ติมอร์ของโปรตุเกส
จังหวัดโพ้นทะเลติมอร์ Timor Português | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 1702–1975 | |||||||||
ตราแผ่นดิน (ค.ศ. 1935–1975)[1]
| |||||||||
เพลงชาติ: "อูอีนูปราเตียติโก" (ค.ศ. 1808–26) เพลงของผู้รักชาติ "อูอีนูดาการ์ตา" (ค.ศ. 1826–1911) เพลงสรรเสริญรัฐธรรมนูญ "อาปูร์ตูเกซา" (ค.ศ. 1911–74) เพลงแห่งชาวโปรตุเกส | |||||||||
พรมแดนของอาณานิคมติมอร์ตะวันออกใน ค.ศ. 1869 | |||||||||
สถานะ | อาณานิคมของจักรวรรดิโปรตุเกส | ||||||||
เมืองหลวง | ลิเฟา (ค.ศ. 1702–69) ดิลี (ค.ศ. 1769–1975) | ||||||||
ภาษาทั่วไป | เตตุม โปรตุเกส มลายู | ||||||||
ศาสนา | โรมันคาทอลิก | ||||||||
การปกครอง | อาณานิคม | ||||||||
ประมุขแห่งรัฐ | |||||||||
• กษัตริย์ ค.ศ. 1515–21 | พระเจ้ามานูแวลที่ 1 (พระองค์แรก) | ||||||||
• ค.ศ. 1908–10 | พระเจ้ามานูแวลที่ 2 (พระองค์สุดท้าย) | ||||||||
• ประธานาธิบดี ค.ศ. 1910–11 | เธโอฟิโล บรากา (คนแรก) | ||||||||
• ค.ศ. 1974–75 | ฟรานซิสโก ดา คอสต้า โกเมซ (คนสุดท้าย) | ||||||||
ผู้ว่าการ | |||||||||
• ค.ศ. 1702–05 | อังตอนียู กูเวลยู เกอร์เรย์รู(คนแรก) | ||||||||
• ค.ศ. 1974–75 | มารีโอ เลมอส พิเรซ (คนสุดท้าย) | ||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||
• การตั้งอาณานิคม | ค.ศ. 1702 | ||||||||
• การยึดครองของญี่ปุ่น | ค.ศ. 1942–45 | ||||||||
28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1975 | |||||||||
7 ธันวาคม ค.ศ. 1975 | |||||||||
• ได้รับเอกราช | 20 พฤษภาคม ค.ศ. 2002 | ||||||||
สกุลเงิน | ปาตากาติมอร์ (PTP) เอสคูโดติมอร์ (PTE) | ||||||||
| |||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | ติมอร์-เลสเต |
ติมอร์ของโปรตุเกส (โปรตุเกส: Timor Português) หมายถึงช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ของประเทศติมอร์ตะวันออก ขณะเป็นอาณานิคมของโปรตุเกส ระหว่าง ค.ศ. 1702 ถึง ค.ศ. 1975 ในช่วงเวลาส่วนใหญ่ของยุคสมัยนี้ เกาะติมอร์ ถูกแบ่งระหว่างโปรตุเกสและหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์
ชาวโปรตุเกสถือเป็นชนชาติยุโรปกลุ่มแรกในบริเวณนี้ โดยเดินทางมาถึงใน ค.ศ. 1515[2] นักบวชคณะดอมินิกัน เดินทางมาถึงเกาะติมอร์ใน ค.ศ. 1556 และตัวเกาะก็ถูกประกาศเป็นอาณานิคมของโปรตุเกสใน ค.ศ. 1702 ภายหลังจากการปฏิวัติคาร์เนชัน (ถือเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการปลดปล่อยอาณานิคมโดยรัฐบาลลิสบอน) ใน ค.ศ. 1975 ติมอร์ตะวันออกถูกบุกครองโดยอินโดนีเซีย กระนั้น การบุกครองดังกล่าวก็ไม่ได้ถูกยอมรับว่าชอบด้วยกฎหมายจากสหประชาชาติ ซึ่งยังคงรับรองว่าติมอร์ตะวันออกยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของโปรตุเกส ท้ายที่สุดแล้วติมอร์ตะวันออกจึงได้รับเอกราชใน ค.ศ. 2002 หลังจากอยู่ภายใต้ การบริหารช่วงเปลี่ยนผ่านโดยสหประชาชาติ[3]