ภาณุ อุทัยรัตน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาณุ อุทัยรัตน์
เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
ดำรงตำแหน่ง
9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 – 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554
ก่อนหน้าพระนาย สุวรรณรัฐ
ถัดไปพันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง
ดำรงตำแหน่ง
27 มิถุนายน พ.ศ. 2557 – 30 กันยายน พ.ศ. 2559
ก่อนหน้าพันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง
ถัดไปศุภณัฐ สิรันทวิเนติ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499 (68 ปี)
จังหวัดปัตตานี ประเทศไทย

ภาณุ อุทัยรัตน์ สมาชิก วุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 ผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้[1]อดีตเลขานุการผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ กรรมการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย อดีตเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และอดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ (นักบริหารระดับสูง)[2] อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย[3]อดีตที่ปรึกษาด้านความมั่นคง(เจ้าหน้าที่นโยบายและแผน10 ชช) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงมหาดไทย[4] และเป็นเลขาธิการคนแรกของ ศอ.บต. ในปี พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[5]

ประวัติ[แก้]

ภาณุ อุทัยรัตน์ เกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499 ที่อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เป็นบุตรของนายห้อม กับนางสรรเสริญ อุทัยรัตน์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และระดับปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้รับปริญญารัฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ใน วันที่ 29 กันยายน ปี พ.ศ. 2559

การทำงาน[แก้]

ภาณุ อุทัยรัตน์ เริ่มรับราชการเป็นปลัดอำเภอ ประจำอำเภอระแงะ อำเภอแว้ง เป็นจ่าจังหวัดนราธิวาส เป็นปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายบริหารงานปกครอง (ปลัดอาวุโส) อำเภอเจาะไอร้อง เป็นนายอำเภอศรีสาคร และเป็นนายอำเภอเมืองสงขลา ต่อมาจึงได้โอนมาสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าสำนักงานจังหวัดสงขลา

ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ตรวจราชการกรมการปกครอง เป็นรองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา เป็นที่ปรึกษาด้านความมั่นคง (ระดับ 10)[6] และได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นรองประธานคณะกรรมการในคณะกรรมการองค์การตลาด[7]ประธานกรรมการในคณะกรรมการองค์การสะพานปลา[8]

การทำงานใน ศอ.บต.[แก้]

กระทั่งในปี พ.ศ. 2552 ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองปลัดกระทรวงมหาดไทย และผู้อำนวยการ ศอ.บต. ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ได้มีการจัดตั้ง ศอ.บต. เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยนายภาณุ อุทัยรัตน์ ได้ทำหน้าที่รักษาการเลขาธิการคณะกรรมการอำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นเลขาธิการ ศอ.บต. คนแรก ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ ตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 ได้รับแต่งตั้งให้กลับมาดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมหาดไทย และเป็นผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย กระทั่งในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557 หลังการยึดอำนาจการปกครองของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เขาได้รับคำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ ศอ.บต.

วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เขาได้รับแต่งตั้งเป็น ผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้และเลขานุการผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต่อมาวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เขาถูกปลดจากตำแหน่งเลขานุการผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 61 มีมติ แต่งตั้ง นาย พรชาต บุนนาค เป็นตำแหน่งเลขานุการผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
  2. เลขานุการผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
  3. รองปลัดกระทรวงมหาดไทย
  4. ที่ปรึกษาด้านความมั่นคง(เจ้าหน้าที่นโยบายและแผน10 ชช)
  5. ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ใช้เว็บไซค์ของวุฒิสภา), 1 สิงหาคม 2557
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน (นายภาณุ อุทัยรัตน์ ระดับ ๑๐ กระทรวงมหาดไทย)
  7. ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี จังหวัดนครศรีธรรมราช
  8. ประธานกรรมการในคณะกรรมการองค์การสะพานปลา
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2011-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๔, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2010-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๑๔, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕๐, ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๔
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๑๒๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๒๖
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๒๗๘, ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๘
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๑๑, ๑๒ มกราคม ๒๕๕๔