รัฐกันชน
หน้าตา
รัฐกันชน (อังกฤษ: Buffer state) คือประเทศที่ตั้งอยู่ระหว่างรัฐมหาอำนาจคู่แข่งหรือเป็นปรปักษ์ระหว่างกัน[1] ซึ่งสาเหตุของการคงอยู่มีเพื่อเป็นการป้องกันความขัดแย้งระหว่างรัฐมหาอำนาจด้วยกัน รัฐกันชนที่มีเอกราชอย่างแท้จริง มักจะดำเนินนโยบายต่างประเทศสายกลาง ซึ่งเป็นการป้องกันตนเองจากการตกเป็นรัฐบริวาร ความร่วมมือกันระหว่างรัฐกันชนเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีการถ่วงดุลอำนาจ ซึ่งเข้าสู่ยุทธศาสตร์และการคิดในเชิงการทูตของยุโรปในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17
งานวิจัยแสดงให้เห็นว่ารัฐกันชนมีโอกาสที่จะถูกพิชิตและยึดครองมากกว่ารัฐที่ไม่กันชน[2] บ่อยครั้งที่การรุกรานรัฐกันชนโดยหนึ่งในมหาอำนาจที่รายล้อมมันอยู่มักจะก่อให้เกิดสงครามระหว่างประเทศ อย่างเช่น การรุกรานเบลเยียมของเยอรมนี ทำให้สหราชอาณาจักรตัดสินใจเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
ประวัติรัฐกันชน
[แก้]อเมริกา
[แก้]- อุรุกวัย เป็นรัฐกันชนระหว่างอาร์เจนตินากับจักรวรรดิบราซิล
- ปารากวัย เป็นรัฐกันชนระหว่างอาร์เจนตินากับบราซิล
- จังหวัดจอร์เจียในศตวรรษที่ 18 เป็นรัฐกันชนระหว่างจักรวรรดิสเปนกับสิบสามอาณานิคม
เอเชีย
[แก้]- มองโกเลีย เป็นรัฐกันชนระหว่างสหภาพโซเวียตกับจีน ต่อมาเป็นรัสเซียกับจีน[3]
- จักรวรรดิเกาหลี เป็นรัฐกันชนระหว่างจักรวรรดิญี่ปุ่น, จักรวรรดิรัสเซีย และ จีน ก่อนถูกญี่ปุ่นยึดในปี ค.ศ. 1910
- เกาหลีเหนือ เป็นรัฐกันชนระหว่างกองทัพจีนกับกองทัพสหรัฐ[4]
- รัฐสุลต่านอาเคธ เป็นรัฐกันชนระหว่างหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์กับบริติชมาลายา
- สาธารณรัฐตะวันออกไกล เป็นรัฐกันชนระหว่างรัสเซียโซเวียตกับจักรวรรดิญี่ปุ่น ก่อนถูกรัสเซียโซเวียตยึดในปี ค.ศ. 1922[5][6]
- แมนจู เป็นรัฐกันชนระหว่างจักรวรรดิญี่ปุ่น, สหภาพโซเวียต และ สาธารณรัฐจีน
- อิหร่าน ทิเบตและอัฟกานิสถาน เป็นรัฐกันชนระหว่างจักรวรรดิอังกฤษกับจักรวรรดิรัสเซีย[7]
- รัฐแถบเทือกเขาหิมาลัยเช่น เนปาล ภูฏานและสิกขิม เป็นรัฐกันชนระหว่างจักรวรรดิอังกฤษกับจีน ต่อมาเป็นอินเดียกับจีน ซึ่งทำสงครามกันใน ค.ศ. 1962[8][9]
- ราชอาณาจักรอาร์มีเนียโบราณ เป็นรัฐกันชนระหว่างจักรวรรดิโรมัน (จักรวรรดิไบแซนไทน์ในเวลาต่อมา) กับจักรวรรดิซาเซเนียน
- จอร์เจีย เป็นรัฐกันชนระหว่างรัสเซียกับตุรกี (รวมถึงเนโท)
- อิรัก เป็นรัฐกันชนระหว่างซาอุดีอาระเบียกับอิหร่าน
- สยาม เป็นรัฐกันชนระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส[10][11]
- กัมพูชา ก่อนการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก เป็นรัฐกันชนระหว่างสยามกับเวียดนาม
แอฟริกา
[แก้]- รัฐสุลต่านซาดีแห่งโมร็อกโก เป็นรัฐกันชนระหว่างจักรวรรดิออตโตมัน, สเปน และ โปรตุเกส[12]
- จักรวรรดิเอธิโอเปีย เป็นรัฐกันชนระหว่างจักรวรรดิอังกฤษ, จักรวรรดิอิตาลี และ จักรวรรดิฝรั่งเศส
ยุโรป
[แก้]- ราชอาณาจักรฮังการี เป็นรัฐกันชนระหว่างจักรวรรดิออสเตรียกับจักรวรรดิออตโตมัน
- โปแลนด์ เป็นรัฐกันชนระหว่างเยอรมนีกับสหภาพโซเวียต[13]และในช่วงที่กลายเป็นรัฐคอมมิวนิสต์หลังสงครามโลกครั้งที่สอง[14]
- สาธารณรัฐลิทัวเนียกลาง เป็นรัฐกันชนระหว่างโปแลนด์กับลิทัวเนีย ก่อนถูกโปแลนด์ยึดใน ค.ศ. 1922
- ออสเตรีย เป็นรัฐกันชนระหว่างเยอรมนีกับอิตาลี
- สวีเดนและฟินแลนด์ ระหว่างสงครามเย็น เคยเป็นรัฐกันชนระหว่างเนโทกับสหภาพโซเวียต
- เบลเยียม ก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เป็นรัฐกันชนระหว่างฝรั่งเศส, ปรัสเซีย (จักรวรรดิเยอรมันในปี ค.ศ. 1871), สหราชอาณาจักร และ ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์
- ไรน์แลนด์ เป็นรัฐกันชนระหว่างฝรั่งเศสกับเยอรมนี ระหว่างปี ค.ศ. 1920 ถึง 1933[15]
