ข้ามไปเนื้อหา

มานะ รัตนโกเศศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มานะ รัตนโกเศศ
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
26 สิงหาคม 2533 – 23 กุมภาพันธ์ 2534
นายกรัฐมนตรีพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
9 สิงหาคม 2531 – 26 สิงหาคม 2533
นายกรัฐมนตรีพล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ
ก่อนหน้ามารุต บุนนาค
ถัดไปพล.อ. เทียนชัย ศิริสัมพันธ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16 กันยายน พ.ศ. 2468
จังหวัดนครพนม ประเทศสยาม
เสียชีวิต11 มกราคม พ.ศ. 2545 (76 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองพรรคราษฎร (พ.ศ. 2529)
คู่สมรสเฉลิมศรี รัตนโกเศศ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัด กองทัพบกไทย
ยศ พลเอก
ผ่านศึกสงครามมหาเอเซียบูรพา
สงครามเกาหลี
สงครามเวียดนาม

พลเอก มานะ รัตนโกเศศ (16 กันยายน พ.ศ. 2468 - 11 มกราคม พ.ศ. 2545) อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม 3 สมัย

ประวัติ

[แก้]

พล.อ. มานะ รัตนโกเศศ เกิดเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2468 ที่อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม เป็นบุตรของหลวงบภิบาลวรเดช (กัน รัตนโกเศศ) กับ นางบุญรอด รัตนโกเศศ[1] สำเร็จการศึกษาหลักสูตรนายร้อยเทคนิค จาก โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

การทำงาน

[แก้]

ราชการทหาร

[แก้]

พล.อ. มานะ เริ่มรับราชการ ด้วยการร่วมรบในสงครามเอเชียบูรพา ใน พ.ศ. 2487 จากนั้นได้ร่วมรบกับสหประชาชาติ ใน สงครามเกาหลี และสงครามเวียดนาม และดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ หลายตำแหน่ง อาทิ

  1. ผู้ตรวจการหน้าปืนใหญ่ (หมู่ 2) กองพันทหารราบ กรมผสมที่ 21
  2. หัวหน้ากองกำลัง กองบัญชาการกองกำลังทหารทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม ผลัดที่ 2
  3. เจ้ากรมการกำลังสำรองทหารบก
  4. รองเสนาธิการทหารบก

จนเกษียณอายุราชการ ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก

ราชการพิเศษ

[แก้]

งานการเมือง

[แก้]

พล.อ. มานะ รัตนโกเศศ ลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2529 และได้รับเลือกติดต่อกัน จนถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 รวม 3 สมัย [2]

นอกจากนี้ พล.อ. มานะ รัตนโกเศศ เคยดำรงดำแหน่งเลขาธิการ และ หัวหน้าพรรคราษฎร (พ.ศ. 2529)

พล.อ. มานะ ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อปี พ.ศ. 2529 ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ต่อมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาล พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อปี พ.ศ. 2531[3] และได้รับโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี (2 สมัย) ในรัฐบาล พล.อ. ชาติชาย[4][5]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]

พลเอกมานะ รัตนโกเศศ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดนครพนม สังกัดพรรคราษฎร
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดนครพนม สังกัดพรรคราษฎร
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดนครพนม สังกัดพรรคราษฎร

ถึงแก่อนิจกรรม

[แก้]

พลเอก มานะ รัตนโกเศศ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2545[6] สิริอายุรวม 76 ปี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

[แก้]

เครื่องอิสริยาภรณ์สากล

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]
  •  เกาหลีใต้:
    • พ.ศ. 2497 – เพรสซิเดนเชิล ยูนิท ไซเทเชิน (เกาหลีใต้)
  •  เวียดนามใต้ :
    • พ.ศ. 2511 – เครื่องอิสริยาภรณ์ราชการดีเด่นเวียดนาม ชั้นที่ 2 (ทหารบก)
    • พ.ศ. 2511 – แกลแลนทรี่ครอส ประดับใบปาร์ม
    • พ.ศ. 2511 – ซิฟเวิลแอคเชิน ยูนิท ไซเทเชิน
    • พ.ศ. 2511 – เหรียญรณรงค์เวียดนาม
    • พ.ศ. 2511 – เหรียญราชการกองทัพอากาศ
    • พ.ศ. 2511 – เหรียญปฏิบัติการจิตวิทยา ชั้นที่ 1
  •  สหรัฐอเมริกา:
    • พ.ศ. 2514 – เหรียญบรอนซ์สตาร์[17]
    • พ.ศ. 2495 – เพรสซิเดนเชิล ยูนิท ไซเทเชิน (ทหารบก)

อ้างอิง

[แก้]
  1. พลเอกมานะ รัตนโกเศศ
  2. ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี (ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ๑๗ ราย และตั้งรัฐมนตรี จำนวน ๒๐ ราย)
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  6. หนังสือที่ระลึกในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพ พลเอก มานะ รัตนโกเศศ ม.ป.ช., ม.ว.ม. ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2545
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ฉบับพิเศษ หน้า ๔๔, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๓๒
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๒
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๑๕ ง หน้า ๗๖๒, ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๖
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๘๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๕, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๖
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๒๘ สิงหาคม ๒๕๒๘
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๙, ๑๓ มกราคม ๒๕๒๖
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๐, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๐๒
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญปฏิบัติงานสหประชาชาติ, เล่ม 70 ตอนที่ 21 หน้า 1395, 31 มีนาคม 2496
  17. AGO 1971-01 — HQDA GENERAL ORDERS: MULTIPLE AWARDS BY PARAGRAPHS