ข้ามไปเนื้อหา

ปูนซิเมนต์ไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บมจ. ปูนซิเมนต์ไทย
ประเภทบริษัทมหาชน SET:SCC
ISINTH0003010Z12 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรมกลุ่มบริษัท
ก่อตั้ง14 มิถุนายน พ.ศ. 2456
จดทะเบียน: 8 ธันวาคม พ.ศ. 2456 (111 ปี)[1]
ผู้ก่อตั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
สำนักงานใหญ่เลขที่ 1 ถนนปูนซิเมนต์ไทย
แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร
บุคลากรหลักพลอากาศเอก สถิตย์พงษ์ สุขวิมล
(ประธานกรรมการ)
ชุมพล ณ ลำเลียง
(รองประธานกรรมการ)
ธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม
(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร)[2]
รายได้เพิ่มขึ้น 453,938 ล้านบาท (2556)
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น 440,435 ล้านบาท (2556)
พนักงาน
53,728 คน
เว็บไซต์www.scg.com

เอสซีจี หรือ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: Siam Cement Group ชื่อย่อ: SCG) เป็นบริษัทปูนซีเมนต์และวัสดุก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดและเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[3] ในปี 2559 เอสซีจียังได้รับการจัดอันดับให้เป็นบริษัทที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย และเป็นบริษัทมหาชนอันดับที่ 604 ของโลกโดย ฟอบส์[4] บริษัทอยู่ในดัชนี SET50 และ SETHD ในหมวดอุตสาหกรรม ผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทคือพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งถือหุ้นร้อยละ 30 ของปูนซิเมนต์ไทยผ่านสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์

รายได้รวมอยู่ที่ 4.50 แสนล้านบาท (1.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในปีงบประมาณ 2560 ปูนซีเมนต์และวัสดุก่อสร้างร้อยละ 38; ร้อยละ 44 จากสารเคมี และร้อยละ 18 จากบรรจุภัณฑ์ ในปี 2559 เอสซีจีได้รับการจัดอันดับให้เป็นบริษัทที่จ้างผู้สำเร็จการศึกษามากที่สุดเป็นอันดับ 1 ในประเทศไทย จากการสำรวจโดย Asia Internship Program[5]

เอสซีจี ก่อตั้งขึ้นเพื่อจัดตั้งโรงงานปูนซีเมนต์แห่งแรกในกรุงเทพฯ ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี 2456 นับตั้งแต่นั้นมาบริษัทก็ได้ขยายธุรกิจออกไปในธุรกิจต่างๆ โดยมี 3 หน่วยธุรกิจหลัก ได้แก่ เอสซีจี ซิเมนต์-วัสดุก่อสร้าง เอสซีจี เคมิคอลส์; และเอสซีจี แพคเกจิง ปัจจุบันเอสซีจีลงทุนอย่างหนักในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงธุรกิจบรรจุภัณฑ์ในมาเลเซีย ปิโตรเคมีครบวงจรในเวียดนาม และโรงงานปูนซีเมนต์หลายแห่งทั่วภูมิภาค

เอสซีจีมีพนักงานประมาณ 54,000 คน สินค้ามีจำหน่ายในประเทศและส่งออกไปยังทุกภูมิภาคของโลก บริษัท ซีเมนต์ไทยโฮลดิง จำกัด ดูแลการลงทุนของเอสซีจีในธุรกิจต่าง ๆ ส่วนใหญ่เป็นกิจการร่วมทุนกับบริษัทต่างประเทศ เช่นคูโบต้า,[6] Yamato Kogyo, Aisin Takaoka Group, Nippon Steel, โตโยต้า, มิชลิน, Hayes Lemmerz, Siam Mitsui และ Dow Chemical Company[7][8]

ประวัติ

[แก้]

ในปีพุทธศักราช 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้ง บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด ขึ้น ด้วยพระราชประสงค์ที่จะให้ประเทศไทยผลิตปูนซีเมนต์ใช้เอง ลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ และเพื่อจัดสรรการใช้ทรัพยากรภายในประเทศอย่างคุ้มค่า

รายนามกรรมการผู้จัดการ

[แก้]
  1. Oscar Schultz (2457-2468)
  2. Erik Thune (2468-2477)
  3. Carsten Friis Jespersen (2478-2502)
  4. Viggo Fred Hemmingsen (2502-2517)
  5. บุญมา วงศ์สวรรค์ (2517-2519)
  6. สมหมาย ฮุนตระกูล (2519-2523)
  7. จรัส ชูโต (2523-2527)
  8. พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา (2527-2535)
  9. ชุมพล ณ ลำเลียง (2536-2548)
  10. กานต์ ตระกูลฮุน (2548-2558)
  11. รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส (2559-2566)
  12. ธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม (2567-ปัจจุบัน)

Siam Cement Group หรือ SCG

[แก้]
อาคารสำนักงานปูนซิเมนต์ไทย บางซื่อ

ปัจจุบัน ประกอบด้วย 3 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ธุรกิจเคมิคอลส์ และธุรกิจแพคเกจจิ้ง

ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง (Cement and Building Materials Business)

[แก้]

ธุรกิจซีเมนต์ ถือเป็นธุรกิจแรกของ SCG เกิดขึ้นพร้อมกับการก่อตั้งบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด ในปี พ.ศ. 2456 และถือเป็นผู้ผลิตปูนซีเมนต์รายแรกของประเทศไทย แรกเริ่มมีผลิตภัณฑ์ คือ ปูนตราช้าง ปูนตราเสือ ปูนตราแรด ปูนตราซูเปอร์ และ ปูนตราเอราวัณ (ในอดีต) เป็นหลัก

