รัฐเคาะลีฟะฮ์ฟาฏิมียะฮ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐเคาะลีฟะฮ์ฟาฏิมียะฮ์

الخلافة الفاطمية
Al-Khilafah al-Fāṭimīyah
ค.ศ. 909–ค.ศ. 1171
ธงชาติรัฐเคาะลีฟะฮ์ฟาฏิมียะฮ์
ธงของราชวงศ์ฟาฏิมียะฮ์เป็นสีขาว ซึ่งตรงข้ามกับธงของรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ที่เป็นสีดำ ในขณะที่ธงสีแดงกับเหลืองเป็นธงต่อเคาะลีฟะฮ์แต่ละพระองค์[1]
ระยะเวลาการขยายตัวของรัฐฟาฏิมียะฮ์
ระยะเวลาการขยายตัวของรัฐฟาฏิมียะฮ์
เมืองหลวง
ภาษาทั่วไป
ศาสนา
อิสลาม (ชีอะฮ์อิสมาอิลี)
การปกครองรัฐเคาะลีฟะฮ์
เคาะลีฟะฮ์ 
• ค.ศ. 909–934 (องค์แรก)
อับดัลลอฮ์ อัลมะฮ์ดีบิลลาฮ์
• ค.ศ. 1160–1171 (องค์สุดท้าย)
อัลอาฎิด
ยุคประวัติศาสตร์ต้นสมัยกลาง
• โค่นล้มพวกอัฆลาบิด
5 มกราคม ค.ศ. 909
• พิชิตอียิปต์และก่อตั้งกรุงไคโร
ค.ศ. 969
17 กันยายน ค.ศ. 1171
พื้นที่
ค.ศ. 969[2][3]4,100,000 ตารางกิโลเมตร (1,600,000 ตารางไมล์)
สกุลเงินดินาร์
ก่อนหน้า
ถัดไป
รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์
อัฆลาบิด
อิคชิดีด วิลายะฮ์
เอมิเรตแห่งตะฮ์เอิร์ต
รัฐสุลต่านอัยยูบิด
รัฐนักรบครูเสด
เอมิเรตแห่งซิซิลี
ราชวงศ์ซีริด
ราชวงศ์ฮัมมาดีด
จักรวรรดิเซลจุค
ราชวงศ์ศุลัยฮิด

รัฐเคาะลีฟะฮ์ฟาฏิมียะฮ์ (อาหรับ: الخلافة الفاطمية) เป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์แบบชีอะฮ์อิสมาอิลียะฮ์ที่ปกครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของแอฟริกาเหนือ ตั้งแต่ทะเลแดงทางฝั่งตะวันออก ถึงมหาสมุทรแอตแลนติกทางฝั่งตะวันตก เป็นราชวงศ์ของชาวอาหรับ[4]ที่ปกครองแถวชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของแอฟริกาและทำให้อียิปต์เป็นศูนย์กลางของรัฐเคาะลีฟะฮ์ โดยครอบครองตั้งแต่มัฆริบ, ซูดาน, ซิซิลี, ลิแวนต์ และฮิญาซ

พวก ฟาฏิมิด (อาหรับ: الفاطميون, อักษรโรมัน: al-Fāṭimīyūn) อ้างว่าตนสืบเชื้อสายมาจากฟาฏิมะฮ์ ลูกสาวของศาสดามุฮัมมัด รัฐของพวกฟาฏิมิดเริ่มก่อร่างแถวชายฝั่งทางภาคตะวันตกของแอฟริกาเหนือ (ในประเทศแอลจีเรีย) ในปีค.ศ. 909 ได้มีการยึดครองร็อกกอดะฮ์ เมืองหลวงของอัฆลาบิด ในปีค.ศ. 921 พวกฟาฏิมิดได้ก่อตั้งเมืองหลวงของตนที่ตูนีเซียของอัลมะฮ์ดียะฮ์ ในปีค.ศ. 948 พวกเขาได้ย้ายเมืองหลวงไปที่อัลมันศูรียะฮ์ ใกล้กับก็อยเราะวานในตูนีเซีย ในปีค.ศ. 969 พวกเขาได้ยึดครองอียิปต์และตั้งเมืองไคโรเป็นเมืองหลวง จึงทำให้เอียิปต์เป็นศูนย์กลางทางการเมือง, วัฒนธรรม และศาสนาของชาวอาหรับ[5]

หลังจากการพิชิตครั้งแรก รัฐเคาะลีฟะฮ์ได้ยอมรับความต่างทางศาสนาต่อลัทธิที่ไม่ใช่ชีอะฮ์ของอิสลาม เช่นเดียวกันกับชาวยิว, ชาวมอลตาที่นับถือศาสนาคริสต์ และคอปติก[6] อย่างไรก็ตาม ผู้นำของรัฐนี้ไม่ได้ดำเนินการจูงใจประชากรในอียิปต์ไปมากเสียเท่าไหร่[7]

ในช่วงปลายศตวรรษที่ 11 และศตวรรษที่ 12 รัฐเคาะลีฟะฮ์ฟาฏิมียะฮ์เสี่อมถอยลงเรื่อย ๆ และในปีค.ศ. 1171 เศาะลาฮุดดีนได้โจมตีรัฐนี้ และก่อตั้งราชวงศ์อัยยูบิดกับรวมรัฐของฟาฏิมียะฮ์ให้เป็นส่วนหนึ่งของ รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์.[8]

