ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
![]() | |
![]() โครงการขณะก่อสร้างเสร็จบางส่วนเมื่อปี พ.ศ. 2567 | |
![]() | |
โครงการ | |
---|---|
เริ่มสร้าง | 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 |
แล้วเสร็จ | พ.ศ. 2569 |
เปิดใช้งาน | |
ค่าก่อสร้าง | 46,000 ล้านบาท |
สถานะ | เปิดใช้งานบางส่วน |
พื้นที่ | 23 ไร่ 2 งาน 2.72 ตารางวา |
ผู้พัฒนาโครงการ | บริษัท วิมานสุริยา จำกัด โดย
|
สถาปนิก | ดรากอน โฮลดิงส์ โดย
|
ผู้จัดการ |
|
เจ้าของ |
|
เว็บไซต์ | dusitcentralpark |
ลักษณะทางกายภาพ | |
อาคารหลัก |
|
พื้นที่สาธารณะ | รูฟ พาร์ค |
การจัดสรรพื้นที่ | โรงแรม ศูนย์การค้า พื้นที่ค้าปลีก อาคารชุดเพื่อการพักอาศัย |
ถนน | ถนนพระรามที่ 4, ถนนสีลม |
ขนส่งมวลชน | ![]() ![]() |
ที่ตั้ง | |
พิกัด: 13°43′42″N 100°32′14″E / 13.72833°N 100.53722°E | |
ประเทศ | ประเทศไทย |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
เขต | บางรัก |
แขวง | สีลม |
ที่ตั้ง | หัวมุมแยกศาลาแดงด้านตะวันตกเฉียงใต้ |
ที่อยู่ | 946 ถนนพระรามที่ 4 |
ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค (อังกฤษ: Dusit Central Park) เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชยกรรมแบบผสมใจกลางกรุงเทพมหานคร บนที่ดินจำนวน 23 ไร่ 2 งาน 2.72 ตารางวา ของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ บริเวณหัวมุมฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของแยกศาลาแดง จุดตัดระหว่างถนนพระรามที่ 4 ตัดถนนสีลม ในพื้นที่แขวงสีลม เขตบางรัก ตรงข้ามกับสวนลุมพินีฝั่งพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เยื้องกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งเป็นพื้นที่เดิมของ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ และ บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) สำนักงานสีลม บริหารงานโดย บริษัท วิมานสุริยา จำกัด ภายใต้การร่วมทุนของ บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) และบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ในเครือกลุ่มเซ็นทรัล[3] โครงการประกอบด้วยศูนย์การค้า อาคารสำนักงาน โรงแรม อาคารชุดที่อยู่อาศัย และสวนลอยฟ้า ตั้งเป้าเป็นแลนด์มาร์คหนึ่งของเส้นขอบฟ้ากรุงเทพมหานคร ด้วยความสูงของอาคารที่อยู่อาศัยซึ่งสูงที่สุดในโครงการที่ 69 ชั้น ภายใต้สถาปัตยกรรมแบบไทยโบราณร่วมกับสถาปัตยกรรมแบบไทยร่วมสมัย รองรับกลุ่มลูกค้าทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ
ประวัติ
[แก้]ภูมิหลัง
[แก้]
พื้นที่ของโครงการดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค แต่เดิมเป็นบ้านศาลาแดง ของเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) โดยท่านผู้หญิงชนัตถ์ ปิยะอุย ผู้ก่อตั้งและที่ปรึกษาคณะกรรมการโรงแรม ปริ๊นเซส ได้ดำเนินการขอเช่าพื้นที่จากสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินผืนดังกล่าว เพื่อดำเนินการก่อสร้างโรงแรมระดับห้าดาวที่หรูหราแห่งแรกในกรุงเทพมหานครเมื่อปี พ.ศ. 2511 ภายใต้ชื่อ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ โดยตัวอาคารมีความสูง 23 ชั้น นับเป็นอาคารสูงแห่งแรกในประเทศไทย[4] ในส่วนของชื่อโรงแรมได้ตั้งตามชื่อเมืองจำลองของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ เนื่องจากโรงแรมตั้งอยู่ตรงข้ามกับลานพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์ที่ประดิษฐานทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของสวนลุมพินี[5]
