ประเทศซิมบับเว
สาธารณรัฐซิมบับเว | |
---|---|
ที่ตั้งของ ประเทศซิมบับเว (เขียวเข้ม) | |
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | ฮาราเร 17°49′45″S 31°03′08″E / 17.82917°S 31.05222°E |
ภาษาราชการ | 16 ภาษา:[3] |
กลุ่มชาติพันธุ์ (สำมะโนประชากร 2022)[4] | |
ศาสนา (2017)[5] |
|
เดมะนิม | ชาวซิมบับเว ชาวซิมโบ[6] (ภาษาพูด) |
การปกครอง | รัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบประธานาธิบดี |
เอ็มเมอร์สัน อึมนังกากวา | |
คอนสแตนติโน ชีเวงกา | |
เกมโบ โมฮาดี | |
สภานิติบัญญัติ | รัฐสภา |
• สภาสูง | วุฒิสภา |
• สภาล่าง | สภาผู้แทนราษฎร |
เอกราชจากสหราชอาณาจักร | |
11 พฤศจิกายน 1965 | |
2 มีนาคม 1970 | |
1 มิถุนายน 1979 | |
18 เมษายน 1980 | |
15 พฤษภาคม 2013 | |
พื้นที่ | |
• รวม | 390,757 ตารางกิโลเมตร (150,872 ตารางไมล์) (อันดับที่ 60) |
1 | |
ประชากร | |
• มกราคม 2024 ประมาณ | 16,868,409[7] (อันดับที่ 73) |
• สำมะโนประชากร 2022 | 15,178,957[8] |
39 ต่อตารางกิโลเมตร (101.0 ต่อตารางไมล์) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2023 (ประมาณ) |
• รวม | $44.448 พันล้าน[9] (อันดับที่ 131) |
• ต่อหัว | $2,749[9] (อันดับที่ 175) |
จีดีพี (ราคาตลาด) | 2023 (ประมาณ) |
• รวม | $32.424 พันล้าน[9] (อันดับที่ 153) |
• ต่อหัว | $2,005[9] (อันดับที่ 149) |
จีนี (2019) | 50.3[10] สูง |
เอชดีไอ (2022) | 0.550[11] ปานกลาง · อันดับที่ 159 |
สกุลเงิน | ZiG[12] ดอลลาร์สหรัฐ ($) (USD)[13] แรนด์แอฟริกาใต้;[13] สกุลอื่น ๆ[c] |
เขตเวลา | UTC+2 (CAT[14]) |
รูปแบบวันที่ | วว/ดด/ปปปป |
ขับรถด้าน | ซ้ายมือ |
รหัสโทรศัพท์ | +263 |
โดเมนบนสุด | .zw |
ซิมบับเว (อังกฤษ: Zimbabwe)[d] มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐซิมบับเว (อังกฤษ: Republic of Zimbabwe) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในแอฟริกาตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำแซมบีซีและแม่น้ำลิมโปโป มีพรมแดนติดกับประเทศแอฟริกาใต้ทางทิศใต้ ติดกับประเทศบอตสวานาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ติดกับประเทศแซมเบียทางทิศเหนือ และติดกับประเทศโมซัมบิกทางทิศตะวันออก เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของประเทศ คือ กรุงฮาราเร และเมืองใหญ่อันดับสอง คือ บูลาวาโย
ประเทศมีประชากรราว 16.6 ล้านคน ตามการสํารวจสํามะโนประชากร ค.ศ. 2024[15] โดยมีชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่สุด คือ ชาวโชนา คิดเป็นร้อยละ 80 ของประชากรทั้งหมด ตามมาด้วยชาวนอร์เทิร์นอึงเดเบเลและกลุ่มชาติพันธุ์ขนาดเล็กอื่น ๆ ซิมบับเวมีภาษาราชการทั้งหมด 16 ภาษา[3] โดยภาษาอังกฤษ ภาษาโชนา และภาษานอร์เทิร์นอึงเดเบเลเป็นภาษาทั่วไปที่ประชากรส่วนใหญ่ใช้กันมากที่สุด ซิมบับเวเป็นสมาชิกสหประชาชาติ สมาคมพัฒนาแอฟริกาใต้ สหภาพแอฟริกา และตลาดทั่วไปสําหรับแอฟริกาตะวันออกและใต้
