ข้ามไปเนื้อหา

รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

หน้าถูกกึ่งป้องกัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาพจากบนซ้าย วนตามเข็มนาฬิกา: ขบวนรถไฟฟ้าบีทีเอส, รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล, รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์
ข้อมูลทั่วไป
เจ้าของกรุงเทพมหานคร
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
การรถไฟแห่งประเทศไทย
ที่ตั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ประเภทระบบขนส่งมวลชนเร็ว, โมโนเรล, รถไฟฟ้าชานเมือง และระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ
จำนวนสาย10 สาย (ปัจจุบัน)
12 สาย (โครงการ)[ต้องการอ้างอิง]
จำนวนสถานี190 (ปัจจุบัน)
308 (โครงการ)[ต้องการอ้างอิง]
ผู้โดยสารต่อวัน1,897,655 คน-เที่ยว (ข้อมูลจำนวนผู้ใช้งานสูงสุด วันที่ 15 พฤศจิกายน 2567)[1]
การให้บริการ
เริ่มดำเนินงาน5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 (24 ปี 349 วัน)
ผู้ดำเนินงานระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ
กรุงเทพธนาคม
ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ
รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.
อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล
นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล
เอเชีย เอรา วัน
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง276.84 กม. (ตั้งแต่วันที่ 21 พย. 2566)[2]
565.54 กม. (โครงการ)
จำนวนราง2
รางกว้างรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน: 1.435 เมตร
รถไฟฟ้าชานเมือง: 1.000 เมตร
การจ่ายไฟฟ้ารางที่สาม และ จ่ายไฟเหนือหัว
ความเร็วสูงสุดรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน: 80 กม./ชม.
รถไฟฟ้าชานเมือง: 120-160 กม./ชม.
ผังเส้นทาง

โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง เป็นระบบขนส่งทางรางในเขตเมืองในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เริ่มเปิดให้บริการเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2542 ในเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท (สถานีหมอชิตสถานีอ่อนนุช) และรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม (สถานีสนามกีฬาแห่งชาติสถานีสะพานตากสิน) โดยในปัจจุบันมีรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้วทั้งสิ้น 10 สาย 190 สถานี ครอบคลุมระยะทางไม่น้อยกว่า 277 กิโลเมตร

ประวัติ

จุดเริ่มต้น

นับตั้งแต่เริ่มเกิดปัญหาการจราจรติดขัดในกรุงเทพมหานคร ช่วงยุคคริสต์ทศวรรษ 1960 และได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นเป็นลำดับจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2514 รัฐบาลไทยได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลเยอรมันส่งคณะผู้เชี่ยวชาญมาทำการศึกษา สำรวจ และวางแผนแม่บทสำหรับการจราจรและขนส่งในกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้เสนอแนะให้มีระบบรถขนส่งมวลชนแบบเร็ว (Mass Rapid Transit System) เพื่อแก้ไขปัญหาการเดินทางและการจราจรในกรุงเทพมหานคร จึงดำเนินการจัดตั้งการทางพิเศษแห่งประเทศไทยขึ้นมาเป็นผู้รับผิดชอบโครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (Mass Rapid Transit System) และโครงการระบบทางด่วนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร[3]

ต่อมากระทรวงคมนาคมได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่น โดยองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจและวิศวกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเดินขบวนรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย จึงริเริ่มแผนการทำโครงการระบบการขนส่งทางรถไฟและทางด่วนยกระดับ (Bangkok Elevated Road & Trains System (BERTS)) โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นการสร้างทางรถไฟ รถไฟฟ้า และทางด่วนยกระดับขึ้นมา เพื่อแก้ปัญหาการจราจรที่ติดขัดจากปัญหาจุดตัดทางรถไฟที่ทำให้กีดขวางกระแสการจราจร ก่อนที่ภายหลังจึงนำผลการศึกษาของไจก้าไปสู่ภาคปฏิบัติในรัฐบาลชาติชาย ชุณหะวัณ[4]

ในปี พ.ศ. 2533 กระทรวงคมนาคมได้มีการลงนามสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าลาวาลินกับ บริษัท เอสเอ็นซี-ลาวาลิน จำกัด ในเดือนพฤษภาคมและลงนามสัมปทานโครงการโฮปเวลล์กับบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ในวันที่ 9 พฤศจิกายนปีเดียวกัน เพื่อดำเนินการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนทางรางในพื้นที่กรุงเทพมหานคร[5][6] แต่ทั้งสองโครงการประสบความล่าช้าเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจไม่เติบโตตามที่คาดการณ์ รวมถึงปัญหาการส่งมอบพื้นที่และปัญหาการทุจริต ภายหลังรัฐประหาร พ.ศ. 2534 รัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน โดยนายนุกูล ประจวบเหมาะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในขณะนั้น ได้เข้ามาตรวจสอบสัญญาสัมปทานทั้งหมดที่มีเงื่อนไขการผูกขาด จึงได้ประกาศยกเลิกโครงการทั้งสอง

แม้ว่าโครงการโฮปเวลล์จะถูกประกาศยกเลิกแล้ว แต่ยังไม่ได้มีการบอกเลิกสัญญา โครงการจึงยังคงเดินหน้าต่อ แต่ทว่าในเงื่อนไขกลับไม่ระบุรายละเอียดให้ชัดเจนบวกกับปัญหาในการจัดหาแหล่งเงินทุน เงินกู้ หลักทรัพย์ค้ำประกันสัญญา และปัญหาเรื่องแบบก่อสร้าง ต่อมาจึงบอกเลิกสัญญาและมีผลจริงในรัฐบาลชวน หลีกภัย สมัยที่ 2 ซึ่งขณะนั้นนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ลงนามบอกเลิกสัญญาสัมปทานอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2541[7]

การเกิดขึ้นของบีทีเอสและรฟม.

ภายหลังจากประกาศยกเลิก 2 โครงการดังกล่าวไปแล้ว กรุงเทพมหานคร โดยพลตรีจำลอง ศรีเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในขณะนั้น ได้อนุมัติโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร และลงนามสัมปทานกับบริษัท ธนายง จำกัด ในวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2535[8] ให้ดำเนินการระบบขนส่งมวลชนทางรางในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในระยะแรกของการก่อสร้างกลับพบปัญหาในการหาสถานที่ตั้งศูนย์ซ่อมบำรุงโครงการ เนื่องจากเดิมกรุงเทพมหานครได้อนุมัติให้มีการใช้พื้นที่ของสวนลุมพินีในการก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง แต่การก่อสร้างถูกคัดค้านเนื่องจากประชาชนไม่เห็นด้วย กรุงเทพมหานครจึงพิจารณาย้ายศูนย์ซ่อมบำรุงไปใช้พื้นที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์ อันเป็นที่ตั้งของสถานีขนส่งหมอชิต บริษัทธนายงจึงสามารถดำเนินการก่อสร้างโครงการฯ ได้ และเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 ภายหลังได้รับชื่อพระราชทานโครงการว่า "รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา" หรือชื่อที่เรียกโดยทั่วไปว่า "รถไฟฟ้าบีทีเอส"[9]

ในขณะที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ก็ได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2535 เพื่อดำเนินการแผนแม่บทโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนตามแนวทางของรัฐบาลในนามของ องค์การรถไฟฟ้ามหานคร ในขณะนั้น ซึ่งเป็นหน่วยงานที่แยกออกมาดำเนินการต่างหากจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 สภาได้มีการพิจารณาและประกาศใช้พระราชบัญญัติองค์การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 เพื่อปรับปรุงอำนาจหน้าที่ขององค์กรให้สามารถดำเนินกิจการรถไฟฟ้าให้เป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในนามของ "การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย" ก่อนที่โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล อันเป็นรถไฟฟ้าสายแรกของ รฟม. และรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกของประเทศไทย" เปิดให้บริการเมื่อปี พ.ศ. 2547[10][11]

ปัจจุบัน

ปัจจุบันรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อยู่ภายใต้แผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางราง M-Map ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 ซึ่งแต่เดิมโครงการมีเส้นทางระบบขนส่งมวลชนทั้งหมด 9 เส้นทาง แต่ได้มีการขยายออกเป็นทั้งหมด 14 เส้นทาง เปิดให้บริการแล้วกว่า 276.84 กิโลเมตร และกำลังอยู่ในระหว่างการศึกษา M-Map ระยะที่ 2 เพื่อปรับปรุงแผนแม่บทรถไฟฟ้าให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และพฤติกรรมการเดินทางของผู้โดยสารในอนาคต[12]

