ข้ามไปเนื้อหา

วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยาลัยการเกษตรสร้างสรรค์เพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
College of Creative Agriculture for Society , Srinakharinwirot university
สถาปนา25 มกราคม พ.ศ. 2551; 16 ปีก่อน (2551-01-25)
สังกัดการศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
คณบดีอารมณ์ จันทะสอน
ที่อยู่
สี  สีน้ำตาลศิลาแลง
เว็บไซต์bodhi.swu.ac.th

วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หรือ CCAS SWU เป็น 1 ใน 4 วิทยาลัยของ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒโดยมี วิทยาลัยนานาชาติเพื่อศึกษาความยั่งยืน วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์(ทุกวิทยาลัยมีสถานะเทียบเท่าคณะ) เปิดสอนในด้านการเกษตรสร้างสรรค์เพื่อสังคม ภูมิวัฒนธรรม ภูมิสังคม การออกแบบหลักสูตรบูรณาการศาสตร์ การจัดการชุมชนบนฐานความสมดุลและยั่งยืนในทุกมิติทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม เพื่อการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 และเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) และการพัฒนาท้องถิ่น ตามแนวพระราชดำริโครงการบัณทิตคืนถิ่นของสมเด็จพระเทพ [1] [2]

ประวัติ

[แก้]

วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2552 ภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้เพื่อสังคม ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ดำเนินการภายใต้ความร่วมมือขององค์กรภาคีเครือข่ายในชุมชนหรือองค์กรเบญจภาคี ประกอบด้วย (1) ภาคีภาคราชการและความมั่นคง (2) ภาคี ภาควิชาการ (3) ภาคีภาคประชาชน (4) ภาคีภาคธุรกิจเพื่อสังคม (5) ภาคีภาคประชาสังคมและสื่อ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน จึงก่อให้เกิดโครงการจัดตั้งวิทยาลัยโพธิวิชชาลัยขึ้น

เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2551 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดวิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มศว จ.สระแก้ว พร้อมกันในปีการศึกษา 2552 วิทยาลัยได้เปิดรับนิสิตรุ่นแรกในโครงการบัณฑิตคืนถิ่น หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) สาขาการจัดการภูมิสังคม จำนวน 46 คน ซึ่งเป็นเยาวชนที่มาจากพื้นที่ จ.สระแก้วทั้งหมด จึงถือวันที่ 28 มกราคม เป็นวันสถาปนาวิทยาลัยโพธิวิชชาลัย และต่อมาในปีการศึกษา 2554 วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย ได้เปิดหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) สาขาการจัดการภูมิวัฒนธรรม รับนิสิตรุ่นแรกจำนวน 54 คน ซึ่งเยาวชนชาติพันธุ์จากพื้นที่ 5 อำเภอชายแดนไทย -พม่า

วิทยาลัยโพธิวิชชาลัยเป็นส่วนงานหนึ่งในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ มีภาระหน้าที่ผลิตบัณฑิตเฉพาะด้าน วิจัย บริการวิชาการ ทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และจัดการศึกษาเพื่อสร้างโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำของสังคมในการเข้าถึงการศึกษา ตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรมัธยมศึกษา (ม.1-ม.6) ของโรงเรียนสาธิตชุมชนการเรียนรู้สมเด็จย่า วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มศว แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ เป็นต้นแบบของโรงเรียนสาธิตเพื่อเด็กชาติพันธุ์และชายขอบรวมถึงขยายโอกาสการเรียนรู้ร่วมกันกับชุมชนและสังคม และมีการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาซึ่งในปัจจุบันวิทยาลัยโพธิวิชชาลัยได้จัดการศึกษาระดับปริญญาตรี ในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) สาขาการจัดการภูมิสังคมและภูมิวัฒนธรรม ประกอบด้วย 2 วิชาเอก ได้แก่ วิชาเอกการจัดการภูมิสังคม และวิชาเอกการจัดการภูมิวัฒนธรรม

ในปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยจะเปิดหลักสูตรใหม่วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) นวัตกรรมเกษตรและการจัดการลุ่มน้ำอย่างยั่งยืน ประกอบด้วยวิชาเอกนวัตกรรมเกษตร และวิชาเอกการจัดการลุ่มน้ำอย่างยั่งยืน ตามพันธกิจและยุทธศาสตร์ของวิทยาลัยที่มุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ของพัฒนาประเทศ สร้างความก้าวหน้าทางวิชาการพัฒนาการเกษตร สังคม สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน การจัดการเรียนการสอนใช้พื้นที่จัดการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ เป็นพื้นที่หลัก และพื้นที่วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว และ อ.แม่สอด จ.ตาก สำหรับการฝึกปฏิบัติการหรือฝึกปฏิบัติการชุมชน

หลักสูตร

[แก้]

ปัจจุบันเปิดสอน 2 หลักสูตรได้แก่ [3]

  • 1. สาขาวิชาการจัดการภูมิสังคมและวัฒนธรรม (ศศ.บ.)

