ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนสระแก้ว

พิกัด: 15°00′11″N 103°06′16″E / 15.003013°N 103.104308°E / 15.003013; 103.104308
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนสระแก้ว
Sa kaeo School
ที่ตั้ง
แผนที่
58 ถนนสุวรรณศร
ตำบลสระแก้ว อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว 27000
พิกัด15°0′10.85″N 103°6′15.51″E / 15.0030139°N 103.1043083°E / 15.0030139; 103.1043083
ข้อมูล
ชื่ออื่นส.ก. (S.K.)
ประเภทโรงเรียนประจำจังหวัดของรัฐ (มัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ)
คำขวัญปญญา นรานํ รตนํ
(ปัญญาเป็นแก้วประเสริฐของปวงชน)
เขตการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ
รหัส12270101
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 สหศึกษา
สี  เขียว
  เหลือง
เพลงมาร์ชโรงเรียนสระแก้ว
เว็บไซต์www.sakaeoschool.ac.th

โรงเรียนสระแก้ว เป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาและเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดสระแก้ว สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ที่ 58 ถนนสุวรรณศร ตำบลสระแก้ว อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว

ประวัติ

[แก้]
ไฟล์:หน้าโรงเรียนสระแก้ว จ.สระแก้ว.jpg
โรงเรียนสระแก้ว

โรงเรียนสระแก้ว ได้จัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 17 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2501 แต่เดิมอาศัยโรงเรียนวัดสระแก้ว (ประชาบาล) ซึ่งตั้งอยู่ในที่ดินราชพัสดุริมถนนสุวรรณศร บริเวณห้างแว่นบิวตี้ฟูลในปัจจุบัน เป็นอาคารไม้เก่าแก่ชั้นเดียวใต้ถุนสูงอาศัยเป็นที่เรียนโดยเปิดทำการเรียนการสอนครั้งแรก ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หรือมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในปัจจุบัน[1]

ปี พ.ศ. 2509 นายประยูร เทียมเพ็ชร์ คหบดีอำเภอสระแก้ว ได้มอบกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่กรมสามัญศึกษาจำนวนเนื้อที่ 16 ไร่ 3 งาน 39 ตารางวา หมู่ที่ 7บ้านคลองจาน ริมถนนสุวรรณศร ต.สระแก้ว ซื่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนในปัจจุบัน และในปีเดียวกันนี้ได้รับงบประมาณจากกรมสามัญศึกษา สร้างอาคารเรียนแบบ212 ครึ่งหลังจำนวน 6 ห้องเรียน จึงย้ายมาเรียนที่อาคารหลังใหม่เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2510 เป็นต้นมา

ปี พ.ศ. 2516 เข้าโครงการปรับปรุงโรงเรียนมัธยมศึกษาในชนบท (คมช.) รุ่นที่ 10 กรมสามัญศึกษาให้ความช่วยเหลือวัสดุ ครุภัณฑ์ สายวิชาชีพ สายวิชาศิลปศึกษา วิทยาศาสตร์และห้องสมุด

ปี พ.ศ. 2535 เข้าโครงการขยายโอกาสทางการศึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กรมสามัญศึกษา (คอมต.สศ.) จนถึงปัจจุบันโรงเรียนสระแก้วได้มีการพัฒนามาโดยตลอด มีอาคารเรียนและอาคารประกอบต่าง ๆ พร้อมกับจำนวนครูและนักเรียนที่เพิ่มขึ้นด้วย ต่อมานายประยูร เทียมเพ็ชร ได้บริจาคที่ดินเพิ่มเติม ปัจจุบันโรงเรียนสระแก้วมีเนื้อที่ทั้งสิ้น 33 ไร่ 1 งาน 34 ตารางวาเปิดสอนนักเรียนในระดับช่วงชั้นที่ 3 ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและช่วงชั้นที่ 4 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

ปี พ.ศ. 2553 โรงเรียนสระแก้วได้ผ่านการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล

ปี พ.ศ. 2561 ได้รับรางวัลโรงเรียนการบริหารจัดการคุณภาพตามเกณฑ์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA)

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

[แก้]

นาธาน โอมาน

หลักสูตรการเรียนการสอน

[แก้]

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (มัธยมศึกษาปีที่ 1-3)[2]

[แก้]

ห้องเรียนพิเศษ ประกอบด้วย 5 หลักสูตร ได้แก่

  • โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (SMTE)
  • โครงการห้องเรียนพิเศษส่งเสริมความสามารถทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ (Top Star)
  • โครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ (MEP)
  • โครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ(Smart Room)
  • โครงการห้องเรียนโครงการพัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาค (Education Hub)
  • ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (STEM)

ห้องเรียนปกติ ประกอบด้วย 4 หลักสูตร ได้แก่

  • กลุ่มการเรียนวิทยาศาสตร์–คณิตศาสตร์
  • กลุ่มการเรียนภาษาอังกฤษ–ภาษาจีน
  • กลุ่มการเรียนศิลปะ–การท่องเที่ยวและการโรงแรม
  • กลุ่มการเรียนการอาชีพ (คหกรรม–เกษตร–อุตสาหกรรม–ธุรกิจ)

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (มัธยมศึกษาปีที่ 4-6)

[แก้]

ห้องเรียนพิเศษ ประกอบด้วย 5 หลักสูตร ได้แก่

  • โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (SMTE)
  • โครงการห้องเรียนพิเศษส่งเสริมความสามารถทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ (Top Star)
  • โครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ (EIS)
  • โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science)
  • ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (STEM)

ห้องเรียนปกติ ประกอบด้วย 3 หลักสูตร ได้แก่

  • แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์
  • แผนการเรียนศิลป์ - ภาษา
  • แผนการเรียนศิลป์ - คำนวณ

ทำเนียบผู้บริหารสถานศึกษา

[แก้]
ลำดับ รายชื่อ ตำแหน่ง ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 นายอาทิตย์ จิตละมุน ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2501 – พ.ศ. 2504
2 นายชุมพล บัวคำศรี ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2504 – พ.ศ. 2528
3 นายวิวัฒน์ บุญเล็ก ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2528 – พ.ศ. 2540
4 นายบรรลือ คุรุธรรมจารุ ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2540 – พ.ศ. 2544
5 นายปกรณ์ ภูมิเขต ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2544 – พ.ศ. 2553
6 นายชูชาติ ชอบชื่นชม ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2554 – พ.ศ. 2555
7 นายสุวรรณ ทวีผล ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2556 – พ.ศ. 2562
8 นายอมรศักดิ์ อรรฆผลประสิทธิ์ รักษาราชการการแทนผู้อำนวยการ พ.ศ. 2562
9 นางจุฑามาส เทพหัสดิน ณ อยุธยา ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2563 – ปัจจุบัน

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-03. สืบค้นเมื่อ 2019-06-03.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-03. สืบค้นเมื่อ 2019-06-03.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

15°00′11″N 103°06′16″E / 15.003013°N 103.104308°E / 15.003013; 103.104308