รัฐฮาวาย
รัฐฮาวาย State of Hawaii (อังกฤษ) Mokuʻāina o Hawaiʻi (ฮาวาย) | |
---|---|
สมญา: | |
คำขวัญ: | |
เพลง: "ฮาไวอีโปโนอี" (ฮาวาย: Hawaiʻi Ponoʻī)[4] | |
แผนที่สหรัฐเน้นรัฐฮาวาย | |
ประเทศ | สหรัฐ |
สถานะก่อนเป็นรัฐ | ดินแดนฮาวาย |
เข้าร่วมสหรัฐ | 21 สิงหาคม 1959 | (ลำดับที่ 50)
เมืองหลวง (และเมืองใหญ่สุด) | โฮโนลูลู |
มหานครใหญ่สุด | โฮโนลูลู |
การปกครอง | |
• ผู้ว่าการ | จอช กรีน (ด) |
• รองผู้ว่าการ | ซิลเวีย ลู้ก (ด) |
สภานิติบัญญัติ | สภานิติบัญญัติรัฐฮาวาย |
• สภาสูง | วุฒิสภา |
• สภาล่าง | สภาผู้แทนราษฎร |
ฝ่ายตุลาการ | ศาลสูงสุดฮาวาย |
สมาชิกวุฒิสภา |
|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร | 1: เอ็ด เคส (ด) 2: จิลล์ โทคูดา (ด) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 10,931 ตร.ไมล์ (28,311 ตร.กม.) |
• พื้นดิน | 6,423 ตร.ไมล์ (16,638 ตร.กม.) |
• พื้นน้ำ | 4,507 ตร.ไมล์ (11,672 ตร.กม.) 41.2% |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 43 |
ขนาด | |
• ความยาว | 1,522 ไมล์ (2,450 กิโลเมตร) |
ความสูง | 3,030 ฟุต (920 เมตร) |
ความสูงจุดสูงสุด (เมานาเคอา[5][6]) | 13,796 ฟุต (4,205.0 เมตร) |
ความสูงจุดต่ำสุด (มหาสมุทรแปซิฟิก[6]) | 0 ฟุต (0 เมตร) |
ประชากร (2020) | |
• ทั้งหมด | 1,455,271 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 40 |
• ความหนาแน่น | 221 คน/ตร.ไมล์ (82.6 คน/ตร.กม.) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 13 |
• ค่ามัธยฐานรายได้ครัวเรือน | 83,200 ดอลลาร์[7] |
• อันดับรายได้ | อันดับที่ 4 |
ภาษา | |
• ภาษาทางการ | อังกฤษ, ฮาวาย |
เขตเวลา | UTC−10:00 (เวลาฮาวาย) |
อักษรย่อไปรษณีย์ | HI |
รหัส ISO 3166 | US-HI |
อักษรย่อเดิม | H.I. |
ละติจูด | 18° 55′ เหนือ ถึง 28° 27′ เหนือ |
ลองจิจูด | 154° 48′ ตะวันตก ถึง 178° 22′ ตะวันตก |
เว็บไซต์ | portal |
ฮาวาย (อังกฤษ: Hawaii, ออกเสียง: /həˈwaɪ.i/; ฮาวาย: Hawaiʻi, ออกเสียง: [həˈvɐjʔi] หรือ [həˈwɐjʔi]) เป็นรัฐหนึ่งในภาคตะวันตกของสหรัฐ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ห่างจากแผ่นดินใหญ่สหรัฐออกไปประมาณ 3,200 กิโลเมตร (2,000 ไมล์) เป็นรัฐเดียวของสหรัฐที่เป็นกลุ่มเกาะ เป็นรัฐเดียวที่ตั้งอยู่นอกทวีปอเมริกาเหนือ และเป็นรัฐเดียวที่ตั้งอยู่ในเขตร้อน
รัฐฮาวายประกอบด้วยเกาะภูเขาไฟ 137 เกาะที่ประกอบเป็นส่วนใหญ่ของกลุ่มเกาะฮาวายและวางตัวเรียงรายเป็นระยะทาง 2,400 กิโลเมตร (1,500 ไมล์) โดยเป็นส่วนหนึ่งของอนุภูมิภาคพอลินีเชียของเขตโอเชียเนียในทางภูมิศาสตร์กายภาพและชาติพันธุ์วิทยา[8] แนวชายฝั่งมหาสมุทรของฮาวายจึงมีความยาวเป็นอันดับที่ 4 ของสหรัฐ กล่าวคือ ประมาณ 1,210 กิโลเมตร (750 ไมล์) เกาะหลัก 8 เกาะจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือไปทิศตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ นีเฮา, คาไว, โอวาฮู, โมโลไก, ลานาอี, กาโฮโอลาเว, เมาวี และฮาวายซึ่งเป็นที่มาของชื่อรัฐ และมักเรียกว่า "เกาะใหญ่" หรือ "เกาะฮาวาย" เพื่อไม่ให้สับสนกับรัฐฮาวายหรือกลุ่มเกาะฮาวาย หมู่เกาะฮาวายตะวันตกเฉียงเหนือซึ่งไม่มีผู้คนอาศัยอยู่นั้นประกอบเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุสรณ์สถานแห่งชาติทางทะเลปาปาฮาเนาโมกูวาเกยา ซึ่งเป็นพื้นที่คุ้มครองที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐและใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก
ในบรรดา 50 รัฐของสหรัฐ ฮาวายเป็นรัฐที่มีพื้นที่น้อยที่สุดเป็นอันดับที่ 8 และมีประชากรน้อยที่สุดเป็นอันดับที่ 11 แต่ด้วยจำนวนผู้อยู่อาศัย 1.4 ล้านคน จึงอยู่ในอันดับที่ 13 ในแง่ความหนาแน่นของประชากร ชาวฮาวายประมาณสองในสามอาศัยอยู่บนเกาะโอวาฮูซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของรัฐอย่างโฮโนลูลู ฮาวายเป็นหนึ่งในรัฐที่มีความหลากหลายมากที่สุดของประเทศ เนื่องจากตั้งอยู่ใจกลางมหาสมุทรแปซิฟิกและมีการอพยพย้ายถิ่นมานานกว่าสองศตวรรษ ในฐานะที่เป็นหนึ่งในหกรัฐที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อยของสหรัฐ ฮาวายเป็นรัฐเดียวที่มีชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียเป็นชนกลุ่มใหญ่ มีชุมชนชาวพุทธที่ใหญ่ที่สุด[9] และมีประชากรหลายเชื้อชาติในสัดส่วนที่มากที่สุดในสหรัฐ[10] ด้วยเหตุนี้ ฮาวายจึงเป็นแหล่งหลอมรวมวัฒนธรรมอเมริกาเหนือกับเอเชียตะวันออกเข้าด้วยกันอย่างมีลักษณะเฉพาะ นอกเหนือจากมรดกของชนพื้นเมืองฮาวายเอง
หลังจากที่ชาวพอลินีเชียเข้ามาตั้งรกรากในช่วงใดช่วงหนึ่งระหว่าง ค.ศ. 1000 ถึง ค.ศ. 1200 ฮาวายก็กลายเป็นที่ตั้งของเขตหัวหน้าเผ่าจำนวนมาก[11] ใน ค.ศ. 1778 เจมส์ คุก นักสำรวจชาวอังกฤษ เป็นบุคคลแรก (เท่าที่ทราบ) ที่ไม่ใช่ชาวพอลินีเชียที่มาถึงกลุ่มเกาะนี้ อิทธิพลของอังกฤษในยุคแรกเริ่มสะท้อนให้เห็นในธงประจำรัฐซึ่งมียูเนียนแจ็กอยู่ด้วย ในไม่ช้าบรรดานักสำรวจ พ่อค้า และนักล่าวาฬชาวยุโรปและอเมริกันก็หลั่งไหลเข้ามาและนำโรคต่าง ๆ ติดตัวมาด้วย เช่น ซิฟิลิส วัณโรค ฝีดาษ โรคหัด ส่งผลให้ชนพื้นเมืองที่ครั้งหนึ่งเคยอาศัยอยู่โดดเดี่ยวเสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก ประชากรฮาวายพื้นเมืองลดลงจากระหว่าง 300,000 ถึง 1,000,000 คน เหลือไม่ถึง 40,000 คนเมื่อถึง ค.ศ. 1890[12][13][14]
ฮาวายกลายเป็นราชอาณาจักรที่เป็นปึกแผ่นและเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติใน ค.ศ. 1810 และยังคงเป็นอิสระจนกระทั่งนักธุรกิจและทหารชาวอเมริกันและชาวยุโรปล้มล้างระบอบราชาธิปไตยใน ค.ศ. 1893 นำไปสู่การผนวกฮาวายเข้ากับสหรัฐใน ค.