พยัคฆ์ นครหลวงโปรโมชั่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พยัคฆ์ นครหลวงโปรโมชั่น
ชื่อจริงกิตติชัย ปรีชา
รุ่นมินิฟลายเวท
เกิด20 กันยายน พ.ศ. 2519 (47 ปี)
จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชกทั้งหมด19
ชนะ14
ชนะน็อก3
แพ้5
เสมอ0
ผู้จัดการสุชาติ พิสิฐวุฒินันท์
ค่ายมวยนครหลวงโปรโมชั่น
เทรนเนอร์มนต์สวรรค์ แหลมฟ้าผ่า

พยัคฆ์ นครหลวงโปรโมชั่น มีชื่อจริงว่า กิตติชัย ปรีชา เกิดเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2519 ที่ตำบลจันดี อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช สถิติการชก 19 ครั้ง ชนะ 14 (น็อค 3)แพ้ 5

แชมป์ลุมพินี[แก้]

พยัคฆ์เริ่มชกมวยไทยตั้งแต่อายุ 12 ปี โดยหัดมวยกับพี่ชายที่เป็นนักมวยชื่อลูกเป็ด ศักดิ์บุญธรรม เริ่มแรกพยัคฆ์ขึ้นชกมวยในชื่อ "กิตติชัย ศิษย์บุญธรรม" ชกมวยในแถวบ้านเกิดจนโด่งดัง อ๊อด จันดี จึงพามาฝากไว้ที่ค่ายมวยของใหม่ เมืองคอน ได้ขึ้นชกมวยสากลอย่างจริงจังในชื่อ "สายน้ำ จันดีโลหะ" จนได้เป็นแชมป์มวยสากลรุ่นมินิฟลายเวทของเวทีลุมพินี

ย้ายสังกัด: ได้ชิงแชมป์โลก[แก้]

ต่อมา สุชาติ พิสิฐวุฒินันท์ ผู้จัดการของวีรพล นครหลวงโปรโมชั่น ได้ซื้อตัวสายน้ำจากอ๊อด จันดีมาสร้างสรรค์และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น พยัคฆ์ นครหลวงโปรโมชั่น ประเดิมชกในสังกัดใหม่ได้ 4 ครั้ง ก็มีโอกาสได้ไปชิงแชมป์โลกรุ่นสตรอเวท WBC ในฐานะรองแชมป์​โลก​อันดับ​ 9 กับริการ์โด โลเปซ เจ้าของแชมป์​ ที่สหรัฐ แต่ทำไม่สำเร็จ แพ้ทีเคโอไปในยกที่ 3

หลังจากแพ้กลับมา พยัคฆ์ยังได้รับการสับสนุนต่อไป เนื่องจากในขณะนั้นมีข่าวออกมาเรื่อย ๆ ว่า ริการ์โด โลเปซ จะสละตำแหน่งและเลื่อนรุ่น สหสมภพ ศรีสมวงศ์ ผู้แทนของ WBC ในประเทศไทย จึงหมายมั่นจะผลักดันพยัคฆ์ให้เป็นรองแชมป์โลกอันดับสูงเพื่อรอชิงแชมป์ว่าง จนวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 พยัคฆ์ได้ขึ้นชกตัดเชือกกับชาติ เกียรติเพชร เพื่อหาผู้ชนะไปชิงแชมป์เฉพาะกาลรุ่นสตรอเวท WBC กับร็อคกี้ หลิน รองแชมป์โลกอันดับหนึ่งชาวไต้หวัน เพื่อรอเวลาที่โลเปซจะสละตำแหน่ง ผลการชกปรากฏว่าพยัคฆ์ใช้ชั้นเชิงชกชนะคะแนนชาติไปได้ทั้งที่ตัวเองถูกชกลงไปนับแปดถึงสองครั้ง อย่างไรก็ดี โลเปซไม่ได้สละตำแหน่งตามที่คาดไว้ การชิงแชมป์เฉพาะกาลต้องเลื่อนออกไป พยัคฆ์ไม่ได้ขึ้นชกมวยอีกเลย แขวนนวมไปโดยปริยาย

การชกตัดเชือกเพื่อหาตัวแทนไปชิงแชมป์เฉพาะกาลได้จัดขึ้นอีกครั้งในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2541 หลังจากพยัคฆ์แขวนนวมไปแล้ว ผลปรากฏว่า วันดี จ.เจริญ ชนะคะแนน หลักชัย เดชากุล ได้ไปชิงแชมป์เฉพาะกาลที่ญี่ปุ่นในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน และเป็นฝ่ายชนะคะแนนร็อคกี้ หลิน ได้ครองแชมป์ในที่สุด

เกียรติประวัติ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]