ลัทธิอาณานิคมในทวีปแอฟริกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาณานิคมที่ประเทศจากยุโรปครอบครองในปี 1913

อาณานิคมในแอฟริกา (อังกฤษ: Scramble for Africa) หรือ การอาณานิคมในแอฟริกา เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1885 จากประเทศเยอรมนีโดยการนำของ อ็อทโท ฟ็อน บิสมาร์ค ได้จัดให้มีการประชุมในกรุงเบอร์ลินว่าด้วยข้อตกลงเกี่ยวกับการเข้าครอบครองดินแดนในทวีปแอฟริกา[1]

จักรวรรดินิยมในทวีปแอฟริกา[แก้]

ทวีปแอฟริกาเป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ มีทรัพยากรจำนวนมหาศาล อันเป็นที่ต้องการของชาวยุโรป นอกจากนี้ยังเป็นเส้นทางการค้าที่สำคัญเชื่อมต่อกับโลกใหม่และทวีปเอเชีย จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีเพียงไม่กี่อาณาจักรในแอฟริกาที่มีระบบการปกครองที่มั่นคง อาณาจักรเหล่านี้ได้แก่ กานา มาลี แต่ก็มีความเจริญเทียบได้กับยุโรปในยุคกลางเท่านั้น เมื่อพวกอาหรับรุกรานมาจากทางตอนเหนือ อาณาจักรเหล่านี้ก็ถูกทำลายไปสิ้น ในเวลานั้นชาวยุโรปยังไม่เคยเข้าไปสำรวจถึงใจกลางทวีป จนกระทั่งในช่วง 30 ปีสุดท้ายของคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อมีความพยายามจะเผยแผ่ศาสนาไปในหมู่ชาวแอฟริกา โดยพวกมิชชันนารี ทำให้มีการสำรวจดินแดนใจกลางทวีปขึ้น พร้อมกันนั้นก็มีนักวิทยาศาสตร์และนักสำรวจติดตามไปด้วย พวกนี้ได้นำเอาเรื่องราวการค้นพบแหล่งทรัพยากรที่สมบูรณ์มาเผยแพร่ ทำให้นักลงทุนโดยการสนับสนุนของรัฐบาลเริ่มเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์มากยิ่งขึ้น ในไม่ช้าก็เกิดการแย่งชิงกรรมสิทธิ์หรือการเข้าครอบครอง

ใน ค.ศ. 1885 เยอรมนีโดยการนำของออตโต ฟอน บิสมาร์ค ได้จัดให้มีการประชุมในกรุงเบอร์ลินว่าด้วยข้อตกลงเกี่ยวกับการเข้าครอบครองดินแดนในทวีปแอฟริกา ที่ประชุมตกลงกันว่าชาติใดที่มีดินแดนอยู่ตามชายฝั่งสามารถยึดครองพื้นที่ที่ลึกเข้าไปได้ โดยการส่งคนไปปกครองดูแลและประกาศการเข้ายึดครองอย่างเป็นทางการ

นับตั้งแต่นั้นมาดินแดนในทวีปแอฟริกาก็ถูกแบ่งแยกออกเป็นส่วน ๆ โดยการเข้าครอบครองของอังกฤษ ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม และเยอรมนี ส่วนโปรตุเกสนั้นยังคงรักษาสถานีการค้าของตนไว้ได้ที่อังโกลาและโมซัมบิก

สาเหตุการเข้ายึดครอง[แก้]

การเข้ายึดครองแอฟริกาของชาวยุโรปในครั้งนั้นมีข้ออ้าง 3 ประการ คือ

  1. เพื่อเปิดประตูการค้าให้กว้างขวางตลอดทั่วภาคพื้นทวีป
  2. เพื่อปลดปล่อยชนเผ่าต่าง ๆ ให้เป็นอิสระจากพวกนักค้าทาสชาวอาหรับ
  3. เพื่อเผยแผ่คริสต์ศาสนาไปยังดินแดนที่ชาวยุโรปเรียกว่ากาฬทวีป (Dark Continent)

หลังจากนั้นเพียง 30 ปี ของการเข้าแย่งชิงผลประโยชน์แอฟริกาทั้งทวีป ยกเว้นไลบีเรียกับเอธิโอเปีย ก็ตกเป็นอาณานิคมของชาวยุโรปจนหมดสิ้น