ปัจจุบัน ได้มีการขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่องประกอบกับการวิจัยและพัฒนาทำให้มีผลิตภัณฑ์และบริการออกสู่ท้องตลาดอีกหลากหลาย อาทิเช่น ปูนซีเมนต์ คอนกรีตผสมเสร็จ ผลิตภัณฑ์คอนกรีต ปูนซีเมนต์ขาว และ วัสดุทนไฟ รวมทั้งให้บริการด้านเทคนิคและการติดตั้งโรงงานแก่ลูกค้าทั้งในและนอก SCG โดยมีบริษัทหลักคือ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทยอุตสาหกรรม จำกัด และมีธุรกิจปูนซีเมนต์ในประเทศกัมพูชา K-Cement

SCG เริ่มเข้าสู่ธุรกิจผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ในปี พ.ศ. 2481 นับเป็นธุรกิจที่สองของ SCG โดยเริ่มจากการผลิตกระเบื้องมุงหลังคา ปัจจุบัน ธุรกิจผลิตภัณฑ์ก่อสร้างมีการผลิตและจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง และสินค้าตกแต่ง ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์หลังคา กระเบื้องเซรามิก สุขภัณฑ์ ก๊อกน้ำ บล็อกปูถนน ฉนวนกันความร้อน ถังเก็บน้ำ ถังบำบัด และบ้านเอสซีจี ไฮม์ (SCG HEIM)

ธุรกิจแพคเกจจิ้ง (Packaging Business)

[แก้]

SCG เข้าสู่ธุรกิจกระดาษ ในปี พ.ศ. 2519 ต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนเป็น ธุรกิจแพคเกจจิ้ง เมื่อปี พ.ศ. 2558 โดยมุ่งเป็นผู้นำในด้านบรรจุภัณฑ์ครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน ควบคู่กับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน กว่า 55 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจแพคเกจจิ้งได้เดินหน้า พัฒนา และสั่งสมประสบการณ์ ขยายการเติบโตทั้งธุรกิจต้นน้ำและปลายน้ำ รวมถึงฐานการผลิตทั้งในและต่างประเทศ จนก้าวสู่การเป็น Total Packaging Solutions Provider ที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างแท้จริงตลอดจนดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อความยั่งยืนของทุกภาคส่วน และยังคงมุ่งมั่น สร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างไม่หยุดนิ่งสร้างความพร้อมต่อทุกสถานการณ์ ให้ลูกค้าและผู้เกี่ยวข้องมั่นใจ เติบโตอย่างต่อเนื่องไปด้วยกัน

ธุรกิจเคมิคอลส์ (Chemicals Business)

[แก้]

SCG เข้าสู่ธุรกิจเคมีภัณฑ์ในปี พ.ศ. 2526 ปัจจุบัน ธุรกิจเคมิคอลส์ ผลิตและจำหน่าย เคมีภัณฑ์ครบวงจร ตั้งแต่ขั้นต้น ได้แก่ โอเลฟินส์ ขั้นกลาง ได้แก่ สไตรีนมอนอเมอร์ พีทีเอ และเอ็มเอ็มเอ และขั้นปลาย ได้แก่ เม็ดพลาสติกหลักทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ โพลิเอททีลีน โพลิโพรไพลีน พอลิไวนิลคลอไรด์ และพอลิสไตรีน โดยมีบริษัทหลักคือ บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด

สปอนเซอร์กีฬา

[แก้]

ทีมกีฬา

[แก้]

สนามกีฬา

[แก้]

รายการแข่งขันกีฬา

[แก้]

รางวัล

[แก้]
ปี รางวัล สาขา ผล
2566 Thailand Zocial Awards 2023[10] Best Brand Performance on Social Media กลุ่มธุรกิจอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้าง ชนะ

อ้างอิง

[แก้]
  1. "รู้จักเอสซีจี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-26. สืบค้นเมื่อ 2012-12-14.
  2. Apisitniran, Lamonphet (2019-03-23). "Keeping SCG nimble in a disruptive age". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2019-03-24.
  3. "Top 75 global cement companies". Global Cement. 2013-12-09. สืบค้นเมื่อ 16 January 2017.
  4. "The World's Biggest Public Companies". Forbes. n.d. สืบค้นเมื่อ 2017-08-06.
  5. "7 companies Gen Y (Thai) want to work 2016". 14 March 2016.
  6. "Company History". Siam Kubota Corporation Co., Ltd. สืบค้นเมื่อ 6 August 2017.
  7. "SCG Investment". SCG. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 March 2017. สืบค้นเมื่อ 16 January 2017.
  8. "Structure of Company". www.scgchemicals.com (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-06. สืบค้นเมื่อ 2017-08-05.[ไม่อยู่ในแหล่งอ้างอิง]
  9. "จับติ้วสุดเดือดมวยรอบปูนเสือครั้งที่ 20". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-25. สืบค้นเมื่อ 2020-03-09.
  10. "ประกาศผล Thailand Social Awards ครั้งที่ 11 แบรนด์และผู้ทรงอิทธิพลบนโลกโซเชียลยกทัพร่วมงานคับคั่ง". ไทยรัฐ. 2023-02-24. สืบค้นเมื่อ 2023-02-25.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]