ประเทศดอมินีกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เครือรัฐดอมินีกา

Commonwealth of Dominica (อังกฤษ)
คำขวัญ"Apres Bondie, C'est La Ter"[1] (ฝรั่งเศสครีโอลดอมินีกา)
"Post Deum terra est" (ละติน)
"After God is the earth"
ที่ตั้งของ ประเทศดอมินีกา  (วงกลมสีแดง) ในซีกโลกตะวันตก
ที่ตั้งของ ประเทศดอมินีกา  (วงกลมสีแดง)

ในซีกโลกตะวันตก

เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
โรโซ
15°18′N 61°23′W / 15.300°N 61.383°W / 15.300; -61.383
ภาษาราชการอังกฤษ
ภาษาพื้นถิ่นครีโอลดอมินีกา
Kokoy
กลุ่มชาติพันธุ์
(2557[2])
ศาสนา
(2563)
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบรัฐสภา
ซิลวานี เบอร์ตัน
รูสเวลต์ สเกอร์ริต
โจเซฟ ไอแซก
สภานิติบัญญัติสภาผู้แทนราษฎรดอมินีกา
เอกราช 
จากสหราชอาณาจักร
1 มีนาคม พ.ศ. 2510
• อธิปไตยและรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521
พื้นที่
• รวม
750 ตารางกิโลเมตร (290 ตารางไมล์) (174)
1.6
ประชากร
• พ.ศ. 2560 ประมาณ
73,543[4] (204)
• สำมะโนประชากร 2554
72,000[5]
105 ต่อตารางกิโลเมตร (271.9 ต่อตารางไมล์) (95)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2561 (ประมาณ)
• รวม
688 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[6]
9,726 ดอลลาร์สหรัฐ[6]
จีดีพี (ราคาตลาด) 2561 (ประมาณ)
• รวม
485 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[6]
7,860 ดอลลาร์สหรัฐ[6]
เอชดีไอ (2562)เพิ่มขึ้น 0.742[7]
สูง · 94
สกุลเงินดอลลาร์แคริบเบียนตะวันออก (XCD)
เขตเวลาUTC–4 (เวลามาตรฐานแอตแลนติก)
ขับรถด้านซ้ายมือ
รหัสโทรศัพท์+1-767
โดเมนบนสุด.dm

ดอมินีกา (อังกฤษ: Dominica, ออกเสียง: /ˌdɒmɪˈniːkə/) หรือชื่อทางการคือ เครือรัฐดอมินีกา (อังกฤษ: Commonwealth of Dominica) เป็นประเทศเกาะอันตั้งอยู่ในแคริบเบียน[8] ในภาษาละตินชื่อนี้หมายถึง "วันอาทิตย์" ซึ่งเป็นวันที่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ค้นพบประเทศเกาะแห่งนี้ โดยมีกรุงโรโซ เป็นเมืองหลวงของประเทศ

นิรุกติศาสตร์[แก้]

ชาวคาลินาโกเรียกเกาะนี้ว่า Wai'tu kubuli ซึ่งแปลว่า "ร่างกายของเธอสูงใหญ่"[9]

คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ล่องเรือกลับไปยังสเปนแล้วตั้งชื่อเกาะนี้ว่าดอมินีกา ตามคำภาษาละตินที่แปลว่า "วันอาทิตย์" ซึ่งเป็นวันที่ชาวสเปนเห็นเกาะนี้ครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2036[10]

ชื่อดอมินีกาออกเสียงโดยเน้นที่พยางค์ที่สาม[11][12] ตามการออกเสียงชื่อภาษาสเปน[13]

ด้วยชื่อที่คล้ายกันกับสาธารณรัฐโดมินิกันทำให้บางคนในดอมินีกาสนับสนุนให้เปลี่ยนชื่อประเทศ เพื่อสร้างเอกลักษณ์ของตนเอง[14]

ประวัติศาสตร์[แก้]

ประวัติศาสตร์ดอมินีกามีการบันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษรฉบับแรกเริ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2036 เมื่อ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ค้นพบเกาะแห่งนี้ ก่อนการติดต่อกับชาวยุโรป ดอมินีกาเคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวอาราวักซึ่งเป็นกลุ่มชนพื้นเมืองมาก่อน ดอมินีกาตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสตั้งแต่ปี 2258 จนกระทั่งสิ้นสุดสงครามเจ็ดปี ในปี 2306 โดยกลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษแทนตั้งแต่ปี 2306 ถึง 2321 และได้รับเอกราชในปี 2321

