ข้ามไปเนื้อหา

พระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พระยาศรีวิศาลวาจา)
พันเอกพิเศษ
พระยาศรีวิสารวาจา
(เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล)
กรรมการองคมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
3 เมษายน พ.ศ. 2472 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2476
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
องคมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
8 เมษายน พ.ศ. 2495 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ดำรงตำแหน่ง
24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 – 27 สิงหาคม พ.ศ. 2505
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 – 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476
นายกรัฐมนตรีพระยามโนปกรณ์นิติธาดา
ก่อนหน้าตนเอง
(ในฐานะเสนาบดี)
ถัดไปพระยาอภิบาลราชไมตรี
ดำรงตำแหน่ง
11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 – 8 เมษายน พ.ศ. 2491
นายกรัฐมนตรีควง อภัยวงศ์
ก่อนหน้าหลวงอรรถกิติกำจร
ถัดไปหม่อมเจ้าปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล
เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
29 มิถุนายน – 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย
ถัดไปตนเอง
(ในฐานะรัฐมนตรี)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
2 กุมภาพันธ์ – 24 มีนาคม พ.ศ. 2489
นายกรัฐมนตรีควง อภัยวงศ์
ก่อนหน้าดิเรก ชัยนาม
ถัดไปปรีดี พนมยงค์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2439
ประเทศสยาม
เสียชีวิต23 มีนาคม พ.ศ. 2511 (72 ปี)
ประเทศไทย
คู่สมรสคุณหญิงลิน ศรีวิสารวาจา
ลายมือชื่อ

พันเอก (พิเศษ) พระยาศรีวิสารวาจา (นามเดิม เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล: 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2439 – 23 มีนาคม พ.ศ. 2511) อดีตองคมนตรี อดีตอธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, อดีตปลัดทูลฉลอง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นหนึ่งในผู้ร่างกฎหมายที่จะนำมาใช้เป็นรัฐธรรมนูญถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวร่วมกับเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) และนายเรมอนต์ บี สตีเวนส์ ซึ่งทรงมีกำหนดที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญในวันสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2475[1]

ประวัติ[แก้]

พระยาศรีวิสารวาจา มีเชื้อสายจีนไหหลำ มีชื่อจีนว่า ฮุ่นเซ็กเตี่ยน[2] เป็นบุตรคนที่ 7 ของนายอุ่นตุ้ยกับนางทองคำ ฮุนตระกูล

พระยาศรีวิสารวาจา จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ และระดับอุดมศึกษา คณะนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด บาร์ริสเตอร์มิดเดิลเทมเปิล[3] ด้วยคะแนนเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งในสภากรรมการองคมนตรี ในรัชกาลที่ 7 และองคมนตรี ในรัชกาลที่ 9[4]

สมรสกับคุณหญิงมากาเร็ต ลิน เซเวียร์ บุตรสาวของพระยาพิพัฒน์โกษา (เซเลสติโน ซาเวียร์)[ลิงก์เสีย] ปลัดทูลฉลองกระทรวงการต่างประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5 ทั้งสองมีบุตรธิดารวม 3 คน[5] ได้แก่ นายกิตติรัต ศรีวิสารวาจา, ท่านผู้หญิงมนัสนิตย์ วณิกกุล และท่านผู้หญิงสาวิตรี ศรีวิสารวาจา[6]

การทำงาน[แก้]

พระยาศรีวิสารวาจา มีบทบาทในทางการเมืองเป็นสมาชิกและเป็น ส.ส. สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง[7] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

บทบาทในทางวิชาการดำรงตำแหน่งเป็นอธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2507

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

พระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ทันพงษ์ รัศนานันท์. ลุงคำตัน ชีวิต / อุดมการณ์ / ความหวัง. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์เพอร์เฟคท์ พริ้นติ้ง, พ.ศ. 2550. หน้า หน้าที่. ISBN 974-94983-3-x ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: invalid character
  2. ลูกหลานชาวจีนฮุ่นเซ็กเตี่ยน[ลิงก์เสีย]
  3. "พระยาศรีวิสารวาจา จบการศึกษา". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-24. สืบค้นเมื่อ 2008-09-24.
  4. จีรวัฒน์ ครองแก้ว. องคมนตรี ศักดิ์ศรีแผ่นดิน. กรุงเทพ : มูลนิธิทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ, พ.ศ. 2550. 269 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-7362-09-1
  5. ปลัดทูลฉลองกระทรวงการต่างประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5
  6. สมโชติ อ๋องสกุล. "พันเอกพระยาศรีวิสารวาจา". ร่มพยอม. p. 8. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๑ ราย)
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๔๗ ง หน้า ๑๒๐๙, ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๐๐
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๙๕ ง หน้า ๓๐๔๒, ๑๓ ธันวาคม ๒๔๙๘
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๗๘ ง หน้า ๕๓๘๗, ๒๒ ธันวาคม ๒๔๙๖
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๘๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๓ ตุลาคม ๒๕๑๑
  12. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ, เล่ม ๔๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๓๔, ๙ พฤศจิกายน ๒๔๗๓
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๑๐ ง หน้า ๕๓๐, ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๖
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๒๒ ง หน้า ๙๓๗, ๒๒ มีนาคม ๒๕๐๓
  15. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๑๐๓, ๑๐ กรกฎาคม ๒๔๗๐
  16. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๒๔, ๑๘ ธันวาคม ๒๔๗๐
  17. 17.00 17.01 17.02 17.03 17.04 17.05 17.06 17.07 17.08 17.09 17.10 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๙๕ ง หน้า ๒๒๕๐, ๒๓ ตุลาคม ๒๕๐๕
  18. ราชกิจจุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๖๓ ง หน้า ๒๑๗๙, ๕ ตุลาคม ๒๔๙๗
  19. 19.0 19.1 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๙๕ ง หน้า ๒๒๔๙, ๒๓ ตุลาคม ๒๕๐๕
  20. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๑๗ ง หน้า ๖๐๒, ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๑
  • สำนักนายกรัฐมนตรี, ศรีวิสารวาจา, พระนคร : โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี, 2511. [นายกรัฐมนตรี พิมพ์เป็นบรรณาการ เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ พันเอก พระยาศรีวิสารวาจา]
ก่อนหน้า พระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล) ถัดไป
ก่อนสมัยที่ 2
สุนทร หงส์ลดารมภ์
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(สมัยที่ 1
21 เม.ย. พ.ศ. 2507 — 1 มิ.ย. พ.ศ. 2509
สมัยที่ 2
10 ก.พ. พ.ศ. 2511 — 23 มี.ค. พ.ศ. 2511)
หลังสมัยที่ 1
สุนทร หงส์ลดารมภ์
หลังสมัยที่ 2
ประเสริฐ รุจิรวงศ์