ประวัติศาสตร์ซิมบับเวเริ่มต้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 9 ในช่วงปลายยุคเหล็ก เมื่อชาวบันตู (ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวโชนา) ได้สร้างนครรัฐเกรตซิมบับเว ซึ่งเป็นนครรัฐที่ต่อมาจะกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการค้าที่สำคัญของแอฟริกาในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แต่ถูกทิ้งร้างไปในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15[16] จากนั้นมีการสถาปนาอาณาจักรซิมบับเว ตามมาด้วยจักรวรรดิรอซวีและอาณาจักรมูตาปา ต่อมาบริษัทแอฟริกาใต้ของบริเตนของเซซิล โรดส์ ได้กำหนดเขตแดนของภูมิภาคโรดีเชียใน ค.ศ. 1890 เมื่อกองกำลังของบริษัทเข้าพิชิตมาโชนาแลนด์ และต่อมาได้ยึดครองมาตาเบเลเลนด์ใน ค.ศ. 1893 หลังจากสงครามมาตาเบเลครั้งที่หนึ่ง การปกครองของบริษัทสิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1923 เมื่อมีการก่อตั้งอาณานิคมปกครองตนเองเซาเทิร์นโรดีเชีย จากนั้นใน ค.ศ. 1965 รัฐบาลชนกลุ่มน้อยผิวขาวได้ประกาศเอกราชฝ่ายเดียวเป็นประเทศโรดีเชีย รัฐต้องเผชิญกับการถูกโดดเดี่ยวจากนานาประเทศ กอปรกับสงครามกองโจรของกองกำลังชาตินิยมชนผิวดำที่กินเวลาตลอด 15 ปี ซึ่งเหตุการณ์นี้จบลงด้วยความตกลงสันติภาพที่สร้างรัฐอธิปไตยโดยนิตินัยในชื่อ "ซิมบับเว" ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1980
รอเบิร์ต มูกาบี ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีซิมบับเวใน ค.ศ. 1980 หลังพรรคสหภาพแห่งชาติแอฟริกาแห่งซิมบับเว (แนวร่วมรักชาติ) ชนะการเลือกตั้งทั่วไป ส่งผลให้การปกครองโดยชนกลุ่มน้อยผิวขาวเป็นอันยุติและพรรคแนวร่วมรักชาติก็คงเป็นพรรคที่ปกครองประเทศตั้งแต่บัดนั้น เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีซิมบับเวตั้งแต่ ค.ศ. 1987 หลังจากที่เปลี่ยนระบบรัฐสภาของประเทศให้กลายเป็นระบบประธานาธิบดี จนกระทั่งเขาลาออกใน ค.ศ. 2017 ภายใต้ระบอบอำนาจนิยมของมูกาบี อำนาจความมั่นคงของรัฐมีอิทธิพลเหนือประเทศ และมีส่วนรับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวาง[17] ตั้งแต่ ค.ศ. 1997 ถึง ค.ศ. 2008 เศรษฐกิจของประเทศประสบกับการถดถอยอย่างต่อเนื่อง (และในช่วงหลังเกิดภาวะเงินเฟ้อรุนแรง) แม้ว่าในเวลาต่อมาเศรษฐกิจจะเติบโตอย่างรวดเร็วหลังจากที่อนุญาตให้ใช้สกุลเงินอื่นนอกเหนือจากดอลลาร์ซิมบับเว ในปี 2017 ท่ามกลางการประท้วงต่อต้านรัฐบาลที่ยาวนานกว่า 1 ปี และเศรษฐกิจที่ตกต่ำอย่างรวดเร็ว การรัฐประหารได้นำไปสู่การลาออกของมูกาบี ตั้งแต่นั้นมา เอ็มเมอร์สัน อึมนังกากวา ได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีซิมบับเว
ชื่อประเทศ
[แก้]ชื่อซิมบับเวมาจากคำว่า "Dzimba dza mabwe" ซึ่งแปลว่าบ้านหินใหญ่ในภาษาโชนา[18] ชื่อนี้ถูกนำมาจากเกรตซิมบับเวซึ่งเป็นอดีตเมืองหลวงของอาณาจักรเกรตซิมบับเว
ภูมิศาสตร์
[แก้]ซิมบับเวเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ถูกล้อมรอบด้วยประเทศแอฟริกาใต้ทางใต้โดยมีแม่น้ำลิมโปโปกั้นอยู่ บอตสวานาทางตะวันตก แซมเบียทางตะวันตกเฉียงเหนือ และโมซัมบิคทางตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือ ซิมบับเวยังมีจุดที่ติดต่อกับประเทศนามิเบียทางตะวันตกอีกด้วย จุดที่สูงที่สุดของประเทศคือภูเขาเนียนกานี ซึ่งสูง 2,592 เมตร[19]
