ประเทศเบลารุส
สาธารณรัฐเบลารุส Рэспубліка Беларусь (เบลารุส) Республика Беларусь (รัสเซีย) | |
---|---|
![]() ที่ตั้งของ ประเทศเบลารุส (สีเขียว) ในทวีปยุโรป (สีเทาเข้ม) | |
เมืองหลวง และ ใหญ่สุด | มินสค์ |
ภาษาราชการ | ภาษาเบลารุส ภาษารัสเซีย |
การปกครอง | รัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบประธานาธิบดี |
โตแย้งระหว่างอเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโคและซเวียตลานา จิฮานูสกายา (ตั้งแต่ 9 สิงหาคม 2020)[1][2][3][4] | |
Roman Golovchenko | |
ได้รับเอกราช | |
• ประกาศเอกราช จาก สหภาพโซเวียต | 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 |
• สถาปนา | 25 สิงหาคม พ.ศ. 2534 |
• อดีต | สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย |
พื้นที่ | |
• รวม | 207,600 ตารางกิโลเมตร (80,200 ตารางไมล์) (84) |
1.4% | |
ประชากร | |
• 2548 ประมาณ | 10,300,483 (65) |
• สำมะโนประชากร 2542 | 10,045,200 |
49 ต่อตารางกิโลเมตร (126.9 ต่อตารางไมล์) (142) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2560 (ประมาณ) |
• รวม | $ 175.932 พันล้าน |
• ต่อหัว | $ 18,616 |
จีดีพี (ราคาตลาด) | 2560 (ประมาณ) |
• รวม | $ 52.783 พันล้าน |
• ต่อหัว | $ 5,585 |
จีนี (2558) | 26.7[5] ข้อผิดพลาด: ค่าจีนีไม่ถูกต้อง |
HDI (2559) | ![]() ข้อผิดพลาด: ค่า HDI ไม่ถูกต้อง · 52nd |
สกุลเงิน | รูเบิลเบลารุส (BYR) |
เขตเวลา | UTC+3 (FET) |
รหัสโทรศัพท์ | 375 |
โดเมนบนสุด | .by .бел |
เบลารุส (เบลารุส: Беларусь [bʲɛlaˈrusʲ] บฺแยลารูสฺย; รัสเซีย: Беларусь, Белоруссия) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐเบลารุส (เบลารุส: Рэспубліка Беларусь; รัสเซีย: Республика Беларусь) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับรัสเซีย ยูเครน โปแลนด์ ลิทัวเนีย และลัตเวีย เมืองหลวงของประเทศคือกรุงมินสค์ เมืองสำคัญของประเทศนี้ ได้แก่ เบรสต์ กรอดโน กอเมล และวีเซียบสค์ พื้นที่มากกว่า 40% ของขนาดประเทศ 207,600 ตารางกิโลเมตร (80,200 ตารางไมล์) เป็นป่าไม้ ภาคเศรษฐกิจหลักของประเทศคืออุตสาหกรรมบริการและการผลิต[6] จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ดินแดนที่กลายมาเป็นประเทศเบลารุสในปัจจุบันเคยถูกรัฐต่าง ๆ ในหลาย ๆ ยุคยึดครอง ซึ่งรวมถึงราชรัฐโปลอตสค์ (คริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึง 14), แกรนด์ดัชชีลิทัวเนีย, เครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย และจักรวรรดิรัสเซีย
ในช่วงหลังการปฏิวัติรัสเซียใน ค.ศ. 1917 เบลารุสประกาศเอกราชในฐานะสาธารณรัฐประชาชนเบลารุส แต่สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียได้เข้ายึดครอง สาธารณรัฐโซเวียตสังคมนิยมเบียโลรัสเซียได้กลายเป็นสาธารณรัฐองค์ประกอบผู้ก่อตั้งสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1922 และเปลี่ยนชื่อเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย (Byelorussian SSR) ดินแดนของเบลารุสเกือบครึ่งหนึ่งถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของโปแลนด์หลังจากสงครามโปแลนด์–โซเวียตใน ค.