ข้ามไปเนื้อหา

ลัทธิอาณานิคม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ลัทธิอาณานิคม (อังกฤษ: colonialism) เป็นการสถาปนา แสวงหาประโยชน์จากพื้นที่อื่น ธำรงรักษา ได้มาซึ่งและขยายอาณานิคมในดินแดนหนึ่งจากประชากรอีกดินแดนหนึ่ง ลัทธิอาณานิคมเป็นชุดความสัมพันธ์ไม่เท่ากันระหว่างเจ้าอาณานิคมและอาณานิคม และมักระหว่างผู้อยู่ในนิคมและประชากรพื้นเมือง[1][2]

สมัยอาณานิคมยุโรปอยู่ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่อชาติยุโรปหลายชาติสถาปนาอาณานิคมในทวีปเอเชีย แอฟริกาและอเมริกา ทีแรก ประเทศต่าง ๆ ดำเนินนโยบายแบบพาณิชยนิยมซึ่งออกแบบมาเพื่อเสริมเศรษฐกิจของประเทศแม่โดยแลกกับเศรษฐกิจของคู่แข่ง ฉะนั้น ปกติอาณานิคมจึงได้รับอนุญาตให้ค้าขายเฉพาะกับประเทศแม่เท่านั้น ทว่า เมื่อถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 จักรวรรดิบริติชยกเลิกนโยบายพาณิชยนิยมและการจำกัดการค้า และเริ่มใช้หลักการค้าเสรี โดยมีการจำกัดหรือภาษีศุลกากรน้อย[3][4][5]

ประวัติ

[แก้]
แผนที่อาณานิคมในปี 1800
แผนที่อาณานิคมในปี 1914
แผนที่อาณานิคมในปี 1936
แผนที่อาณานิคมในปี 1945
แผนที่ทวีปเอเชียในปี 1898
แผนที่ทวีปแอฟริกาในปี 1914

กิจกรรมซึ่งเรียกได้ว่าลัทธิอาณานิคมนั้นมีประวัติศาสตร์ยาวนาน เริ่มจากจักวรรดิแอฟริกาก่อนสมัยอาณานิคมซึ่งนำให้ชาวอียิปต์ ฟินีเซีย กรีกและโรมันล้วนสร้างอาณานิคมในสมัยโบราณ

ลัทธิอาณานิคมสมัยใหม่เริ่มด้วยยุคแห่งการสำรวจ โปรตุเกสและสเปนค้นพบดินแดนใหม่ทั่วทั้งมหาสมุทรและสร้างสถานีการค้าหรือพิชิตดินแดนกว้างใหญ่ไพศาล บางคนถือว่าการสร้างอาณานิคมทั่วทั้งมหาสมุทรนี้เองที่แยกแยะลัทธิอาณานิคมจากลัทธิการขยายอาณาเขต (expansionism) แบบอื่น มีการแบ่งดินแดนใหม่เหล่านี้ระหว่างจักรวรรดิโปรตุเกสและสเปนครั้งแรกโดยสารตราพระสันตะปาปาอินเทอร์เซเทอรา และต่อมาโดยสนธิสัญญาทอร์เดสซิลลาสและสนธิสัญญาซาราโกซา (ค.ศ. 1529)

สมัยนี้ยังสัมพันธ์กับการปฏิวัติพาณิชย์ สมัยกลางตอนปลายมีการปฏิรูปการบัญชีและการธนาคารในอิตาลีและเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก ยุโรปตะวันตกรับและนำมาปรับใช้กับความเสี่ยงและรางวัลสูงที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนอาณานิคม

ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีการสร้างจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสและจักรวรรดิดัตช์ เช่นเดียวกับกรรมสิทธิ์โพ้นทะเลของอังกฤษ ซึ่งต่อมากลายเป็นจักรวรรดิบริติช นอกจากนี้ ยังมีการสถาปนาจักรวรรดิอาณานิคมเดนมาร์กและอาณานิคมโพ้นทะเลของสวีเดนบ้าง

การแพร่กระจายของจักรวรรดิอาณานิคมลดลงในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยสงครามปฏิวัติอเมริกาและสงครามประกาศอิสรภาพละตินอเมริกา อย่างไรก็ตาม มีการสถาปนาอาณานิคมใหม่จำนวนมากหลังช่วงนี้ รวมทั้งจักรวรรดิอาณานิคมเยอรมันและจักรวรรดิอาณานิคมเบลเยียม ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 หลายชาติยุโรปเกี่ยวข้องในลัทธิอาณานิคมในทวีปแอฟริกา

จักรวรรดิรัสเซีย จักรวรรดิออตโตมันและจักรวรรดิออสเตรียมีอยู่ในห้วงเวลาเดียวกันกับจักรวรรดิข้างต้น แต่มิได้แผ่ข้ามมหาสมุทร จักรวรรดิเหล่านี้ขยายผ่านช่องทางแต่เดิมโดยการพิชิตอาณาเขตเพื่อนบ้านแทน จักรวรรดิญี่ปุ่นจำลองตนเองตามจักรวรรดิอาณานิคมยุโรป สหรัฐได้ดินแดนโพ้นทะเล

หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้คว้าชัยแบ่งจักรวรรดิอาณานิคมเยอรมันและจักรวรรดิออตโตมันส่วนใหญ่ระหว่างพวกตนในฐานะอาณัติสันนิบาตชาติ ดินแดนเหล่านี้ถูกแบ่งออกเป็นสามระดับตามความพร้อมได้รับเอกราช ทว่า การปลดปล่อยอาณานิคมนอกทวีปอเมริกาล่าไปจนหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ใน ค.ศ. 1972 สหประชาชาติตั้งคณะกรรมาธิการพิเศษการปลดปล่อยอาณานิคม หรือมักเรียกว่า คณะกรรมาธิการ 24 เพื่อส่งเสริมกระบวนการนี้

ยิ่งไปกว่านั้น มีขบวนการเอกราชและโครงการความเป็นปึกแผ่นการเมืองโลก เช่น ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด มีส่วนสำคัญในความพยายามปลดล่อยอาณานิคมในอดีตอาณานิคม

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Rodney, Walter (2018). How Europe underdeveloped Africa. Verso Books. ISBN 978-1-78873-119-5. OCLC 1048081465.
  2. Jacobs, Margaret D. (1 July 2009). White Mother to a Dark Race. Lincoln: U of Nebraska Press. pp. 24, 81, 421, 430. ISBN 978-0-8032-1100-1. OCLC 268789976.
  3. Philip T. Hoffman (2015). Why Did Europe Conquer the World?. Princeton University Press. pp. 2–3. ISBN 978-1-4008-6584-0.
  4. Stoler, Ann Laura (4 October 1995). Race and the Education of Desire: Foucault's History of Sexuality and the Colonial Order of Things. Duke University Press. doi:10.2307/j.ctv11319d6. ISBN 978-0-8223-7771-9.
  5. Abay, Robel Afeworki; Soldatic, Karen. "Intersectional Colonialities: Embodied Colonial Violence and Practices of Resistance at the Axis of Disability, Race, Indigeneity, Class, and Gender". Routledge & CRC Press. สืบค้นเมื่อ 8 March 2024.