ประวัติศาสตร์
[แก้]ยุคก่อนประวัติศาสตร์
[แก้]มีหลักฐานว่ามีผู้คนอาศัยอยู่ในของซิมบับเวตั้งแต่ห้าแสนปีก่อน ช่วงสองร้อยปีหลังคริสตกาล ชาวกอยเซียนได้เข้ามาตั้งรกรากที่พื้นที่แถบนี้ นอกจากนั้นมีชาวบันตู ชาวโชนา ชาวงูนี และชาวซูลู
อาณานิคมสหราชอาณาจักร
[แก้]นักสำรวจชาวอังกฤษได้เข้ามาในซิมบับเวช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และเริ่มการล่าอาณานิคมขึ้น ดินแดนแซมเบเซียต่อมาได้เป็นที่รู้จักกันในนามโรดีเซียในพ.ศ. 2435 หลังจากนั้นได้แบ่งเป็นโรดีเซียเหนือและในที่สุดได้กลายมาเป็นแซมเบีย ใน พ.ศ. 2441 ตอนใต้ของพื้นที่ แซมเบเซีย ถูกเรียกว่าโรดีเซียใต้ ต่อมาได้กลายมาเป็นซิมบับเวในอีกหลายปีหลังจากนั้น
หลังการประกาศเอกราช
[แก้]หลังจากผ่านการขัดแย้งกันทางสีผิว รวมไปถึงบทบาทจากสหประชาชาติ และการต่อสู้ของกองโจรในช่วง พ.ศ. 2503 ในที่สุดซิมบับเวได้รับอิสรภาพในพ.ศ. 2523 ในปีเดียวกันนั้น รอเบิร์ต มูกาบี ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศ และเป็นประธานาธิบดีใน พ.ศ. 2530 จนกระทั่งถูกกดดันให้ลาออกใน พ.ศ. 2560
การเมืองการปกครอง
[แก้]ซิมบับเวเป็นสาธารณรัฐที่มีระบบประธานาธิบดี ระบบกึ่งประธานาธิบดีถูกยกเลิกพร้อมกับการนำรัฐธรรมนูญใหม่มาใช้หลังจากการลงประชามติในปี พ.ศ. 2556 ภายใต้การเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญในปี พ.ศ. 2548 สภาสูงซึ่งก็คือวุฒิสภาก็ได้รับการฟื้นฟู[20] สภาผู้แทนราษฎรเป็นสภาล่าง
ในปี พ.ศ. 2530 มูกาเบได้แก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยยกเลิกตำแหน่งประธานาธิบดีในพิธีการและตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อจัดตั้งประธานาธิบดีที่เป็นผู้บริหาร ซึ่งเป็นระบบประธานาธิบดี พรรค ZANU-PF ของเขาชนะการเลือกตั้งทุกครั้งนับตั้งแต่ได้รับเอกราช - ในการเลือกตั้งปี 1990 พรรคที่ได้อันดับสองคือ Zimbabwe Unity Movement (ZUM) ของ Edgar Tekere ได้รับคะแนนเสียง 20%[21][22]
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]ซิมบับเวมีรัฐบาลแบบรวมศูนย์และแบ่งออกเป็นแปดจังหวัดและสองเมืองที่มีสถานะเป็นจังหวัดเพื่อวัตถุประสงค์ในการบริหาร แต่ละจังหวัดมีเมืองหลวงของจังหวัดซึ่งโดยปกติจะบริหารงานของรัฐ[2]
กองทัพ
[แก้]กองกำลังป้องกันซิมบับเวได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยการรวมกองกำลังกบฏสามกองกำลังเข้าด้วยกัน ได้แก่ กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติซิมบับเวแห่งแอฟริกา (ZANLA) กองทัพปฏิวัติประชาชนซิมบับเว (ZIPRA) และกองกำลังความมั่นคงโรดีเซียน (RSF) - ภายหลังได้รับเอกราชซิมบับเวในปี พ.ศ. 2523 ช่วงเวลาบูรณาการมีการจัดตั้งกองทัพแห่งชาติซิมบับเว (ZNA) และกองทัพอากาศซิมบับเว (AFZ) เป็นหน่วยงานที่แยกจากกันภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลโซโลมอน มูจูรูและพลอากาศเอกนอร์มัน วอลช์ ซึ่งเกษียณอายุในปี พ.ศ. 2525 และถูกแทนที่โดยพลอากาศเอกอาซิม เดาโปตา ซึ่งส่งต่อคำสั่งให้กับพลอากาศเอก Josiah Tungamirai ในปี 1985 ในปี 2003 นายพล Constantine Chiwenga ได้รับการเลื่อนตำแหน่งและแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการกองกำลังป้องกันประเทศซิมบับเว พลโท พี.วี. ซีบันดา ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกแทน[23]