การยกระดับ เปิดตัวโครงการ และก่อสร้าง
[แก้]ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2560 เครือดุสิตธานีได้ประกาศต่อสัญญาเช่าที่ดินกับสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์เป็นระยะเวลารวมทั้งสิ้น 30+30 ปี ในจำนวนนี้ไม่รวมระยะเวลาก่อสร้างอีก 7 ปี ซึ่งถ้ารวมทั้งหมดจะคิดเป็น 67 ปี[6] จึงประกาศแผนพัฒนาและยกระดับโรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ ด้วยการร่วมทุนกับบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) เพื่อพัฒนาโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชยกรรมแบบผสม (Mixed-use) บนที่ดินขนาดใหญ่ ซึ่งประกอบไปด้วย โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ แห่งใหม่, อาคารที่พักอาศัย, อาคารสำนักงาน, พื้นที่ค้าปลีก ฯลฯ ขึ้นมาทดแทน[7] เพื่อตอบรับต่อการพัฒนาเมืองและย่านธุรกิจสำคัญของกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ บ้านพักของตระกูลจิราธิวัฒน์ซึ่งเป็นผู้บริหารกลุ่มเซ็นทรัลที่เป็นเจ้าของเซ็นทรัลพัฒนา ก็ตั้งอยู่บนซอยศาลาแดง 1 ถนนศาลาแดง ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงเช่นกัน
ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค เปิดตัวเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2562 ณ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ และเป็นกิจกรรมสุดท้ายที่จัดขึ้นในโรงแรมนี้ด้วย[8] โดยใช้เงินลงทุนในเบื้องต้น 36,700 ล้านบาท[9] โครงการได้เริ่มก่อสร้างจากพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562[10] โดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) เสด็จมาเป็นองค์ประธาน[11] หลังจากนั้นเมื่อช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 ดุสิตธานีและเซ็นทรัลพัฒนาตัดสินใจร่วมกันลงทุนเพิ่มอีก 9,300 ล้านบาท เป็น 46,000 ล้านบาท[12] ทำให้เป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่าการลงทุนสูงที่สุดของกลุ่มดุสิตธานี และเป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่าการลงทุนสูงเป็นอันดับที่ 5 ในวงการอสังหาริมทรัพย์ไทย
ทั้งนี้ สัดส่วนการถือหุ้นและหน้าที่ของบริษัททั้งหมดที่บริหารโครงการ ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค (ข้อมูลล่าสุด พ.ศ. 2566) มีดังนี้[13]
- บริษัท วิมานสุริยา จำกัด เช่าช่วงที่ดินส่วนโรงแรมและอาคารชุดเพื่อการพักอาศัยจากเครือดุสิตธานี ซึ่งเช่าที่ดินจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์อีกต่อหนึ่ง เพื่อพัฒนาและบริหารโรงแรมและอาคารชุดเพื่อการพักอาศัย รวมทั้งก่อสร้างโครงสร้างอาคารศูนย์การค้า ปัจจุบันถือหุ้นโดยเครือดุสิตธานีและเซ็นทรัลพัฒนา ในสัดส่วน 70% : 30%
