ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดนครศรีธรรมราช"

พิกัด: 8°24′N 99°58′E / 8.4°N 99.97°E / 8.4; 99.97
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 941: บรรทัด 941:


=== โรงเรียน ===
=== โรงเรียน ===
* [[โรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช]]
* [[โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช]]
* [[โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคใต้]]
* [[โรงเรียนโยธินบำรุง]]
* [[โรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา]]
* [[โรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราช]]
* [[โรงเรียนก้างปลาวิทยาคม]]
* [[โรงเรียนปากพูน]]
* [[โรงเรียนท่านครญาณวโรภาสอุทิศ]]
* [[โรงเรียนตรีนิมิตรวิทยา]]
* [[โรงเรียนดรุณศึกษา]]
* [[โรงเรียนนาบอน]]
* [[โรงเรียนบ้านห้วยหาร]]
* [[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช]]
* [[โรงเรียนท่าศาลาประสิทธิ์ศึกษา]]
* [[โรงเรียนฉวางรัชดาภิเษก]]
* [[โรงเรียนนานาชาติศรีธรรมราชศึกษา อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช]]
* [[โรงเรียนนานาชาติเทศบาลนครนครศรีธรรมราช]]
* [[โรงเรียนวัดพระมหาธาตุ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช]]
* [[โรงเรียนดรุณศึกษา 2 ]]
* [[โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริก]]


== ศูนย์วิจัยและพัฒนามังคุดไทย ==
== ศูนย์วิจัยและพัฒนามังคุดไทย ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:53, 21 ตุลาคม 2558

จังหวัดนครศรีธรรมราช
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Nakhon Si Thammarat
คำขวัญ: 
เมืองประวัติศาสตร์ พระธาตุทองคำ ชื่นฉ่ำธรรมชาติ แร่ธาตุอุดม เครื่องถมสามกษัตริย์ มากวัดมากศิลป์ ครบสิ้นกุ้งปู
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดนครศรีธรรมราชเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดนครศรีธรรมราชเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดนครศรีธรรมราชเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ นายพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2557)
พื้นที่
 • ทั้งหมด9,942.502 ตร.กม.[1] ตร.กม. (Formatting error: invalid input when rounding ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 18
ประชากร
 (พ.ศ. 2557)
 • ทั้งหมด1,548,028 คน[2] คน
 • อันดับอันดับที่ 8
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 26
รหัส ISO 3166TH-80
ชื่อไทยอื่น ๆนคร, เมืองคอน, คอน
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้แซะ
 • ดอกไม้ราชพฤกษ์
ศาลากลางจังหวัด
 • โทรศัพท์0 7535 6952
 • โทรสาร0 7535 6531
เว็บไซต์http://www.nakhonsithammarat.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นจังหวัดในประเทศไทย มีประชากรมากที่สุดในภาคใต้ และ มีขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของภาคใต้ (รองจากสุราษฎร์ธานี) ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 780 กิโลเมตร มีจังหวัดที่อยู่ติดกันได้แก่ สงขลา พัทลุง ตรัง กระบี่ และสุราษฎร์ธานี

ในอดีต มีชื่อเรียกดินแดนแถบนี้หลายชื่อ เช่น ในคัมภีร์มหานิเทศของอินเดีย ที่เขียนขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 7-8 เรียกว่า "ตามพรลิงก์", บันทึกโบราณของเมืองจีนเรียก "เซี้ยะ-โท้ว (ถู-กวั่ว) ", "รักตะมฤติกา" (จารึกภาษาสันสกฤต) ซึ่งล้วนหมายถึง "ดินแดนที่มีดินสีแดง", ตะวันตกนิยมเรียกกันมา จนกระทั่งต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 คือ "ลิกอร์" สันนิษฐานว่าชาวโปรตุเกสที่เข้ามาติดต่อค้าขายในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เป็นผู้เรียกก่อน โดยเพี้ยนมาจากคำว่า "นคร" ส่วนชื่อ "นครศรีธรรมราช" มาจากพระนามของกษัตริย์ผู้ครองนครในอดีต มีพระนามว่า "พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช" (ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช) มีความหมายว่า "นครอันเป็นสง่าแห่งพระราชาผู้ทรงธรรม" หรือ "เมืองแห่งพุทธธรรมของพระราชาผู้ยิ่งใหญ่"

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองนครศรีธรรมราชมีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นเอกคู่กับเมืองพิษณุโลก มีขุนนางชั้นผู้ใหญ่ระดับเจ้าพระยาเป็นเจ้าเมือง มีบรรดาศักดิ์ตามพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหารหัวเมือง ว่า เจ้าพระยาศรีธรรมราชชาติเดโชไชยมไหยสุริยาธิบดีอภัยพิรียบรากรมภาหุ

ประวัติศาสตร์

ไฟล์:อนุสาวรีย์เจ้าพระยานคร (น้อย) นครศรีธรรมราช.jpg
อนุสาวรีย์เจ้าพระยานคร (น้อย) ที่ศาลากลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ไฟล์:ต้นแซะ ที่หน้าศาลากลางนครศรีธรรมราช.jpg
ต้นแซะ ที่หน้าศาลากลางนครศรีธรรมราช

เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 ตำแหน่งเจ้าพระยานครศรีธรรมราช ว่างอยู่ หลวงสิทธิ นายเวรมหาดเล็ก (หนู) ซึ่งออกไปรับราชการ ตำแหน่งปลัดเมือง เป็นผู้รักษาราชการเมืองนครศรีธรรมราช ครั้นทราบว่ากรุงศรีอยุธยาเสียกรุงแก่พม่า ไม่มีเจ้านายปกครองประเทศ หลวงสิทธิ จึงตั้งตัวเป็นเจ้าผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราช เป็นอิสระอยู่ก๊กหนึ่ง