ลำดับเหตุการณ์

ลำดับเหตุการณ์การพัฒนา
ปี (พ.ศ.) วันที่ เหตุการณ์
2542 5 ธันวาคม เปิดให้บริการ รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท (สถานีหมอชิตอ่อนนุช)
เปิดให้บริการ รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม (สถานีสนามกีฬาแห่งชาติสะพานตากสิน)
2547 3 กรกฎาคม เปิดให้บริการ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สถานีบางซื่อหัวลำโพง)
2552 15 พฤษภาคม เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม (สถานีสะพานตากสินวงเวียนใหญ่)
2553 23 สิงหาคม เปิดให้บริการ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (สถานีสุวรรณภูมิพญาไท)
2554 12 สิงหาคม เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท (สถานีอ่อนนุชแบริ่ง)
2556 12 มกราคม เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม (สถานีวงเวียนใหญ่โพธิ์นิมิตร)
14 กุมภาพันธ์ เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม (สถานีโพธิ์นิมิตรตลาดพลู)
5 ธันวาคม เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม (สถานีตลาดพลูบางหว้า)
2559 6 สิงหาคม เปิดให้บริการ รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สถานีคลองบางไผ่เตาปูน)
2560 3 เมษายน เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท (สถานีแบริ่งสำโรง)
11 สิงหาคม เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สถานีบางซื่อเตาปูน)[13]
2561 6 ธันวาคม เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท (สถานีสำโรงเคหะฯ)[14]
2562 29 กรกฎาคม เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สถานีหัวลำโพงท่าพระ)[15]
9 สิงหาคม เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท (สถานีหมอชิตห้าแยกลาดพร้าว)
24 สิงหาคม เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สถานีท่าพระบางหว้า)[16]
21 กันยายน เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สถานีบางหว้าหลักสอง)
4 ธันวาคม เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท (สถานีห้าแยกลาดพร้าวมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สถานีเตาปูนสิรินธร)
23 ธันวาคม เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สถานีสิรินธรท่าพระ)
2563 5 มิถุนายน เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท (สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วัดพระศรีมหาธาตุ)
16 ธันวาคม[17][18] เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท (สถานีวัดพระศรีมหาธาตุคูคต)
2564 16 มกราคม เปิดให้บริการ รถไฟฟ้าสายสีทอง (สถานีกรุงธนบุรีสถานีคลองสาน)
8 กุมภาพันธ์[19] เปิดให้บริการสถานีเพิ่มเติมในเส้นทาง รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม (สถานีเซนต์หลุยส์)
29 พฤศจิกายน[20] เปิดให้บริการ รถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา (สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์รังสิต)
เปิดให้บริการ รถไฟฟ้าชานเมือง สายนครวิถี (สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ตลิ่งชัน)
2566 3 กรกฎาคม[21] เปิดให้บริการ รถไฟฟ้ามหานคร สายนัคราพิพัฒน์ (สถานีลาดพร้าวสำโรง)
2567 7 มกราคม[22] เปิดให้บริการ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู (สถานีศูนย์ราชการนนทบุรีมีนบุรี)

กำหนดการในอนาคต

กำหนดการในอนาคต
ปี (พ.ศ.) เดือน เหตุการณ์
2568 ยังไม่กำหนด เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู (สถานีเมืองทองธานีทะเลสาบเมืองทองธานี)
2570 เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (ลาดกระบังท่าอากาศยานอู่ตะเภา)[23]
เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สถานีเตาปูนสถานีครุใน)
เปิดให้บริการ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ส่วนตะวันออก (สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยสถานีแยกร่มเกล้า)
2571 เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา (บางซื่อหัวลำโพง) และ ส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าชานเมือง สายนครวิถี (บางซื่อหัวหมาก)
เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา (รังสิตธรรมศาสตร์รังสิต) และ ส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าชานเมือง สายนครวิถี (ตลิ่งชันศาลายา และ ตลิ่งชันศิริราช)
2572 เปิดให้บริการ รถไฟฟ้าสายสีเงิน (สถานีบางนาสถานีธนาซิตี้)[24]
เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (สถานีพญาไทสถานีท่าอากาศยานดอนเมือง)
เปิดให้บริการ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ส่วนตะวันตก (สถานีบางขุนนนท์สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย)

รายชื่อสายรถไฟฟ้า

สายที่ให้บริการในปัจจุบัน

สาย รูปแบบ เจ้าของ ผู้ให้บริการ สถานีปลายทาง จำนวนสถานี ระยะทาง
(กิโลเมตร)
จำนวนผู้โดยสาร
ต่อวัน (คน)
ปีที่เปิดให้บริการ (พ.ศ.)
ส่วนแรก ส่วนต่อขยาย
ล่าสุด
รถไฟฟ้าบีทีเอส (3 สาย) 63[ก] 70.05 751,666
สายสุขุมวิท ระบบขนส่งมวลชนเร็ว กทม. เคที / บีทีเอสซี คูคตเคหะฯ 47 53.58 รวมกัน
744,283
2542 2563
สายสีลม สนามกีฬาแห่งชาติบางหว้า 14 14.67 2564
สายสีทอง ระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ กรุงธนบุรีคลองสาน 3 1.80 7,383 2564
รถไฟฟ้ามหานคร (4 สาย) 106[ข] 136.5 607,496
สายสีน้ำเงิน ระบบขนส่งมวลชนเร็ว รฟม. บีอีเอ็ม ท่าพระศูนย์วัฒนธรรมฯหลักสอง 38[ข] 48 435,042 2547 2562
สายสีม่วง คลองบางไผ่เตาปูน 16 23.6 72,177 2559
สายสีชมพู รถไฟรางเดี่ยว เอ็นบีเอ็ม / บีทีเอสซี ศูนย์ราชการนนทบุรีมีนบุรี 30 34.5 58,622 2567
สายสีเหลือง อีบีเอ็ม / บีทีเอสซี ลาดพร้าวสำโรง 23 30.4 41,655 2566
รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (1 สาย) 8 28.6 67,312
สายซิตี้ รถไฟชานเมือง (รถไฟเชื่อมท่าอากาศยาน) รฟท. เอฟเอส / เอราวัน สุวรรณภูมิพญาไท 8 28.6 67,312 2553
รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง (2 สาย) 13[ค] 41.0 33,830
สายสีแดงเข้ม รถไฟชานเมือง รฟท. รฟฟท. (ชั่วคราว) กรุงเทพอภิวัฒน์รังสิต 10 26 รวมกัน
33,830
2564
สายสีแดงอ่อน กรุงเทพอภิวัฒน์ตลิ่งชัน 4 15
รวมทั้งหมด (10 สาย) 190 276.15 1,460,304[25]
หมายเหตุ
  • นับสถานีเชื่อมต่อ (สยาม) เป็นสถานีเดียว ยกเว้นสถานีกรุงธนบุรี
  • นับสถานีเชื่อมต่อ (เตาปูน/ท่าพระ) เป็นสถานีเดียว ยกเว้นสถานีลาดพร้าว และศูนย์ราชการนนทบุรี
  • นับสถานีเชื่อมต่อ (กรุงเทพอภิวัฒน์) เป็นสถานีเดียว

สายที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการ

สาย รูปแบบ ผู้ให้บริการ จำนวนสถานี ระยะทาง
(กิโลเมตร)
สถานีปลายทาง การดำเนินงาน (พ.ศ.)
ก่อสร้าง เปิดบริการ/กำหนดเสร็จ
สายสีชมพู
(ส่วนต่อขยาย)
รถไฟรางเดี่ยว เอ็นบีเอ็ม / บีทีเอสซี 2 2.65 เมืองทองธานี - ทะเลสาบเมืองทองธานี 2567 2568
สายสีส้ม ขนส่งมวลชนเร็ว รฟม.
บีอีเอ็ม
29 35.9 บางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - แยกร่มเกล้า 2560 2570[26]
สายสีม่วง
(ส่วนต่อขยาย)
ขนส่งมวลชนเร็ว รฟม.
บีอีเอ็ม
17 23.6 เตาปูน - ครุใน 2565
สายซิตี้ และ เอชเอสอาร์ เชื่อม 3 สนามบิน
(ส่วนต่อขยาย)
เชื่อมท่าอากาศยาน
ความเร็วสูง
ร.ฟ.ท.
เอราวัน
7 215.3 ท่าอากาศยานดอนเมือง - พญาไท
ลาดกระบัง - ท่าอากาศยานอู่ตะเภา
(ผ่าน 5 จังหวัด: กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง)
2566-2567[26]

แผนแม่บท

แนวคิดในการพัฒนาแผนแม่บท มีขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 โดยรัฐบาลไทยได้ขอความร่วมมือไปยังรัฐบาลเยอรมนีในการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนร่วมกัน ซึ่งต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้มีการศึกษา ผลักดัน และสนับสนุนการจัดทำแผนแม่บทอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 โดยมีลำดับการพัฒนาแผนแม่บทดังต่อไปนี้

พ.ศ. 2537 : แผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร (MTMP)

ในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2537 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร และกำหนดให้มีการพัฒนาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 ถึง พ.ศ. 2554 แผนแม่บทฉบับนี้มีระบบขนส่งมวลชนที่รอการพัฒนาทั้งหมดสามโครงการคือ รถไฟฟ้าธนายง (สายสีเขียว) ตอน 1 และ ตอน 2 รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ตอน 1 และโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรถไฟยกระดับในกรุงเทพมหานคร (สายสีแดง) พร้อมส่วนต่อขยายและสายทางใหม่ ระยะทางรวม 135 กิโลเมตร แบ่งการดำเนินการออกเป็นสองระยะ ดังนี้

  • ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2538 – พ.ศ. 2544) ประกอบด้วย รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายทิศตะวันตกเฉียงเหนือและส่วนต่อขยายทิศตะวันตก รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายทิศเหนือ ส่วนต่อขยายทิศตะวันตกเฉียงใต้ และส่วนต่อขยายทิศตะวันออก และโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตะวันออก-ตะวันตก และช่วงเหนือ-ใต้ รวมระยะทางทั้งหมด 71.4 กิโลเมตร
  • ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2544 – พ.ศ. 2554) ประกอบด้วย รถไฟฟ้าสายสีม่วงตอน 1 และตอน 2 รถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนต่อขยายด้านตะวันออก ส่วนต่อขยายตะวันออก-ตะวันตก และรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนต่อขยายตะวันออกและส่วนต่อขยายตะวันออกเฉียงใต้ รวมระยะทางทั้งหมด 63.6 กิโลเมตร

ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 สจร. (สนข. ในปัจจุบัน) ได้มีการนำแผนแม่บทฉบับนี้ไปปรับปรุงเพิ่มเติมจนเป็นโครงการศึกษาและออกแบบเพื่อนำแผนแม่บทไปสู่การปฏิบัติ (CTMP) พร้อมกับขยายเส้นทางเพิ่มเติมออกไปอีกเป็น 178.9 กิโลเมตร และในปีเดียวกันได้มีการพิจารณาเพิ่มเติมโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรองทั้งรถไฟฟ้าโมโนเรล และรถไฟฟ้าขนาดเบา เพื่อเสริมให้กรุงเทพมหานครเป็นมหานครแห่งการขนส่งทางราง ด้วยโครงการระบบขนส่งมวลชนทั้งหมด 11 โครงการ ระยะรวม 206 กิโลเมตร ดังต่อไปนี้

  1. รถไฟฟ้าสายสีแดง ระยะทาง 44.8 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
    • R-1 ระยะทาง 14.3 กิโลเมตร ต่อขยายทางทิศตะวันตก ประกอบด้วยช่วงยมราช-บางกอกน้อย-ตลิ่งชัน และตลิ่งชัน-วงแหวนรอบนอก
    • R-2 ระยะทาง 16.9 กิโลเมตร ต่อขยายทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประกอบด้วยช่วงหัวลำโพง-วงเวียนใหญ่-โพธิ์นิมิตร และโพธิ์นิมิตร-วงแหวนรอบนอก
    • R-3 ระยะทาง 13.6 กิโลเมตร ต่อขยายทางทิศตะวันออก ประกอบด้วยช่วงหัวหมาก-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิด้านเหนือ
  2. รถไฟฟ้าสายสีเขียว ระยะทาง 33.4 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่
    • G-1 ระยะทาง 21.4 กิโลเมตร ต่อขยายทางทิศตะวันออก ประกอบด้วยช่วงอ่อนนุช-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิด้านใต้
    • G-2 ระยะทาง 3.4 กิโลเมตร ต่อขยายทางทิศเหนือ ประกอบด้วยช่วงหมอชิต-รัชโยธิน
    • G-3 ระยะทาง 2.7 กิโลเมตร ต่อขยายทางทิศตะวันตก ประกอบด้วยช่วงสาทร-วงเวียนใหญ่
    • G-4 ระยะทาง 5.9 กิโลเมตร ต่อขยายทางทิศตะวันออก ประกอบด้วยช่วงบางนา-สำโรง
  3. รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ระยะทาง 24 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
    • B-1 ระยะทาง 11 กิโลเมตร ต่อขยายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประกอบด้วยช่วงบางซื่อ-สะพานพระนั่งเกล้า
    • B-2 ระยะทาง 13 กิโลเมตร ต่อขยายทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประกอบด้วยช่วงหัวลำโพง-บางกอกใหญ่-บางแค
  4. รถไฟฟ้าสายสีส้ม ระยะทาง 55 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
    • ON (ส่วนเหนือ) ระยะทาง 20.9 กิโลเมตร ประกอบด้วยช่วงบางกะปิ-ผ่านฟ้า
    • OS (ส่วนใต้) ระยะทาง 22.8 กิโลเมตร ประกอบด้วยช่วงผ่านฟ้า-ราษฎร์บูรณะ-สำโรงใต้
    • OE (ส่วนตะวันออก) ระยะทาง 11.8 กิโลเมตร ประกอบด้วยช่วงบางกะปิ-มีนบุรี
  5. รถไฟฟ้าสายสีม่วง ระยะทาง 21.2 กิโลเมตร แบ่งออกเป็นสองส่วน ได้แก่
    • PN (ส่วนเหนือ) ระยะทาง 16 กิโลเมตร ประกอบด้วยช่วงเตาปูน-บางพูด (ปากเกร็ด)
    • PS (ส่วนใต้) ระยะทาง 5.2 กิโลเมตร ประกอบด้วยช่วงเตาปูน-สามเสน (ซังฮี้)
  6. โครงการระบบขนส่งมวลชนรอง
    1. ศูนย์ชุมชนบางบัวทอง-ศูนย์ชุมชนตลิ่งชัน (เชื่อมต่อสายสีแดง R-1)
    2. สามแยกบางใหญ่-สะพานพระนั่งเกล้า (เชื่อมต่อสายสีน้ำเงิน B-1)
    3. สะพานพระราม 7-ดาวคะนอง (เชื่อมต่อสายสีส้ม OS)
    4. ราษฎร์บูรณะ-พุทธบูชา (เชื่อมต่อสายสีส้ม OS)
    5. ราษฎร์บูรณะ-บางมด (เชื่อมต่อสายสีส้ม OS)
    6. วงแหวนหัวลำโพง-พระราม 3 (เชื่อมต่อสายสีแดง R-2 สายสีเขียวตอน 2 และสายสีน้ำเงินตอน 1)
    7. สำโรง-ศรีสำโรง (เชื่อมต่อสายสีเขียว G-4 และสายสีส้ม OS)
    8. รัชโยธิน-ศรีเอี่ยม (เชื่อมต่อสายสีเขียว G-2 และ G-1)
    9. รามคำแหง-อ่อนนุช (เชื่อมต่อสายสีเขียวตอน 1 และสายสีส้ม OE)
    10. ปากเกร็ด-มีนบุรี (เชื่อมต่อสายสีม่วง PN สายสีแดงตอน 1 และสายสีส้ม ON)
    11. อ่อนนุช-พัฒนาการ
    12. รัชโยธิน-ศูนย์ชุมชนมีนบุรี
    13. ลำลูกกา-ประชาอุทิศ
    14. วัชรพล-ประชาอุทิศ
    15. นวลจันทร์-บางกะปิ

พ.ศ. 2543 : แผนแม่บทการขนส่งมวลชนระบบรางในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง (URMAP)

หลังเหตุการณ์ วิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ซึ่งเกิดขึ้นจากการลอยตัวค่าเงินบาทในประเทศไทยจนส่งผลกระทบต่อประเทศรอบข้าง รัฐบาลไทยในสมัยชวลิต ยงใจยุทธ ได้มีแผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจในประเทศไทย รวมถึงได้บอกเลิกสัญญาสัมปทานกับบริษัท​ โฮปเวลล์ หลังการดำเนินการไม่เป็นไปตามแผนและหยุดการดำเนินการมาเป็นระยะเวลานาน ในปี พ.ศ. 2541 คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้ สนข. รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนแม่บทการขนส่งมวลชนระบบรางฉบับใหม่เพื่อใช้ทดแทนฉบับเดิม เนื่องมาจากการพัฒนาไม่เป็นไปตามแผน และประเทศอยู่ในระหว่างการฟื้นฟูสภาวะเศรษฐกิจ โดยมีสมมติฐานว่าสภาวะเศรษฐกิจในประเทศไทยจะกลับสู่สภาวะปกติและเริ่มฟื้นตัวทางบวกในปี พ.ศ. 2545 จึงมีแนวคิดในการศึกษาโครงการโดยเน้นการกระจายความเจริญของเมืองจากศูนย์กลางไปยังบริเวณรอบๆ ให้การพัฒนาเมืองกระจายตัวมากขึ้นตามถนนสายหลัก

แผนแม่บทฉบับนี้ได้มีการดัดแปลงเส้นทางหลายโครงการตามแผนแม่บทฉบับเดิม เน้นการกระจายตัวไปยังพื้นที่หลายส่วน ดังต่อไปนี้

  • ยกระดับสายสีแดงเดิมขึ้นมาเป็น รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง และกำหนดให้เป็นเส้นทางสายหลักสำหรับการเดินทางภายในกรุงเทพมหานคร
  • ยกระดับสายสีน้ำเงินขึ้นมาเป็น รถไฟฟ้าวงแหวน โดยเพิ่มช่วงเตาปูน-ท่าพระ ให้เป็นเส้นทางวงแหวนรอบใน และช่วงท่าพระ-คลองเตย ให้กลายเป็นเส้นทางวงแหวนรอบนอก
  • รวมเส้นทางระบบขนส่งมวลชนรองช่วงรัชโยธิน-ศรีเอี่ยม และช่วงสำโรง-ศรีสำโรง รวมถึงเพิ่มเส้นทางช่วงศรีเอี่ยม-ศรีสำโรง และยกระดับให้กลายเป็น รถไฟฟ้าสายสีเหลือง โดยแยกช่วงเป็นสองตอนคือตอน 1 ลาดพร้าว-พัฒนาการ และตอน 2 พัฒนาการ-สำโรงใต้
  • รวมเส้นทางระบบขนส่งมวลชนรองช่วงลำลูกกา-ประชาอุทิศ เข้ากับ รถไฟฟ้าสายสีเขียว และต่อขยายสายทางเพิ่มอีก 4 ช่วง ได้แก่ส่วนต่อขยายทิศเหนือ ประกอบด้วยช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ช่วงสะพานใหม่-คูคต และช่วงคูคต-ลำลูกกา ส่วนต่อขยายทิศใต้ ประกอบด้วยช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ส่วนต่อขยายทิศตะวันตก ประกอบด้วยช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-พรานนก และส่วนต่อขยายทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประกอบด้วยช่วงสาทร-วงเวียนใหญ่ และช่วงวงเวียนใหญ่-บางหว้า และยกเลิกส่วนต่อขยายจากแผนแม่บทฉบับเดิมทั้งหมด

