บัวเขียว รังคสิริ
บัวเขียว รังคสิริ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456 อำเภอลอง จังหวัดแพร่ |
เสียชีวิต | 4 ตุลาคม พ.ศ. 2531 (75 ปี) อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ |
คู่สมรส | สถิตย์ รังคสิริ |
คุณหญิง บัวเขียว รังคสิริ (27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456 – 4 ตุลาคม พ.ศ. 2531) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ 2 สมัย[1]
ประวัติ
[แก้]คุณหญิงบัวเขียว รังคสิริ เกิดเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456 ที่อำเภอลอง จังหวัดแพร่ เป็นธิดาของรองอำมาตย์ตรีเผือก (พ่อเจ้าเผือก ไชยประวัติ) และเจ้าแม่สุคันธา ไชยประวัติ (สกุลเดิม แสนศิริพันธุ์ ธิดาพระวิไชยราชา (เจ้าหนานขัติ แสนศิริพันธุ์) พระวิไชยราชานครแพร่)[1] เป็นหลานน้าของเจ้าวงศ์ แสนศิริพันธุ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่คนแรก สมรสกับนายสถิตย์ รังคสิริ มีบุตรชาย 2 คน คือ นายแพทย์สุขุม รังคสิริ และ นายดุสิต รังคสิริ [2]
การศึกษา
[แก้]คุณหญิงบัวเขียวจบการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 8 จากโรงเรียนฝึกหัดครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ เมื่อ พ.ศ. 2475 และสอบได้วิชาครูมัธยม (ป.ม.) เมื่อ พ.ศ. 2478 ต่อมา ได้รับปริญญาศึกษาศาสตร์บัณฑิต กิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การทำงาน
[แก้]คุณหญิงบัวเขียว เริ่มรับราชการครู ในตำแหน่งครูจัตวาโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดแพร่ เมื่อ พ.ศ. 2476 ต่อมาได้เป็นผู้ช่วยครูใหญ่โท โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี จังหวัดพิษณุโลก จนกระทั่งได้เป็นครูใหญ่หรือผู้อำนวยการโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ จนกระทั่งเกษียณอายุราชการ เมื่อ พ.ศ. 2517
งานการเมือง
[แก้]คุณหญิงบัวเขียว ลงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2518 สังกัดพรรคสังคมชาตินิยม และได้รับเลือกติดต่อกันรวม 2 ครั้ง ต่อมาได้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ใน พ.ศ. 2520
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]คุณหญิงบัวเขียว รังคสิริ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 จังหวัดแพร่ สังกัดพรรคสังคมชาตินิยม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดแพร่ สังกัดพรรคชาติไทย
ถึงแก่อนิจกรรม
[แก้]คุณหญิงถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2531 รวมอายุ 75 ปี มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2532 ณ สุสานประตูมาร ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2521 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
- พ.ศ. 2518 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[3]
- พ.ศ. 2524 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) (ฝ่ายใน)[4]
- พ.ศ. 2502 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[5]
- พ.ศ. 2515 – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 2 (เหรียญเงิน)
ลำดับสาแหรก
[แก้]พงศาวลีของบัวเขียว รังคสิริ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 สถาบันพระปกเกล้า. นักการเมืองถิ่นจังหวัดแพร่ กรุงเทพ : สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2555
- ↑ "คุณหญิงบัวเขียว รังคสิริ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-09. สืบค้นเมื่อ 2013-06-15.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๒๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๗๖, ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๗๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-06-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔๙, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๐๒
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2456
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2531
- นักการเมืองจากจังหวัดแพร่
- ผู้มีเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ
- วงศ์วรญาติ
- คุณหญิง
- ครูชาวไทย
- นักการเมืองสตรีชาวไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- พรรคสังคมชาตินิยม
- นักการเมืองพรรคชาติไทย
- บุคคลจากโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
- บุคคลจากโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.จ. (ฝ่ายใน)