ในปี พ.ศ. 2312 พระเจ้ากรุงธนบุรี ยาตรากองทัพไปปราบ และ จับตัวเจ้านคร (หนู) ได้ และมีพระราชดำริว่า เจ้านครมิได้มีใจกบฏคิดร้ายต่อประเทศ แต่ตั้งตัวขึ้นเนื่องจากบ้านเมืองเป็นจลาจล จึงโปรดเกล้าฯ ให้มารับราชการอยู่ที่กรุงธนบุรี และให้ เจ้านราสุริยวงศ์หลานเธอ ออกไปครองเมืองนครศรีธรรมราช

ต่อมาเจ้านราสุริยวงศ์ ถึงแก่พิราลัย พระเจ้ากรุงธนบุรี มีพระราชดำริว่า เจ้านคร (หนู) ได้เข้ามารับราชการ มีความจงรักภักดี และได้ถวายธิดาทำราชการ มีราชบุตร (คือพระพงษ์นรินทรและพระอินทร์อภัย) เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้านครออกไปครองเมืองนครศรีธรรมราช และสถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้านครศรีธรรมราช เจ้าขันธสีมา (หนู) เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 11 ขึ้น 3 ค่ำ จุลศักราช 1138 (พ.ศ. 2319) ปีวอกอัฐศก

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) มีพระราชดำริว่า พระเจ้านครศรีธรรมราช มีความชราทุพพลภาพ ไม่สามารถปกครองบ้านเมืองได้ จึงโปรดให้ออกจากตำแหน่ง กลับเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ และโปรดให้เจ้าอุปราช (พัฒน์) บุตรเขยเจ้านคร ขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อวันอังคาร เดือน 8 แรม 11 ค่ำ จุลศักราช 1146 (พ.ศ. 2327) ปีมะโรงศก แต่โปรดให้มียศเพียงเจ้าพระยาตามประเพณีแต่เดิม เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองนครศรีธรรมราชจึงเป็นเมืองที่เคยมีกษัตริย์ปกครอง และมีฐานะเป็นประเทศราช 8 ปี

มีเกร็ดย่อย คือ เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์) รับราชการ จนถึงรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) มีความชราภาพ จึงทรงยกขึ้นเป็น เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี ตำแหน่งกิตติมศักดิ์ และทรงตั้ง พระบริรักษ์ภูเบศร์ (น้อย) บุตรเจ้าพระยานคร (พัฒน์) เป็นเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย)คนใหม่

แต่มีเรื่องปรากฏหลักฐานในสมัยนั้นว่า เจ้าพระยานคร (น้อย) นี้ที่จริงเป็นราชบุตรลับของพระเจ้ากรุงธนบุรี เนื่องจากเมื่อครั้งเจ้านคร (หนู) ทำราชการอยู่ที่กรุงธนบุรี และถวายธิดาทำราชการฝ่ายในแก่พระเจ้ากรุงธนบุรี และมีน้องสาว (ปราง) มาอยู่ด้วยในวังคนหนึ่ง ความปรากฏตามพงศาวดารว่า เจ้าพระยาพิชัยราชา เจ้าเมืองสวรรคโลกให้ไปขอ เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบ ก็ทรงพระพิโรธ ว่าเจ้าพระยาพิชัยราชาบังอาจ จะเป็นคู่เขยของพระองค์ ให้เอาไปประหารเสีย ต่อมาวงศ์ญาติเจ้านคร จึงนำธิดา (ปราง) คนนี้ ถวายพระเจ้ากรุงธนบุรี เสีย ต่อมาเจ้าพระยานคร (พัฒน์) เมื่อครั้งยังเป็นอุปราชเมืองนครอยู่ ภริยาซึ่งเป็นบุตรเจ้านคร (หนู) เสียชีวิต เจ้าพระยานคร (พัฒน์) ทำความชอบได้เข้าเฝ้าครั้งหนึ่ง พระเจ้ากรุงธนบุรีเห็นว่าภริยาเสียชีวิต ก็สงสารจึงจะพระราชทานธิดาเจ้านคร (หนู) ให้ใหม่ และให้นำตัวธิดาคนเล็กเจ้านคร (หนู) ไปพระราชทาน แต่นางในกระซิบว่า ดูเหมือนว่านางจะขาดระดูอยู่ แต่พระเจ้ากรุงธน ตรัสว่า "ได้ออกปากให้เขาแล้ว ก็พาไปเถอะ" เมื่อท้าวนาง พาธิดาเจ้านครไปส่งนั้น เจ้าอุปราช (พัฒน์) ก็ทราบความลับนั้น มีความยำเกรงพระบารมี ก็ต้องรับไว้เป็นท่านผู้หญิงกิตติมศักดิ์ อยู่ตลอดอายุ และนางนั้นก็มีบุตรกับเจ้าพระยานคร (พัฒน์) เพียงคนเดียว คือ เจ้าพระยานคร (ปริก)

หน่วยการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

การปกครองแบ่งออกเป็น 23 อำเภอ 165 ตำบล 1,428 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
  2. อำเภอพรหมคีรี
  3. อำเภอลานสกา
  4. อำเภอฉวาง
  5. อำเภอพิปูน
  6. อำเภอเชียรใหญ่
  7. อำเภอชะอวด
  8. อำเภอท่าศาลา
  9. อำเภอทุ่งสง
  10. อำเภอนาบอน
  11. อำเภอทุ่งใหญ่
  12. อำเภอปากพนัง
  1. อำเภอร่อนพิบูลย์
  2. อำเภอสิชล
  3. อำเภอขนอม
  4. อำเภอหัวไทร
  5. อำเภอบางขัน
  6. อำเภอถ้ำพรรณรา
  7. อำเภอจุฬาภรณ์
  8. อำเภอพระพรหม
  9. อำเภอนบพิตำ
  10. อำเภอช้างกลาง
  11. อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
 แผนที่

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แบ่งออกเป็น 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 เทศบาลนคร 3 เทศบาลเมือง 50 เทศบาลตำบล และ 130 องค์การบริหารส่วนตำบล โดยมีรายชื่อเทศบาลดังนี้