ศ. 1919–1921 พรมแดนส่วนใหญ่ของเบลารุสมีลักษณะอย่างปัจจุบันตั้งแต่ ค.ศ. 1939 เมื่อดินแดนบางส่วนของสาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2 ถูกผนวกเข้ากับเบลารุสอีกครั้งหลังจากการรุกรานโปแลนด์ของสหภาพโซเวียต และได้ข้อสรุปหลังสงครามโลกครั้งที่สอง[7][8][9] ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปฏิบัติการต่าง ๆ ทางทหารทำให้เบลารุสเสียหายอย่างรุนแรง โดยสูญเสียประชากรราวหนึ่งในสามและทรัพยากรทางเศรษฐกิจมากกว่าครึ่ง[10] สาธารณรัฐได้รับการพัฒนาขื้นใหม่อีกครั้งหลังสงคราม ใน ค.ศ. 1945 สาธารณรัฐเบียโลรัสเซียกลายเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งของสหประชาชาติพร้อมกับสหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐยูเครน[11]
รัฐสภาสาธารณรัฐเบลารุสประกาศอำนาจอธิปไตยของเบลารุสเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1990 และในระหว่างการล่มสลายของสหภาพโซเวียต เบลารุสได้ประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1991[12] อเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโค ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกของประเทศมาตั้งแต่ ค.ศ. 1994 นักข่าวตะวันตกบางคนได้ขนานนามเบลารุสว่าเป็น "เผด็จการสุดท้ายของยุโรป"[13][14] เนื่องมาจากรูปแบบรัฐบาลซึ่งลูคาเชนโคได้นิยามเองว่าเป็นอำนาจนิยม[15][16][17] ลูคาเชนโคยังคงใช้นโยบายหลายประการจากยุคโซเวียต เช่น กรรมสิทธิ์ของรัฐในเศรษฐกิจส่วนใหญ่ การเลือกตั้งภายใต้กฎของลูคาเชนโคถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่าไม่ยุติธรรม และตามรายงานของประเทศและองค์กรระหว่างประเทศต่าง ๆ การต่อต้านทางการเมืองได้ถูกปราบปรามอย่างรุนแรง เบลารุสเป็นประเทศสุดท้ายในยุโรปที่ยังคงใช้โทษประหารชีวิต[18][19][20] คะแนนดัชนีประชาธิปไตยของเบลารุสนั้นต่ำที่สุดในยุโรป เบลารุสถูกระบุว่า "ไม่เสรี" โดยองค์การฟรีดอมเฮาส์ ถูกระบุว่า "ถูกกดขี่" ในดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ และได้รับการจัดอันดับว่าเป็นประเทศที่เลวร้ายที่สุดสำหรับเสรีภาพสื่อในยุโรป ในดัชนีเสรีภาพสื่อประจำ ค.ศ. 2013–2014 ซึ่งองค์กรนักข่าวไร้พรมแดนเป็นผู้เผยแพร่โดยจัดเบลารุสอยู่ในอันดับที่ 157 จาก 180 ประเทศทั่วโลก[21]
ใน ค.ศ. 2000 เบลารุสและรัสเซียได้ลงนามในสนธิสัญญาเพื่อความร่วมมือที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยก่อตั้งรัฐสหภาพรัสเซียและเบลารุส กว่าร้อยละ 70 ของประชากรเบลารุสจำนวน 9.49 ล้านคนอาศัยอยู่ในเขตเมือง ประชากรมากกว่าร้อยละ 80 เป็นชาวเบลารุส ชนกลุ่มน้อยขนาดใหญ่ได้แก่ ชาวรัสเซีย, โปแลนด์ และยูเครน นับตั้งแต่การลงประชามติใน ค.