- อาณาจักรข่านกอซิม เป็นรัฐกันชนระหว่างแกรนด์ดัชชีมอสโกกับอาณาจักรข่านคาซาน[16]
- ยูโกสลาเวีย ระหว่างสงครามเย็น เคยเป็นรัฐกันชนระหว่างเนโทกับกติกาสัญญาวอร์ซอ
- ยูเครน เป็นรัฐกันชนระหว่างรัสเซียกับเนโท (ไม่มีเอกสารอ้างอิงอย่างเป็นทางการ)
- ราชอาณาจักรโรมาเนีย เป็นรัฐกันชนระหว่างจักรวรรดิรัสเซีย, จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และ จักรวรรดิออตโตมัน
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "buffer state". Merriam Webster. สืบค้นเมื่อ 11 September 2021.
- ↑ Fazal, Tanisha M. (2004-04-01). "State Death in the International System". International Organization. 58 (2): 311–344. doi:10.1017/S0020818304582048. ISSN 1531-5088.
- ↑ "Mongolia, the uncontested buffer state". Russia Direct (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2019. สืบค้นเมื่อ 3 March 2017.
- ↑ "Getting China to Become Tough with North Korea". Cato Institute. สืบค้นเมื่อ 2016-02-10.
- ↑ Alan Wood, "The Revolution and Civil War in Siberia," in Edward Acton, Vladimir Iu. Cherniaev, and William G. Rosenberg (eds.), Critical Companion to the Russian Revolution, 1914–1921. Bloomington, IN: Indiana University Press, 1997; pp. 716–717.
- ↑ George Jackson and Robert Devlin (eds.), Dictionary of the Russian Revolution. Westport, CT: Greenwood Press, 1989; pp. 223–225.
- ↑ Debarbieux, Bernard; Rudaz, Gilles; Todd, Jane Marie; Price, Martin F. (2015-09-10). The Mountain: A Political History from the Enlightenment to the Present (ภาษาอังกฤษ). University of Chicago Press. p. 150. ISBN 9780226031118.
- ↑ "Nepal: Dictated by Geography | World Policy Institute". www.worldpolicy.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-31. สืบค้นเมื่อ 2016-02-10.
- ↑ The World Today; Bhutan and Sikkim: Two Buffer States Vol. 15, No. 12. Royal Institute of International Affairs. 1959. pp. 492–500.
- ↑ Pholsena, Vatthana (2007). LAOS, From Buffer State to Crossroads. Silkworm Books. ISBN 978-9749480502.
- ↑ Macgregor, John (1994). Through the Buffer State : Travels in Borneo, Siam, Cambodia, Malaya and Burma. White Lotus Co Ltd; 2 edition. ISBN 978-9748496252.
- ↑ Cory, Stephen (2016). Reviving the Islamic Caliphate in Early Modern Morocco. Routledge. pp. 36–37. ISBN 9781317063438.
- ↑ Suvorov, Viktor (2013). The Chief Culprit: Stalin's Grand Design to Start World War II. Naval Institute Press. p. 142. ISBN 9781612512686. สืบค้นเมื่อ 1 January 2015.
Chapter 25: Destruction of the Buffer States between Germany and the Soviet Union.
- ↑ Stent, Angela E. (1998). "Russia and Germany Reborn: Unification, the Soviet Collapse, and the New Europe". Princeton University Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2014. สืบค้นเมื่อ 1 January 2015.
Moscow's German Problem before Detente - The Federal Republic - In 1945, the major Soviet preoccupation was to prevent any future German attack; hence the imposition of Soviet-controlled governments in a ring of buffer states between Germany and the USSR.
- ↑ "THE RUHR: Rhineland Republic?". Time. 27 August 1923. สืบค้นเมื่อ 12 March 2017.
- ↑ Witzenrath, Christoph (2016). Eurasian Slavery, Ransom and Abolition in World History, 1200-1860. Routledge. p. 198. ISBN 9781317140023.