ศิลาจารึก
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา

ศิลาจารึกของอียิปต์โบราณ
ศิลาจารึก เป็นวรรณกรรมชนิดลายลักษณ์อักษรอย่างหนึ่ง อาศัยการบันทึกบนเนื้อศิลา ทั้งชนิดเป็นแผ่น และเป็นแท่ง โดยใช้โลหะแหลมขูดเนื้อศิลาให้เป็นตัวอักษร เรียกว่า จาร หรือ การจารึก ศิลาจารึกมีคุณค่าในเชิงบันทึกทางประวัติศาสตร์ ผู้จารึกหรือผู้สั่งให้มีศิลาจารึกมักจะเป็นผู้มีอำนาจ มิใช่บุคคลทั่วไป เนื้อหาที่จารึกมีความหลากหลายตามความประสงค์ของผู้จารึก เช่น บันทึกเหตุการณ์ บันทึกเรื่องราวในศาสนา บันทึกตำรับตำราการแพทย์และวรรณคดีเป็นต้น[1]
จารึกบนแท่งศิลานั้นมีความคงทนและ คงสภาพอยู่ได้นับพัน ๆ ปี ด้วยเหตุนี้ นักประวัติศาสตร์และนักภาษาศาสตร์จึงสามารถสืบสานความรู้ย้อนไปได้นับพัน ๆ ปี โดยเฉพาะความรู้ด้านอักษร และภาษา ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงเรื่อยมา
จารึกที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์ ได้แก่
- ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง นับเป็นศิลาจารึกภาษาไทยยุคแรก ๆ บอกเล่าเหตุการณ์ในสมัยสุโขทัยได้อย่างดี
- จารึก "สฺยํกุก" ที่ระเบียงภาพปราสาทนครวัด อันเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญอย่างหนึ่ง เกี่ยวกับที่มาและความหมายของคำว่า สยาม
- ศิลาโรเซตตา พบที่เมืองโรเซ็ตตา ประเทศอียิปต์ เป็นจารึก 3 ภาษา นับเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้นักภาษาศาสตร์สามารถอ่านความหมายของอักษรภาพอียิปต์โบราณได้สมบูรณ์ขึ้นอย่างมาก
อ้างอิง[แก้]
- ↑ http://www.sukhothai.go.th/history/hist_08.htm ศิลาจารึกจังหวัดสุโขทัย
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ศิลาจารึก |