สะพานพระปกเกล้า
สะพานพระปกเกล้า | |
---|---|
![]() สะพานพระปกเกล้า | |
เส้นทาง | ถนนจักรเพชร, ถนนประชาธิปก |
ข้าม | แม่น้ำเจ้าพระยา |
ที่ตั้ง | เขตพระนคร, เขตคลองสาน |
ชื่อทางการ | สะพานพระปกเกล้า |
ผู้ดูแล | กรมทางหลวงชนบท |
เหนือน้ำ | สะพานพระพุทธยอดฟ้า |
ท้ายน้ำ | สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช |
ข้อมูลจำเพาะ | |
ประเภท | สะพานชนิดต่อเนื่อง |
วัสดุ | คอนกรีตอัดแรง |
ความยาว | 212.00 เมตร |
ความกว้าง | 13.20 เมตร |
ความสูง | 8.90 เมตร |
ช่วงยาวที่สุด | 100.00 เมตร |
จำนวนช่วง | 3 |
ประวัติ | |
วันเริ่มสร้าง | 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524 |
วันเปิด | 3 ธันวาคม พ.ศ. 2527 |
ที่ตั้ง | |
![]() |
สะพานพระปกเกล้า (อังกฤษ: Phra Pok Klao Bridge) หรือที่บางคนเรียกกันแบบสั้น ๆ ว่า สะพานปก เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เชื่อมระหว่างถนนจักรเพชร ในพื้นที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร (ฝั่งพระนคร) กับถนนประชาธิปก ในพื้นที่แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน ฝั่งธนบุรี เป็นสะพานคู่ขาไปและขากลับ สร้างเคียงข้างขนานกันกับสะพานพระพุทธยอดฟ้า เนื่องจากการจราจรบริเวณนั้นถึงจุดวิกฤต รัฐบาลโดยกรมโยธาธิการจึงเห็นว่าควรมีสะพานอีกแห่งหนึ่งเพื่อช่วยระบายการจราจร โดยได้เว้นที่ช่วงกลางสะพานไว้สำหรับก่อสร้างรถไฟฟ้าลาวาลินด้วย ปัจจุบันสะพานแห่งนี้อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท
ข้อมูลทั่วไป[แก้]
- วันที่ทำการก่อสร้าง : วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524
- วันเปิดการจราจร : วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2527
- บริษัทที่ทำการก่อสร้าง : บริษัท สุมิโตโม คอนสตรัคชั่น จำกัด
- ราคาค่าก่อสร้าง : 475,000,000.00 บาท
- แบบของสะพาน : เป็นสะพานชนิดต่อเนื่อง
- โครงสร้างส่วนบน : คอนกรีตอัดแรง
- สูงจากระดับน้ำ : 8.90 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
- สร้างสะพานเป็นแบบสะพานคู่ : ห่างกัน 15.00 เมตร (ซึ่งจัดเป็นทางสำหรับโครงการรถไฟฟ้าลาวาลิน)
- จำนวนช่วงสะพานกลางน้ำ : 3 ช่วง (56.00+100.00+56.00)
- เชิงลาดสะพาน ฝั่งธนบุรี : 348.20 เมตร
- เชิงลาดสะพาน ฝั่งพระนคร : 184.80 เมตร
- ความกว้างของสะพาน : 13.20 เมตร
- จำนวนช่องทางวิ่ง : 3 ช่องทางจราจร (ของแต่ละสะพาน)
- ความกว้างผิวจราจรสะพาน : 11.25 เมตร (ของแต่ละสะพาน)
- ความกว้างช่องละ : 3.25 เมตร
- ทางเท้ากว้าง : 1.50 เมตร
- ออกแบบรับน้ำหนัก : H-20-44[1]
ปัจจุบันมีการก่อสร้าง “สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา” หรือเดิมใช้ชื่อว่า “สะพานพระปกเกล้าสกายปาร์ค” เพื่อปรับปรุงโครงสร้างเดิมของโครงการรถไฟฟ้าลาวาลินที่สร้างค้างและไม่ได้รับผลประโยชน์มานานกว่า 30 ปี ให้เป็นสวนสาธารณะลอยฟ้าแห่งแรกของประเทศไทย พร้อมมุมพักผ่อน ทางเดิน ทางจักรยาน และจุดชมวิว เชื่อมการสัญจรฝั่งธนบุรีเข้ากับฝั่งพระนคร เริ่มตั้งแต่ปลายสะพานฝั่งธนบุรีเหนือสวนป่าเฉลิมพระเกียรติถึงปลายสะพานฝั่งพระนคร มีระยะทางประมาณ 280 เมตร โดยได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2563[2]
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Bureau of Maintenance and Traffic Safety, Thailand. "RAMA VII BRIDGE". สืบค้นเมื่อ 2008-01-06.[ลิงก์เสีย] (อังกฤษ)
- ↑ เบิกฤกษ์! จาก “รถไฟฟ้าลาวาลิน” สู่ “พระปกเกล้าสกายปาร์ค” สวนสาธารณะเชื่อมต่อฝั่งธนบุรี-พระนคร
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ สะพานพระปกเกล้า
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°44′20″N 100°29′56″E / 13.738999°N 100.498981°E
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: สะพานพระปกเกล้า |
- “สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา” ตื่นตา 5 สิ่งน่าสนใจ แลนด์มาร์กสีเขียวแห่งใหม่ของคนกรุง
- สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา ที่เที่ยวใหม่ กรุงเทพ แลนด์มาร์ค สุดชิลกลางเมือง
สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน | |||
---|---|---|---|
เหนือน้ำ สะพานพระพุทธยอดฟ้า ![]() |
สะพานพระปกเกล้า![]() |
ท้ายน้ำ สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ![]() ![]() |