พ.ศ. 2547 : โครงการแปลงแผนแม่บทการขนส่งมวลชนระบบรางในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่องไปสู่การปฏิบัติ (BMT)

แผนแม่บทฉบับนี้เป็นการแปลงแผนแม่บท URMAP ให้ไปสู่การปฏิบัติจริงบนพื้นฐานของนโยบายภาครัฐฯ ที่กำหนดให้โครงการในระยะที่ 1 ต้องแล้วเสร็จภายใน 6 ปี (พ.ศ. 2547 – พ.ศ. 2552) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สภาวะเศรษฐกิจฟื้นฟูจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำดีขึ้น แผนแม่บทฉบับนี้กำหนดให้มีโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่ที่คาดการณ์ว่าจะมีการใช้ที่ดินอย่างต่อเนื่องและเพิ่มมากขึ้นในอนาคต โดยกำหนดให้มีสถานีรถไฟฟ้า 1 สถานีในระยะ 2 กิโลเมตรสำหรับพื้นที่ชั้นใน และในระยะ 1-1.5 กิโลเมตรสำหรับพื้นที่ชั้นนอก เพื่อให้โครงการรถไฟฟ้าเป็นโครงการชี้นำเพื่อให้เกิดการพัฒนาเมืองต่อไป

โครงข่ายที่ถูกนำเสนอในแผนแม่บทฉบับนี้มีทั้งหมด 7 สายทาง ระยะทางรวม 291.2 กิโลเมตร เป็นส่วนที่ก่อสร้างขึ้นใหม่ 247.5 กิโลเมตร และส่วนเดิม 43.7 กิโลเมตร แบ่งลักษณะและสายทางเป็นสามกลุ่มดังนี้

  • เส้นทางวงแหวน ประกอบด้วย
    • สายสีน้ำเงิน (วงแหวนรัชดา-จรัญสนิทวงศ์) โดยยกเลิกช่วงท่าพระ-คลองเตยจากแผนแม่บทฉบับเดิม ให้เน้นเพียงแค่วงแหวนรอบใน กำหนดให้ช่วงท่าพระ-บางซื่อเป็นเส้นทางใต้ดิน และช่วงท่าพระ-บางแค และท่าพระ-บางซื่อ เป็นเส้นทางยกระดับ
  • เส้นทางแนวรัศมีเหนือ-ใต้ ประกอบด้วย
    • สายสีแดงเข้ม (รังสิต-มหาชัย) กำหนดให้เป็นเส้นทางยกระดับทั้งโครงการ
    • สายสีเขียวเข้ม (สะพานใหม่-บางหว้า) กำหนดให้เป็นเส้นทางยกระดับทั้งโครงการ
    • สายสีม่วง (บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ) เส้นทางสายนี้เกิดขึ้นจากการนำช่วงบางซื่อ-สะพานพระนั่งเกล้า ของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (ส่วนต่อขยาย B-1) และช่วงผ่านฟ้า-ราษฎร์บูรณะ-สำโรงใต้ ของรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ช่วง OS) ในแผนแม่บทฉบับเดิมมารวมเข้าด้วยกัน ก่อให้เกิดเส้นทางรถไฟฟ้าในแนวรัศมีเหนือ-ใต้ทางด้านทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานคร โดยกำหนดให้ช่วงบางซื่อ-ดาวคะนอง เป็นเส้นทางใต้ดิน และช่วงบางใหญ่-บางซื่อ และช่วงดาวคะนอง-ราษฎร์บูรณะ เป็นเส้นทางยกระดับ
  • เส้นทางแนวรัศมีตะวันออก-ตะวันตก ประกอบด้วย
    • สายสีแดงอ่อน (ตลิ่งชัน-สุวรรณภูมิ) กำหนดให้เป็นเส้นทางยกระดับทั้งโครงการ รวมถึงเปลี่ยนแนวเส้นทางให้ไปยึดตามแนวทางรถไฟสายใต้แทนการออกจากสถานียมราชแล้วยึดแนวทางรถไฟสายธนบุรี-ศิริราช
    • สายสีเขียวอ่อน (พรานนก-สมุทรปราการ) กำหนดให้เป็นเส้นทางยกระดับทั้งโครงการ
    • สายสีส้ม (บางบำหรุ-บางกะปิ) เส้นทางสายนี้เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนเส้นทางช่วงปลายด้านทิศตะวันตกให้ไปสิ้นสุดที่สถานีรถไฟบางบำหรุ เพื่อเชื่อมต่อรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง กำหนดให้ช่วงบางขุนนนท์-บางกะปิ เป็นเส้นทางใต้ดิน และช่วงบางขุนนนท์-บางบำหรุ เป็นเส้นทางยกระดับ

พ.ศ. 2549 : โครงข่ายรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน 10 สายทาง

ในปี พ.ศ. 2549 รัฐบาลได้มีการปรับปรุงแผนแม่บทโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนอีกครั้ง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อขยายแนวเส้นทางจากแผนแม่บทระยะที่ 1 ให้มีความครอบคลุมในพื้นที่กรุงเทพมหานครมากยิ่งขึ้น โดยมีการกำหนดให้เพิ่มเส้นทางใหม่จำนวน 3 สายทาง ดังนี้

  • สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-ศรีนครินทร์-สำโรง) ระยะทาง 32 กิโลเมตร เส้นทางนี้เคยปรากฏในแผนแม่บท URMAP แต่ถูกนำออกไปเมื่อครั้งปรับปรุงแผนแม่บท BMT
  • สายสีชมพู (แคราย-สุวินทวงศ์) ระยะทาง 33 กิโลเมตร เส้นทางนี้เคยปรากฏในแผนแม่บท CTMP แต่ถูกนำออกไปเมื่อครั้งปรับปรุงแผนแม่บท URMAP
  • สายสีน้ำตาล (บางกะปิ-มีนบุรี) ระยะทาง 9.5 กิโลเมตร

พ.ศ. 2551 : โครงข่ายระบบขนส่งมวลชนระยะที่หนึ่ง

ในปี พ.ศ. 2551 รัฐบาลได้มีการปรับปรุงแผนแม่บทโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนอีกครั้ง โดยเน้นการขยายตัวของเมือง เพิ่มเส้นทางระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่ชานเมืองโดยดูจากอัตราการเติบโตของเมืองที่มีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต โดยการปรับปรุงก่อให้เกิดเป็นแนวเส้นทางระบบขนส่งมวลชนทั้งหมด 9 สายทาง ระยะทาง 311 กิโลเมตร มีแนวเส้นทางที่ถูกปรับปรุงดังนี้

  • สายสีเขียวเข้ม ขยายปลายสายทางจากสะพานใหม่ ให้ไปสิ้นสุดที่ลำลูกกาตามแผนแม่บท BMT พร้อมกับร่างเส้นทางส่วนต่อขยายหนึ่งช่วง คือช่วง กม.25–รังสิต
  • สายสีเขียวอ่อน ขยายปลายสายทางจากสมุทรปราการ (บางปิ้ง) ให้ไปสิ้นสุดที่บริเวณบางปู พร้อมกับลดระยะทางในแผนแม่บท BMT จากพรานนกเหลือเพียงยศเส
  • สายสีม่วง ขยายปลายสายทางราษฎร์บูรณะให้ไปสิ้นสุดที่บริเวณป้อมประจุล
  • สายสีน้ำเงิน ขยายปลายสายทางจากบางแคให้ไปสิ้นสุดที่พุทธมณฑลสาย 4 พร้อมกับร่างเส้นทางส่วนต่อขยายไว้สองช่วง ได้แก่ช่วงลาดพร้าว-บางอ้อ และช่วงท่าพระ–คลองเตย
  • แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ แยกโครงการออกมาดำเนินการแยกจากสายสีแดงอ่อน
  • สายสีแดงอ่อน ลดระยะปลายสายทางจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเหลือเพียงแค่หัวหมาก
  • สายสีเหลือง ยกระดับจากเส้นทางสายรองให้กลายเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าวงแหวนรอบนอก แบ่งออกเป็นทั้งหมดสีช่วง ดังนี้
    • ทิศตะวันออกเฉียงใต้ (YA) ได้แก่ช่วงสำโรง-พัฒนาการ เชื่อมต่อกับสายสีเขียวอ่อน แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และสายสีแดงอ่อน
    • ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (YB) ได้แก่ช่วงพัฒนาการ-แคราย เชื่อมต่อกับสายสีแดงอ่อน สายสีส้ม สายสีน้ำตาล สายสีเขียวเข้ม และสายสีแดงเข้ม
    • ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (YC) ได้แก่ช่วงแคราย-บางหว้า เชื่อมต่อกับสายสีแดงเข้ม สายสีม่วง สายสีแดงอ่อน สายสีน้ำเงิน และสายสีเขียวเข้ม
    • ทิศตะวันตกเฉียงใต้ (YD) ได้แก่ช่วงบางหว้า-สำโรง เชื่อมต่อกับสายสีเขียวเข้ม สายสีน้ำเงิน สายสีแดงเข้ม สายสีม่วง และสายสีแดงอ่อน

พ.ศ. 2553 : การปรับปรุงโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนระยะที่หนึ่ง

ในปี พ.ศ. 2552 รัฐบาลได้มีมติให้มีการศึกษาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนใหม่อีกครั้ง โดยคำนึงถึงการขยายตัวของเมือง การกระจายความเจริญสู่พื้นที่ชานเมืองโดยอาศัยการชี้นำจากโครงการรถไฟฟ้า โดยแผนแม่บทฉบับนี้ได้มีการศึกษาเส้นทางรถไฟฟ้าไว้ทั้งหมด 12 สายทาง ระยะทางรวม 509 กิโลเมตร เป็นโครงข่ายสายหลัก 8 เส้นทาง โครงข่ายสายรอง 4 เส้นทาง ดังต่อไปนี้