ศ. 1898 ในฐานะดินแดนสหรัฐที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ ฮาวายถูกญี่ปุ่นโจมตีเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 ส่งผลให้กลุ่มเกาะนี้เป็นที่จับตามองในระดับโลกและในประวัติศาสตร์ และมีส่วนทำให้สหรัฐเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างเต็มตัว ฮาวายเป็นรัฐล่าสุดที่เข้าร่วมกับสหรัฐเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1959[15] ใน ค.ศ. 1993 รัฐบาลสหรัฐกล่าวคำขอโทษอย่างเป็นทางการกับบทบาทของตนในการโค่นล้มรัฐบาลฮาวาย ซึ่งกระตุ้นความเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชฮาวายและนำไปสู่ความพยายามอย่างต่อเนื่องในการชดเชยแก่ประชากรพื้นเมือง
เศรษฐกิจฮาวายในอดีตขึ้นอยู่กับการทำไร่ขนาดใหญ่ และในปัจจุบันรัฐนี้ยังคงเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรรายใหญ่เนื่องจากดินที่อุดมสมบูรณ์และภูมิอากาศเขตร้อนที่ไม่เหมือนใครในสหรัฐ เศรษฐกิจฮาวายเริ่มมีความหลากหลายตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยการท่องเที่ยวและกลาโหมกลายเป็นภาคเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดสองภาค รัฐนี้ดึงดูดนักท่องเที่ยว นักโต้คลื่น และนักวิทยาศาสตร์ด้วยทัศนียภาพทางธรรมชาติที่หลากหลาย ภูมิอากาศเขตร้อนอันอบอุ่น ชายหาดสาธารณะที่มีอยู่มากมาย สภาพแวดล้อมแบบมหาสมุทร ภูเขาไฟที่ยังมีพลัง และท้องฟ้าแจ่มใสบนเกาะใหญ่ ฮาวายเป็นที่ตั้งของทัพเรือแปซิฟิกของสหรัฐซึ่งเป็นหน่วยบัญชาการกองทัพเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นที่พำนักของลูกจ้างกระทรวงกลาโหมประมาณ 75,000 คน[16]
ทำเลที่ตั้งอันห่างไกลของฮาวายส่งผลให้รัฐนี้เป็นหนึ่งในรัฐที่มีค่าครองชีพสูงที่สุดในสหรัฐ อย่างไรก็ตาม ฮาวายเป็นรัฐที่มีความมั่งคั่งมากเป็นอันดับที่ 3[16] และผู้อยู่อาศัยของรัฐมีอายุคาดเฉลี่ยยืนยาวที่สุดในบรรดารัฐใด ๆ ของสหรัฐ อยู่ที่ 80.7 ปี[17]
ศัพทมูลวิทยา
[แก้]ชื่อรัฐฮาวายตั้งตามชื่อเกาะฮาวายหรือฮาไวอี (Hawaiʻi) เกาะขนาดใหญ่สุดของรัฐ โดยทั่วไปอธิบายว่าชื่อเกาะแผลงมาจากชื่อของฮาไวอีโลอา (Hawaiʻiloa) บุคคลจากประเพณีมุขปาฐะฮาวาย กล่าวกันว่าเขาเป็นผู้ค้นพบหมู่เกาะนี้ระหว่างการเข้ามาตั้งถิ่นฐานในยุคเริ่มแรก[18][19]
คำว่า Hawaiʻi ในภาษาฮาวายมีความคล้ายคลึงกับคำว่า *Sawaiki ในภาษาพอลินีเชียดั้งเดิมซึ่งมีความหมายที่สืบสร้างขึ้นว่า "บ้านเกิด"[a] คำร่วมเชื้อสายของคำว่า Hawaiʻi สามารถพบได้ในภาษากลุ่มพอลินีเชียอื่น ๆ เช่น ภาษามาวรี (Hawaiki), ภาษาราโรโตงา (ʻAvaiki) และภาษาซามัว (Savaiʻi) ปูกูอีและเอลเบิร์ต นักภาษาศาสตร์ กล่าวว่า[21] "ในที่อื่น ๆ ของพอลินีเชีย คำว่า Hawaiʻi หรือคำร่วมเชื้อสายของมันเป็นชื่อของโลกใต้พิภพหรือชื่อของบ้านเกิดบรรพชน แต่ในฮาวาย ชื่อนี้กลับไม่มีความหมายใด ๆ"[22]
อรรถาธิบาย
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Brodie, Carolyn S; Goodrich, Debra; Montgomery, Paula Kay (1996). The Bookmark Book. Englewood, CO: Libraries Unlimited. ISBN 9781563083006. OCLC 34164045. สืบค้นเมื่อ August 5, 2015.