  1. เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
  2. เทศบาลเมืองทุ่งสง
  3. เทศบาลเมืองปากพนัง
  4. เทศบาลเมืองปากพูน
  5. เทศบาลตำบลกะทูน
  6. เทศบาลตำบลกะปาง
  7. เทศบาลตำบลการะเกด
  8. เทศบาลตำบลเกาะทวด
  9. เทศบาลตำบลเกาะเพชร
  1. เทศบาลตำบลขนอม
  2. เทศบาลตำบลขุนทะเล
  3. เทศบาลตำบลเขาชุมทอง
  4. เทศบาลตำบลเขาพระ
  5. เทศบาลตำบลควนกลาง
  6. เทศบาลตำบลจันดี
  7. เทศบาลตำบลฉวาง
  8. เทศบาลตำบลชะมาย
  9. เทศบาลตำบลชะเมา
  1. เทศบาลตำบลชะอวด
  2. เทศบาลตำบลเชียรใหญ่
  3. เทศบาลตำบลดอนตรอ
  4. เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่
  5. เทศบาลตำบลท้องเนียน
  6. เทศบาลตำบลทอนหงส์
  7. เทศบาลตำบลทางพูน
  8. เทศบาลตำบลท่างิ้ว
  9. เทศบาลตำบลท่าประจะ
  1. เทศบาลตำบลท่าแพ
  2. เทศบาลตำบลท่ายาง
  3. เทศบาลตำบลท่าศาลา
  4. เทศบาลตำบลที่วัง
  5. เทศบาลตำบลทุ่งสัง
  6. เทศบาลตำบลทุ่งใส
  7. เทศบาลตำบลนาบอน
  8. เทศบาลตำบลนาสาร
  9. เทศบาลตำบลนาเหรง
  1. เทศบาลตำบลบางจาก
  2. เทศบาลตำบลบางพระ
  3. เทศบาลตำบลปากนคร
  4. เทศบาลตำบลปากน้ำฉวาง
  5. เทศบาลตำบลพรหมคีรี
  6. เทศบาลตำบลพรหมโลก
  7. เทศบาลตำบลพิปูน
  8. เทศบาลตำบลโพธิ์เสด็จ
  9. เทศบาลตำบลไม้เรียง
  1. เทศบาลตำบลร่อนพิบูลย์
  2. เทศบาลตำบลลานสกา
  3. เทศบาลตำบลสวนขัน
  4. เทศบาลตำบลสิชล
  5. เทศบาลตำบลหน้าสตน
  6. เทศบาลตำบลหลักช้าง
  7. เทศบาลตำบลหัวไทร
  8. เทศบาลตำบลหินตก
  9. เทศบาลตำบลอ่าวขนอม

ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช

รายนามผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช [3]

ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 เจ้าพระยาสุธรรมมนตรีศรีธรรมราช
(หนูพร้อม ณ นคร)
พ.ศ. 2440-พ.ศ. 2447 2 พระยาสุนทรธุรกิจ
(หมี ณ ถลาง)
พ.ศ. 2447-พ.ศ. 2449
3 พระยาตรังภูษาภิบาล
(ถนอม บุญยเกตุ)
พ.ศ. 2449-พ.ศ. 2452 4 พระยาสิริธรรมบริรักษ์
(เย็น สุวรรณปัทมา)
พ.ศ. 2452-พ.ศ. 2455
5 พระยาประชากิจกรจักร์
(ฟัด มหาเปารยะ)
พ.ศ. 2455-พ.ศ. 2462 6 พระยารักษฏานุประดิษฐ์
(สิน เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
พ.ศ. 2462-พ.ศ. 2474
7 พระยาสุรพลนิพิธ
(เป้า สุมนดิษฐ์)
พ.ศ. 2474-พ.ศ. 2475 8 พระยาบุรีสราธิการ
(โจ้ กนิษฐารัตน์)
พ.ศ. 2475-พ.ศ. 2476
9 พระอรรถานิพนธ์ปรีชา
(ประเสริฐ อรรถนิพนธ์ปรีชา)
พ.ศ. 2476-พ.ศ. 2477 10 พระยาสุราษฎร์ธานีศรีเกษตรนิคม
(เต่า ศตะกุรมะ)
พ.ศ. 2477-พ.ศ. 2481
11 ร.อ. พระสาครบุรารักษ์ ร.น.
(ปริก สุวรรณนนท์)
พ.ศ. 2481-พ.ศ. 2484 12 ร.อ.อ. หลวงวุฒิราษฎร์รักษา
(ว.ศ.วุฒิราษฎร์รักษา)
พ.ศ. 2484-พ.ศ. 2486
13 ขุนภักดีดำรงฤทธิ์
(ภักดี ดำรงฤทธิ์)
พ.ศ. 2486-พ.ศ. 2489 14 ขุนรัฐวุฒิวิจารณ์
(สมวงส์ วัฏฏสิงห์)
พ.ศ. 2489-พ.ศ. 2489
15 นายแม้น ออนจันทร์ พ.ศ. 2489-พ.ศ. 2493 16 ขุนอารีราช การัณย์
(ชิต สุมนดิษฐ์)
พ.ศ. 2493-พ.ศ. 2494
17 ขุนไมตรีประชารักษ์
(ไมตรี พิจิตรนรการ)
พ.ศ. 2494-พ.ศ. 2495 18 ขุนพิเศษนคร
(ชุบ พิเศษนครกิจ)
พ.ศ. 2495-พ.ศ. 2497
19 ขุนจรรยาวิเศษ
(เที่ยง บุญยนิตย์)
พ.ศ. 2497-พ.ศ. 2500 20 นายมงคล สุภาพงษ์ พ.ศ. 2500-พ.ศ. 2501
21 นายจันทร์ สมบูรณ์กุล พ.ศ. 2501-พ.ศ. 2503 22 นายสันต์ เอกมหาชัย พ.ศ. 2503-พ.ศ. 2512
23 นายพันธ์ ลายตระกูล พ.ศ. 2512-พ.ศ. 2514 24 นายคล้าย จิตพิทักษ์ พ.ศ. 2515-พ.ศ. 2518
25 นายเวียง สาครสินธุ์ พ.ศ. 2518-พ.ศ. 2518 26 นายศุภโยค พานิชวิทย์ พ.ศ. 2518-พ.ศ. 2519
27 นายเสน่ห์ วัฑฒนาธร พ.ศ. 2519-พ.ศ. 2521 28 นายธานี โรจรนาลักษณ์ พ.ศ. 2521-พ.ศ. 2525
29 นายเอนก สิทธิประศาสน์ พ.ศ. 2525-พ.ศ. 2529 30 เรือตรีสุกรี รักษ์ศรีทอง พ.ศ. 2529-พ.ศ. 2530
31 นายนิพนธ์ บุญญภัทโร พ.ศ. 2530-พ.ศ. 2532 32 พันโทกมล ประจวบเหมาะ พ.ศ. 2532-พ.ศ. 2533
33 ร้อยตรีณรงค์ แสงสุริยงค์ พ.ศ. 2533-พ.ศ. 2534 34 ร้อยตรีกิตติ ประทุมแก้ว พ.ศ. 2534-พ.ศ. 2535
35 นายวิสุทธิ์ สิงห์ขจรวรกุล พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2536 36 นายสุชาญ พงษ์เหนือ พ.ศ. 2536-พ.ศ. 2537
37 นายบัญญัติ จันทน์เสนะ พ.ศ. 2537-พ.ศ. 2538 38 นายประกิต เทพชนะ พ.ศ. 2538-พ.ศ. 2540
39 นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ พ.ศ. 2540-พ.ศ. 2541 40 นายสวัสดิ์ กฤตรัชตนันต์ พ.ศ. 2541-พ.ศ. 2544
41 นายสวัสดิ์ แกล้วทนงค์ พ.ศ. 2544-พ.ศ. 2547 42 นายวิชม ทองสงค์ พ.ศ. 2547-พ.ศ. 2551
43 นายภาณุ อุทัยรัตน์ พ.ศ. 2551-พ.ศ. 2552 44 นายธีระ มินทราศักดิ์ พ.ศ. 2552-พ.ศ. 2554
45 นายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์ พ.ศ. 2554-พ.ศ. 2556 46 นายอภินันท์ ซื่อธานุวงศ์ พ.ศ. 2556-พ.ศ. 2557
47 นายพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า พ.ศ. 2557-ปัจจุบัน

