จักรวรรดิอาณานิคมญี่ปุ่น
จักรวรรดิอาณานิคมญี่ปุ่น | |
---|---|
1895–1945[1] | |
ธงชาติ | |
จักรวรรดิญี่ปุ่น ค.ศ. 1942
| |
สถานะ | จักรวรรดิอาณานิคม |
เมืองหลวง | โตเกียว |
ภาษาทั่วไป | ญี่ปุ่น Local: |
ประวัติศาสตร์ | |
• ก่อตั้ง | 1895 |
• สิ้นสุด | 1945[1] |
สกุลเงิน | Japanese yen, Japanese military yen, Korean yen, Taiwanese yen |
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | Countries today |
จักรวรรดิอาณานิคมญี่ปุ่น (อังกฤษ: Japanese colonial empire) เป็นดินแดนโพ้นทะเลของจักรวรรดินิยมญี่ปุ่น ซึ่งญี่ปุ่นได้ครอบครองแปซิฟิกตะวันตกและเอเชียตะวันออก
การจัดหาอาณานิคม
[แก้]ไต้หวัน
[แก้]เกาหลี
[แก้]ในพ.ศ. 2453 (ค.ศ. 1910) การลงนามในสนธิสัญญาผนวกดินแดนญี่ปุ่น-เกาหลี ทำให้ญี่ปุ่นเข้ายึดครองเกาหลีอย่างสมบูรณ์ ในสนธิสัญญามีตราตั้งพระราชลัญจกร แต่ไม่มีพระนามของจักรพรรดิยุงฮึย กลับมีลายมือชื่อของลีวานยง นายกรัฐมนตรีเกาหลีแทน ดังนั้นตลอดเวลาและหลังการยึดครองของญี่ปุ่น จึงมีคำถามโดยเฉพาะกับชาวเกาหลีว่าสนธิสัญญาฉบับนี้มีความถูกต้องมากเพียงใด ซึ่งแน่นอนว่าชาวเกาหลีในปัจจุบันจะต้องไม่ยอมรับสัญญาฉบับนี้ และประกาศให้สัญญาฉบับนี้เป็นโมฆะในพ.ศ. 2548 แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม เกาหลีก็ตกเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่นไป 30 กว่าปี จนกระทั่งญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง เกาหลีจึงถูกแบ่งเป็นเหนือและใต้
แปซิฟิกใต้ในอาณัติ
[แก้]หลังจากญี่ปุ่นได้รับมอบหมายการปกครองแปซิฟิกใต้ในอาณัติจากสันนิบาติ ในปี ค.ศ. 1914 รัฐบาลกลางญี่ปุ่นได้มอบหมายให้ผู้บัญชาการของกองกำลังป้องกันชั่วคราวทะเลใต้ (South Seas Islands Temporary Garrison) เป็นผู้นำรัฐบาลเของแปซิฟิกใต้ในอาณัติ โดยผู้บัญชาการจะมีอำนาจในการบังคับบัญชาทหารและพลเรือนในดินแดนแห่งนี้ โดยได้ตั้งศูนย์กลางการบริหารขึ้นที่เกาะซัมเมอร์ (Summer) เกาะแยป (Yap) เกาะยาลูอิต (Jaluit) และเกาะอางาอูร์ (Angaur) (Purcell, 1967: 147) ในปี ค.ศ. 1915 ได้มีการนำที่ปรึกษาและข้าราชการฝ่ายพลเรือนเข้ามาทำงานในแปซิฟิกใต้ในอาณัติมากขึ้น จนกระทั่งในที่สุดในปี ค.ศ. 1918 กองกำลังทหารได้ถ่ายโอนอำนาจทั้งหมดให้ข้าราชการฝ่ายพลเรือนในการปกครองแปซิฟิกใต้ในอาณัติ และย้ายศูนย์กลางการบริหารจากเกาะซัมเมอร์มาสู่คอร์รอในเกาะปาเลาในปี ค.ศ. 1922
ในระยะแรกของการปกครองแปซิฟิกใต้ในอาณัติตั้งแต่ปี ค.ศ. 1914 – 1922 ญี่ปุ่นปกครองดินแดนแห่งนี้โดยใช้ระบอบที่จักรวรรดิอาณานิคมเยอรมนีได้วางรากฐานไว้ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงระบบมากนัก การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยเริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ปี ค.ศ. 1922 เป็นต้นมา แต่ในช่วงปีที่มีความเปลี่ยนแปลงมากที่สุดต่อการการเมืองการปกครองของแปซิฟิกใต้ในอาณัติคือในปี ค.