- บริษัท สวนลุม พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด เช่าโครงสร้างอาคารศูนย์การค้าจากวิมานสุริยาเพื่อตกแต่งและบริหารศูนย์การค้า ถือหุ้นโดยเซ็นทรัลพัฒนาและเครือดุสิตธานี ในสัดส่วน 85% : 15%
- บริษัท พระราม 4 เดเวลลอปเม้นท์ จำกัด เช่าที่ดินตามสัญญาเช่าหลักกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ถือหุ้นโดยเซ็นทรัลพัฒนาและเครือดุสิตธานี ในสัดส่วน 90% : 10%
- บริษัท ศาลาแดง พร๊อพเพอร์ตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด เช่าช่วงที่ดินจากพระราม 4 เดเวลลอปเม้นท์ เพื่อพัฒนาและบริหารอาคารสำนักงาน โดยเซ็นทรัลพัฒนาถือหุ้นในสัดส่วน 100%
การเปิดให้บริการ
[แก้]ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค เริ่มทยอยเปิดให้บริการทีละส่วน ดังนี้
- 27 กันยายน พ.ศ. 2567 — โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ แห่งใหม่ (ไม่เป็นทางการ; 70 ห้อง)[14][15]
- 17 ธันวาคม พ.ศ. 2567 — โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ แห่งใหม่ (สไปร์ รูฟท็อป บาร์)[16]
- สิงหาคม พ.ศ. 2568 — อาคารสำนักงาน เซ็นทรัล พาร์ค ออฟฟิศเซส[17] และศูนย์การค้า เซ็นทรัล พาร์ค
- ไตรมาส 4 พ.ศ. 2568 — อาคารชุดเพื่อการพักอาศัย เดอะ เรสซิเดนเซส[18]
การจัดสรรพื้นที่
[แก้]ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค มีพื้นที่รวม 440,000 ตารางเมตร ประกอบทั้งหมดสี่ส่วน ได้แก่
โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ
[แก้]โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ แห่งใหม่ เป็นอาคารโรงแรมทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของโครงการ สร้างขึ้นทดแทนอาคารโรงแรมดุสิตธานีเดิมซึ่งปิดกิจการเมื่อ พ.ศ. 2562 อาคารโรงแรมใหม่นี้ตั้งอยู่บนที่ตั้งเดิมของไทยประกันชีวิต สำนักงานสีลม ออกแบบโดยกลุ่มสถาปนิก อังเดร ฟู สตูดิโอ โดยอังเดร ฟู[19] ผู้ซึ่งมีผลงานการออกแบบโรงแรมหรูหราหลายแห่งในฮ่องกง รวมถึงโรงแรมวาลดอฟ แอสโทเรีย แบงค็อก ภายในอาคาร แมกโนเลียส์ ราชดำริ บูเลอวาร์ด[20] อาคารโรงแรมฉาบเปลือกนอกด้านหน้ากับเรือนยอดด้วยโทนสีทอง และนำสถาปัตยกรรมของอาคารเดิมมาปรับใช้ทั้งหมด
อาคารโรงแรมนี้มีความสูง 39 ชั้น ประกอบด้วยห้องพักจำนวน 257 ห้อง ที่ทุกห้องมีหน้าต่างขนาดใหญ่กว้าง 5 เมตร รับวิวสวนลุมพินี รวมถึงห้องจัดเลี้ยง "นภาลัยแกรนด์บอลรูม" ที่เปิดมุมมองสวนลุมพินีแบบพาโนรามา ความจุ 950 คน ห้องอาหาร "พาวิลเลียน" ที่ให้บริการอาหารไทยและเอเชีย และ "1970 บาร์" กับ "สไปร์ รูฟท็อป บาร์" พร้อมจุดชมทัศนียภาพบริเวณชั้นบนสุด ซึ่งโครงการได้นำยอดแหลมไม้สักทองจากอาคารเดิมมาใช้ด้วย
นอกจากนี้โรงแรมยังมีส่วนขยายในชื่อ "บ้านดุสิตธานี" ตั้งอยู่ริมถนนศาลาแดง ซึ่งเป็นที่ตั้งของ "ดุสิตกูร์เมต์" ร้านขนม คาเฟ่ และบาร์, ห้องอาหารไทย "เบญจรงค์", ห้องอาหารเวียดนาม "เธียนดอง"[21] และร้านอาหารอเมริกาใต้ "โนมาดา"[22]
เซ็นทรัล พาร์ค ออฟฟิศเซส