โครงข่ายสายหลัก
  • สายสีแดงเข้ม (ธรรมศาสตร์-มหาชัย)
  • สายสีแดงอ่อน
    • ศาลายา-หัวหมาก เส้นทางสายนี้เกิดขึ้นจากการขยายปลายสายทางจากตลิ่งชันไปตามแนวทางรถไฟสายใต้เพื่อเข้าสู่ตัวเมืองจังหวัดนครปฐม
    • ตลิ่งชัน-มักกะสัน เส้นทางสายนี้เกิดขึ้นเนื่องจากการปรับเปลี่ยนเส้นทางสายสีส้มช่วงดินแดง-บางบำหรุ เพื่อให้มีระบบขนส่งมวลชนเชื่อมต่อ จึงได้เพิ่มสายทางช่วงตลิ่งชัน-มักกะสันเพิ่มขึ้นมา
  • แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ)
  • สายสีเขียวเข้ม (ลำลูกกา-บางปู)
  • สายสีเขียวอ่อน (ยศเส-บางหว้า)
  • สายสีน้ำเงิน (พุทธมณฑล-หัวลำโพง-บางซื่อ-ท่าพระ)
  • สายสีม่วง (บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ)
  • สายสีส้ม (ตลิ่งชัน-มีนบุรี) เส้นทางสายนี้เกิดขึ้นจากการปรับปรุงเส้นทางช่วงดินแดง-บางบำหรุ เป็นช่วงดินแดง-ตลิ่งชัน โดยให้รถไฟฟ้าวิ่งตามแนวถนนเพชรบุรีตัดใหม่แทน เนื่องจากแนวเส้นทางทับซ้อน และยังได้รวมเอาเส้นทางสายสีน้ำตาล (บางกะปิ-มีนบุรี) เข้าเป็นเส้นเดียวกัน
โครงข่ายสายรอง
  • สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี)
  • สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) เส้นทางสายนี้เกิดขึ้นจากการลดระดับของโครงการรถไฟฟ้าวงแหวนรอบนอก เหลือเพียงเส้นทางสายสีเหลืองตามแผนแม่บท 10 สายทาง
  • สายสีเทา (วัชรพล-สะพานพระราม 9) เส้นทางสายนี้เกิดขึ้นจากการนำเส้นทางระบบขนส่งมวลชนรอง ช่วงวัชรพล-ประชาอุทิศ ในแผนแม่บท CTMP มาขยายเส้นทางเพิ่มเติมให้ไปสิ้นสุดที่บริเวณสะพานพระราม 9
  • สายสีฟ้า (ดินแดง-สาทร) เส้นทางสายนี้เป็นเส้นทางเกิดขึ้นใหม่เพื่อรองรับการเปิดใช้งานศาลาว่าการกรุงเทพมหานครแห่งใหม่ และเพื่อเป็นการเสริมเส้นทางในย่านธุรกิจ

แผนแม่บทฉบับนี้เป็นแผนแม่บทที่มีการนำมาใช้พัฒนาโครงการจริงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 เป็นต้นมา ปัจจุบันการพัฒนาเสร็จสิ้นไปได้กว่า 70% ของแผนแม่บท แต่อย่างไรก็ตามด้วยระยะเวลาที่ผ่านไปและความไม่เหมาะสมของเส้นทาง จึงได้มีการปรับปรุงแผนแม่บทฉบับนี้อีกครั้ง โดยการปรับปรุงครั้งนี้ได้มีการยกเลิก ปรับปรุง รวมถึงพักการดำเนินการห้าสายทาง ได้แก่ สายสีแดงเข้ม ช่วงตลิ่งชัน-มักกะสัน ให้พักการดำเนินการไม่มีกำหนด แต่ให้ดำเนินการช่วงตลิ่งชัน-ศิริราชแทน แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ให้ยกระดับเป็นรถไฟความเร็วสูง แต่ยังคงเส้นทางช่วงดอนเมือง-พญาไท ตามเดิม สายสีส้มให้ลดระยะสถานีปลายทางเหลือเพียงสถานีบางขุนนนท์ เนื่องจากแนวเส้นทางทับซ้อน สายสีเทาและสายสีฟ้าให้ยกเลิกโครงการเนื่องจากไม่อยู่ในแผนเร่งรัด 4 ปี ทำให้โครงข่ายระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่องมีโครงข่ายสายทางทั้งหมด 10 สายมาจนถึงปัจจุบัน

พ.ศ. 2567 - โครงข่ายระบบขนส่งมวลชนระยะที่สอง (M-MAP 2)

เพื่อเป็นการรองรับการขยายตัวของเมืองออกสู่เขตปริมณฑลมากขึ้น ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2560 คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมและสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและแผนการจราจรดำเนินการศึกษาเส้นทางรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีก 10 สายทาง เพื่อบรรจุลงใน "แผนแม่บทการขนส่งมวลชนระบบรางในเขตกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง ระยะที่สอง" หรือ M-Map Phase 2 โดยให้ดำเนินการศึกษาร่วมกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือไจก้า เพื่อวางแผนสนับสนุนงบประมาณในการลงทุนหากมีความจำเป็นที่จะต้องกู้เงินจากต่างประเทศเพื่อดำเนินโครงการ

โครงข่ายระบบขนส่งมวลชนในระยะที่สอง จะเน้นการพัฒนาเส้นทางสายรองเพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองและป้อนผู้โดยสารสู่เส้นทางสายหลักของกรุงเทพมหานครทั้ง 7 เส้นทาง ได้แก่ รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท, สายสีลม, รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล, สายฉลองรัชธรรม, รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน, สายสีแดงเข้ม และรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน โดยเบื้องต้นสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและแผนการจราจรได้พิจารณานำเส้นทางที่ยังไม่ได้ดำเนินการ และ/หรือยังอยู่ในระหว่างการศึกษา และ/หรือเป็นแผนงานนอกแผนแม่บท และ/หรือถูกยกเลิกจากแผนแม่บทฉบับเดิม จำนวน 4 สายทางมาบรรจุเป็นเส้นทางนำร่อง รวมถึงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยยังได้เตรียมที่จะเสนอรถไฟฟ้าอีก 8 สายทางเพื่อบรรจุลงในแผนแม่บท ทำให้มีเส้นทางรวมเป็น 11 สายทางในแผนระยะต้น ต่อมาสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและแผนการจราจรได้เปิดเผยรายละเอียดร่างแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนระยะที่สองที่ผ่านความเห็นชอบร่วมกับไจก้า โดยกำหนดให้มีเส้นทางรถไฟฟ้าสายใหม่จำนวน 5 เส้นทาง 131 กิโลเมตร ทั้งต่อขยายจากเส้นทางเดิมและร่างเป็นเส้นทางสายใหม่ อย่างไรก็ตามด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป กรมการขนส่งทางราง (สถานะปัจจุบันของ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและแผนการจราจร) ได้พิจารณาแผนแม่บทโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนระยะที่สองใหม่ทั้งหมด และได้นำเสนอเส้นทางระบบขนส่งมวลชนสายใหม่อันเป็นแผนงานระยะยาว (Project Long List) จำนวน 29 สาย เพื่อเตรียมพิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติใช้เป็นแผนแม่บทฉบับจริงต่อไป

ต่อมาในวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 กรมการขนส่งทางราง ได้ประกาศร่างแผนแม่บทการขนส่งมวลชนระบบรางในเขตกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง ระยะที่สอง อย่างเป็นทางการ โดยแผนแม่บทฉบับนี้จะเป็นฉบับที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อเริ่มอนุมัติใช้งานอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2567 และเร่งรัดการเริ่มพัฒนาทุกโครงการภายใน 20 ปี หรือภายใน พ.ศ. 2585 ประกอบด้วยสามหมวดหลัก ได้แก่

กลุ่มที่ 1 ส่วนต่อขยายเส้นทางเดิม

ส่วนต่อขยายเส้นทางเดิม ประกอบด้วยเส้นทางที่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จจากแผนแม่บทฉบับเดิม ร่วมกับเส้นทางเสนอใหม่ ได้แก่