ศูนย์ราชการในเขตภาคใต้

  1. องค์การสวนยาง (สำนักงานใหญ่)
  2. สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เขต 2
  3. กองทัพภาคที่ 4
  4. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11
  5. ศูนย์วัณโรคเขต 11
  6. ศูนย์กามโรคเขต 11
  7. ศูนย์โรคเรื้อนเขต 11
  8. สำนักทางหลวงที่ 14
  9. ศูนย์สร้างและบูรณะสะพานที่ 4 (ทุ่งสง) นครศรีธรรมราช
  10. สำนักตรวจเงินภูมิภาค ที่ 11
  11. สำนักงานโบราณคดี เขต 11
  12. ศูนย์เทคโนโลยีการสื่อสารเขต 11
  13. สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 14
  14. ศาลปกครองนครศรีธรรมราช สำนักงานคดีปกครองนครศรีธรรมราช
  15. สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์เขต 8
  16. สำนักงานขนส่งทางน้ำที่ 4
  17. สำนักงานอนามัยเขต 11
  18. เขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์เขต 19
  19. ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเขต 11
  20. โรงพยาบาลแม่และเด็กเขต 11
  21. สำนักงานพัฒนาชุมชนเขต 8
  22. กองพลทหารราบที่ 5
  23. กองพลพัฒนาที่ 4
  24. กองบัญชาการช่วยรบที่ 4
  25. มณฑลทหารบกที่ 41
  26. กรมทหารปืนใหญ่ที่ 5
  27. กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 15
  28. กรมทหารปืนใหญ่ที่ 5
  29. กรมทหารราบที่ 15
  30. กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 15
  31. ศูนย์ต่อสู้ป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบกที่ 4
  32. กองกำลังทหารพราน กองทัพภาคที่ 4
  33. สำนักชลประทานที่ 15 นครศรีธรรมราช
  34. สำนักงานสภาคริสตจักรภาคที่ 9
  35. สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5
  36. ศูนย์สำรวจอุทกวิทยา ที่ 7
  37. สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เขต 12
  38. สำนักงานเทคนิคและการสื่อสารเขต 8 กรมตำรวจแห่งชาติ
  39. สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ ที่ 12
  40. ศูนย์ข่าวทหารและพลเรือน เขต 8
  41. ฝายส่งน้ำและศูนย์บำรุงที่ 4 กรมชลประทาน
  42. ศูนย์ประชาชนชนบทเขต 8
  43. ศูนย์กลางการสื่อสารเขต 7
  44. ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อโดยแมลงที่ 1
  45. กองร้อยอาสารักษาดินแดนที่ 10
  46. กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 42
  47. หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ที่ 44
  48. กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 427
  49. ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช
  50. สำนักงานพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 12
  51. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ภาคใต้เขต 2 (นครศรีธรรมราช)
  52. ศูนย์พัฒนาสังคม หน่วยที่ 21 จังหวัดนครศรีธรรมราช
  53. ศูนย์บริการวิทยาการที่ 9 จังหวัดนครศรีธรรมราช (กระทรวงพลังงาน)

เศรษฐกิจ

รายได้ประชากร

เศรษฐกิจโดยทั่วไปของจังหวัดขึ้นอยู่กับภาคเกษตร อาชีพหลัก คือ ทำสวนยางพารา ทำนา ทำไร่ การปลูกผลไม้ ทำสวนมะพร้าว การประมงและการเลี้ยงสัตว์ พัฒนาจากการสำรวจ พบว่า ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี เท่ากับ 105,598 บาท ซึ่งเป็นอันดับที่ 10 ของภาคใต้ และอันดับที่ 34 ของประเทศ