ศ. 1929 เมื่อย้ายหน้าที่ความรับผิดชอบทางด้านการเมืองการปกครองจากการดูแลโดยตรงโดยนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นสู่กระทรวงกิจการโพ้นทะเล (Ministry of Oversea Affairs) ส่วนกิจการด้านอื่นได้ย้ายเข้าสู่กระทรวงที่รับผิดชอบในเรื่องนั้น ๆ เช่น กระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรม เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงการบริหารส่วนท้องถิ่น โดยเปลี่ยนแปลงจากการแบ่งเขตแบบเดิม ออกเป็นการแบ่งเขตแบบใหม่ โดยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 เขต ได้แก่ ไซปัน (Saipan) (หมู่เกาะมาเรียนาส์) แยป (Yap) (หมู่เกาะแคโรไลน์) ปาเลา (Palau) (หมู่เกาะแคโรไลน์) ตรุก (Truk) (หมู่เกาะแคโรไลน์) โปนเปห์ (Ponape) (หมู่เกาะแคโรไลน์) และยาลูอิต (Jaluit) (หมู่เกาะมาร์แชลล์) ซึ่งในแต่ละเขตจะมีข้าหลวงจากส่วนกลางเข้าไปปกครอง ในส่วนท้องถิ่นของแต่ละเขตประกอบไปด้วยหมู่บ้านชาวพื้นเมืองหลายหมู่บ้าน มีหัวหน้าหมู่บ้านและเป็นหัวหน้าชนเผ่าในยุคดั้งเดิมซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากข้าหลวงใหญ่ประจำอาณานิคมทะเลใต้เป็นผู้ปกครอง ในกรณีของหัวหน้าหมู่บ้านเหล่านี้มักมีหน้าที่ในการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ชาวญี่ปุ่นในการจัดทำรายงานต่าง ๆ ภายในดินแดนของตน จัดเก็บภาษีชาวพื้นเมืองผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ไม่พิการและแก่ชรา รวมถึงส่งข้อเสนอของชุมชนของตนต่อเจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นเพื่อใช้ในการบริหารจัดการท้องถิ่น เป็นต้น อย่างไรก็ตามแม้ในทางกฎหมาย ญี่ปุ่นจะมอบอำนาจและหน้าที่ให้หัวหน้าหมู่บ้านแต่ละแห่งเท่าเทียมกัน แต่ในทางปฏิบัติพบว่าอำนาจหน้าที่ในอดีตเป็นส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดสถานะที่มีความแตกต่างกันของหัวหน้าหมู่บ้านแต่ละคน ซึ่งญี่ปุ่นใช้การปกครองรูปแบบนี้เรื่อยมาจนถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
เมื่อพิจารณาจากสถานะของแปซิฟิกใต้ในอาณัติ พบว่าสันนิบาติชาติต้องการมอบดินแดนแปซิฟิกใต้ในอาณัติให้กับญี่ปุ่นในสถานะดินแดนในภาวะทรัสตี (ดินแดนในอาณัติ) แม้ว่าสภาวะของแปซิฟิกใต้ในอาณัติในขณะนั้นจะเป็นดินแดนที่ไม่สามารถปกครองตนเองได้และยังมีโครงสร้างทางการเมืองไม่แน่ชัด จึงต้องใช้หลักกฎหมายและการบริหารจัดการเสมือนเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของประเทศแม่ แต่พฤตการณ์ของญี่ปุ่นที่ใช้ในการปกครองพบว่ามักไม่เปิดโอกาสให้ชาวพื้นเมืองเข้ามามีบทบาททางด้านการเมืองการปกครองมากนัก รวมไปถึงการพยายามทำให้ชาวพื้นเมืองเป็นญี่ปุ่น ซึ่งพฤตการณ์ของญี่ปุ่นเป็นไปในลักษณะของการยึดครอง มากกว่าจะปกครองในฐานะดินแดนในอานัติ
กรณีการขอลาออกจากสันนิบาติชาติ ส่งผลให้สถานะของแปซิฟิกใต้ในอาณัติเริ่มไม่แน่ชัด เนื่องจากดินแดนแมนเดตเป็นดินแดนของสันนิบาติชาติที่มอบให้ประเทศสมาชิกดูแล การลาออดจากสมาชิกภาพย่อมเป็นผลให้การดูแลแมนเดตสิ้นสุดลง ในช่วงเวลานี้พบว่าเยอรมนีได้พยายามเรียกร้องดินแดนส่วนนี้คืนจากญี่ปุ่นหรือให้สันนิบาติชาติหาประเทศสมาชิกอื่นเข้ามาดูแลดินแดนแห่งนี้ อย่างไรก็ตามสันนิบาติชาติไม่ได้ดำเนินการเรียกร้องดินแดนส่วนนี้คืนจากญี่ปุ่น อาจกล่าวได้ว่าสันนิบาติชาติไม่อยากดำเนินมาตรการรุนแรงกับญี่ปุ่นและคาดหวังว่าญี่ปุ่นจะขอกลับเข้ามาเป็นสมาชิกของสันนิบาติชาติอีกครั้ง