  1. สายสุขุมวิท
    • ส่วนเหนือ ช่วงสถานีคูคต - วงแหวนรอบนอกตะวันออก (วงแหวน-ลำลูกกา) เป็นเส้นทางตามแผนแม่บทเดิมที่ดำเนินการไม่แล้วเสร็จ และกรุงเทพมหานครยุติแผนดำเนินการชั่วคราวจนกว่าจะได้ความชัดเจนเรื่องหลักประกันผู้โดยสาร
    • ส่วนตะวันออก ช่วงสถานีเคหะสมุทรปราการ - ตำหรุ เป็นเส้นทางตามแผนแม่บทเดิมที่ดำเนินการไม่แล้วเสร็จ และกรุงเทพมหานครยุติแผนดำเนินการชั่วคราวจนกว่าจะได้ความชัดเจนเรื่องหลักประกันผู้โดยสาร
  2. สายสีลม
    • ส่วนตะวันตก ช่วงสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ - ยศเส เป็นเส้นทางที่ยังไม่ได้มีการดำเนินการในปัจจุบัน
    • ส่วนใต้ ช่วงสถานีบางหว้า - รัตนาธิเบศร์ (บางรักน้อยท่าอิฐ) เป็นเส้นทางนำเสนอใหม่ของไจก้าในช่วงบางหว้า-แยกลำสาลี แต่เนื่องจาก รฟม. ได้นำเอาช่วงสถานีศูนย์ราชการนนทบุรี-แยกลำสาลี ออกมาพัฒนาเป็นสายสีน้ำตาล กรมการขนส่งทางรางจึงพิจารณาเปลี่ยนเส้นทางที่ขาดหายไปในช่วงบางหว้า-ศูนย์ราชการนนท์ฯ ให้กลายเป็นส่วนต่อขยายของสายสีลม และสิ้นสุดที่แยกบางรักน้อยท่าอิฐแทน
  3. สายสีแดงเข้ม
    • ส่วนเหนือ ช่วงสถานีรังสิต - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นเส้นทางที่ยังไม่ได้มีการดำเนินการในปัจจุบัน
    • ส่วนใต้ ระยะที่ 1 ช่วงสถานีบางซื่อ (สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์) - หัวลำโพง เป็นเส้นทางที่ยังไม่ได้มีการดำเนินการในปัจจุบัน
    • ส่วนใต้ ระยะที่ 2 ช่วงสถานีวงเวียนใหญ่ - มหาชัย เป็นเส้นทางที่ยังไม่ได้มีการดำเนินการในปัจจุบัน
    • ส่วนใต้ ระยะที่ 3 ช่วงสถานีหัวลำโพง - วงเวียนใหญ่ เป็นเส้นทางที่ยังไม่ได้มีการดำเนินการในปัจจุบัน
  4. สายสีแดงอ่อน
    • ส่วนตะวันตก ระยะที่ 1 ช่วงสถานีตลิ่งชัน - ศาลายา เป็นเส้นทางที่ยังไม่ได้มีการดำเนินการในปัจจุบัน
    • ส่วนตะวันตก ระยะที่ 2 ช่วงสถานีตลิ่งชัน - โรงพยาบาลศิริราช เป็นเส้นทางที่ยังไม่ได้มีการดำเนินการในปัจจุบัน
  5. สายซิตี้ ช่วงสถานีลาดกระบัง - ฉะเชิงเทรา เป็นเส้นทางนำเสนอใหม่ของกรมการขนส่งทางราง โดยเป็นการยกเลิกรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-หัวหมาก-ฉะเชิงเทรา มาใช้ประโยชน์จากโครงสร้างบางส่วนของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มาสร้างสถานีรายทางสำหรับสายซิตี้ เพื่อขยายเขตการเดินทางจากเดิมเพื่อทดแทนสายสีแดงอ่อนส่วนตะวันออกทั้งหมด
  6. สายสีน้ำเงิน ช่วงหลักสอง - พุทธมณฑล เป็นเส้นทางตามแผนแม่บทเดิมที่ดำเนินการไม่แล้วเสร็จ และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยยุติแผนดำเนินการชั่วคราวจนกว่าจะได้ความชัดเจนเรื่องหลักประกันผู้โดยสาร
  7. สายสีทอง ช่วงคลองสาน - ประชาธิปก เป็นเส้นทางตามแผนเดิมที่ดำเนินการไม่แล้วเสร็จ และกรุงเทพมหานครยุติแผนดำเนินการชั่วคราวจนกว่าจะได้ความชัดเจนเรื่องหลักประกันผู้โดยสาร
กลุ่มที่ 2 เส้นทางนำเสนอใหม่

เส้นทางนำเสนอใหม่ ประกอบด้วยเส้นทางที่มีการนำเสนอเพื่อดำเนินการใหม่ จำนวน 5 เส้นทาง ได้แก่

  1. สายสีน้ำตาล ช่วงศูนย์ราชการนนทบุรี - แยกลำสาลี เป็นเส้นทางนำเสนอใหม่ของไจก้าในช่วงบางหว้า-แยกลำสาลี แต่ต่อมาได้มีการแยกเส้นทางดังกล่าวออกเป็น 3 ส่วน โดยส่วนศูนย์ราชการนนท์ฯ-แยกลำสาลี เสนอให้พัฒนาในรูปแบบระบบรางเบา ส่วนท่าอิฐ-ศูนย์ราชการนนท์ ให้พัฒนาในรูปแบบ Feeder สำหรับป้อนเข้าระบบ และส่วนบางหว้า-ท่าอิฐ ให้พัฒนาเป็นส่วนต่อขยายของสายสีลม
  2. สายสีเทา ส่วนเหนือ เป็นเส้นทางนำเสนอใหม่ของกรุงเทพมหานคร โดยนำเอาเส้นทางสายสีเทาเดิมมาแยกส่วนให้ขาดจากกัน โดยเส้นทางส่วนเหนือส่วนใหญ่ยังเป็นเส้นทางตามแผนเดิม และกรมการขนส่งทางรางได้มีการขยายเพิ่มไปจนถึงถนนลำลูกกา
    • ระยะที่ 1 ช่วงวัชรพล - ทองหล่อ เสนอให้พัฒนาในรูปแบบระบบรางเบา
    • ระยะที่ 2 ช่วงวัชรพล - คลองสี่ เสนอเป็นเส้นทางส่วนต่อขยายจากระยะที่ 1
  3. สายสีเทา ส่วนใต้ เป็นเส้นทางนำเสนอใหม่ของกรุงเทพมหานคร โดยนำเอาเส้นทางรถโดยสารส่วนพิเศษ สายสาทร-ราชพฤกษ์ มาเปลี่ยนเป็นรถไฟฟ้า และรวมเข้ากับเส้นทางสายสีเทาส่วนที่ขาดจากเส้นทางตามแผนเดิม
    • ระยะที่ 1 ช่วงพระโขนง - พระรามที่ 3 เสนอให้พัฒนาในรูปแบบระบบรางเบา
    • ระยะที่ 2 ช่วงพระรามที่ 3 - ท่าพระ เสนอเป็นเส้นทางส่วนต่อขยายจากระยะที่ 1
  4. สายสีฟ้า ช่วงดินแดง - ช่องนนทรี เป็นเส้นทางที่ถูกรื้อฟื้นจากแผนแม่บทเดิม เนื่องจากเล็งเห็นว่าเส้นทางมีศักยภาพและมีความคุ้มค่าพอที่จะพัฒนา เสนอให้พัฒนาในรูปแบบระบบรางเบา
  5. สายสีเงิน ช่วงบางนา - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นเส้นทางนำเสนอใหม่ของกรุงเทพมหานคร โดยนำเอาเส้นทางส่วนต่อขยายของสายสีเขียวช่วงอุดมสุข-ศรีเอี่ยม-สุวรรณภูมิ มาดำเนินการแยกต่างหาก เสนอให้พัฒนาในรูปแบบระบบรางเบาหรือรางหนัก
กลุ่มที่ 3 เส้นทางรองป้อนผู้โดยสารเข้าสู่ระบบ

เป็นกลุ่มเส้นทางนำเสนอใหม่ที่ยังไม่ได้มีแผนการดำเนินการชัดเจน ส่วนใหญ่เป็นเส้นทางที่เน้นการป้อนผู้โดยสารเข้าสู่ระบบ อาจเสนอให้ดำเนินการในรูปแบบรถโดยสารประจำทาง รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ แทรมล้อยาง แทรมล้อเหล็ก หรืออาจพิจารณาเปลี่ยนเป็นส่วนต่อขยายของเส้นทางที่ถูกเชื่อมได้ ประกอบด้วย

  1. เส้นทาง ลาดพร้าว – รัชโยธิน – ท่าน้ำนนท์
  2. เส้นทาง ดอนเมือง – ศรีสมาน
  3. เส้นทาง ศาลายา – มหาชัย
  4. เส้นทาง ศรีนครินทร์ – บางบ่อ
  5. เส้นทาง คลอง 6 – องค์รักษ์
  6. เส้นทาง รัตนาธิเบศร์ – แยกปากเกร็ด
  7. เส้นทาง คลองสาน – ศิริราช
  8. เส้นทาง บางซื่อ – พระราม 3
  9. เส้นทาง ราชพฤกษ์ – แคราย
  10. เส้นทาง พระโขนง – ศรีนครินทร์
  11. เส้นทาง บางซื่อ – ปทุมธานี
  12. เส้นทาง เมืองทอง – ปทุมธานี
  13. เส้นทาง บางแค – สำโรง
  14. เส้นทาง แพรกษา – ตำหรุ
  15. เส้นทาง ธรรมศาสตร์ – นวนคร
  16. เส้นทาง บางนา – ช่องนนทรี
  17. เส้นทางสุวรรณภูมิ – บางบ่อ
  18. เส้นทาง บรมราชชนนี – ดินแดง – หลักสี่
  19. เส้นทาง ธัญบุรี – ธรรมศาสตร์
  20. เส้นทาง คลอง 3 – คูคต
  21. เส้นทาง มีนบุรี – สุวรรณภูมิ – แพรกษา - สุขุมวิท
  22. เส้นทาง เทพารักษ์ – สมุทรปราการ
  23. เส้นทาง บางใหญ่ – บางบัวทอง
  24. เส้นทาง บางปู – จักรีนฤบดินทร์
  25. เส้นทาง ครุใน – สมุทรปราการ
  26. เส้นทาง ปทุมธานี – ธัญบุรี