ZNA มีกำลังประจำการอยู่ที่ 30,000 นาย กองทัพอากาศมีกำลังพลประจำการประมาณ 5,139 นายตำรวจสาธารณรัฐซิมบับเว (รวมถึงหน่วยสนับสนุนตำรวจ ตำรวจกึ่งทหาร) เป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังป้องกันซิมบับเว[24]
เศรษฐกิจ
[แก้]โครงสร้างเศรษฐกิจ
[แก้]การส่งออกแร่ธาตุ การเกษตร และการท่องเที่ยว เป็นธุรกิจที่นำเงินตราต่างประเทศเข้าสู่ซิมบับเว[25] การทำเหมืองแร่ยังคงเป็นธุรกิจที่ให้กำไรมาก ซิมบับเวมีแหล่งทรัพยากรแพลทินัมที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก[26] ซิมบับเวเป็นประเทศคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดในทวีปของแอฟริกาใต้[27]
ซิมบับเวมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีตลอดคริสต์ทศวรรษ 1980 (อัตราการเติบโตของจีดีพีร้อยละ 5.0 ต่อปี) และ 1990 (ร้อยละ 4.3 ต่อปี) อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจเริ่มถดถอยลงตั้งแต่ปี 2000 โดยลดลงร้อยละ 5 ในปี 2000, ร้อยละ 8 ในปี 2001, ร้อยละ 12 ในปี 2002, และร้อยละ 18 ในปี 2003[28] รัฐบาลซิมบับเวประสบปัญหาทางเศรษฐกิจหลายอย่างหลังจากล้มเลิกความตั้งใจที่จะพัฒนาเศรษฐกิจแบบตลาด เช่นปัญหาการขาดแคลนเงินตราต่างประเทศ อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นสูงมาก และการขาดแคลนอุปทานของสินค้าต่าง ๆ การที่ซิมบับเวมีส่วนร่วมกับสงครามในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ระหว่างปี 1998 ถึง 2002 ทำให้ต้องสูญเสียหลายร้อยล้านดอลลาร์ออกจากระบบเศรษฐกิจ[29]
เศรษฐกิจที่ดิ่งลงเหวนี้มีสาเหตุหลักมาจากการบริหารที่ล้มเหลวและการคอร์รัปชันของรัฐบาลมูกาเบ และการขับไล่ชาวไร่ผิวขาวกว่า 4,000 คนในระหว่างการจัดสรรที่ดินที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งในปี 2000[30][31][32] ซึ่งทำให้ซิมบับเวซึ่งเคยเป็นผู้ส่งออกข้าวโพดกลับกลายเป็นผู้นำเข้าแทน[26] ปริมาณการส่งออกยาสูบก็ลดลงอย่างมาก จากรายงานในเดือนมิถุนายน 2007 ของหน่วยปฏิบัติการเพื่อการอนุรักษ์ซิมบับเว ประมาณว่าซิมบับเวสูญเสียสัตว์ป่าไปถึงร้อยละ 60 ตั้งแต่ปี 2000 ในรายงานยังได้กล่าวเตือนอีกว่าการสูญเสียพันธุ์สัตว์ป่าและการทำลายป่าไม้อย่างกว้างขวางนั้นเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อธุรกิจท่องเที่ยว[33]
ปลายปี 2006 ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจที่เลวร้าย รัฐบาลเริ่มประกาศอนุญาตให้ชาวไร่ผิวขาวกลับมาสู่ที่ดินของตนอีกครั้ง[34] มีชาวไร่ผิวขาวเหลืออยู่ในประเทศประมาณ 400-600 คน แต่ที่ดินที่ถูกยึดคืนส่วนใหญ่นั้นกลายเป็นที่ดินเสื่อมสภาพและไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้อีกต่อไป[34][35] ในเดือนมกราคม 2007 รัฐบาลยอมให้ชาวไร่ผิวขาวเซ็นสัญญาเช่าที่ดินระยะยาว[36] แต่แล้วในปีเดียวกันรัฐบาลก็กลับขับไล่ชาวไร่ผิวขาวออกจากประเทศอีกครั้ง[37][38]
อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 32 ต่อปีในปี 1998[39] จนถึงร้อยละ 231,000,000 ตามสถิติของทางการในเดือนกรกฎาคม 2008[39] ซึ่งแสดงให้เห็นถึงภาวะเงินเฟ้อรุนแรง และทำให้ธนาคารต้องออกธนบัตรใบละ 1 แสนล้านดอลลาร์มาใช้[40] [41] ในเดือนพฤศจิกายน 2008 ตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการรายงานว่าอัตราเงินเฟ้อของซิมบับเวพุ่งขึ้นสูงถึงร้อยละ 516 ล้านล้านล้านต่อปี และราคาจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าทุก ๆ 1.3 วัน[42] และนับเป็นภาวะเงินเฟ้อรุนแรงที่เลวร้ายเป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์โลก รองจากวิกฤติเงินเฟ้อในฮังการีในปี 1946 ซึ่งราคาจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าทุก ๆ 15.6 ชั่วโมง[42]
ประชากรศาสตร์
[แก้]ในปี 2008 ซิมบับเวมีประชากรประมาณ 11.4 ล้านคน[43] จากรายงานขององค์การอนามัยโลก อายุคาดหมายเฉลี่ยสำหรับผู้ชายชาวซิมบับเวคือ 37 ปี และสำหรับผู้หญิงคือ 34 ปี ซึ่งเป็นสถิติต่ำสุดของปี 2004[44] อัตราการติดเชื้อเอดส์ ในประชากรระหว่างอายุ 15-49 ปี ถูกประมาณไว้ที่ร้อยละ 20.1 ในปี 2006[45]
เชื้อชาติ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ประชากรประมาณร้อยละ 98 เป็นชาวพื้นเมืองผิวดำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวโชนา (ประมาณร้อยละ 80-84) รองลงมาคือชาวเดเบเล (ประมาณร้อยละ 10-15)[46][47] ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากซูลูที่อพยพมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 นอกจากนี้ยังมีคนผิวขาวซึ่งส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากชาวอังกฤษ
ภาษา
[แก้]ภาษาทางการคือภาษาอังกฤษ[43] แต่ภาษาที่ใช้มากได้แก่ภาษาโชนา และภาษาเดเบเล[48]
วัฒนธรรม
[แก้]ภาษาที่ใช้ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ และมีภาษาพื้นเมืองอื่น ๆ คือ Shona Sindebele ศาสนา ลัทธิผสม (ระหว่างศาสนาคริสต์และความเชื่อดั้งเดิม) 50% ศาสนาคริสต์ 25% ความเชื่อดั้งเดิม 24% ศาสนาอิสลามและอื่น ๆ 1%
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ Mainly โชนา and อึงเดเบเล
- ↑ รวมถึงคนเชื้อสายเอเชีย
- ↑ หลังจากมีการระงับสกุลเงินดอลลาร์ซิมบับเวไปอย่างไม่มีกำหนดตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 2009 สกุลเงินยูโร ดอลลาร์สหรัฐ ปอนด์สเตอร์ลิง แรนด์แอฟริกาใต้ ปูลาบอตสวานา, ดอลลาร์ออสเตรเลีย หยวนจีน รูปีอินเดีย และเยน จึงกลายเป็นเงินที่ถูกกฎหมาย
- ↑ /zɪmˈbɑːbweɪ, -wi/ ( ฟังเสียง); เสียงอ่านภาษาโชนา: [zi.ᵐba.ɓwe]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Zimbabwe". The Beaver County Times. 13 September 1981. สืบค้นเมื่อ 2 November 2011.