[แก้]อาคารสำนักงานเซ็นทรัล พาร์ค ออฟฟิศเซส เป็นอาคารทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของโครงการ ความสูง 43 ชั้น พื้นที่รวม 130,000 ตารางเมตร ออกแบบในโทนสีเงิน มีรูฟท็อปบาร์ที่ชั้นบนสุดของอาคาร และให้มุมมองโอบล้อมสวนลุมพินีทั้งหมด โดยมีผู้เช่าหลักเป็นกลุ่มบริษัทระดับเอลิสต์ของประเทศไทย รวมถึงตัวของเครือดุสิตธานีเองก็จะย้ายมาใช้อาคารนี้เป็นสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ของบริษัทแทนอาคารจามจุรีสแควร์เดิมเช่นกัน ปัจจุบันได้ก่อสร้างโครงสร้างภายนอกของอาคารเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยมีพิธีเทปูนปิดโครงสร้างอาคาร (Topping-off ceremony) เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568[17]
ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พาร์ค
[แก้]ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พาร์ค เป็นอาคารส่วนฐานของโครงการ ความสูง 8 ชั้น (เหนือพื้นดิน 6 ชั้น และชั้นใต้ดิน 2 ชั้น) พื้นที่รวม 130,000 ตารางเมตร โดยเป็นศูนย์การค้าเรือธงแห่งที่ 3 ในเขตใจกลางกรุงเทพมหานครของกลุ่มเซ็นทรัล ต่อจากเซ็นทรัลเวิลด์ และเซ็นทรัล เอ็มบาสซี แต่มีความแตกต่างกับสองศูนย์การค้าข้างต้นที่จะเน้นร้านค้าซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่หาไม่ได้จากศูนย์การค้าอื่น ๆ[23] ตัวศูนย์การค้าประกอบด้วย ร้านค้าทั่วไปกว่า 300 ร้านค้าทั้งในกลุ่มเซ็นทรัล มาร์เก็ตติงและร้านค้าจากกลุ่มอื่น ๆ ร้านค้าสินค้าหรูหรา ร้านอาหารทั้งระดับทั่วไปและไฟน์ไดนิ่ง ซูเปอร์มาร์เก็ตท็อปส์ ฟู้ด ฮอลล์ และสวนสาธารณะแบบไล่ระดับกลางแจ้ง พร้อมบาร์รูฟท็อปที่เปิดให้บริการตลอดคืน ทั้งนี้ชั้นใต้ดินของศูนย์การค้าได้รับการออกแบบให้เชื่อมกับโถงออกบัตรโดยสารสถานีสีลมของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล รวมถึงมีทางเชื่อมต่อกับทางเดินลอยฟ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยไปยังรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลมที่สถานีศาลาแดง
เดอะ เรสซิเดนเซส แอท ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค
[แก้]อาคารที่พักอาศัย เดอะ เรสซิเดนเซส แอท ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค[24] เป็นอาคารทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของโครงการ ความสูง 69 ชั้น พื้นที่ขนาด 50,500 ตารางเมตร ออกแบบในโทนสีนาก ประกอบด้วยที่พักอาศัยสองรูปแบบ ได้แก่ ดุสิต เรสซิเดนเซส จำนวน 160 ยูนิต และดุสิต พาร์คไซด์ จำนวน 246 ยูนิต[25] โดยทุกห้องพักให้มุมมองโอบล้อมสวนลุมพินีและแม่น้ำเจ้าพระยา
ระเบียงภาพ
[แก้]-
โรงแรมดุสิตธานีระหว่างการรื้อถอนในปี พ.ศ. 2563
-
ด้านนอกโครงการขณะก่อสร้างในปี พ.ศ. 2564
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Nommaneewong, Muttira (2024-04-23). "DUSIT นับถอยหลัง! เปิดตัวโรงแรมดุสิตธานีกรุงเทพโฉมใหม่ 27 ก.ย. : อินโฟเควสท์". สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ 2.0 2.1 "ซีพีเอ็น ปั้น'Central Park' มูลค่า 2 หมื่นล้าน ลักชูรี่มิกซ์ยูสระดับโลกใจกลางกรุงเทพฯ". เดลินิวส์.
- ↑ isranews (2017-03-04). "CPN ร่วมทุน DTC ผุดโครงการ MIXED-USE หัวมุมสีลม-พระรามสี่ มูลค่า 3.67 หมื่นลบ". สำนักข่าวอิศรา.
