รายชื่ออุบัติเหตุทางรถไฟฟ้าในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนที่เส้นทางรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พ.ศ. 2567)

ประเทศไทยมีการเดินรถไฟซึ่งใช้ไฟฟ้าเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนหรือ รถไฟฟ้า ตั้งแต่ราวปี พ.ศ. 2492 ในเส้นทางรถไฟสายปากน้ำ โดยใช้รถไฟฟ้าจากบริษัทนิปปอนชาเรียวแทนการใช้รถจักรไอน้ำ โดยเส้นทางสายนี้ยกเลิกการเดินรถไปใน พ.ศ. 2503 ในรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์[1] แม้ในปี พ.ศ. 2533 กระทรวงคมนาคมได้มีการลงนามสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าลาวาลินกับ บริษัท เอสเอ็นซี-ลาวาลิน จำกัด และลงนามสัมปทานโครงการโฮปเวลล์กับบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อดำเนินการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนทางรางในพื้นที่กรุงเทพมหานคร [2] แต่ก็มิได้มีการดำเนินการจนสามารถเปิดเดินรถได้แต่อย่างใด

จนกระทั่งพ.ศ. 2535 กรุงเทพมหานครลงนามสัมปทานกับบริษัท ธนายง จำกัด ให้ดำเนินการระบบขนส่งมวลชนทางรางในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (ต่อมาคือ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS) โดยได้เปิดการเดินรถไฟฟ้า "รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา" ประกอบด้วย สายสุขุมวิท (จากสถานีหมอชิต ถึงสถานีอ่อนนุช) และสายสีลม (จากสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ ถึงสถานีสะพานตากสิน) เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542[3] และในปี พ.ศ. 2547 เปิดเดินรถในโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล[4] ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรก โดยมีบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (ต่อมาคือ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM)) เป็นผู้รับสัมปทาน จากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) หลังจากนั้นมีการขยายเส้นทางต่าง ๆ เรื่อยมา

มีอุบัติเหตุเกี่ยวกับรถไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในไทย ดังนี้

อุบัติเหตุจากรถไฟฟ้าในประเทศไทย[แก้]

บทความหลัก : รายการอุบัติเหตุทางรถไฟในประเทศไทย

วันที่ ขบวนรถไฟฟ้าที่เกี่ยวข้อง ลักษณะอุบัติเหตุ สถานที่ ความเสียหาย อ้างอิง
17 มกราคม พ.ศ. 2548 ขบวนรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) ชนกัน (ไหลมาชนกัน) สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ผู้ได้รับบาดเจ็บนับร้อย ส่วนใหญ่เกี่ยวกับกระดูก แขนกับขาหัก และฟกช้ำตามร่างกาย [5]
19 มิถุนายน พ.ศ. 2560 รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงค์ ทับคน สถานีบ้านทับช้าง ผู้เสียชีวิต 1 ราย เกิดจากการวูบ ตกลงไปที่รางรถไฟ [6][7]
27 มิถุนายน พ.ศ. 2563 รถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียว ชนคนงาน บริเวณรางรถไฟฟ้า ระหว่างสถานีช่องนนทรีและสถานีสุรศักดิ์ (งานก่อสร้างสถานีศึกษาวิทยา - ต่อมาเปลี่ยนเป็นสถานีเซนต์หลุยส์) บาดเจ็บบริเวณสะโพก1คน [8]
21 มกราคม พ.ศ. 2565 รถไฟฟ้าสายสีแดง ทับคน ระหว่างสถานีวัดเสมียนนารีกับสถานีจตุจักร พบร่างศีรษะขาด เท้าขาดทั้ง 2 ข้างจำนวน 1 ราย [9]
20 มิถุนายน พ.ศ. 2565 รถไฟฟ้าสายสีแดง ชนคนตาย ห่างจากสถานีหลักหกประมาณ 500 เมตร ฝั่งขาเข้าเมือง ชายนิรนามที่ถูกรถไฟฟ้าชน 1 คนเสียชีวิต [10]
24 ธันวาคม พ.ศ. 2566 รถไฟฟ้ามหานครสายสีชมพู รางจ่ายกระแสไฟฟ้าหลุด หน้าตลาดกรมชลประทาน ถนนติวานนท์ ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ดจังหวัดนนทบุรี รถไฟฟ้าเสียหาย 1 ขบวน รถยนต์เสียหาย 3 คัน เสาไฟฟ้าล้ม 1 ต้น [11]
2 มกราคม พ.ศ. 2567 รถไฟฟ้ามหานครสายสีเหลือง ล้อประคองรถไฟฟ้าหลุด บริเวณระหว่างระหว่างสถานีศรีเทพา และสถานีศรีด่าน (ถนนเทพารักษ์ กม.3) รถแท็กซี่ได้รับความเสียหาย 1 คัน [12]
28 มีนาคม พ.ศ. 2567 รถไฟฟ้ามหานครสายสีเหลือง ชิ้นส่วนของรางนำไฟฟ้า หรือ conductor rail ชำรุด และมีบางส่วนร่วงหล่น ระหว่างสถานีกลันตัน (YL12) - สถานีสวนหลวง ร.9 ส่งผลให้รถยนต์ จำนวน 2 คัน และจักรยานยนต์ จำนวน 1 คัน ได้รับความเสียหาย แต่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ

และต้องหยุดเดินรถไฟฟ้า สายสีเหลือง ในวันดังกล่าวทั้งระบบ

[13]

อุบัติเหตุในระหว่างการก่อสร้างรถไฟฟ้า[แก้]

รายการต่อไปนี้เป็นอุบัติเหตุระหว่างการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า เช่น จากโครงสร้าง อุปกรณ์ค้ำยัน

วันที่ ขบวนรถไฟฟ้าที่เกี่ยวข้อง ลักษณะอุบัติเหตุ สถานที่ ความเสียหาย อ้างอิง
6 มิถุนายน พ.ศ. 2556 รถไฟฟ้าสายสีม่วง คานเหล็กยาว 10 เมตร จำนวน 6 ท่อน หล่นทีบรถยนต์ สถานีเตาปูน รถยนต์ ที่จอดติดไฟแดงอยู่ที่บริเวณแยกเตาปูน เสียหาย 4 คัน และมีผู้บาดเจ็บ 1 คน [14]
20 มกราคม พ.ศ. 2558 รถไฟฟ้าสายสีแดง ตอม่อ และนั่งร้านคนงานก่อสร้างถล่ม บริเวณหน้าห้างไอทีสแควร์ เขตหลักสี่ คนงานหล่นจากนั่งร้าน ถูกเหล็กทับบาดเจ็บ 7 คน [14]
4 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 รถไฟฟ้าสายสีแดง รถเครนล้มพลิกคว่ำ สถานีรถไฟดอนเมือง ทับรถยนต์ 2 คันพังเสียหายหลังคายุบ และมีผู้ได้รับบาดเจ็บเป็นชาย 1 คน [14]
17 มีนาคม พ.ศ. 2560 รถไฟฟ้าสายสีเขียว โครงเหล็กก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว ขนาด 3×3 เมตร หนักกว่า 1 ตัน หล่นทับรถ ถนนพหลโยธินก่อนถึงเมเจอร์รัชโยธิน รถเก๋งนิสสัน มาร์ช สีเขียว จำนวน 1 คัน ห้องเครื่องถูกโครงเหล็กทับ เสียหาย [14]
22 มีนาคม พ.ศ. 2560 รถไฟฟ้าสายสีเขียว น้ำปูนเทถูกรถยนต์ ช่วงสถานีโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช รถยนต์ที่สัญจรได้รับความเสียหาย [14]
28 เมษายน พ.ศ. 2560 รถไฟฟ้าสายสีแดง คานเหล็กยึดปูนก่อสร้างรถไฟฟ้า หล่นทับคนงาน ใกล้วัดดอนเมือง สถานีดอนเมือง คนงานเสียชีวิต 3 ราย [14]
18 มิถุนายน พ.ศ. 2560 รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เหล็กนั่งร้าน หล่นกลางถนนจรัญสนิทวงศ์ ช่วงแยกบางขุนนนท์มุ่งหน้าท่าพระ ไม่มีผู้บาดเจ็บ และไม่มีความเสียหาย [14]
30 มีนาคม พ.ศ. 2567 รถไฟฟ้าโมโนเรล สายสีชมพู ปูนคอนกรีตเหลวร่วงหล่นลงมาใส่รถ สถานีอิมแพ็คเมืองทองธานี (MT01) ปูนคอนกรีตเหลวร่วงหล่นลงมาใส่รถเก๋งทำให้เปรอะเปื้อนทั่วทั้งคัน นอกจากนี้บริเวณมุมกระจกหลังขวาถูกก้อนหินกระแทกจนแตกเป็นรูโหว่ เศษกระจกกระเด็นไปใส่ศีรษะคนในรถแต่ไม่ได้รับบาดเจ็บ [15]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. โรม บุนนาค. ชุดบันทึกแผ่นดิน ตอน เรื่องเก่าเล่าสนุก ๒. กรุงเทพฯ:สยามบันทึก. 2552, หน้า 103-105