ศ. 1995 ประเทศเบลารุสมีภาษาราชการสองภาษาคือภาษาเบลารุสและภาษารัสเซีย รัฐธรรมนูญของเบลารุสไม่ได้ประกาศศาสนาอย่างเป็นทางการ แต่ศาสนาหลักของประเทศคือศาสนาคริสต์นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ศาสนาที่แพร่หลายมากเป็นอันดับสองของเบลารุสคือนิกายโรมันคาทอลิกซึ่งมีผู้นับถือจำนวนน้อยกว่ามาก ถึงกระนั้นเบลารุสก็เฉลิมฉลองวันคริสต์มาสและอีสเตอร์ของทั้งออร์ทอดอกซ์และคาทอลิกในฐานะวันหยุดประจำชาติ[22] เบลารุสเป็นสมาชิกของสหประชาชาตินับตั้งแต่ก่อตั้ง, เครือรัฐเอกราช, องค์การสนธิสัญญาความมั่นคงร่วมกัน, สหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย และขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด เบลารุสไม่ได้แสดงความปรารถนาที่จะเข้าร่วมสหภาพยุโรป แต่อย่างไรก็ตามก็ยังคงรักษาความสัมพันธ์ทวิภาคีกับองค์การ และในทำนองเดียวกันเบลารุสมีส่วนร่วมในโครงการสองโครงการของสหภาพยุโรป คือ หุ้นส่วนตะวันออกและการริเริ่มที่บากู
ประวัติศาสตร์[แก้]
ประเทศเบลารุสเริ่มจากการตั้งถิ่นฐานของชาวสลาฟในอดีต เกิดเป็นราชอาณาจักร ภายหลังสวามิภักดิ์ต่อราชอาณาจักรเคียฟ ต่อมาถูกลิทัวเนียยึดครอง เมื่อประกาศเอกราชได้ไม่นานก็ถูกสหภาพโซเวียตเข้ายึดครองอีก ประเทศเบลารุส ได้รับเอกราชจากอดีตสหภาพโซเวียตเมื่อปีพ.ศ. 2534 เป็นหนึ่งในสิบสองประเทศของเครือรัฐเอกราช (Commonwealth of Indepentdent State)
การเมืองการปกครอง[แก้]
การเมืองเบลารุสนั้นคล้ายคลึงกับรัสเซีย เพราะเคยเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียและได้รับอิทธิพลจากรัสเซียมาก่อน
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
ประเทศเบลารุสแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 จังหวัด (provinces - voblasts) ซึ่งตั้งชื่อจังหวัดตามเมืองที่เป็นศูนย์กลางการบริหารของจังหวัดนั้น ๆ จังหวัดต่าง ๆ จะแบ่งเขตย่อยลงไปเป็น เขต (districts - raions) ส่วนกรุงมินสค์ซึ่งอยู่ในพื้นที่จังหวัดมินสค์ มีสถานะพิเศษไม่ขึ้นกับจังหวัดใด ๆ การแบ่งเขตการปกครองออกเป็นจังหวัดนั้นมีมาตั้งแต่สมัยโซเวียต
(เมืองศูนย์กลางการบริหารอยู่ในวงเล็บ)
- มินสค์ เมืองหลวงของเบลารุส
- จังหวัดเบรสต์ (เบรสต์)
- จังหวัดกอเมล (กอเมล)
- จังหวัดกรอดนา (กรอดนา)
- จังหวัดมากีลอฟ (มากีลอฟ)
- จังหวัดมินสค์ (มินสค์)
- จังหวัดวีเซียบสค์ (วีเซียบสค์)
กองทัพ[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
กองกำลังกึ่งทหาร[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เศรษฐกิจ[แก้]
การพัฒนาทางเศรษฐกิจ[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สถานการณ์เศรษฐกิจ[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การท่องเที่ยว[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
โครงสร้างพื้นฐาน[แก้]
คมนาคม และ โทรคมนาคม[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สาธารณสุข[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การศึกษา[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ประชากร[แก้]
เชื้อชาติ[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ศาสนา[แก้]