สรุปแผนพัฒนาในปัจจุบัน

สาย รูปแบบ ช่วงกว้างราง ยาว (กม.) จำนวนสถานี สถานะ และ แผนพัฒนา เจ้าของโครงการ
  สีแดงเข้ม รถไฟฟ้าชานเมือง Meter Gauge (1.000 m.) 80.8
บ้านภาชี – ธรรมศาสตร์รังสิต 28.00 ? ภายในปี พ.ศ. 2572 รฟท.
ธรรมศาสตร์รังสิต – รังสิต 10.30 4
รังสิต – บางซื่อ 26.00 10 เปิดให้บริการ เมื่อ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
บางซื่อ – หัวลำโพง 6.50 6 ภายในปี พ.ศ. 2572
หัวลำโพง – มหาชัย 36.000 17
มหาชัย – ปากท่อ 56.000 17
  สีแดงอ่อน รถไฟฟ้าชานเมือง Meter Gauge (1.000 m.) 58.5
ศาลายา – ตลิ่งชัน 14.0 4
ตลิ่งชัน – บางซื่อ 15.0 5 เปิดให้บริการ เมื่อ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
บางซื่อ – พญาไท – มักกะสัน 9.0 5
มักกะสัน – หัวหมาก 10.0 3
ตลิ่งชัน – ศิริราช 5.7 3
  แอร์พอร์ตเรลลิงก์ (เชื่อม 3 สนามบิน) รถไฟฟ้าชานเมือง
รถไฟความเร็วสูง
Standard Gauge (1.435 m.) 49.5
ท่าอากาศยานอู่ตะเภา – สุวรรณภูมิ 171.9 5 ภายในปี พ.ศ. 2567
สุวรรณภูมิ – พญาไท 28.6 8 เปิดให้บริการ เมื่อ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553
พญาไท – บางซื่อ – ดอนเมือง 7.8 1 ภายในปี พ.ศ. 2568
  สีเขียว (สุขุมวิท) ระบบขนส่งมวลชนเร็วยกระดับ Standard Gauge (1.435 m.) 66.5
วงแหวนรอบนอกตะวันออก – คูคต 6.5 4 ภายใน พ.ศ. 2575 กทม.
คูคต – หมอชิต 18.4 16 เปิดให้บริการ ครบทั้งเส้นทางเมื่อ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2563
หมอชิต – อ่อนนุช 16.5 17 เปิดให้บริการ เมื่อ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
อ่อนนุช – แบริ่ง 5.3 5 เปิดให้บริการ เมื่อ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554
แบริ่ง – เคหะฯ 12.8 9 เปิดให้บริการ ครบทั้งเส้นทางเมื่อ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561
เคหะฯ – ตำหรุ 7.0 4 ภายใน พ.ศ. 2575
  สีเขียว (สีลม) ระบบขนส่งมวลชนเร็วยกระดับ Standard Gauge (1.435 m.) 22.5
บางรักน้อยท่าอิฐ – ตลิ่งชัน 11 7 ภายใน พ.ศ. 2585 กทม.
ตลิ่งชัน – บางหว้า 7 4 ภายใน พ.ศ. 2572
บางหว้า – วงเวียนใหญ่ 5.3 4 เปิดให้บริการ ครบทั้งเส้นทางเมื่อ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556
วงเวียนใหญ่ – สะพานตากสิน 2.2 2 เปิดให้บริการ เมื่อ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
สะพานตากสิน – สนามกีฬาแห่งชาติ 7.0 7 เปิดให้บริการ เมื่อ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
สนามกีฬาแห่งชาติ – ยศเส 1.0 1 ภายใน พ.ศ. 2572
  สีน้ำเงิน ระบบขนส่งมวลชนเร็วใต้ดินและยกระดับ Standard Gauge (1.435 m.) 55.0
ท่าพระ – บางซื่อ 11.1 10 เปิดให้บริการ ครบทั้งเส้นทางเมื่อ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2562 รฟม.
บางซื่อ – หัวลำโพง 20.0 18 เปิดให้บริการ เมื่อ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
หัวลำโพง – ท่าพระ – หลักสอง 15.9 10 เปิดให้บริการ ครบทั้งเส้นทางเมื่อ 21 กันยายน พ.ศ. 2562
หลักสอง – พุทธมณฑลสาย 4 8.0 4 กำหนดเปิดให้บริการ ครบทั้งเส้นทาง พ.ศ. 2572 รฟม.
  สีม่วง ระบบขนส่งมวลชนเร็วใต้ดินและยกระดับ Standard Gauge (1.435 m.) 42.8
คลองบางไผ่ – เตาปูน 23.0 16 เปิดให้บริการ เมื่อ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2559 รฟม.
เตาปูน – ครุใน 19.8 16 ภายในปี พ.ศ. 2570 รฟม.
  สีส้ม ระบบขนส่งมวลชนเร็วใต้ดินและยกระดับ Standard Gauge (1.435 m.) 35.4
บางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย 13 13 กำหนดเปิดให้บริการ พ.ศ. 2570 รฟม.
ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – แยกร่มเกล้า 22 17 รฟม.
  สีชมพู โมโนเรล 36 30
ศูนย์ราชการนนทบุรี – เมืองทองธานี 11.0 10 เปิดให้บริการ ครบทั้งเส้นทางเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 รฟม.
เมืองทองธานี – ทะเลสาบเมืองทองธานี 3.1 2 กำหนดเปิดให้บริการ พ.ศ. 2568
เมืองทองธานี – หลักสี่ 4.2 4 เปิดให้บริการ เมื่อ 7 มกราคม พ.ศ. 2567
หลักสี่ – มีนบุรี 18 16
มีนบุรี – ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ~15 อยู่ระหว่างการออกแบบเส้นทาง
  สีเหลือง โมโนเรล 30.4 23
ลาดพร้าว – สำโรง 30.4 23 เปิดให้บริการ เมื่อ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 รฟม.
  สีเทา โมโนเรล 26.0
ลำลูกกา – วัชรพล 14 ภายในปี พ.ศ. 2575 กทม.
วัชรพล – ทองหล่อ 16.2 15 ภายในปี พ.ศ. 2568
พระโขนง – พระราม 3 12.1 15 ภายในปี พ.ศ. 2572
พระราม 3 – ท่าพระ 11.48 9
  สีน้ำตาล โมโนเรล 21
ศูนย์ราชการนนทบุรี – ลำสาลี 21 23 ภายในปี พ.ศ. 2572 รฟม.
  สีเงิน รถไฟฟ้ารางเบายกระดับ Standard Gauge (1.435 m.) 30
แม่น้ำ – สรรพาวุธ ~8 ภายในปี พ.ศ. 2575 กทม.
สรรพาวุธ – บางนา 1.9 ภายในปี พ.ศ. 2572
บางนา – ธนาซิตี้ 15.1 12
ธนาซิตี้ – ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 6 2 รอการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารฝั่งใต้
  สีทอง ระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ 2.7
กรุงธนบุรี – ประชาธิปก 2.7 4 เปิดให้บริการ เมื่อ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2563
(ยกเว้นสถานีประชาธิปก)
กทม.
ประชาธิปก – อิสรภาพ
กรุงธนบุรี – เจริญนคร 60

ข้อมูลทางเทคนิค

ระบบปฏิบัติการเดินรถ

ระบบรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลทุกสาย ใช้ระบบการเดินรถแบบอัตโนมัติซึ่งถูกควบคุมจากศูนย์ควบคุมกลางที่ตั้งอยู่บริเวณเดียวกับศูนย์ซ่อมบำรุงของแต่ละโครงการ ระบบการเดินรถของแต่ละสายจะถูกดำเนินการแยกจากกันโดยไม่มีการรบกวนกันระหว่างสาย ยกเว้น รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท กับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม และ รถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา กับรถไฟฟ้าชานเมือง สายนครวิถี ที่ใช้ระบบควบคุมจากศูนย์ควบคุมกลางแห่งเดียวกัน เนื่องจากรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้าชานเมืองทั้งสองสายใช้ศูนย์ซ่อมบำรุงร่วมกัน และมีการติดตั้งรางหลีกในบางช่วงของเส้นทาง ทำให้สามารถป้อนหรือถอนขบวนรถระหว่างสายออกจากระบบได้

ระบบปฏิบัติการเดินรถในปัจจุบันถูกแยกออกเป็นสามประเภทหลักตามจุดประสงค์ในการใช้งาน โดยระบบที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันคือ ระบบควบคุมรถไฟมาตรฐานยุโรป (European Train Control System หรือ ETCS) ซึ่งเป็นระบบมาตรฐานกลางที่ใช้กันภายในสหภาพยุโรป และในหลาย ๆ ประเทศ ด้วยความสามารถในการรองรับระบบรถไฟจากทุกผู้ผลิตในโลก และระบบควบคุมคุณภาพมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ทำให้ระบบมีประสิทธิภาพและพร้อมรองรับการขยายโครงข่ายได้อย่างสมบูรณ์

ปัจจุบันระบบรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้มีการเลือกใช้ระบบปฏิบัติการเดินรถไฟฟ้าดังต่อไปนี้