- ↑ "Play Ball holds unforgettable 1st event in Hawaii". MLB.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 19, 2019. สืบค้นเมื่อ April 6, 2020.
- ↑ Hawaii State Legislature. "Haw. Rev. Stat. § 5–9 (State motto)". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 15, 2015. สืบค้นเมื่อ December 9, 2013.
- ↑ Hawaii State Legislature. "Haw. Rev. Stat. § 5–10 (State song)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 16, 2003. สืบค้นเมื่อ December 9, 2013.
- ↑ "Summit USGS 1977". NGS data sheet. U.S. National Geodetic Survey.
- ↑ 6.0 6.1 "Elevations and Distances in the United States". United States Geological Survey. 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 15, 2011. สืบค้นเมื่อ October 21, 2011.
- ↑ "US Census Bureau QuickFacts: Hawaii". US Census Bureau. สืบค้นเมื่อ May 9, 2022.
- ↑ "Is Hawaii a Part of Oceania or North America?". WorldAtlas. January 12, 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 11, 2019. สืบค้นเมื่อ June 24, 2019.
- ↑ "Religious Landscape Study". Pewforum.org. May 11, 2015. Retrieved May 27, 2018
- ↑ "Hawaii is home to the nation's largest share of multiracial Americans". Pew Research Center. สืบค้นเมื่อ December 14, 2020.
- ↑ Kirch, Patrick (2011). "When did the Polynesians Settle Hawaii? A review of 150 years of scholarly inquiry". Hawaiian Archaeology. 12: 3–26.
- ↑ Office of Hawaiian Affairs (May 2017). "Native Hawaiian Population Enumerations in Hawai'i" (PDF). p. 22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-01-26. สืบค้นเมื่อ 2023-07-24.
- ↑ Trask, Haunani-Kay (July 2016). "Lovely Hula Lands: Corporate Tourism and the Prostitution of Hawaiian Culture". Border/Lines. 23.
- ↑ Trask, Haunani-Kay (1999). From a Native Daughter: Colonialism and Sovereignty in Hawai'i. Honolulu: University of Hawaiʻi.
- ↑ "[USC02] 48 USC Ch. 3: Front Matter". uscode.house.gov. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 29, 2018. สืบค้นเมื่อ October 28, 2019.
- ↑ 16.0 16.1 "Top 5 richest states in the US". www.worldfinance.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 27, 2020. สืบค้นเมื่อ December 15, 2020.
- ↑ Arias, Elizabeth (August 23, 2022). "National Vital Statistics Reports" (PDF). CDC.gov. สืบค้นเมื่อ February 20, 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Bruce Cartwright (1929). "The Legend of Hawaii-loa" (PDF). Journal of the Polynesian Society. 38: 105–121. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ July 13, 2007 – โดยทาง Ethnomathematics Digital Library (EDL).
- ↑ "Origins of Hawaii's Names". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 30, 2006. สืบค้นเมื่อ February 24, 2007.
- ↑ Biggs, Bruce (1994). "Does Māori have a closest relative?". ใน Sutton, Douglas G. (บ.ก.). The Origins of the First New Zealanders. Auckland, NZ: Auckland University Press. pp. 96–105. ISBN 978-1-86940-098-9.
Clark, Ross (1994). "Moriori and Māori: The Linguistic Evidence". ใน Sutton, Douglas G. (บ.ก.). The Origins of the First New Zealanders. Auckland, NZ: Auckland University Press. pp. 123–135. ISBN 978-1-86940-098-9. - ↑ Pukui, M.K.; Elbert, S.H. (1986). Hawaiian Dictionary. Honolulu, HI: University of Hawaiʻi Press. p. 62. ISBN 978-0-8248-0703-0.
- ↑ Pukui, M.K.; Elbert, S.H.; Mookini, E.T. (1974). Place Names of Hawaii. Honolulu, HI: University of Hawaiʻi Press. ISBN 978-0-8248-0208-0.
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ
- รัฐฮาวาย ที่เว็บไซต์ Curlie
- ดูข้อมูลทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ รัฐฮาวาย ที่โอเพินสตรีตแมป