ข้ามไปเนื้อหา

ประเสริฐ สุดบรรทัด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประเสริฐ สุดบรรทัด
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร
ดำรงตำแหน่ง
20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 – 25 มีนาคม พ.ศ. 2492
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2449
อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เสียชีวิต3 สิงหาคม พ.ศ. 2523 (73 ปี)
คู่สมรสพูนศรี สุดบรรทัด

พันโท ประเสริฐ สุดบรรทัด เป็นอดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระบุรี 4 สมัย

ประวัติ

[แก้]

ประเสริฐ สุดบรรทัด เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2449 ที่ตำบลอุทัย อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีบิดาชื่อ ผ่อง มารดาชื่อ บ่วง เขาเคยบวชเป็นเณรอยู่ที่วัดขุนทราย จนอายุได้ 16 ปี จึงเข้าไปเรียนที่โรงเรียนวัดราชาธิวาส จนจบชั้นมัธยมปีที่ 6 จึงได้บวชเป็นพระอยู่ถึง 3 พรรษา และสอบได้นักธรรมโท จากนั้นจึงออกไปเรียนโรงเรียนนายดาบ “รุ่นปี 2473”

หลังจากจบการศึกษาแล้ว เขาได้เข้ารับราชการทหารไปประจำอยู่ที่จังหวัดลำปาง และได้สมรสกับ น.ส.พูนศรี เนตรงาม ชาวจังหวัดลำพูน ภรรยานายประเสริฐ ได้รับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 10

การทำงาน

[แก้]

หลังปลดประจำการจากทหารในปี พ.ศ. 2475 ประเสริฐได้ย้ายมาอาศัยอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และเปิดโรงเรียนราษฎร์ชื่อ "โรงเรียนประเสริฐวิทยา" ขึ้นในปีเดียวกันที่ป้อมปราบศัตรูพ่าย และได้เข้าเล่นการเมืองระดับท้องถิ่น เคยเป็นทั้งสมาชิกสภาเทศบาลนครกรุงเทพ และสมาชิกสภาจังหวัดพระนคร ช่วงเวลาใกล้เคียงกันนี้ เขาได้เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง แต่ยังเรียนไม่ทันจบก็ถูกเรียกตัวกลับเข้าเป็นทหารอีกครั้งเพื่อไปรบในสงครามอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา

ประเสริฐ ได้รับการเลื่อนยศทางทหารจากนายร้อยตรีจนได้เป็นนายร้อยเอก ในปี พ.ศ. 2487 ต่อมาในปี พ.ศ. 2488 เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 3 กองทัพภาคที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดสระบุรี จนกระทั่งเขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มกราคม พ.ศ. 2489 เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2489 และชนะได้เป็นผู้แทนราษฎร และได้เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และได้รับเลือกตั้งอีกในครั้งต่อมาคือ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2491 และในคราวนี้เขาได้รับเลือกเป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร[1] และเป็นที่รู้จักจากการห้ามตำรวจไม่ให้จับสมาชิกกลางสภาซึ่งอธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้นคือ พลตำรวจโท เผ่า ศรียานนท์ โดยเป็นการห้ามตำรวจไม่ให้จับกุม พันโท พโยม จุลานนท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบุรี ณ ขณะนั้น

ในปี พ.ศ. 2492 จึงได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี[2] และให้สั่งราชการกระทรวงคมนาคม ครั้นถึงวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2493 ท่านก็ได้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐบาลชุดที่มีจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี[3][4]

ในปี พ.ศ. 2495 มีการเลือกตั้งอีกครั้ง แต่ในครั้งนี้เขาได้ขัดแย้งกับพันเอก ประมาณ อดิเรกสาร จนถึงขั้นที่ย้ายมาลงสมัคร ส.ส.แข่งกัน และประเสริฐ แพ้ในการเลือกตั้งครั้งนั้น จึงได้ประกาศวางมือทางการเมือง จนถึงปี พ.ศ. 2511 จึงได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา และสนับสนุนภรรยาคือ นางพูนศรี สุดบรรทัด ลงแข่งขันที่จังหวัดสระบุรี และก็สามารถชนะเอาที่นั่งคืนมาได้ ประเสริฐจึงกลับมาลงเลือกตั้งเองอีกครั้งในปี 2518 และก็ชนะได้เข้าสภาฯ

ถึงแก่อนิจกรรม

[แก้]

พันโท ประเสริฐ สุดบรรทัด ได้ถึงแก่กรรมในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2523 และมีงานพระราชทานเพลิงศพ ณ ฌาปนสถาน วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523

สถานที่

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งประธานและรองประธานสภาผู้แทน (นายเกษม บุญศรี เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร ร้อยเอก ประเสริฐ สุดบรรทัด เป็นรองประธานสภาผู้ปทนราษฎร)
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง (จำนวน ๗ ราย)
  4. [1]
  5. ยุคพัฒนา : จุดเปลี่ยนของเกวียน
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๒๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๒, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ[ลิงก์เสีย], เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๙๘๙, ๒ พฤษภาคม ๒๔๘๔
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๙๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๘