ไลอ้อนแอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไลอ้อนแอร์
IATA ICAO รหัสเรียก
JT LNI LION INTER
ก่อตั้ง15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999 (23ปี)[1]
เริ่มดำเนินงาน30 มิถุนายน ค.ศ. 2000
ท่าหลักท่าอากาศยานนานาชาติซูการ์โน-ฮัตตา (จาการ์ตา)
ท่าอากาศยานนานาชาติจูอันดา (สุราบายา)
ท่าอากาศยานนานาชาติฮัง นาดิม (บาตัม)
ท่าอากาศยานนานาชาติสุลต่านฮาซานูดดิน (มากัซซาร์)
เมืองสำคัญท่าอากาศยานนานาชาติงูระห์ไร (เดนปาซาร์)
ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลานามู (เมดัน)
ท่าอากาศยานนานาชาติแซม ราตูลังยี (มานาโด)
ท่าอากาศยานนานาชาติสุลต่านอาจี มูฮะหมัด สุลัยมาน (บาลิก์ปาปัน)
ท่าอากาศยานนานาชาติสุลต่านซยาริฟ กาซิมที่สอง (เปกันบารู)
ท่าอากาศยานนานาชาติอาดิซูกิปโต (ยอกยาการ์ตา)
สะสมไมล์ไลอ้อนแอร์พาสปอร์ตคลับ
บริษัทลูกบาติกแอร์
วิงส์แอร์
ไทยไลอ้อนแอร์
ไลอ้อนบิซเจ็ต
ขนาดฝูงบิน104
จุดหมาย126
บุคลากรหลักรุสดี คิรานา (ประธาน)
รูดี ลูมิงเกวัส (ซีอีโอ)
เว็บไซต์lionair.co.id

ไลอ้อนแอร์ (อังกฤษ: Lion Air) เป็นสายการบินราคาประหยัดสัญชาติอินโดนีเชีย มีฐานการบินอยู่ที่จาการ์ตา เป็นสายการบินที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ มีจุดหมายปลายทางถึง 79 แห่งในประเทศอินโดนีเซีย, สิงคโปร์, มาเลเซีย, เวียดนาม, ซาอุดีอาระเบีย,[2] จีน และฮ่องกง[3]

ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1999 เป็นสายการบินที่เติบโตเร็วมาก มีเครื่องบินมากถึง 100 ลำ และสั่งซื้อไปถึง 500 ลำ มีสถิติการสั่งซื้อเครื่องบินมหาศาล อาทิ ใช้เงิน 24 พันล้านดอลลาร์ ซื้อเครื่องบินแอร์บัส เอ320 จำนวน 234 ลำ และใช้เงิน 22.4 พันล้านดอลลาร์ ซื้อเครื่องบินโบอิง 230 ลำ[2] แต่กระนั้น เที่ยวบินกลับล่าช้า (ดีเลย์) บ่อยครั้งในอินโดนีเซีย จึงได้รับการวิจารณ์ในแง่ลบอยู่บ่อยครั้งเช่นกัน[4][5]

จุดหมายปลายทาง[แก้]

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2014 สายการบินมีจุดหมายปลายทาง 120 แห่ง แบ่งเป็น ภายในประเทศ 100 แห่ง ภายนอกประเทศ 20 แห่ง

ฝูงบิน[แก้]

ฝูงบินปัจจุบัน[แก้]

ไลอ้อนแอร์ Boeing 737-900ER ลอยอยู่เหนือท่าอากาศยานจางีสิงคโปร์
ไลอ้อนแอร์ Boeing 737-900ER ลงจอดที่ท่าอากาศยานจางีสิงคโปร์

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2015 อายุขัยของฝูงบินโดยเฉลี่ยเท่ากับ 5.1 ปี[6][7][8]

เครื่องบิน ประจำการ สั่งซื้อ จำนวนที่นั่ง หมายเหตุ
J Y ทั้งหมด
Airbus A320-200 - 39 รอประกาศ
Airbus A320neo 118
Airbus A321neo 65
Airbus A330-300 3 1 440 440 ใช้กับเที่ยวบินภายในประเทศ แทนที่ Boeing 747-400[9][10]
Boeing 737-800 33 10 189 189
Boeing 737-900ER 71 37 214 214
Boeing 737 MAX - 201 รอประกาศ Order consists of both MAX 8 and 9. Launch Customer for MAX 9 version. Deliveries to begin 2017
Boeing 747-400 2 - 22 484 506 เก็บไว้
ทั้งหมด 107 472

ฝูงบินในอดีต[แก้]

เครื่องบิน Airbus A310 ปัจจุบันปลดประจำการไปแล้ว
เครื่องบิน จำนวน เริ่มประจำการ ปลดประจำการ หมายเหตุ
Airbus A310 2 ค.ศ.2000 ค.ศ.2002
Boeing 737-200 2
Boeing 737-400 10 ค.ศ. 2004 มกราคม ค.ศ. 2015 PK-LIS in Terminal 3
Boeing 737-800 1 เสียหายในเหตุการณ์ ไลอ้อนแอร์ เที่ยวบินที่ 904
Boeing 737 MAX 8 1 เสียหายในเหตุการณ์ ไลอ้อนแอร์ เที่ยวบินที่ 610
McDonnell Douglas MD-82 17 1 ลำเสียหายในเหตุการณ์ ไลอ้อนแอร์ เที่ยวบินที่ 538
McDonnell Douglas MD-90-30 5 ค.ศ. 2005 มีนาคม ค.ศ. 2012
Yakovlev Yak-42 1

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 2013 Laureate Award Nominees, Aviation Week & Space Technology, 21 January 2013, p. 47
  2. 2.0 2.1 "Airbus-Boeing battle shifts to Indonesia | Inquirer Business". Business.inquirer.net. 24 March 2013. สืบค้นเมื่อ 7 April 2013.
  3. "Directory: World Airlines". Flight International. 3 April 2007. p. 106.
  4. "Gara-gara Sapi, Pesawat Lion Air Tergelincir di Bandara Gorontalo". liputan6.com. สืบค้นเมื่อ 10 August 2015.
  5. "30-11-2004: Lion Air Tergelincir ke Pemakaman Umum". liputan6.com. สืบค้นเมื่อ 10 August 2015.
  6. "AeroTransport Data Bank". สืบค้นเมื่อ 10 August 2015.
  7. "Lion Air Fleet Details and History". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-20. สืบค้นเมื่อ 10 August 2015.
  8. "Lion Airlines - ch-aviation.com". ch-aviation. สืบค้นเมื่อ 10 August 2015.
  9. PT. VIVA MEDIA BARU - VIVA.co.id. "Penerbangan ke Jeddah, Lion Air Pesan Tiga Pesawat Airbus". สืบค้นเมื่อ 10 August 2015.
  10. https://www.flightradar24.com/data/airplanes/pk-lef/. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]