เทศบาลตำบลชะอวด
เทศบาลตำบลชะอวด | |
---|---|
คำขวัญ: ชะอวดเป็นเมืองน่าอยู่ ด้วยการบริหารจัดการที่ดี สิ่งแวดล้อมไม่เป็นพิษ เศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็ง คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีคุณธรรม | |
พิกัด: 7°59′33″N 99°59′56″E / 7.992625°N 99.998972°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นครศรีธรรมราช |
อำเภอ | ชะอวด |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | พฤนท์ ปานจีน |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 0.50 ตร.กม. (0.19 ตร.ไมล์) |
ประชากร | |
• ทั้งหมด | 3,749 คน |
• ความหนาแน่น | 7,498.00 คน/ตร.กม. (19,419.7 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 05800701 |
ที่อยู่ สำนักงาน | สำนักงานเทศบาลตำบลชะอวด ตำบลชะอวด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช 80180 |
โทรศัพท์ | 0-7538-1303,0-7538-0842, 0-7538-0665,0-7538-0684 |
เว็บไซต์ | www |
ชะอวด เป็นเทศบาลตำบลแห่งหนึ่งในอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัด ห่างจากศาลากลางจังหวัดโดยทางรถไฟและรถยนต์ประมาณ 70 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานครโดยทางรถไฟประมาณ 851 กิโลเมตร เทศบาลตำบลชะอวด ตั้งอยู่ในเขตท้องที่ หมู่ที่ 1 (บางส่วน) ตำบลชะอวด และท้องที่ หมู่ที่ 3 (บางส่วน) ตำบลท่าประจะ ปัจจุบันเทศบาลตำบลชะอวดมีพื้นที่ประมาณ 0.50 ตารางกิโลเมตร[ต้องการอ้างอิง]
ประวัติ
[แก้]ก่อนมาเป็นอำเภอชะอวด เคยมีฐานะเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอร่อนพิบูลย์ ได้รับการยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอเมื่อ พ.ศ. 2466 และยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อ พ.ศ. 2496 สาเหตุที่ได้ตั้งชื่ออำเภอนี้ว่า "ชะอวด" สันนิษฐานว่า คงจะตั้งขึ้นตามชื่อเถาวัลย์ชนิดหนึ่งที่มีชุกชุมในหมู่บ้าน คือย่านอวด (หรือเชือกอวด) ชาวบ้านนิยมนำมาผูกมัดรั้วและแคร่ไม้ไผ่ เพราะมีความทนทานและเหนียวแน่นมาก เมื่อมีผู้คนมาตั้งบ้านเรือนหนาแน่นขึ้น จึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า "บ้านเชือกอวด" ภายหลังเสียงพยางค์หน้ากร่อนไป กลายเป็น "ชะอวด" และเรียกขานสืบมาถึงปัจจุบัน[ต้องการอ้างอิง]
สุขาภิบาลชะอวดได้จัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2499 ประกาศในกิจจานุเบกษา เล่มที่ 73 ตอน 75 ลงวันที่ 20 กันยายน 2499 และได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบล เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542[ต้องการอ้างอิง]
ภูมิศาสตร์
[แก้]เทศบาลตำบลชะอวด ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกขอตัวเมืองนครศรีธรรมราช
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลชะอวด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช
- ทิศใต้ ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเสม็ด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลชะอวด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ เทศบาลตำบลท่าประจะ อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช
ภูมิประเทศ
[แก้]อำเภอชะอวด มีสภาพพื้นที่บริเวณด้านตะวันออกเป็นที่ราบลุ่ม ป่าพรุ ส่วนบริเวณด้านตะวันตกเป็นที่ราบเชิงเขา เทือกเขา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ
การปกครอง
[แก้]เทศบาลตำบลชะอวดปกครองโดยแบ่งออกเป็น 7 ชุมชน ดังนี้
- ชุมชนวัดศรีมาประสิทธิ์
- ชุมชนรถไฟสาย 3
- ชุมชนฝั่งตะวันตก
- ชุมชนธานีรัตน์
- ชุมชนตลาดล่าง
- ชุมชนตลาดสด
- ชุมชนคำนวณศิลป์
สถานศึกษา
[แก้]- โรงเรียนชะอวด
- โรงเรียนชะอวดวิทยาคาร
- โรงเรียนชะอวดวิทยา
- โรงเรียนบ้านชะอวด
- โรงเรียนอนุบาลพรอุดม
- โรงเรียนอนุบาลลูกแก้ว
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลชะอวด
การขนส่ง
[แก้]- ทางรถไฟสายใต้: สถานีชะอวด โดยในอดีตเคยมีทางรถไฟแยกไปคลองท่าเสม็ดเพื่อขนส่งสินค้า แต่ปัจจุบันถูกยกเลิกแล้ว[1]