แหล่งข้อมูลต่าง ๆ ของรัฐบาลเบลารุส กล่าวว่า ในประเทศมีประชากร 58.9% ที่นับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่ง (ตรวจสอบเมื่อเดือน พฤศจิกายน ปีค.ศ. 2011) ภายใน 58.9% นั้น โดยมากนับถือศาสนาคริสต์นิกายต่าง ๆ ซึ่งในทั่วทั้งประเทศ มีประชากร 82% ที่นับถือ คริสต์ศาสนาคริสตจักรออร์ทอดอกซ์[23]ส่วนผู้ที่นับถือนิกายโรมันคาทอลิก โดยมากอาศัยอยู่ในบริเวณทิศตะวันออกของประเทศ บางเขตแดนมีผู้คนนับถือคริสต์ศาสนาคริสตจักรโปรเตสแตนท์ (ซึ่งเป็นคริสตจักรที่กำเนิดขึ้นตั้งแต่ช่วงเวลาที่เขตแดนเบลารุสได้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสวีเดน) [24] ในประเทศ มีชนกลุ่มน้อยนับถือศาสนาต่าง ๆ อีกด้วย ได้แก่ คริสต์ศาสนาคริสตจักรกรีกคาทอลิก ศาสนายูดาห์ อิสลาม และ ลัทธินอกศาสนาใหม่ (Neopaganism) มีประชากรจำนวนมากที่ได้เปลี่ยนแปลงศาสนาของตนในช่วงเวลาที่ประเทศเบลารุสได้เป็นส่วนหนึ่งของประเทศรัสเซีย โดยประชากรโดยมากได้เปลี่ยนจากศาสนาคริสต์แบบกรีกคาทอลิกเป็นคาทอลิกแบบรัสเซีย
ภาษา[แก้]
เบลารุสมีภาษาราชการ 2 ภาษา คือ ภาษาเบลารุสและภาษารัสเซีย ซึ่งเป็นภาษาที่อยู่ในตระกูลภาษาเดียวกัน โดยทั้งสองจัดอยู่ในกลุ่มภาษาสลาวิก มีไวยากรณ์ ระบบเสียง และคำศัพท์ที่คล้ายคลึงกัน ประชากรโดยมากใช้ภาษารัสเซียเป็นหลักและใช้เป็นภาษาแรกโดยมีผู้พูดประมาณ 6,670,000 คน ส่วนภาษาเบลารุส มีผู้พูดประมาณ 2,220,000 คน (ตรวจสอบเมื่อ ค.ศ. 2009) [25]
กีฬา[แก้]
วัฒนธรรม[แก้]
แหล่งมรดกโลก[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สถาปัตยกรรม[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ดนตรี และ นาฏศิลป์[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อาหาร[แก้]
อาหารเบลารุสมักจะประกอบด้วย พืชผักต่าง ๆ เนื้อสัตว์ (โดยมากเป็นเนื้อหมู) และขนมปัง ประชาชนโดยมากมักรับประทานอาหารประเภทที่ใช้เวลาหุงต้มช้า ๆ หรือจะเป็นอาหารประเภทตุ๋นจนสุกนิ่ม ชาวเบลารุสส่วนใหญ่มักจะรับประทานอาหารมื้อเช้าแบบเบา ๆ แต่ว่าอีกสองมื้อจะเป็นอาหารชุดใหญ่ โดยอาหารค่ำจะเป็นมื้อที่ใหญ่ที่สุด ชาวเบลารุสมักรับประทานขนมปังที่ทำจากข้าวสาลีและข้าวไรย์ แต่ว่าข้าวไรย์เป็นวัตถุดิบที่ค้นหาได้ง่ายสะดวกกว่า เพราะว่าภูมิอากาศของประเทศทำให้การปลูกเพาะข้าวสาลียากกว่า เมื่อเวลามีแขกมาเยี่ยมเยียนบ้าน เจ้าของเจ้าบ้านมักจะนำขนมปังกับเกลือให้แก่แขกที่มาหา เพื่อแสดงบ่งบอกความเป็นมิตร[26]
สื่อสารมวลชน[แก้]
วันหยุด[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "Sviatlana Tsikhanouskaya calls for end to violence in Belarus as election fallout continues". Sky News. 14 August 2020. สืบค้นเมื่อ 14 August 2020.
- ↑ "Belarus opposition candidate declares victory | NHK WORLD-JAPAN News". www3.nhk.or.jp.
- ↑ "Exiled leader calls weekend of protests in Belarus". 14 August 2020 – โดยทาง www.bbc.co.uk.
- ↑ "Тихановская готовится объявить себя победительницей выборов в Беларуси – пресс-секретарь". gordonua.com.
- ↑ "Belarus". World Bank.
- ↑ "Contents". Belstat.gov.by. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 18 January 2013. สืบค้นเมื่อ 4 October 2012. Unknown parameter
|deadurl=
ignored (help) - ↑ Abdelal, Rawi (2001). National purpose in the world economy: post-Soviet states in comparative perspective. Cornell University Press. ISBN 978-0-8014-3879-0.