วิชาเอกการจัดการภูมิสังคม - ศึกษาเกี่ยวกับนิเวศวิทยาและการจัดการป่าไม้ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ สัมมนาทางการจัดการภูมิสังคม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและปรัชญาร่วมสมัย การสร้างพลังร่วมชุมชน เทคโนโลยีการเกษตร เป็นต้น

วิชาเอกการจัดการภูมิวัฒนธรรม - ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อการเรียนรู้ ภูมิสารสนเทศเพื่อวัฒนธรรมและศิลปะ การศึกษาและพัฒนาอัญมณีเบื้องต้น การศึกษาชาติพันธุ์ ชนเผ่าและชุมชนชายขอบ การออกแบบนิทรรศการวัฒนธรรม พลเมืองในสังคมพหุวัฒนธรรม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐศาสตร์ชุมชนกับการจัดการวัฒนธรรมท่องถิ่น เป็นต้น

  • 2. สาขาวิชานวัตกรรมเกษตรและการจัดการลุ่มน้ำอย่างยั่งยืน (วท.บ.)

วิชาเอกนวัตกรรมเกษตร - ศึกษาเกี่ยวกับสังคมเกษตรและลุ่มน้ำ การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน ศึกษาเทคโนโลยีการขยายพันธุ์พืช ปฎิบัติการด้านพืชศาสตร์ เรียนรู้เกษตรแม่นยำและฟาร์มอัจฉริยะ ปฏิบัติการนวัตกรรมเกษตร การจัดการเกษตรเรือนกระจก เป็นต้น

วิชาเอกการจัดการลุ่มน้ำอย่างยั่งยืน - ศึกษาเกี่ยวกับนิเวศวิทยาลุ่มน้ำ อุทกวิทยาลุ่มน้ำ สิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำ เทคโนโลยีบำบัดน้ำเสีย เศรษฐสังคมลุ่มน้ำ การจัดการลุ่มน้ำโดยชุมชนมีส่วนร่วม การจัดการพื้นที่น้ำท่วมและน้ำหลาก การวิเคราะห์ลุ่มน้ำ เป็นต้น

หน่วยงาน

[แก้]

ตามประกาศมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒฉบับที่ 10/2559 เรื่อง การแบ่งหน่วยงานภายในของส่วนงาน พ.ศ. 2559[ลิงก์เสีย] นั้น ได้มีการแบ่งหน่วยงานในวิทยาลัยโพธิวิชชาลัยเป็น 5 หน่วยงาน ดังนี้

  1. สำนักงานคณบดี
  2. โรงเรียนสาธิตชุมชนการเรียนรู้สมเด็จย่า วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มศว แม่แจ่ม
  3. ศูนย์การจัดการหลักสูตรการจัดการภูมิสังคม ต่อมาเปลี่ยนแปลงเป็น ศูนย์การจัดการภูมิสังคม
  4. ศูนย์การจัดการหลักสูตรการจัดการภูมิวัฒนธรรม ต่อมาเปลี่ยนแปลงเป็น ศูนย์การจัดการภูมิวัฒนธรรม
  5. ศูนย์ศึกษาพัฒนาจิตอาสาและกิจการเพื่อสังคม

ต่อมาได้มีการจัดตั้ง ศูนย์การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน ตามประกาศมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒฉบับที่ 13/2560 เรื่อง การแบ่งหน่วยงานภายในของส่วนงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560[ลิงก์เสีย]

รายนามคณบดี วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย

[แก้]
ทำเนียบคณบดีวิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
รายนามคณบดี ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง

1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กวี วรกวิน พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2554 (รักษาการแทน)
2. รองศาสตราจารย์ อำนาจ เย็นสบาย พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2558 (วาระที่ 1), พ.ศ. 2558 - 2562 (วาระที่ 2)
3. รองศาสตราจารย์ ดร.ชาญวิทย์ เทียมบุญประเสริฐ พ.ศ. 2562 - 2563 (รักษาการแทน)
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.กิตติคุณ รุ่งเรือง พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน (รักษาการแทน)

อ้างอิง

[แก้]
  1. https://www.dek-d.com/board/view/3312749/
  2. http://www.admissionpremium.com/addirect/project/1047
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-20. สืบค้นเมื่อ 2017-05-01.