การแบ่งสรรทวีปแอฟริกาโดยชาวยุโรป[แก้]

เบลเยียม[แก้]

ทหารฝ่ายสาธารณรัฐนิยมในเบลเจียนคองโก ในจุดสูงสุด ฝ่ายสาธารณรัฐนิยมมีกำลังทหารแอฟริกันอยู่ 19,000 นาย นำโดยนายทหารขาว 420 นาย

ฝรั่งเศส[แก้]

การรุกรานเซเนกัล, นำโดยนายพลอัลเฟรด อาเมดี ดอดส์, บุกครองดาโฮเมย์ (ปัจจุบันคือเบนิน) ในปี 1892

เยอรมนี[แก้]

แผนที่แอฟริกาของฝรั่งเศส ค.ศ. 1911 ด้วยการอ้างสิทธิ์ สีเหลืองคืออาณานิคมอังกฤษ; สีชมพูคืออาณานิคมฝรั่งเศส; สีส้มให้เบลเยี่ยม; สีเขียวในเยอรมนี; สีม่วงในโปรตุเกส; สีชมพูเข้มในอิตาลี; สีส้มเข้มในสเปน; สีน้ำตาลในเอธิโอเปีย

อิตาลี[แก้]

โปรตุเกส[แก้]

สเปน[แก้]

สหราชอาณาจักร[แก้]

Opening of the railway in Rhodesia, 1899

รัฐเอกราช[แก้]

ผลของจักรวรรดินิยมในแอฟริกา[แก้]

การกำหนดเขตแดนของแอฟริกาโดยชาวยุโรป กระทำไปโดยไม่คำนึงถึงภาษาและเผ่าพันธุ์ของประชากรในพื้นที่นั้น ๆ จะเห็นได้จากอาณาเขตของหลายประเทศที่ปรากฏในแผนที่จะมีการลากเป็นเส้นตรง ด้วยเหตุนี้ภายหลังที่ชาติเหล่านี้ได้เอกราชจึงเกิดปัญหาความเป็นเอกภาพภายในชาติมาจนถึงทุกวันนี้

การเข้าครอบครองของชาติตะวันตกได้ทำให้เกิดความทุกข์ยากแก่ชาวแอฟริกาทั้งมวล เดิมทีชาวพื้นเมืองดำรงชีพด้วยการทำไร่ เลี้ยงสัตว์ตามแบบดั้งเดิมที่เคยทำกันมา ชาวแอฟริกามีภาษาเขียนไม่มากนัก แต่มีงานทางด้านศิลปะ คือ รูปปั้นสำริด การแกะสลักไม้และงาช้าง มีภาพวาดตามแบบพื้นเมืองจำนวนมาก ชาวพื้นเมืองไม่เคยรู้เรื่องของวิทยาการสมัยใหม่ ไม่รู้จักระบบการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ไม่รู้จักระบบการปกครอง กฎหมายและกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ชาวยุโรปได้เข้าเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชาวพื้นเมือง ด้วยการบังคับแรงงานชาวพื้นเมืองให้สร้างถนน ขุดเหมืองแร่ ขุดดิน ด้วยเวลาการทำงานที่ยาวนานกว่าปกติมีการนำเอาพืชใหม่ ๆ มาปลูก เช่น ยางพารา โกโก้ แทนที่พื้นดินที่เคยใช้เป็นที่เลี้ยงสัตว์ ล่าสัตว์ และที่อยู่อาศัยของชาวพื้นเมือง มีการกวาดต้อนเผ่าชนทั้งเผ่าไปอยู่ในบริเวณที่กำหนดไว้ แยกผู้ชายออกจากครอบครัวแล้วส่งไปทำงานยังที่ห่างไกล ถ้าใครขัดขืนก็จะถูกลงโทษอย่างรุนแรง เช่น ตัดมือ ยิงเป้า เป็นต้น

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศส่วนใหญ่ในแอฟริกาได้เอกราชกลับคืนมาแต่ประเทศที่เกิดใหม่เหล่านี้เกิดขึ้นตามแบบฉบับของชาวตะวันตก คือ มีเมืองเป็นศูนย์กลางของความทันสมัย อิทธิพลทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการศึกษาแผนใหม่ ทำให้วิถีชีวิตของชนเผ่าต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]