การเมืองการปกครอง[แก้]

ดอมินีกาปกครองในระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในเครือจักรภพแห่งประชาชาติ[8] ดอมินีกาเป็นหนึ่งในสาธารณรัฐไม่กี่แห่งในทะเลแคริบเบียน ที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ ในขณะที่อำนาจบริหารขึ้นอยู่กับคณะรัฐมนตรี นำโดยนายกรัฐมนตรี[8] รัฐสภาซึ่งมีสภาเดียว มีจำนวนสมาชิกสภา 30 คน ประกอบไปด้วยสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งโดยตรง 21 คน และวุฒิสมาชิก 9 คน ซึ่งอาจได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีหรือเลือกโดยสมาชิกสภาคนอื่น ๆ [8]

ต่างจากอดีตอาณานิคมของอังกฤษอื่น ๆ ในภูมิภาค ดอมินีกาไม่เคยเป็นราชอาณาจักรเครือจักรภพ แต่กลายเป็นสาธารณรัฐที่ได้รับเอกราชแทน ดอมินีกายังเป็นสมาชิกเต็มรูปแบบของชุมชนแคริบเบียน (CARICOM) และองค์กรของรัฐแคริบเบียนตะวันออก (OECS)[10]

ดอมินีกายังเป็นสมาชิกของศาลอาญาระหว่างประเทศ โดยมีข้อตกลงคุ้มครองป้องกันทวิภาคีกับกองทัพสหรัฐฯ ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 98 และในเดือนมกราคม พ.ศ. 2551 ดอมินีกาได้เข้าร่วม Bolivarian Alternative for the Americas[10]

สิทธิมนุษยชน[แก้]

กิจกรรมทางเพศของเพศเดียวกันทั้งชายและหญิงเป็นสิ่งผิดกฎหมายในดอมินีกา[15][16]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

ประเทศดอมินีกาแบ่งเขตการปกครองระดับแรกออกเป็น 10 เขต ได้แก่ เขตเซนต์แอนดรูว์ เซนต์เดวิด เซนต์จอร์จ เซนต์จอห์น เซนต์โจเซฟ เซนต์ลู้ก เซนต์มาร์ก เซนต์แพทริก เซนต์พอล และเขตเซนต์ปีเตอร์

อ้างอิง[แก้]

  1. "Coat of Arms – Government of the State of Dominica". www.dominica.gov.dm.
  2. "DOMINICA NATIONAL CENSUS REPORT 2000 ROUND OF POPULATION AND HOUSING CENSUS SUB-PROJECT" (PDF). Caricomstats.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 5 February 2018. สืบค้นเมื่อ 29 August 2017.
  3. "Religions in Dominica | PEW-GRF".
  4. "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
  5. "2011 POPULATION AND HOUSING CENSUS" (PDF). Dominica.gov.dm. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 June 2019. สืบค้นเมื่อ 29 August 2017.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 "Dominica". International Monetary Fund.
  7. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 "Dominica's Constitution of 1978 with Amendments through 1984". Constitute. สืบค้นเมื่อ 2016-07-20.
  9. "Discover Dominica: an introduction to our Caribbean island". Dominica.dm. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2010. สืบค้นเมื่อ 2010-06-27.
  10. 10.0 10.1 10.2 "Encyclopedia Britannica - Dominica". สืบค้นเมื่อ 29 June 2019.
  11. Monkey (12 November 2014). "One woman's fight to get David Dimbleby to correctly pronounce Dominica". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2020-08-31.
  12. "Learn about Dominica". A Virtual Dominica. n.d. สืบค้นเมื่อ 2020-08-31.
  13. Whitley, David (29 January 2016). "The 22 places you're probably pronouncing incorrectly". Stuff. สืบค้นเมื่อ 2020-08-31.
  14. Dian Rolle (May 4, 2021). "COMMENTARY: It's time for a new identity". Dominica News Online. สืบค้นเมื่อ May 29, 2023.
  15. Avery, Daniel (4 April 2019). "71 Countries Where Homosexuality is Illegal". Newsweek.
  16. "State-Sponsored Homophobia". International Lesbian Gay Bisexual Trans and Intersex Association. 20 March 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

อ้างอิง

รัฐบาล

ภูมิศาสตร์

พิกัดภูมิศาสตร์: 15°25′N 61°20′W / 15.417°N 61.333°W / 15.417; -61.333