  2. "History of Thailand's Infrastructure". SkyscraperCity Forum (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-12-29.
  3. Doe, John. "รถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS Skytrain)". รถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS Skytrain).
  4. "วันประวัติศาสตร์... พิธีเปิดเดินรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมลคล | การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย". web.archive.org. 2023-02-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-08. สืบค้นเมื่อ 2024-04-01.
  5. ข่าวส่องอดีตย้อนวันวาน รถไฟฟ้าใต้ดิน 2548 ชนสนั่นศูนย์วัฒนธรรมฯ บาดเจ็บนับร้อยคน, สืบค้นเมื่อ 2024-04-01
  6. "แอร์พอร์ตลิงก์แถลงเสียใจ-สุดวิสัย เหตุหญิงตกลงในราง ยัน จนท.ช่วยตามขั้นตอน". Thai PBS.
  7. สามี สาวถูกรถไฟแอร์พอร์ตลิงค์ทับ เผยเมียแพ้ท้องหนัก ชอบยืนรอคนเดียว กลัวโดนชนท้อง , มติชนออนไลน์
  8. "บีทีเอสแจง รถไฟฟ้าชนคนงานเมียนมา เร่งสอบหลังพบฝ่าฝืนเข้าไปในระบบราง". www.thairath.co.th. 2020-06-27.
  9. "รถไฟฟ้าสายสีแดงทับชายนิรนามร่างขาด ดับอนาถ ตร.ยังไม่ฟันธงสาเหตุ". www.thairath.co.th. 2022-01-16.
  10. ""รถไฟฟ้าสายสีแดง" แถลงฯ ชนคนเสียชีวิตบนรางช่วงสถานีหลักหก - ดอนเมือง". bangkokbiznews. 2022-06-21.
  11. "ไม่ใช่มะม่วงก็ร่วงได้ ย้อนอุบัติเหตุโครงการรถไฟฟ้า สีใดเกิดเหตุบ่อยสุด". เนชั่นทีวี. 2023-12-24.
  12. ""คีรี" เปิดศูนย์ซ่อม 'สีเหลือง' แจงปมล้อหลุด ยันโมโนเรลใช้ทั่วโลก เร่งเปลี่ยนของใหม่เรียกคืนเชื่อมั่น". mgronline.com. 2024-01-04.
  13. "'รถไฟฟ้าสายสีเหลือง' หยุดบริการ เหตุชิ้นส่วนรางนำจ่ายไฟชำรุด". bangkokbiznews. 2024-03-28.
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 14.5 14.6 "ไม่ใช่มะม่วงก็ร่วงได้ ย้อนอุบัติเหตุโครงการรถไฟฟ้า สีใดเกิดเหตุบ่อยสุด". เนชั่นทีวี. 2023-12-24.
  15. "ผวาสายสีชมพู น้ำปูนหล่นใส่รถ กระจกแตกโดนหัวเด็กเจ็บ ขณะสร้างสถานี "เมืองทอง"". www.thairath.co.th. 2024-04-01.