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

พระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
ไฟล์:ธงประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช .jpg
ธงประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
ไฟล์:ป้ายคำขวัญประจำเมือง และ ป้ายคติเตือนใจ หน้าศาลากลางนครศรีธรรมราช.jpg
ป้ายคำขวัญประจำเมือง และ ป้ายคติเตือนใจ หน้าศาลากลางนครศรีธรรมราช
  • ตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัด: พระบรมธาตุมีรัศมีล้อมรอบด้วย 12 นักษัตร โดยในสมัยรัชกาลพระเจ้าจันทรภาณุศรีธรรมราชแห่งกรุงตามพรลิงก์ มีพระปรีชาสามารถขยายอาณาเขตได้ครอบคลุมเมืองบริวารทั้งหลาย เมืองบริวารทั้งหมดต้องส่งเครื่องราชบรรณาการแก่พระเจ้าผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราช บรรดาเมืองบริวารทั้ง 12 เมืองได้แก่
  1. เมืองสายบุรี ใช้ตราหนู เมืองสายบุรีเป็นเมืองเก่าบนฝั่งแม่น้ำสายบุรี ประกอบด้วยชุมชนเกษตรกรรมบนพื้นราบริมทะเลหลายแห่ง จัดเป็นหัวเมืองที่ 1 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราหนู (ชวด) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นอำเภอในจังหวัดปัตตานี
  2. เมืองปัตตานี ใช้ตราวัว เมืองตานีเคยเป็นเมืองท่าสำคัญในภาคใต้ฝั่งตะวันออกซึ่งรู้จักในหมู่พ่อค้าต่างชาติช่วงพุทธศตวรรษที่ 10-18 ในชื่อ "ลังกาสุกะ" จัดเป็นหัวเมืองที่ 2 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราวัว (ฉลู) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคือจังหวัดปัตตานี
  3. เมืองกลันตัน ใช้ตราเสือ เมืองกลันตันเป็นชุมชนเก่าแก่ทางตะวันออกของคาบสมุทรมลายู แต่เดิมประชาชนนับถือศาสนาพุทธและฮินดู ในราวพุทธศตวรรษที่ 21 จึงเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม จัดเป็นหัวเมืองที่ 3 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราเสือ (ขาล) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นรัฐหนึ่งของประเทศมาเลเซีย
  4. เมืองปะหัง ใช้ตรากระต่าย เมืองปะหังเป็นชุมชนทางตอนล่างของแหลมมลายู ติดกับไทรบุรีหรือเกดะห์ จัดเป็นหัวเมืองที่ 4 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตรากระต่าย (เถาะ) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นรัฐหนึ่งในประเทศมาเลเซีย
  5. เมืองไทรบุรี ใช้ตรางูใหญ่ เมืองไทรบุรีเป็นชุมชนเก่าทางฝั่งตะวันตกของแหลมมลายู พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบและบึงตม เดิมประชาชนนับถือพุทธศาสนา ล่วงถึงพุทธศตวรรษที่ 20 จึงเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม จัดเป็นหัวเมืองที่ 5 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตรางูใหญ่ (มะโรง) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นรัฐหนึ่งในประเทศมาเลเซีย ชื่อว่า "เกดะห์"
  6. เมืองพัทลุง ใช้ตรางูเล็ก เมืองพัทลุงเป็นชุมชนเก่าแก่แต่ครั้งพุทธศตวรรษที่ 11-13 ได้รับอิทธพลทางพุทธศาสนาจากนครศรีธรรมราชอย่างต่อเนื่องทุกยุคสมัย จัดเป็นหัวเมืองที่ 6 ในทำเนียบสิบสองนักษัตร ถือตรางูเล็ก (มะเส็ง) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคือจังหวัดพัทลุง
  7. เมืองตรัง ใช้ตราม้า เมืองตรังเป็นเมืองท่าชายฝั่งทะเลตะวันตก ตัวเมืองเดิมตั้งอยู่ที่ควนธานี ต่อมาได้ย้ายไปที่กันตังและทับเที่ยงตามลำดับ จัดเป็นหัวเมืองที่ 7 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราม้า (มะเมีย) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคือจังหวัดตรัง
  8. เมืองชุมพร ใช้ตราแพะ เมืองชุมพรเป็นชุมชนเกษตรและท่าเรือบนคาบสมุทรขนาดเล็ก มีประชากรไม่มากนักเนื่องจากดินฟ้าอากาศไม่อำนวยให้ทำมาหากิน จัดเป็นหัวเมืองที่ 8 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราแพะ (มะแม) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคือจังหวัดชุมพร
  9. เมืองบันทายสมอ ใช้ตราลิง เมืองบันทายสมอสันนิษฐานว่าเป็นเมืองไชยา ซึ่งเป็นชุมชนใหญ่มาแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๐ เป็นอย่างน้อย มีร่องรอยความเจริญทางเศรษฐกิจและศาสนาพุทธนิกายหินยานและมหายาน รวมทั้งศาสนาฮินดูนิกายไวษณพและนิกายไศวะจำนวนมาก จัดเป็นหัวเมืองที่ 9 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราลิง (วอก) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
  10. เมืองสะอุเลา ใช้ตราไก่ เมืองสะอุเลาสันนิษฐานว่าเป็นเมืองท่าทองอุแทหรือกาญจนดิษฐ์ ซึ่งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำท่าทอง และลุ่มคลองกะแดะ เคยมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงชั้นเอกและเป็นแหล่งเพาะปลูกสำคัญของนครศรีธรรมราช จัดเป็นหัวเมืองที่ 10 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราไก่ (ระกา) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคืออำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  11. เมืองตะกั่วป่า ใช้ตราสุนัข เมืองตะกั่วป่าเคยเป็นเมืองท่าสำคัญทางฝั่งทะเลตะวันตก เป็นแหล่งผลิตดีบุกและเครื่องเทศมาแต่โบราณ จัดเป็นหัวเมืองที่ 11 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราสุนัข (จอ) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคืออำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
  12. เมืองกระบุรี ใช้ตราหมู เมืองกระบุรีเป็นชุมชนเล็ก ๆ บนฝั่งแม่น้ำกระบุรี ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่า และภูเขาสลับซับซ้อน จัดเป็นหัวเมืองที่ 12 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราสุกร (กุน) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นอำเภอในจังหวัดระนอง
  • ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกราชพฤกษ์ (Cassis fistula)
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด: แซะ (Millettia atropurpurea)
  • คำขวัญท่องเที่ยวประจำจังหวัด: นครศรีธรรมราช เมืองประวัติศาสตร์ พระธาตุทองคำ ชื่นฉ่ำธรรมชาติ แร่ธาตุอุดม เครื่องถมสามกษัตริย์ มากวัดมากศิลป์ ครบสิ้นกุ้งปู
  • คำขวัญประจำเมือง: เราชาวนครฯ อยู่เมืองพระ มั่นอยู่ในสัจจะ ศีลธรรม กอปรกรรมดี มีมานะ พากเพียร ไม่เบียดเบียน ทำอันตรายผู้ใด
  • อักษรย่อจังหวัด : นศ
  • อักษรย่ออักษรโรมัน : NST