- ↑ 2.0 2.1 "The World Factbook – Zimbabwe". Central Intelligence Agency. 2 December 2021.
- ↑ 3.0 3.1 "Constitution of Zimbabwe (final draft)" (PDF). Government of Zimbabwe. January 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2 October 2013 – โดยทาง Kubatana.net.
- ↑ "Zimbabwe 2022 Population and Housing Census Report, vol. 1" (PDF). ZimStat. Zimbabwe National Statistics Agency. p. 122. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 1 October 2024.
- ↑ "Inter Censal Demography Survey 2017 Report" (PDF). Zimbabwe National Statistics Agency. 2017.
- ↑ "Developments in English". International Association of University Professors of English Conference. Cambridge University Press. 31 October 2014. ISBN 9781107038509 – โดยทาง Google Books.
- ↑ "Zimbabwe Population Live". สืบค้นเมื่อ 23 October 2023.
- ↑ "2022 Population and Housing Census - Preliminary Report - Zimbabwe Data Portal". zimbabwe.opendataforafrica.org. สืบค้นเมื่อ 2023-08-09.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 "World Economic Outlook Database, October 2023 Edition. (Zimbabwe)". IMF.org. International Monetary Fund. 10 October 2023. สืบค้นเมื่อ 15 October 2023.
- ↑ "GINI Index". World Bank. สืบค้นเมื่อ 16 June 2021.
- ↑ "Human Development Report 2023/24" (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. 13 March 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 March 2024. สืบค้นเมื่อ 22 March 2023.
- ↑ "Zimbabwe introduces new currency as depreciation and rising inflation stoke economic turmoil". Associated Press News. 5 April 2024.
- ↑ 13.0 13.1 "Zimbabwe adopts new inflation rate based on U.S. dollar, local currency". Reuters. Harare. 3 March 2023. สืบค้นเมื่อ 25 March 2023.
- ↑ "Zimbabwe Time". Greenwich Mean Time. Greenwich 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2017.
- ↑ "Zimbabwe Population (2024) - Worldometer".
- ↑ "Who built Great Zimbabwe? And why? - Breeanna Elliott". TED-Ed (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-03-13.
- ↑ "Zimbabwe 2015 Human Rights Report". United States Department of State Bureau of Democracy, Human Rights, and Labor. 2015. สืบค้นเมื่อ 6 May 2016.
- ↑ "Zimbabwe - big house of stone". Somali Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-03. สืบค้นเมื่อ 2008-12-14.
- ↑ "Zimbabwe Parks and Wildlife Management Authority". สืบค้นเมื่อ 2007-11-13.
- ↑ "Constitution of Zimbabwe Amendment (No. 17) Act, 2005". kubatana.net. NGO Network Alliance Project. 16 September 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 September 2007.
- ↑ "Tekere says Mugabe 'insecure' in new book". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2007. สืบค้นเมื่อ 6 January 2008.
- ↑ Mugabe, Robert. (2007). Encyclopædia Britannica 2007 Ultimate Reference Suite, Chicago: Encyclopædia Britannica.
- ↑ "Zimbabwe Ministry of Defence". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 November 2007. สืบค้นเมื่อ 17 November 2007.
- ↑ Chari, Freeman Forward (24 December 2007). "MILITARISATION OF ZIMBABWE: Does the opposition stand a chance?". zimbabwejournalists.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2008.
- ↑ "Country Profile – Zimbabwe". Foreign Affairs and International Trade Canada. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-26. สืบค้นเมื่อ 2007-12-02.