- ↑ บันทึกหน้าสุดท้ายของโรงแรมดุสิตธานี ตำนานตั้งแต่รุ่นพ่อที่เป็นที่รักของคนไทย
- ↑ ‘ดุสิตธานี’ จุดเริ่มต้น การดิ้นรน และอวสานของโรงแรมไทยที่กำลังจะเป็นตำนาน
- ↑ รร.ดุสิตธานีต่อสัญญาเช่าที่อีก 30 ปี จับมือเซ็นทรัล ผุดมิกซ์ยูส
- ↑ รายการได้มาและจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ - บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา
- ↑ "อวดโฉม "ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค" อาณาจักร 36,700 ล้านใจกลางเมือง". ประชาชาติธุรกิจ. 1 เมษายน 2019. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2025.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ “กลุ่มดุสิต” ผนึก “เซ็นทรัล” ยกระดับโรงแรมดุสิตฯ สู่โปรเจกต์ Mixed-use 3 หมื่นล้าน แลนด์มาร์คบนสีลม
- ↑ "ถอดรหัสโรงแรมดุสิตธานี ตำนาน 50 ปี สถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัย สู่การสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่". มติชน. 1 กรกฎาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2025.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Temsiri Just II (18 ธันวาคม 2019). "สมเด็จพระสังฆราชฯ เสด็จไปทรงเป็นประธานพิธีวางศิลาฤกษ์ "ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค"". Marketeer. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2025.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ดุสิตธานี ปรับแผนลงทุนโครงการ “ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค” ตอบโจทย์วิถีนิวนอร์มัล
- ↑ "CPN ร่วมทุน DTC ผุดโครงการ MIXED-USE หัวมุมสีลม-พระรามสี่ มูลค่า 3.67 หมื่นลบ". สำนักข่าวอิศรา. 4 มีนาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2015.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ซูมอิน โฉมใหม่ ดุสิตธานี กรุงเทพ กับวิวห้องพักหลักล้าน พาโนรามา ใจกลางกรุง". มติชน. 30 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2025.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "การกลับมาอีกครั้งของโรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ". ประชาชาติธุรกิจ. 3 ตุลาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2025.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ดุสิตธานี เตรียมเปิดรูฟท็อปบาร์หมุดหมายใหม่ใจกลางกรุง ชมวิวเมือง 360 องศา". เดอะสแตนดาร์ด. 17 ธันวาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2025.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 17.0 17.1 "CPN จ่อเปิด Central Park Offices พรีเมียม Grade A ทำเล Super Core CBD เต็มรูปแบบ ส.ค.68". สำนักข่าวอินโฟเควสท์. 3 กุมภาพันธ์ 2025. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2025.
- ↑ "โครงการ "ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค" คืบหน้าตามแผน-จ่อเปิดเต็มรูปแบบปี'68". ประชาชาติธุรกิจ. 3 ธันวาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2025.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "สัมภาษณ์พิเศษ 'André Fu' ผู้อยู่เบื้องหลังความงาม 'ดุสิตธานี กรุงเทพ' โฉมใหม่". THE STANDARD.
- ↑ Beautyman, Mairi (2018-09-05). "André Fu and AvroKO's Waldorf Astoria Bangkok Is a Tribute to Thai Culture". Architectural Digest (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ พัวพงศกร, ภัทรียา (2019-09-20). "บ้านดุสิตธานี : คาเฟ่ ร้านอาหาร และบาร์ ในบ้านเก่าเกือบร้อยปีใจกลางศาลาแดง". The Cloud.
- ↑ "NOMADA ยกอาหารสไตล์อเมริกาใต้จากหัวหินสู่ บ้านดุสิตธานี". บ้านและสวน. 2023-11-08.
- ↑ Pattarat (2023-10-09). "พรีวิวคอนเซ็ปต์ "Central Park" ส่วนรีเทลและออฟฟิศใน "ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค" แลนด์มาร์กใหม่กรุงเทพฯ". Positioning Magazine (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "'ดุสิตเซ็นทรัลพาร์ค 'รับแรงซื้อไฮเอนด์ ดันยอดเรสซิเดนท์แตะ 80%". bangkokbiznews. 2023-12-14.
- ↑ "รีวิวคอนโดดุสิต Dusit Residences and Dusit Parkside คอนโดหรู วิวสวนลุม จากวิมานสุริยา [Walk-in Review] | thinkofliving.com". thinkofliving.com.