เส้นทาง ผู้พัฒนา โซลูชัน รูปแบบ [atpnote 1] ปีที่ติดตั้ง ระดับการควบคุม[atpnote 2] หมายเหตุ
สายสุขุมวิท บอมบาร์ดิเอร์ Cityflo 450 Moving Block CBTC พ.ศ. 2554 STO เปลี่ยนทั้งระบบจากระบบเดิมเมื่อ พ.ศ. 2552 - พ.ศ. 2554 เพื่อรองรับเส้นทางส่วนต่อขยาย และขบวนรถรุ่นใหม่ [atpnote 3]
สายสีลม พ.ศ. 2552
สายสีน้ำเงิน ซีเมนส์ Trainguard LZB 700M Fixed Block พ.ศ. 2562 STO ติดตั้งเพิ่มในเส้นทางส่วนต่อขยาย และรื้อติดตั้งใหม่ทั้งหมดในเส้นทางเดิม
สายซิตี้ ซีเมนส์ Trainguard LZB700M Fixed Block-Speed Coded พ.ศ. 2552 STO
สายสีม่วง บอมบาร์ดิเอร์ Cityflo 650 Moving Block CBTC พ.ศ. 2559 STO
สายสีทอง บอมบาร์ดิเอร์ Cityflo 650 Moving Block CBTC พ.ศ. 2563 DTO
สายสีแดงอ่อน ทาเลส AlTrac for ERTMS Fixed ETCS Level 1 พ.ศ. 2563 STO
สายสีแดงเข้ม
สายสีเหลือง อัลสตอม Cityflo 650 Moving Block CBTC พ.ศ. 2564 DTO
สายสีชมพู อัลสตอม Cityflo 650 Moving Block CBTC พ.ศ. 2564 DTO
หมายเหตุ
  1. Fixed Block = Conventional Fixed Block using Line of Sight. Fixed Block-Speed Coded = Fixed Block using Coded Track Circuits. DTG-TC = Fixed Block-Distance to Go using Track Circuits. DTG-R = Fixed-Block-Distance-to-Go using Radio. Moving Block TBTC = Moving Block using Induction Loops. Moving Block CBTC = Moving Block using Radio. ETCS = European Train Control System.
  2. UTO = ระบบควบคุมแบบใช้คนควบคุม. DTO = ระบบควบคุมอัตโนมัติ. STO = ระบบควบคุมแบบกึ่งอัตโนมัติ
  3. บีทีเอสซี ได้ดำเนินการเปลี่ยนระบบเพื่อรองรับเส้นทางส่วนต่อขยายสายสีลมช่วงสะพานตากสิน-วงเวียนใหญ่ จำนวนสองสถานี และส่วนต่อขยายสายสุขุมวิทช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง จำนวนสี่สถานี รองรับขบวนรถรุ่นซีเอ็นอาร์ บอมบาร์ดิเอร์ ที่จะเข้ามาให้บริการ ใน พ.ศ. 2553-2554 และลดระยะความถี่ลงเหลือ 1-2 นาทีในช่วงเวลาเร่งด่วน โดยเริ่มเปลี่ยนในเส้นทางสายสีลมและสายสุขุมวิท ช่วงหมอชิต-สยาม เมื่อ พ.ศ. 2552 และ สายสุขุมวิท ช่วงสยาม-อ่อนนุช เมื่อ พ.ศ. 2554 ส่วนเส้นทางส่วนต่อขยาย กรุงเทพธนาคม เป็นผู้ดำเนินการติดตั้งระบบเอง

ขบวนรถ

เส้นทาง รุ่น ผู้ผลิต ผลิตใน ปีที่นำเข้าครั้งแรก จำนวน (ขบวน / ตู้ต่อขบวน) ภาพ
สายสุขุมวิท และ สายสีลม ซีเมนส์ โมดูลาร์ เมโทร ซีเมนส์  ออสเตรีย
 เยอรมนี
พ.ศ. 2542 35 / 4
ซีเมนส์ อินสไปโร[27]  ตุรกี พ.ศ. 2561 22 / 4
ซีเอ็นอาร์ ฉางชุน ซีอาร์อาร์ซี  จีน พ.ศ. 2553 17 / 4
ซีอาร์อาร์ซี ฉางฉุน พ.ศ. 2562[28] 24 / 4
สายสีน้ำเงิน ซีเมนส์ โมดูลาร์ เมโทร ซีเมนส์  ออสเตรีย
 เยอรมนี
พ.ศ. 2547 19 / 3
ซีเมนส์ อินสไปโร  ตุรกี พ.ศ. 2562[29] 35 / 3
พ.ศ. 2569 21 / 3
สายซิตี้ ซีเมนส์ เดซิโร คลาส 360/2 ซีเมนส์  เยอรมนี พ.ศ. 2550 5 / 3
4 / 4
สายสีม่วง เจเทรค ซัสติน่า S24 มารุเบนิ / โตชิบา  ญี่ปุ่น พ.ศ. 2558[30] 21 / 3
สายสีแดงเข้ม เอ-ซีรีส์ 1000 ฮิตาชิ พ.ศ. 2562[31] 15/6
สายสีแดงอ่อน เอ-ซีรีส์ 2000 10/4
สายสีชมพู อินโนเวีย โมโนเรล 300 อัลสตอม /
ซีอาร์อาร์ซี หนันจิง ผู่เจิ้น
 จีน พ.ศ. 2564 42 / 4
สายสีเหลือง 30 / 4
สายสีทอง อินโนเวีย เอพีเอ็ม 300 3 / 2
สายสีส้ม ซีเมนส์ อินสไปโร ซีเมนส์  ออสเตรีย
 เยอรมนี
ขบวนแรกนำส่ง พ.ศ. 2569 32 / 3

แผนที่

รถไฟฟ้าสายที่เปิดให้บริการแล้ว

รถไฟฟ้าสายที่เปิดให้บริการแล้วและที่กำลังก่อสร้าง

แผนที่แบบอื่น ๆ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. https://mgronline.com/business/detail/9670000110395#google_vignette
  2. https://www.dailynews.co.th/news/2904608/
  3. ประวัติความเป็นมา การจัดตั้ง และอำนาจหน้าที่ รฟม.
  4. "จุดเริ่มต้นของโครงการโฮปเวลล์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-07. สืบค้นเมื่อ 2023-02-08.
  5. History of Thailand's Infrastructure
  6. บทเรียน "โฮปเวลล์" จุดเริ่มต้น พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ
  7. การบอกเลิกสัญญาโฮปเวลล์
  8. "สัญญาสัมปทานระบบขนส่งมวลชน กทม" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-02-08. สืบค้นเมื่อ 2023-02-08.
  9. ประวัติความเป็นมา
  10. พระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543
  11. "การเปิดเดินรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-08. สืบค้นเมื่อ 2023-02-08.
  12. กรมรางลุย M-MAP 2 ปรับแผนแม่บทรถไฟฟ้า อัปเดตข้อมูล 14 สายเติมโครงข่ายเชื่อมรอยต่อ
  13. BEM แจ้งเปิดเดินรถไฟฟ้าเชื่อมต่อสายสถานีบางซื่อ-สถานีเตาปูน 11 ส.ค.ตั้งแต่เวลา 12.00 น.
  14. mgronline (13 November 2018). กทม.ยันเปิดเดินรถไฟฟ้าเส้นแบริ่ง-สมุทรปราการ แน่ 6 ธ.ค.นี้ นำ 3 ขบวนใหม่ร่วมวิ่งด้วย. สืบค้นเมื่อ 13 November 2018.
  15. "รฟม.เปิดทดลองนั่งMRTฟรี! 5 สถานีส่วนต่อขาย วัดมังกร - ท่าพระ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-28. สืบค้นเมื่อ 2019-07-28.
  16. BEM.MRT
  17. รัฐบาลเร่งเปิดรถไฟฟ้า 3 สายใหม่ ดีเดย์ 16 ธ.ค. “ประยุทธ์” กดปุ่มเปิดสีเขียว
  18. รถไฟฟ้า 'สายสีทอง' จะเปิดแล้ว 16 ธ.ค.นี้ ให้นั่งฟรี 1 เดือน!
  19. เปิดใช้วันแรก “สถานีเซนต์หลุยส์” รถไฟฟ้าบีทีเอส ไปโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ลงสถานีนี้
  20. นับถอยหลัง...รถไฟฟ้าสายสีแดง เตรียมเปิดอย่างเป็นทางการ ค่าโดยสารเริ่มต้น 12 บาท
  21. 'รถไฟฟ้าสายสีเหลือง' จ่อขยายเวลา และสถานีให้บริการเพิ่ม 12 มิ.ย.นี้
  22. 6 โมงเย็นวันนี้ “สายสีชมพู” เปิดฟรีครบ 30 สถานี เก็บค่าโดยสาร 26 สถานี เริ่ม 7 ม.ค. ลด 15%
  23. prachachat.net. ครึ่งทางเมกะโปรเจ็กต์ 2 ล้าน ล. ปี”62 ทุกโหมดเร่งสร้าง-เร่งเปิดใช้. สืบค้นเมื่อ 24 July 2018.
  24. กทม.ลุยรถไฟฟ้า “บางนา-สุวรรณภูมิ” BTS ลุ้นชิงดำสัมปทาน 2.7 หมื่นล้าน
  25. "ปริมาณผู้โดยสารระบบขนส่งทางราง ประจำเดือนกันยายน 2567". กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม. สืบค้นเมื่อ 2024-10-03.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  26. 26.0 26.1 "มั่นใจเริ่มสร้างไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบินได้แน่ปีนี้". Daily News Online. สืบค้นเมื่อ 25 May 2023.
  27. ฐานข้อมูลรถขนส่งทางรางในประเทศไทย โดยกรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
  28. มาแล้วรถไฟฟ้าบีทีเอสใหม่จากจีน ขบวนแรก จาก 24 ขบวน
  29. “ไพรินทร์” สปีดรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายเปิดหวูดหัวลำโพง-บางแค ก.ย.62
  30. เปิดทำงานวันแรกคนแห่ใช้รถไฟฟ้าสายสีม่วง พบยังสับสนจุดเชื่อมต่อสายสีน้ำเงิน
  31. ญี่ปุ่นจ่อลงทุนส่วนขยายรถไฟสีแดง

แหล่งข้อมูลอื่น