ประเทศมีทรัพยากรธรรมชาติมากมายเช่นแร่ธาตุ ที่ดิน และสัตว์ป่า ยังมีโอกาสมากมายที่ซ่อนอยู่ในธุรกิจที่มีทรัพยากรเป็นพื้นฐาน เช่นการทำเหมืองแร่ การเกษตร และการท่องเที่ยว และธุรกิจที่ต่อเนื่องจากธุรกิจเหล่านี้
- ↑ 26.0 26.1 "No quick fix for Zimbabwe's economy". BBC. 2008-04-14. สืบค้นเมื่อ 2009-03-01.
- ↑ "Zimbabwe-South Africa economic relations since 2000". Africa News. 2007-10-31. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-01. สืบค้นเมื่อ 2007-12-03.
- ↑ Richardson, C.J. 2005. The loss of property rights and the collapse of Zimbabwe. Cato Journal, 25, 541-565. [1] เก็บถาวร 2011-01-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Organised Violence and Torture in Zimbabwe in 1999 เก็บถาวร 2010-06-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 1999. Zimbabwe Human Rights NGO Forum.
- ↑ Robinson, Simon. "A Tale of Two Countries" เก็บถาวร 2019-10-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน — Time Magazine — Monday, February 18, 2002
- ↑ "Zimbabwe forbids white farmers to harvest" — USA Today — 06/24/2002
- ↑ "White farmers under siege in Zimbabwe" — BBC — Thursday, 15 August, 2002
- ↑ Nick Wadhams (2007-08-01). "Zimbabwe's Wildlife Decimated by Economic Crisis". Nairobi: National Geographic News. สืบค้นเมื่อ 2007-08-05.
- ↑ 34.0 34.1 "Desperate Mugabe allows white farmers to come back". The Independent. 2006-12-17. สืบค้นเมื่อ 2009-03-08.
- ↑ Meldrum, Andrew (2005-05-21). "As country heads for disaster, Zimbabwe calls for return of white farmers". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2009-03-08.
- ↑ Timberg, Craig (2007-01-06). "White Farmers Given Leases In Zimbabwe". Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2009-03-08.
- ↑ "Zimbabwe threatens white farmers". Washington Post. 2007-02-05.
- ↑ Chinaka, Cris (2007-08-08). "Zimbabwe threatens white farmers on evictions". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2009-03-08.
- ↑ 39.0 39.1 "Zimbabwe inflation hits 11,200,000". CNN.com. 2008-08-19. สืบค้นเมื่อ 2008-08-19.
- ↑ "Zimbabwe introduces $100 billion banknotes". CNN.com. 2008-07-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-09. สืบค้นเมื่อ 2009-03-08.
- ↑ "A worthless currency". The Economist. 2008-07-17. สืบค้นเมื่อ 2008-09-05.
- ↑ 42.0 42.1 "Hyperinflation in Zimbabwe". Telegraph.co.uk. 2008-11-13.
- ↑ 43.0 43.1 "Zimbabwe". The World Factbook. Central Intelligence Agency. 2008-05-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-16. สืบค้นเมื่อ 2008-05-26.
- ↑ The World Health Organization. "Annex Table 1—Basic indicators for all Member States". The World Health Report 2006 (PDF). สืบค้นเมื่อ 2009-03-10.
- ↑ "Zimbabwe". UNAIDS. สืบค้นเมื่อ 2007-12-03.
- ↑ "The People of Zimbabwe". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-12. สืบค้นเมื่อ 2007-11-13.
- ↑ "Ethnicity/Race of Zimbabwe". สืบค้นเมื่อ 2008-01-06.
- ↑ "Languages of Zimbabwe". สืบค้นเมื่อ 2009-03-18.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ข้อมูลทั่วไป
- Zimbabwe entry at The World Factbook
- Humanitarian information coverage on ReliefWeb
- Zimbabwe เก็บถาวร 2008-10-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน from UCB Libraries GovPubs
- Global Integrity Report: Zimbabwe[ลิงก์เสีย]—anti-corruption policy scorecard
- Key Development Forecasts for Zimbabwe from International Futures
- Voice of Witness – Narratives of Zimbabweans whose lives have been affected by the country's
- รัฐบาล
- รัฐสภาซิมบับเว เก็บถาวร 2016-03-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- รัฐบาลซิมบับเว
- Chief of State and Cabinet Members เก็บถาวร 2013-03-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ท่องเที่ยว
- การศึกษา