- ↑ Taylor & Francis Group (2004). Europa World Year, Book 1. Europa publications. ISBN 978-1-85743-254-1.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อuni3
- ↑ Axell, Albert (2002). Russia's Heroes, 1941–45. Carroll & Graf Publishers. p. 247. ISBN 0-7867-1011-X.
- ↑ "United Nations member States – Growth in United Nations membership, 1945–present". คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 12 July 2014. Unknown parameter
|deadurl=
ignored (help) - ↑ "The World Factbook". cia.gov. สืบค้นเมื่อ 4 March 2016.
- ↑ Rausing, Sigrid (7 October 2012). "Belarus: inside Europe's last dictatorship". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 7 August 2014.
- ↑ "Belarus's Lukashenko: "Better a dictator than gay"". Berlin. Reuters. 4 March 2012.
...German Foreign Minister's branding him 'Europe's last dictator'
- ↑ "Profile: Alexander Lukashenko". BBC News. BBC. 9 January 2007. สืบค้นเมื่อ 7 August 2014.
'..an authoritarian ruling style is characteristic of me [Lukashenko]'
- ↑ "Essential Background – Belarus". Human Rights Watch. 2005. สืบค้นเมื่อ 26 March 2006.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อamnesty
- ↑ "Office for Democratic Institutions and Human Rights – Elections – Belarus". สืบค้นเมื่อ 28 December 2010.
- ↑ "Belarus's election: What should the EU do about Belarus?". 27 December 2010. สืบค้นเมื่อ 28 December 2010.
- ↑ "Foreign Secretary expresses UK concern following Belarus elections". คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 13 May 2011. สืบค้นเมื่อ 28 December 2010. Unknown parameter
|deadurl=
ignored (help) - ↑ Press Freedom Index 2013/2014, Reporters Without Borders, January 2014, คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 14 February 2014, สืบค้นเมื่อ 6 March 2014 Unknown parameter
|deadurl=
ignored (help) - ↑ "The official Internet portal of the President of the Republic of Belarus. RusPDAVersion for Visually Impaired People".
- ↑ "Religion and denominations in the Republic of Belarus" (PDF). Ministry of Foreign Affairs of the Republic of Belarus. สืบค้นเมื่อ 17 February 2013.
- ↑ "Belarusian Religion statistics, definitions and sources". Nationmaster.com. สืบค้นเมื่อ 2013-04-29.
- ↑ Lewis, M. Paul, Gary F. Simons, and Charles D. Fennig (eds.). 2015. Ethnologue: Languages of the World, Eighteenth edition. Dallas, Texas: SIL International. [1]
- ↑ Canadian Citizenship and Immigration – Cultures Profile Project – Eating the Belarusian Way. Published in 1998. Retrieved 21 March 2007.
- ประเทศเบลารุส จากเว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศ
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
ค้นหาเกี่ยวกับ Belarus เพิ่มที่โครงการพี่น้องของวิกิพีเดีย | |
![]() |
บทนิยาม จากวิกิพจนานุกรม |
![]() |
สื่อ จากคอมมอนส์ |
![]() |
ทรัพยากรการเรียน จากวิกิวิทยาลัย |
![]() |
อัญพจน์ จากวิกิคำคม |
![]() |
ข้อความต้นฉบับ จากวิกิซอร์ซ |
![]() |
ตำรา จากวิกิตำรา |
- รัฐบาล
- E-Government in Belarus
- Embassy of Belarus in the United States
- Global Integrity Report: Belarus has information on Belarus anti-corruption efforts.
- Ministry of Foreign Affairs
- President's official site
- ข้อมูลทั่วไป
- Official Website of the Republic of Belarus
- Belarus entry at The World Factbook
- Belarus at UCB Libraries GovPubs
- ประเทศเบลารุส ที่เว็บไซต์ Curlie
- Belarus profile from the BBC News
- Belarus religious statistics
- The 1st Belarusian Art Gallery
- It is the documentary and art photo of life and a life of citizens of Belarus.
- Art bank of Belarus
- The World Bank in Belarus
- FAO Country Profiles: Belarus
- Key Development Forecasts for Belarus from International Futures
- แม่แบบ:Osmrelation-inline
- สื่อสารมวลชน
- News and Analysis of Belarusian Economics and Politics (English only)
- News – Belarusian politics
- Belarusian telegraph agency – news, events, facts
- Belarus News and Analysis
- เครือข่ายสังคม