เมื่อศึกษาระบบการศาลและกระบวนการยุติธรรมในแปซิฟิกใต้ในอาณัติพบว่า รัฐบาลอาณานิคมทะเลใต้ มีการจัดตั้ง หน่วยงานด้านศาลครอบคลุมทุกหมู่เกาะสำคัญของแปซิฟิกใต้ในอาณัติ ข้าหลวงใหญ่ประจำอาณานิคมมีอำนาจในการพิจารณีคดีความ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าอำนาจบริหารมีอำนาจเหนือฝ่ายตุลาการในแปซิฟิกใต้ในอาณัติ การพิจารณาคดีของชาวญี่ปุ่นและชาวพื้นเมืองดำเนินในลักษณะเดียวกัน ซึ่งผู้พิพากษาของศาลมักได้รับการแต่งตั้งโดยข้าหลวงใหญ่ของแปซิฟิกใต้ในอาณัติ ในส่วนของเจ้าหน้าที่รักษาความสงบในแปซิฟิกใต้ในอาณัติ ในระยะแรกเป็นหน่วยงานทหารในพื้นที่ เมื่อหน่วยงานทหารโอนอำนาจให้ฝ่ายพลเรือนแล้ว หน่วยงานที่ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยในพื้นที่คือตำรวจ โดยนายตำรวจระดับสูงมักเป็นชาวญี่ปุ่น และตำรวจระดับปฏิบัติการเป็นชาวพื้นเมืองผสมผสานกับชาวญี่ปุ่น
แมนจูเรีย
[แก้]หลังจากการรุกรานแมนจูเรียของญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1931 กองทัพญี่ปุ่นได้มุ่งหน้าสู่การแบ่งแยกภูมิภาคแมนจูเรียออกจากการควบคุมจีนและสร้างรัฐหุ่นเชิดภายใต้การควบคุมของญี่ปุ่นขึ้น และเพื่อสร้างบรรยากาศแห่งความชอบธรรมขึ้น อ้ายซินเจว๋หลัว ผู่อี๋ จักรพรรดิของจีนองค์สุดท้ายจึงได้รับเชิญจากญี่ปุ่นพร้อมกับอ้ายซินเจว๋หลัว ผู่เจี๋ยพระอนุชาและบรรดาผู้ติดตาม เพื่อเข้าดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐแมนจูเรียที่จัดตั้งขึ้นใหม่ หนึ่งในผู้ติดตามผู้ซื่อสัตย์ของเขาคือ เจิ้ง เซี่ยวซือ นักปฏิรูปและผู้จงรักภักดีต่อราชวงศ์ชิง
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1932 ได้มีการประกาศสถาปนา "รัฐแมนจู" หรือ "แมนจูกัว"[2] ญี่ปุ่นได้ให้การรับรองแมนจูกัวผ่านการลงนามในพิธีสารญี่ปุ่น-แมนจูกัว เมื่อวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1932 เมืองฉางชุนซึ่งได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "ซิงกิง" ("เมืองหลวงใหม่") มีฐานะเป็นเมืองหลวงของรัฐใหม่แห่งนี้ ชาวฮั่นในแมนจูเรียได้รวมตัวกันเป็นกองทัพอาสาสมัครเพื่อต่อต้านญี่ปุ่น ทำให้รัฐใหม่ดังกล่าวจำเป็นต้องทำสงครามอันยื้ดเยื้ออีกหลายปีเพื่อสร้างความสงบภายในประเทศ
ในขั้นต่อมา ญี่ปุ่นได้ดำเนินการแต่งตั้งให้ผู่อี๋เป็นประมุขแห่งรัฐเป็นในปี ค.ศ. 1932 และอีกสองปีให้หลังจึงได้มีการสถาปนาให้เขาดำรงตำแหน่งจักรพรรดิแห่งแมนจูกัว โดยใช้ชื่อศักราชประจำรัชกาลตามแบบจีนว่า "คังเต๋อ" (หมายถึง "ความสงบและคุณธรรม") ประเทศแมนจูกัวจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น "จักรวรรดิแมนจู" หรือในชื่อเต็ม "จักรวรรดิแมนจูเรียอันยิ่งใหญ่" เจิ้ง เซี่ยวซือได้ดำรงตำแหน่งเป็นเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของแมนจูกัวจนถึง ค.ศ. 1935 โดยมีจาง จิงหุยขึ้นดำรงตำแหน่งแทน สำหรับจักรพรรดิผู่อี๋นั้น พระองค์มีฐานะดุจเดียวกับเจว็ด เพราะอำนาจการปกครองประเทศที่แท้จริงนั้นล้วนอยู่ในกำมือของทหารญี่ปุ่นทั้งสิ้น พระราชวังได้ถูกสร้างขึ้นเป็นการเฉพาะสำหรับควบคุมจักรพรรดิ รัฐมนตรีของแมนจูกัวทั้งหมดรับบทเป็นเพียงร่างทรงของรองรัฐมนตรีที่เป็นชาวญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้ตัดสินใจในทุกเรื่องอย่างแท้จริง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Peattie 1988, p. 217.
- ↑ "Between World Wars". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-31. สืบค้นเมื่อ 2017-07-15.