ข้ามไปเนื้อหา

สะพานกาญจนาภิเษก

พิกัด: 13°38′05″N 100°32′15″E / 13.634831°N 100.537477°E / 13.634831; 100.537477
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สะพานกาญจนาภิเษก
สะพานกาญจนาภิเษก มุมมองจากระยะไกล
พิกัด13°38′05″N 100°32′15″E / 13.634831°N 100.537477°E / 13.634831; 100.537477
เส้นทางถนนกาญจนาภิเษก
ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
ที่ตั้งอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
ชื่อทางการสะพานกาญจนาภิเษก
ตั้งชื่อตามพระราชพิธีกาญจนาภิเษก พ.ศ. 2539
ผู้ดูแลการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
เหนือน้ำสะพานภูมิพล 2
ท้ายน้ำอ่าวไทย
ข้อมูลจำเพาะ
ประเภทสะพานขึง
ความยาว951 เมตร
ความกว้าง36.7 เมตร
ความสูง187.6 เมตร
ช่วงยาวที่สุด500 เมตร
จำนวนช่วง2
เคลียร์ตอนล่าง52.2 เมตร
ประวัติ
วันเริ่มสร้างพ.ศ. 2547
วันเปิด15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
เป็นสะพานข้ามแม่น้ำที่สูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ที่ตั้ง
แผนที่

สะพานกาญจนาภิเษก เป็นสะพานขึงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาของประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของถนนกาญจนาภิเษก (ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ช่วงทางพิเศษสายบางพลี-สุขสวัสดิ์) ที่สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2539 ลักษณะการก่อสร้างเป็นสะพานขึงระนาบคู่ขนาด 6 ช่องจราจร เชื่อมระหว่างท้องที่ตำบลบางจาก (เขตเทศบาลเมืองลัดหลวง) กับตำบลบางหัวเสือ (เขตเทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย) อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 52 เมตร เพื่อให้เรือสินค้าสามารถเข้าออกได้ ตัวสะพานมีความยาวช่วงกลางแม่น้ำ 500 เมตร ซึ่งถือว่าเป็น "สะพานขึง" ที่มีช่วงกลางแม่น้ำยาวที่สุดในประเทศไทย และถือว่าเป็นสะพานข้ามแม่น้ำที่สูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นสะพานแรกที่เรือจากอ่าวไทยจะลอดผ่าน และเป็นสะพานสุดท้ายของน่านน้ำเจ้าพระยา เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

สมุดภาพ

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°38′05″N 100°32′15″E / 13.634831°N 100.537477°E / 13.634831; 100.537477

ดูเพิ่ม

[แก้]
สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน
เหนือน้ำ
สะพานภูมิพล 2
สะพานกาญจนาภิเษก
ท้ายน้ำ
อ่าวกรุงเทพ