกษาโครงการรถไฟฟ้า 2 เส้นทางแล้ว ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
  7. 7.0 7.1 รฟม. ชงแผนลงทุนระบบรถไฟฟ้า + เล็งจ้างเอกชนติดตั้งอาณัติสัญญาณ-เดินรถ/เตรียมถกบีเอ็มซีแอลวิ่งรถเพิ่มอีก 1 กม. หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2550
  8. รถไฟฟ้า "สีม่วง" สะดุด สตง. เลื่อนเปิดซอง ไทยโพสต์ วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2551
  9. "ช.การช่าง" ชงราคาต่ำสุดรถไฟฟ้าสีม่วง วงการจับตา "ซิโน-ทัย" พลิกเข้าวิน มติชนรายวัน วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552
  10. สีม่วงสัญญา 1 ลงตัว! CK ยอมต่ำ1.5หมื่นล. หุ้นรับเหมาวิ่งรับสัญญา2:รฟม.เปิดซองเดือนหน้า ข่าวหุ้น วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2552
  11. รฟม. บี้ "ซีเคทีซี" หั่นราคาสายสีม่วง ข่าวสดรายวัน วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2552
  12. รฟม. บีบ ช.การช่าง กดค่าก่อสร้างสายสีม่วง กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 12 มีนาคม พ.ศ. 2552
  13. ต่อรองราคารถไฟฟ้าสีม่วงคาดไม่เกิน3.6หมื่นล. ไทยรัฐ วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
  14. รฟม. ลงนามสัญญาว่าจ้างที่ปรึกษาโครงการ (Project Consultant) ข่าวประชาสัมพันธ์ รฟม.
  15. รฟม. ลงนามสัญญาก่อสร้างงานโยธาสัญญาที่ 2 แล้ว ข่าวประชาสัมพันธ์ รฟม.
  16. รฟม. ลงนามสัญญาที่ 3 งานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ข่าวประชาสัมพันธ์ รฟม.
  17. BEM คว้างานเดินรถสายสีม่วง ทิ้งห่าง BTS 16,000 ล้านบาท
  18. ข้อเสนอร่วมทุนเดินรถสีม่วงมีปัญหา BEM ส่อวืดเหตุเสนอแผนไม่ตรง TOR
  19. แผนภูมิความก้าวหน้า ของเว็บไซต์ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง โดย รฟม. สืบค้นข้อมูลวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2556
  20. https://www.youtube.com/watch?v=rSv-i6P71zs
เนื้อหาเพิ่มเติม

การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน (MRT Purple line)[แก้]

Hi! One of my articles need RTGS-transcription for "รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม". (Seems like no wikipedia-article has that yet.) Will the wiki-article in Thai-language, ever have that transcription also? Regards! Sju hav (คุย) 15:12, 17 กรกฎาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

คัดค้านการลบ[แก้]

เหตุผลที่ไม่ควรลบหน้านี้

เป็นการก่อกวนเพราะเหตุผลนั้นอ่อนเกินไและไม่มีเหตุผล


--Stirz117 (คุย) 09:47, 1 พฤศจิกายน 2565 (+07)Stirz117 การเตือน (0) --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Stirz117 (พูดคุยหน้าที่เขียน) 09:47, 1 พฤศจิกายน 2565 (ICT)[ตอบกลับ]