ราชวงศ์[แก้]

เคาะลีฟะฮ์[แก้]

  1. อบูมุฮัมมัด อับดุลลอฮ์ อัลมะฮ์ดี บิลลาฮ์ (ค.ศ. 909–934) ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ฟาฏิมียะฮ์
  2. อบูลกอซิม มุฮัมมัด อัลกออิม บิอัมริลลาฮ์ (ค.ศ. 934–946)
  3. อบูฏอฮิร อิสมาอิล อัลมันศูร บิลลาฮ์ (ค.ศ.946–953)
  4. อบูตะมีม มะอัดด์ อัลมุอิซซ์ ลิดีนัลลอฮ์ (ค.ศ. 953–975) อียิปต์ถูกครอบครองในรัชสมัยนี้[9]
  5. อบูมันศูร นิซาร์ อัลอะซีซ บิลลาฮ์ (ค.ศ. 975–996)
  6. อบูอะลี อัลมันศูร อัลฮากิม บิอัมริลลาฮ์ (ค.ศ.996–1021) ศาสนาดรูซถูกก่อตั้งในรัชสมัยนี้
  7. อบูลฮะซัน อะลี อัซซอฮิร ลิอิอ์ซาซ ดีนัลลอฮ์ (ค.ศ. 1021–1036)
  8. อบูตะมีม มะอัดด์ อัลมุสตันศิร บิลลาฮ์ (ค.ศ. 1036–1094) การทะเลาะในเรื่องผู้สืบทอด นำไปสู่การแยกตัวของนิซารี
  9. อัลมุสตะอ์ลี บิลลาฮ์ (ค.ศ.1094–1101)
  10. อบูอะลี มุนศูร อัลอามิร บิอะฮ์กามัลลอฮ์ (ค.ศ. 1101–1130) ผู้ปกครองฟาฏิมียะฮ์หลังจากพระองค์ไม่ถือว่าพระองค์เป็นอิหม่ามโดยอิสมาอิลีสายมุสตะอ์ลี/ฏ็อยยะบียะฮ์
  11. อับดุลมะญีด อัลฮาฟิซ (ค.ศ. 1130–1149) ลัทธิฮาฟิซีถูกก่อตั้งโดยมีอัลฮาฟิซเป็นอิหม่าม
  12. อัซซอฟิร (ค.ศ. 1149–1154)
  13. อัลฟาอิซ (ค.ศ. 1154–1160)
  14. อัลอาฎิด (ค.ศ. 1160–1171)[10]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Hathaway, Jane (2012). A Tale of Two Factions: Myth, Memory, and Identity in Ottoman Egypt and Yemen. SUNY Press. p. 97. ISBN 9780791486108.
  2. Turchin, Peter; Adams, Jonathan M.; Hall, Thomas D (December 2006). "East-West Orientation of Historical Empires". Journal of World-systems Research. 12 (2): 222. ISSN 1076-156X. สืบค้นเมื่อ 12 September 2016.
  3. Rein Taagepera (September 1997). "Expansion and Contraction Patterns of Large Polities: Context for Russia". International Studies Quarterly. 41 (3): 495. doi:10.1111/0020-8833.00053. JSTOR 2600793.
  4. Ilahiane, Hsain (2004). Ethnicities, Community Making, and Agrarian Change: The Political Ecology of a Moroccan Oasis. University Press of America. p. 43. ISBN 978-0-7618-2876-1.
  5. Julia Ashtiany; T. M. Johnstone; J. D. Latham; R. B. Serjeant; G. Rex Smith, บ.ก. (30 March 1990). Abbasid Belles Lettres. Cambridge University Press. p. 13. ISBN 978-0-521-24016-1.
  6. Wintle, Justin (May 2003). History of Islam. London: Rough Guides Ltd. pp. 136–7. ISBN 978-1-84353-018-3.
  7. Pollard;Rosenberg;Tignor, Elizabeth;Clifford;Robert (2011). Worlds together Worlds Apart. New York, New York: Norton. p. 313. ISBN 9780393918472.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  8. Baer, Eva (1983). Metalwork in Medieval Islamic Art. SUNY Press. p. xxiii. ISBN 9780791495575. In the course of the later eleventh and twelfth century, however, the Fatimid caliphate declined rapidly, and in 1171 the country was invaded by Ṣalāḥ ad-Dīn, the founder of the Ayyubid dynasty. He restored Egypt as a political power, reincorporated it in the Abbasid caliphate and established Ayyubid suzerainty not only over Egypt and Syria but, as mentioned above, temporarily over northern Mesopotamia as well.
  9. al-Mustanṣir Encyclopædia Britannica
  10. Wilson B. Bishai (1968). Islamic History of the Middle East: Backgrounds, Development, and Fall of the Arab Empire. Allyn and Bacon. Nevertheless, the Seljuqs of Syria kept the Crusaders occupied for several years until the reign of the last Fatimid Caliph al-Adid (1160–1171) when, in the face of a Crusade threat, the caliph appointed a warrior of the Seljuq regime by the name of Shirkuh to be his chief minister.

สารานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]