ประชากรในจังหวัด

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
อำเภอ/ปี พื้นที่
(ตร.กม.)
2557
(คน)
2556
(คน)
2555
(คน)
2554
(คน)
2553
(คน)
2552
(คน)
2551
(คน)
เมืองนครศรีธรรมราช 617.40 270,099 268,900 268,010 267,148 267,440 266,613 267,232
ทุ่งสง 802.97 159,174 156,991 155,786 154,042 152,808 151,563 151,122
ท่าศาลา 363.89 111,879 111,295 110,327 109,418 108,834 108,170 108,006
ปากพนัง 422.50 100,318 100,957 101,533 101,877 102,607 103,268 104,011
สิชล 703.10 87,802 87,472 87,063 86,383 86,231 85,791 85,299
ชะอวด 833.00 86,466 86,319 85,968 85,602 85,403 85,067 84,851
ร่อนพิบูลย์ 335.50 81,810 81,675 81,330 80,990 81,116 81,110 80,893
ทุ่งใหญ่ 603.28 73,662 73,201 72,605 71,638 71,121 70,386 69,739
ฉวาง 528.20 67,380 67,332 67,021 66,726 66,491 66,286 66,179
หัวไทร 417.73 66,787 66,863 66,912 66,877 67,055 67,243 67,434
บางขัน 601.70 46,474 46,126 45,487 44,829 44,182 43,467 42,990
เชียรใหญ่ 232.70 43,533 43,598 43,584 43,542 43,571 43,657 43,890
พระพรหม 148.00 43,096 42,821 42,499 42,099 41,787 41,638 41,516
ลานสกา 342.90 40,783 40,560 40,406 40,223 40,291 40,209 40,162
พรหมคีรี 321.50 37,363 37,072 36,906 36,492 36,435 36,227 36,092
นบพิตำ 720.15 32,882 32,605 32,219 31,849 31,488 31,125 30,785
เฉลิมพระเกียรติ 124.10 31,564 31,502 31,551 31,625 31,919 31,854 31,986
จุฬาภรณ์ 192.50 31,441 31,337 31,151 30,968 30,935 30,816 30,720
ช้างกลาง 232.50 30,064 30,036 30,049 29,928 29,949 29,914 29,833
ขนอม 433.90 30,022 29,792 29,561 29,342 29,026 28,763 28,397
พิปูน 363.80 29,307 29,330 29,243 29,038 28,781 28,630 28,486
นาบอน 192.89 27,001 27,018 26,897 26,845 26,686 26,504 26,489
ถ้ำพรรณรา 169.10 19,121 19,041 18,810 18,590 18,405 18,270 18,051
รวมทั้งจังหวัด 9,942.502 1,548,028 1,541,843 1,534,887 1,526,071 1,522,561 1,516,499 1,513,163

ศาสนา

ชาวนครศรีธรรมราช ส่วนใหญ่นับถือ ศาสนาพุทธ ประมาณ 92.08% รองลงมา ได้แก่ ศาสนาอิสลาม 7.03% ศาสนาคริสต์ 0.89% นอกจากนั้นเป็นศาสนาอื่น ๆ (ข้อมูลประชากร 1,516,499 คน ปี พ.ศ. 2552)

บุคคลที่มีชื่อเสียง

ข้าราชการ

นักคิดและนักกวี

การเมือง

ดาราและนักร้อง

  • ศุภักษร จงศิริ นักเขียน ผู้กำกับภาพยนตร์

นักกีฬา

  • สระราวุฒิ ตรีพันธ์ อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทยชุดซีเกมส์ที่มาเลย์เซีย ผู้ยิงประตูชัยดับเจ้าภาพในนัดชิงชนะเลิศ

สถาบันการศึกษา

การอุดมศึกษา

รัฐบาล

เอกชน

การอาชีวศึกษา

การอาชีวศึกษาเอกชน

โรงเรียน

ศูนย์วิจัยและพัฒนามังคุดไทย

โรงพยาบาล

กระทรวงสาธารณสุข

โรงพยาบาลศูนย์

โรงพยาบาลทั่วไป

  • โรงพยาบาลทุ่งสง ขนาด 300 เตียง
  • โรงพยาบาลสิชล ขนาด 200 เตียง
  • โรงพยาบาลท่าศาลา ขนาด 150 เตียง

โรงพยาบาลชุมชน

  1. โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง ขนาด 90 เตียง
  2. โรงพยาบาลทุ่งใหญ่ ขนาด 60 เตียง
  3. โรงพยาบาลชะอวด ขนาด 60 เตียง
  4. โรงพยาบาลหัวไทร ขนาด 30 เตียง
  5. โรงพยาบาลปากพนัง ขนาด 30 เตียง
  6. โรงพยาบาลขนอม ขนาด 30 เตียง
  7. โรงพยาบาลพรหมคีรี ขนาด 30 เตียง
  8. โรงพยาบาลลานสกา ขนาด 30 เตียง
  9. โรงพยาบาลร่อนพิบูลย์ ขนาด 30 เตียง
  10. โรงพยาบาลพิปูน ขนาด 30 เตียง
  11. โรงพยาบาลนาบอน ขนาด 30 เตียง
  12. โรงพยาบาลบางขัน ขนาด 30 เตียง
  13. โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ขนาด 30 เตียง
  14. โรงพยาบาลเชียรใหญ่ ขนาด 30 เตียง
  15. โรงพยาบาลพระพรหม ขนาด 30 เตียง
  16. โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ นครศรีธรรมราช ขนาด 30 เตียง
  17. โรงพยาบาลถ้ำพรรณรา ขนาด 10 เตียง
  18. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 11 ขนาด 30 เตียง

กระทรวงกลาโหม

  1. โรงพยาบาลค่ายวชิราวุธ ขนาด 150 เตียง
  2. โรงพยาบาลค่ายเทพสตรีศรีสุนทร ขนาด 60 เตียง

กระทรวงศึกษาธิการ

  1. โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ขนาด 550 เตียง (เปิดบริการ พ.ศ. 2561)

หน่วยงานราชการอิสระ

  1. สถานีกาชาดสิรินธร ขนาด 10 เตียง

เทศบาล

  1. โรงพยาบาลเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ขนาด 70 เตียง
  2. โรงพยาบาลตำบลปากพูน สาขาบ้านตลาดพฤหัส
  3. โรงพยาบาลตำบลปากพูน สาขาบ้านศาลาบางปู

เอกชน

  1. โรงพยาบาลนครินทร์ ขนาด 107 เตียง
  2. โรงพยาบาลนครพัฒน์ ขนาด 59 เตียง
  3. โรงพยาบาลนครคริสเตียน ขนาด 50 เตียง
  4. โรงพยาบาลรวมแพทย์ทุ่งสง ขนาด 25 เตียง
  5. โรงพยาบาลธนบุรีทุ่งสง ขนาด 56 เตียง (เปิดบริการ พ.ศ. 2559)

โครงการก่อสร้าง

  1. โรงพยาบาลนบพิตำ ขนาด 30 เตียง
  2. โรงพยาบาลช้างกลาง (พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์) ขนาด 30 เตียง

การคมนาคม

สถานีขนส่งผู้โดยสาร จังหวัดนครศรีธรรมราช
สถานีรถไฟนครศรีธรรมราช
ไฟล์:สนามบิน.jpg
ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช

ในตัวเมืองนครศรีธรรมราช มีรถสองแถว วิ่งบริการรอบเมือง และจากนครศรีธรรมราชไปสู่อำเภอใกล้เคียง หรือจังหวัดข้างเคียง สามารถเลือกใช้บริการได้ทั้งมีรถตู้ รถเมล์ รถโดยสาร และรถไฟ

  • จากนครศรีธรรมราชไปยังจังหวัดใกล้เคียง
    • กระบี่ 152 กิโลเมตร
    • ตรัง 123 กิโลเมตร
    • พัทลุง 115 กิโลเมตร
    • สงขลา 161 กิโลเมตร
    • สุราษฎร์ธานี 141 กิโลเมตร

ทางรถไฟ

  • รถไฟ จากสถานีรถไฟกรุงเทพ มีขบวนรถเร็วขบวนที่173/174, รถด่วนขบวนที่85/86 ไปนครศรีธรรมราช รวมระยะทาง 832 กิโลเมตร,

และยังมีรถท้องถิ่นที่451/452 นครศรีธรรมราช-สุไหงโกลก-นครศรีธรรมราช และขบวนที่455/456 นครศรีธรรมราช-ยะลา-นครศรีธรรมราช,

ไฟล์:Cpn nst render new.jpg
ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซานครศรีธรรมราช

ทางรถโดยสารประจำทาง

บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการรถโดยสารทั้งแบบธรรมดา และปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี, อำเภอขนอม มีรถ วีไอพี ปรับอากาศ ชั้น 1 ขนอม-กรุงเทพฯ และกรุงเทพฯ-ขนอม

ทางรถยนต์ส่วนบุคคล

การเดินทางจากกรุงเทพ มายัง นครศรีธรรมราช ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4 กรุงเทพฯ-ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 41 ผ่านสุราษฎร์ธานี-ทุ่งสง จนถึงนครศรีธรรมราช หรือ ถึงอำเภอพุนพิน สุราษฎร์ธานี แล้วใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 401 เลียบชายฝั่งทะเลไปจนถึงนครศรีธรรมราช รวมระยะทาง 780 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังสามารถเดินทางยังอำเภออื่น ๆ หรือจังหวัดใกล้เคียงได้ โดยมีระยะทางดังนี้

ทางอากาศยาน

ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช มีเที่ยวบินให้บริการ 12 เที่ยวบินต่อวัน โดยมี 3 สายการบินคือ นกแอร์ ไทยแอร์เอเชียและ ไลอ้อนแอร์ รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่ ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช

สถานที่ท่องเที่ยว

ไฟล์:ป้ายแนะนำแหล่งท่องเที่ยว นครศรีธรรมราช ที่ถนนสาย41 อำเภอถ้ำพรรณรา .jpg
ป้ายแนะนำแหล่งท่องเที่ยวนครศรีธรรมราช ทางหลวงหมายเลข 41 อำเภอถ้ำพรรณรา

อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช

อนุสาวรีย์วีรไทย ค่ายวชิราวุธ

อำเภอลานสกา

อำเภอพรหมคีรี

อำเภอท่าศาลา

อำเภอสิชล

ไฟล์:หาดปากดวด ต.เสาเภา อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช .jpg
หาดปากดวด ต.เสาเภา อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช

อำเภอเชียรใหญ่

ไฟล์:วิวท้องนา บนวัดเขาแก้ววิเชียร อำเภอเชียรใหญ่.jpg
วิวท้องนา วัดเขาแก้ววิเชียร อำเภอเชียรใหญ่

อำเภอนบพิตำ

อำเภอช้างกลาง

ไฟล์:วัดสวนขัน อ.ช้างกลาง จ.นครศรีธรรมราช.jpg
วัดสวนขัน อ.ช้างกลาง จ.นครศรีธรรมราช

อำเภอฉวาง

ไฟล์:ตลาดจันดี เขตเทศบาลตำบลจันดี อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช.jpg
ตลาดจันดี เขตเทศบาลตำบลจันดี อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

อำเภอถ้ำพรรณรา

ไฟล์:ถ้ำทองพรรณรา อ.ถ้ำพรรณรา .jpg
ถ้ำทองพรรณรา อ.ถ้ำพรรณรา

อำเภอขนอม

ไฟล์:หาดในเพลา อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช.jpg
หาดในเพลา อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช

อำเภอปากพนัง

ไฟล์:จุดชมวิว ปลายแหลมตะลุมพุก.jpg
จุดชมวิว ปลายแหลมตะลุมพุก อ.ปากพนัง

อำเภอร่อนพิบูลย์

อำเภอทุ่งสง

ไฟล์:ถ้ำแรด ตำบลกะปาง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช.jpg
ถ้ำแรด ตำบลกะปาง อำเภอทุ่งสง นครศรีธรรมราช

อำเภอทุ่งใหญ่

แม่น้ำตาปี ช่วงไหลผ่าน อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช

อำเภอพิปูน

ไฟล์:อ่างเก็บน้ำคลองกะทูน อ.พิปูน.jpg
อ่างเก็บน้ำคลองกะทูน อ.พิปูน นครศรีธรรมราช

อำเภอนาบอน

ไฟล์:เขาเหมน อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช.jpg
เขาเหมน อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช

อำเภอจุฬาภรณ์

ไฟล์:ศิลาจารึกหุบเขาช่องคอย.jpg
ศิลาจารึกหุบเขาช่องคอย อ.จุฬาภรณ์

อำเภอชะอวด

ไฟล์:อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำใส ต.วังอ่าง อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช.jpg
อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำใส ต.วังอ่าง อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช
ไฟล์:น้ำตกหนานสวรรค์ อ.ชะอวด.jpg
น้ำตกหนานสวรรค์ ต.วังอ่าง อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช

อำเภอบางขัน

ไฟล์:อุทยานบ่อน้ำร้อนวังหิน อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช.jpg
อุทยานบ่อน้ำร้อนวังหิน อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช

สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง

อุทยานแห่งชาติทางบก

อุทยานแห่งชาติทางทะเล

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

เทศกาลงานประเพณี

ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ

สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก


เพลงประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช

ชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช มีเชื้อชาติไทยพำนักทางปักษ์ใต้
ตั้งนครสุนทรสง่ามาแต่ไร ปัญญาไวฉลาดเฉลียวเชี่ยวปฏิภาณ

เคยมีชื่อเด่นชัดในประวัติศาสตร์ สืบทายาทสกุลใหญ่เกียรติไพศาล
มีพระธาตุขวัญเมืองเครื่องสักการ ตามตำนานชาติไทยได้มีมา

จนบัดนี้ก็ยังมีความดีเด่น สมที่เป็นเมืองสำคัญอันสุดหา
สมเป็นด่านด้านใต้ใกล้คงคา พึงรักษาเกียรติไว้คู่ไทยเทอญ

(ซ้ำ ทั้งเพลง 1 รอบ)

ความเป็นที่สุด

  • ชายฝั่งทะเล ยาวที่สุด 236 กิโลเมตร
  • แหลมทะเล ยาวที่สุดของไทย คือ แหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง เกิดจากการทับถมของทราย ที่น้ำทะเลพัดพามา จนกลายเป็น สันดอนจะงอย ยื่นยาวเป็นแหลมออกไปจากชายฝั่งทะล มีความยาวประมาณ 16 กิโลเมตร ส่วนกว้างที่ของแหลมประมาณ 5 กิโลเมตร
    ไฟล์:จุดชมวิวปลายแหลมตะลุมพุก.jpg
    จุดชมวิวปลายแหลมตะลุมพุก
  • มหาวิทยาลัย ที่มีบริเวณกว้างใหญ่ที่สุดของประเทศไทย คือ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ภายในวิทยาเขตเดียว มากกว่า 10,000 ไร่ ปัจจุบันมีนักศึกษากำลังศึกษาอยู่มากกว่า 7,500 คน
  • เป็นจังหวัดที่มีประชากรมากที่สุด ในภาคใต้ คือ 1,548,028 คน (ข้อมูลวันที่ 31 ธันวาคม 2557)
  • ทิวเขานครศรีธรรมราช เป็นทิวเขาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของไทย มีภูเขาน้อยใหญ่สลับซับซ้อนและเป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติหลายแห่ง
  • มียอดเขาสูงที่สุดในภาคใต้ คือ ยอดเขาหลวง มีความสูง 1,835 เมตร จากระดับน้ำทะเล และเป็นส่วนหนึ่งของทิวเขานครศรีธรรมราช ปัจจุบันอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาหลวง

แหล่งทรัพยากรทางด้านพลังงาน

ไฟล์:แผนที่ แอ่งสินปุน.jpg
ภาพแสดงแผนที่ของแอ่งสินปุนในบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
  • แอ่งสินปุน แหล่งถ่านหินลิกไนต์ ปริมาณสำรอง 91 เมกตริกตัน ที่อำเภอทุ่งใหญ่
  • แอ่งนคร แหล่งศักยภาพปิโตรเลียม อยู่ห่างออกไปจากชายฝั่งอำเภอสิชล ประมาณ 50 กิโลเมตรทางทิศตะวันออก
  • แอ่งปัตตานี แหล่งปิโตรเลียม อยู่ห่างออกไปจากชายฝั่งอำเภอปากพนัง ทางทิศตะวันออก ประมาณ 100 กิโลเมตร
  • แอ่งสงขลา แหล่งศักยภาพปิโตรเลียม อยู่ห่างออกไปจากชายฝั่งอำเภอหัวไทร ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 50 กิโลเมตร
  • แอ่งมาเลย์เหนือ แหล่งปิโตรเลียม อยู่ห่างออกไปจากชายฝั่งอำเภอหัวไทร ทางทิศตะวันออก ประมาณ 250 กิโลเมตร

เมืองพี่เมืองน้อง

อ้างอิง

  1. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf 2558. สืบค้น 1 มีนาคม 2558.
  3. ทำเนียบผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช จากเว็บไซต์จังหวัดนครศรีธรรมราช
  4. สถิติประชากรในจังหวัดนครศรีธรรมราช

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

8°24′N 99°58′E / 8.4°N 99.97°E / 8.4; 99.97